Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2530
"BUSSINESS ADVISORY THAILAND ผู้มากับ "ความล้มเหลว"             
 

   
related stories

ผ่าแผน "ผ่าตัด" ไทยเสรีห้องเย็น เมื่อเจ้าหนี้สงบสติอารมณ์นั่งคุย
ข้อเสนอสัญญาการจัดการ บริษัท ไทยเสรีอาหารสากล จำกัด
สุระ จันทร์ศรีชวาลา เขาสอบผ่านแล้ว

   
search resources

PSA
ไมเคิล เซลบี้
บิซซิเน็ส แอดไวเซอรี่ (BUSINESS ADVISORY )




ชื่อไมเคิล เซลบี้ ดังขึ้นครั้งแรกในห้วงเวลาของความพยายามกอบกู้สถานการณ์ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ปฐมสยาม ของกลุ่ม พีเอสเอ.โดยการชักนำเอจีซี (AUSTRALIA GARUNTEE CORPERATION) เข้ามาเทคโอเวอร์เพื่อแก้วิกฤติการณ์ธุรกิจของกลุ่ม พีเอสเอ. ในเปราะสำคัญเปราะหนึ่ง

เขา-ในฐานะผู้บริหาร BUSSINESS ADVISORY THAILAND (BAT) ซึ่งไม่ค่อยจะมีใคร "ภูมิหลัง" มากนัก กลายเป็นบริษัทเข้ามาจัดการปรับโครงสร้างและทำแผนการชำระหนี้สินของบรรดากลุ่มธุรกิจใหญ่ ๆ ที่มีปัญหาทั้งหลายในประเทศ

จะว่าด้วยเหตุผลแท้จริงเป็นอะไรก็แล้วแต่ ที่ทำให้เอจีซีสามารถเข้ามาแบบปฐมสยามสำเร็จแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นเอจีซี (ประเทศไทย) แต่ BUSSINESS ADVISORY THAILAND ก็ดังติดหูติดปาก บรรดาธนาคารพาณิชย์เมืองไทยเสียแล้ว

อย่างไรก็ตามมีผู้อธิบายความสำเร็จครั้งนั้นไว้หลายสูตร บางสูตรว่าเพราะแบงก์ชาติและกระทรวงการคลังร่วมหอลงโลงด้วย การเจรจาที่เคยค้างเติ่งตั้งแต่ต้นปี 2529 จึงสำเร็จได้ในปลายปี บ้างก็ว่า เพราะบรรดาเจ้าหนี้รายใหญ่เป็นชาวต่างชาติ พูดภาษาเดียวกับไมเคิล เซลบี้ ประกอบกับเอจีซี มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

ต้องยอมรับกันว่าบีเอทีดังเร็วเหมือนพลุ ซึ่งอาจจะหมายถึงเวลาดับด้วย!??

จนถึงวันนี้ "ภูมิหลัง" ของกลุ่มนี้ก็ทราบเพียงว่าเคยหากินอาชีพเดียวกันนี้ที่ มาเลเซียและอินโดนีเซียมาก่อน จะด้วยเหตุผลที่งานไม่มี หรือไม่มีใครจ้างไม่ทราบชัด จึงย้ายฐานเข้ามาเมืองไทย ผู้ก่อตั้งและบุคคลสำคัญของบีเอที นอกจากไมเคิล เซลบี้แล้วก็มีคริสเตียนนี่ เดอฟอร์ด ภรรยาของอดีตผู้จัดการธนาคารเชสแมนฮัตตัน ในประเทศไทยซึ่งเธอเป็นผู้หญิงที่เก่งมากคนหนึ่ง สามารถชักนำเซลบี้เขาคลุกกับวงการธนาคารต่างประเทศได้

แต่แล้วสามีของเธอต้องถูกย้ายออกจากประเทศไทย ไปทำงานในที่ที่รู้สึกว่าถูกลงโทษ เขาจึงลาออก คริสเตียนนี่ เดอฟอร์ดจึงถอนตัวออกจากบีเอทีจากเมืองไทยชนิดไม่เหลียวหลัง

"เขาว่ากันว่าที่ผ่านมาเชสแมนฮัตตันแบงก์ในเมืองไทยมุ่งสนับสนุนกิจการใหญ่ อาทิ พีเอสเอ. มาบุญครองอะไรเทือกนี้ จึงเจอหนี้สูญเยอะ ผลงานไม่ประทับใจ มิสเตอร์ เดอฟอร์ดจึงถูกย้าย" วงการพูดกันอย่างนั้น

ภายหลังจากเดอฟอร์ดไปแล้ว ไมเคิล เซลบี้ก็ได้น้องชายเดวิด เซลบี้ ซึ่งจบกฎหมายจากสหรัฐฯมาช่วยงานอีกคน

จากความสำเร็จที่กลุ่ม พีเอสเอ. บีเอทีจึงรับงานชิ้นใหญ่ ๆ อีกหลายชิ้น ซึ่งรวมถึงมาบุญครอง สยามกลการและไทยเสรีห้องเย็น

ที่มาบุญครองนั้นเซลบี้ดังมาก เพราะต้องให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไม่เว้นแต่ละวัน ดูเหมือนบางครั้งจะเหนื่อยกว่าการจัดทำแผนเสียด้วย คำพูดที่เซลบี้พูดครั้งแล้วครั้งเล่าก็คือ "จะลงนามกันเร็ว ๆ นี้" ซึ่งหมายถึงแผนการชำระหนี้ของเขาได้รับความเห็นชอบทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ อันเป็นยอดปรารถนาของเขา

เขาพูดเช่นนี้เป็นปีแล้วก็ได้เฉพาะกรณีมาบุญครอง!!

ส่วนสยามกลการ นั้นการดำเนินงานเป็นไปอย่างเงียบเชียบแต่ลึก ๆ ก็ว่าเขาต้องถกเถียงกันอย่างเอาเป็นเอาตายในบางครั้งกับนุกูล ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการบริหารสยามกลการส่วนที่ไทยเสรีห้องเย็นนั้นก็ตกม้าตายตั้งแต่ยกแรก เพราะบรรดาเจ้าหนี้ไม่รับข้อเสนอ ทั้งยังหันไปทำแผนการเอง

สิ่งที่เจ้าหนี้ซึ่งหมายถึงบรรดาธนาคารพาณิชย์ไทยไม่ยอมก็คือบีเอที มักจะเสนอให้ตัดหนี้สูญทันที 20% อะไรทำนองนี้

"ในประเทศไทยโครงสร้างทางกฎหมายไม่เอื้ออำนวยและสนับสนุนการฟื้นฟูกิจการ ธนาคารเจ้าหนี้ไม่สามารถตัดหนี้สูญและได้เครดิตภาษีโดยไม่ต้องฟ้องร้อง" เขาเคยกล่าวในงานสัมนาเรื่องกฎหมายล้มละลายเมื่อไม่นานมานี้

เขามีทรรศนะในการฟื้นฟูกิจการที่มีปัญหาไว้ว่า หนึ่ง-โดยพื้นฐานแล้วธุรกิจนั้น สามารถดำเนินต่อไปอย่างมีกำไรหรือไม่ สอง-หากมี ความเป็นไปได้ ในกรณีที่หนี้สินมากเกินไป ธนาคารเจ้าหนี้ควรยอมขาดทุนบ้าง และ สาม-เจ้าของกิจการได้รับความเชื่อถือจากเจ้าหนี้เพียงใด

ก็ต้องนับว่าเขาไม่เลวนักหรอก เพียงแต่ว่าผลงานใหญ่ที่กำลังปลุกปล้ำยังไม่สัมฤทธิ์ผลเท่านั้น??

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us