|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติเตรียมอนุญาตให้สาขาธนาคารต่างชาติเปิดเพิ่มและขยายบทบาททางธุรกิจมากขึ้น ส่วนแบงก์พาณิชย์ไทย ใครดูแลความเสี่ยงดีให้รางวัลเปิดเสรีผลิตภัณฑ์ออกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธปท.พร้อมด้วยกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างเตรียมแผนแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(มาสเตอร์แพลน) ฉบับที่ 2 เสนอคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และหากได้รับการอนุมัติจะเตรียมชี้แจงให้แก่ธนาคารพาณิชย์ไทยและนอกประเทศเพื่อให้รับทราบถึงทิศทางการพัฒนาระบบสถาบันการเงินในไทยระยะต่อไป และคาดว่าสถาบันการเงินไทยจะสามารถนำแผนดังกล่าวมาใช้ได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
“ต่อไประบบแบงก์ไทยเราจะขยายในแง่ของขนาดธุรกิจ รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ซึ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงเป็นสำคัญ และหากแบงก์ไหนทำได้ดีจะมีการเปิดเสรีมากขึ้นโดยที่เราไม่ต้องเข้าไปกำกับดูแลมากเหมือนปัจจุบัน ซึ่งแบงก์สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันผู้เล่นรายใหม่ที่จะเข้ามาได้จะให้ความสำคัญรูปแบบธุรกิจเฉพาะที่สถาบันการเงินไทยยังขาดอยู่ รวมถึงในแง่ของสาขาธนาคารต่างชาติจะอนุญาตเพิ่มสาขา จากเดิมกำหนดให้มีตั้งในไทยได้สาขาเดียว ควบคู่ไปกับเพิ่มบทบาทและขอบเขตทำธุรกิจมากขึ้น” รองผู้ว่าการ ธปท.กล่าว
ทั้งนี้ แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับดังกล่าวเป็นแผนพัฒนาระบบการเงินไทยในช่วง 5 ปีข้างหน้า คือ ในช่วงปี 2552-2556 มุ่งเน้น 3-4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.ลดต้นทุนระบบสถาบันการเงินไทยต่ำลง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับต้นทุนต่ำด้วย และสถาบันการเงินไทยสามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์ต่างชาติได้ โดยเฉพาะเรื่องต้นทุนที่เกิดจากการกันสำรองจากหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) และสินทรัพย์รอการขาย(เอ็นพีเอ) ซึ่งล่าสุดในเดือนมิ.ย.ธนาคารพาณิชย์ในระบบมีทั้งสิ้น 545 พันล้านบาท และในส่วนของบริษัทบริหารสินทรัพย์(เอเอ็มซี) 489 พันล้านบาท โดยหากสามารถลดเอ็นพีเอดังกล่าวได้จะกลับมาสร้างผลตอบแทนเพิ่ม 1-2% ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ไทยได้
“ต้นทุนจากการกันสำรองของระบบแบงก์ไม่ได้เกิดจากการนำมาตรการฐานการเงินระหว่างประเทศ ฉบับ 39 (IAS39) มาใช้ แต่การนำ IAS39 มาใช้เป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นมาตรฐานสากล แต่ที่แบงก์ต้องมีการกันสำรองที่สูงเกิดจากสต็อกเอ็นพีแอลและเอ็นพีแอลในช่วงที่ผ่านมาปริมาณสูงมาก ซึ่งยืดเยื้อกันมาตั้งแต่ปี 40 ทั้งในส่วนของงบการเงินแบงก์พาณิชย์และเอเอ็มซี”
2.สร้างประสิทธิภาพระบบการเงินไทยให้มากขึ้น โดยเฉพาะตัวชี้วัดที่ดีที่สุด คือ อัตราดอกเบี้ยสุทธิ(NIM)ให้สามารถปรับลดลงได้อีกและในระยะยาวควรอยู่ในระดับต่ำ คือ ไม่เกิน 5 ปี จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.9% ถือเป็นการสร้างกลไกสำคัญในการแข่งขันระบบมากขึ้นทั้งจำนวนผู้เล่น ประเภทธุรกิจ ซึ่งหากมีการเปิดเสรีเรื่องนี้มากขึ้นจะมีผลต่อการกำหนดราคาและค่าธรรมเนียมต่างๆ ในอนาคตด้วย
นอกจากนี้ ลดบทบาทของภาครัฐในการเข้าไปบริหารจัดการธุรกิจธนาคารพาณิชย์บางกรณี ซึ่งยอมรับว่าที่ผ่านมาการดำเนินการดังกล่าวภาครัฐไม่ประสบความสำเร็จ และไม่สะท้อนการทำงานของภาคเอกชนแท้จริง
“เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเศรษฐกิจดี ตัว NIM จะสูงขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดี รายได้แบงก์หด ตัว NIM แคบลง ซึ่ง NIM จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะการลดลงของเอ็นพีแอล”
3.การเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้น หลังจากที่ธปท.สำรวจพบว่ามีสัดส่วนถึง 10%ของประชากรและภาคธุรกิจทั้งหมดที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินที่มีอยู่ และด้านนี้เป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศทดแทนการพึ่งพาส่งออกที่หดตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอมานาน โดยเน้นให้ระบบสถาบันการเงินไทยมีบริการสถาบันการเงินระดับรากหญ้า(ไมโครไฟแนนซ์) อิสลามไฟแนนซ์ การปริวรรตเงินตรา และรับฝากหลักทรัพย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ ในแง่นโยบายธปท.จะสนับสนุนให้มีการควบรวมกิจการภายใต้เงื่อนไขธุรกิจที่ดีและสร้างสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย โดยส่วนหนึ่งนักลงทุนต่างชาติมองว่าภาษี คือ อุปสรรคสำคัญในการควบรวมกิจการ แต่เรื่องนี้ขณะนี้คลังกำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่
และ 4.การพัฒนาการบริหารความเสี่ยงธนาคารพาณิชย์ไทยดีกว่าในปัจจุบัน เพื่อไม่ให้สถาบันการเงินไทยเสียเปรียบด้านนี้ด้วย โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องมีให้ครบและสมบูรณ์มากขึ้น อาทิ การพัฒนาข้อมูลเครดิต ปรับปรุงกฎหมาย พัฒนาบุคลากร และพัฒนาตลาด โดยเฉพาะการประกันความเสี่ยง
|
|
|
|
|