Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน20 สิงหาคม 2552
ธปท.ขายบอนด์ 5 หมื่น ล.ดอกเบี้ย 4% ยกเว้นภาษี             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Bond




แบงก์ชาติออกพันธบัตรออมทรัพย์อย่างน้อย 5 หมื่นล้าน ดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า 4% ยกเว้นภาษี ออกขายเดือนหน้า ดึงแบงก์ร่วมแถลงวันนี้

แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ข้อสรุปเรื่องการออกพันธบัตรออมทรัพย์แล้ววงเงินไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วยพันธบัตรอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า 4% ได้รับการยกเว้นภาษี และพันธบัตรอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยลอยตัว อ้างอิงดอกเบี้ยพันธบัตรในตลาด เปิดจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไป

"เราไม่ได้เจาะจงว่าประเภทละกี่หมื่นล้าน เพราะ 5 หมื่นล้านเป็นวงเงินขั้นต่ำ ต้องดูความต้องการจองว่า ประชาชนต้องการแบบไหนมากกว่า หากจองล้นก็จะเพิ่มให้เพียงพอ" แหล่งข่าวกล่าวและว่า ภายในเดือนหน้า (ก.ย.) จะมีการจำหน่ายได้อย่างแน่นอน การออกพันธบัตรครั้งนี้เป็นการปรับสภาพคล่องในระบบและปรับวิธีการบริหารสภาพคล่องของ ธปท. ซึ่ง ธปท.ได้มีการหารือกับคลังก่อนหน้านี้แล้ว จึงไม่ใช่แย่งกันออกและมั่นใจว่าจะไม่กระทบสภาพคล่องหรืออัตราดอกเบี้ยโดยรวมในตลาด

ทั้งนี้ ธปท.จะเปิดแถลงข่าวถึงรายละเอียดในวันนี้ (20 ส.ค.) เป็นการแถลงร่วมกับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตร ล่าสุดสถาบันการเงินที่สนใจตอบรับการร่วมงานมากกว่า 10 รายแล้ว

**ปรับแผนบอนด์กองทุนฟื้นฟู

นางทองอุไร ลิ้มปิติ กล่าวในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยความคืบหน้าพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ว่า อยู่ระหว่างทบทวนแผนการออกพันธบัตรล็อตใหม่ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (รีไฟแนนซ์) ล็อตเก่าที่จะหมดอายุในเดือน พ.ย.52 นี้

เดิมที่จะออกพันธบัตรออมทรัพย์ที่ขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แต่หลังจากมีพันธบัตรออมทรัพย์ของ ธปท.ออกมา พันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ จะขายแบบเฉพาะเจาะจงให้ ธปท.หรือสถาบันการเงินแทน เพื่อไม่ให้แย่งตลาดกันเอง เพราะสภาพคล่องของ ธปท.และสถาบันการเงินเพียงพอที่จะรองรับพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ ได้

“สถานการณ์ในช่วงนี้เปลี่ยนแปลงไป กระทรวงการคลังก็มีการออกพันธบัตรแล้ว ยังมีแผนจะออกเพิ่มเติมในช่วงปลายปี จึงต้องทบทวนแผนใหม่ว่าแนวทางไหนดีที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน” ผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูฯกล่าว

**รอคลังตอบกลับขาย SCIB

สำหรับแนวทางการบริหารจัดการหุ้นที่กองทุนฟื้นฟูฯ ถืออยู่ทั้งในส่วนของธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) ธนาคารกรุงไทย (KTB) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) ซึ่งเสนอให้นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณานั้น นางทองอุไร กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสือตอบกลับอย่างเป็นทางการจาก รมว.คลัง โดยหากได้รับหนังสือมาแล้วจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือกันในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ทันที ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการประชุมในช่วงปลายเดือนของทุกเดือน แต่หากไม่ทันจะนำเข้าที่ประชุมครั้งถัดไป ซึ่งคาดว่าจะไม่มีปัญหาอะไร เพราะไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องเร่งขาย แต่จะต้องดูราคา และเวลาที่เหมาะสม

นางทองอุไรยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการจำหน่ายที่ดินขนาดใหญ่จำนวน 3 แปลงในจังหวัด เชียงราย ภูเก็ต และสงขลาว่า ขณะนี้มีผู้สนใจสอบถามและซื้อซองประมูลจำนวนมาก จึงคาดว่าจะได้ราคาที่น่าพอใจ แต่ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประมูลที่ต้องมีความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

**ศก.ไทยกำลังตะกายผ่านจุดต่ำสุด

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า ขณะนี้เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างๆ ของประเทศไทยถึงจุดต่ำสุดแล้ว และต่อไปเครื่องชี้แสดงถึงด้านดีมานด์และซัพพลายไม่ทรุดตัวกว่านี้แล้ว ส่วนเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแค่ไหนขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะเดียวกันภาคการคลังควรมีการเร่งเบิกจ่ายให้รวดเร็วกว่านี้ เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจระดับหนึ่ง

“เศรษฐกิจไทยชะลอการไหลแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงท้องกระทะ คงไม่มีปัจจัยอะไรที่แย่กว่าเดิมอีกแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างๆ เริ่มดีขึ้นแล้ว แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยช่วงต่อไปจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจในขณะนี้ด้วย” นายไพบูย์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us