|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติเผยไตรมาส 2 ผู้ถือบัตรเครดิตก่อหนี้เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 6.37% และเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 7.48% ยอดการเบิกเงินสดล่วงหน้าเทียบไตรมาสก่อนลดลงถึง 14.52% เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า สายนโยบายสถาบันการเงินได้ประกาศตัวเลขการให้บริการบัตรเครดิตแยกตามประเภทบัตรเครดิตล่าสุดในเดือน มิ.ย.หรือไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่า ในระบบมียอดค้างชำระเกิน 3 เดือน (เอ็นพีแอล) ของธุรกิจบัตรเครดิตจากไตรมาสก่อน 6.37% และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.48% จากปัจจุบันที่มียอดคงค้างเอ็นพีแอลในระบบทั้งสิ้น 5.91 พันล้านบาท แบ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทย 2.57 พันล้านบาท บริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์) 2.41 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 935 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในปัจจุบันจำนวนบัตรเครดิตมีทั้งสิ้น 13.10 ล้านใบ ลดลงจากไตรมาสก่อน 3.30 หมื่นใบ คิดเป็น 0.25% ซึ่งมีเพียงนอนแบงก์เท่านั้นที่เพิ่มขึ้น 6.22 หมื่นใบ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้น 7.45 แสนใบ หรือเพิ่มขึ้น 6.03% ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่ลดลง 1.68 หมื่นใบ ส่วนยอดคงค้างสินเชื่อมีทั้งสิ้น 1.83 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.63 พันล้านบาท คิดเป็น 0.90% ซึ่งผู้ประกอบการทุกประเภทต่างมียอดเพิ่มขึ้น และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้น 3.71 พันล้านบาท คิดเป็น 2.07% ซึ่งมีเพียงสาขาธนาคารต่างชาติเท่านั้นที่ลดลง
สำหรับใช้จ่ายโดยรวมผ่านบัตรเครดิตทั้งสิ้น 7.46 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นผู้ประกอบการในส่วนของธนาคารพาณิชย์ 4.0 หมื่นล้านบาท นอนแบงก์ 2.44 หมื่นล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 1.02 หมื่นล้านบาท ทำให้ลดลงจากไตรมาสก่อน 5.49 พันล้านบาท หรือลดลง 6.85% และลดลง 729 ล้านบาท หรือลดลง 0.97%
โดยในเดือน มิ.ย.มีปริมาณการใช้จ่ายในประเทศทั้งสิ้น 5.93 หมื่นล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 2.6 พันล้านบาท คิดเป็น 4.42% ซึ่งผู้ประกอบการทุกประเภทมียอดลดลง แต่ธนาคารพาณิชย์ลดลงมากที่สุด 2.09 พันล้านบาท และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 712 ล้านบาท คิดเป็น 1.27% ด้านปริมาณการใช้จ่ายในประเทศ 2.92 พันล้านบาท ผู้ประกอบการทุกประเภทมียอดลดลงทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน โดยลดลงจากไตรมาสก่อนถึง 9.52% และลดลงช่วงเดียวกันปีก่อน 10.90%
ส่วนการเบิกเงินสดล่วงหน้ามียอดทั้งสิ้น 1.78 หมื่นล้านบาท ลดลงทั้งเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของผู้ประกอบการทุกประเภท โดยไตรมาสก่อนลดลง 2.59 พันล้านบาท ในสัดส่วน 14.52% ซึ่งเฉพาะธนาคารพาณิชย์ลดลงถึง 2.38 พันล้านบาท และเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนลดลง 1.12 พันล้านบาท คิดเป็น 6.84%
สายนโยบายสถาบันการเงินธปท.กล่าวว่า ส่วนตัวเลขสินเชื่อบุคคลภายใต้กำกับดูแลของธปท.ล่าสุดในเดือนมิ.ย.หรือไตรมาส 2 ของปีนี้ พบว่า ในระบบมีจำนวนบัญชีนี้ทั้งสิ้น 9.15 ล้านบัญชี ลดลงต่อเนื่องทั้งเทียบกับไตรมาสก่อน 3.07 แสนบัญชี ลดลง 2.75% และเมื่อช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 2.05 ล้านบัญชี ลดลง 18.31% ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น2.22 แสนล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 2.52 พันล้านบาท ลดลง 1.14% แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับเพิ่มขึ้น 1.20 พันล้านบาท คิดเป็น 0.54%
สำหรับยอดเอ็นพีแอลในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลมีทั้งสิ้น 8.46 พันล้านบาท แบ่งเป็นนอนแบงก์ 8.46 พันล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ 3.33 พันล้านบาท และสาขาธนาคารต่างชาติ 869 ล้านบาท ทำให้เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.68% คิดเป็น 157 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนกลับลดลง 9.60% ลดลง 898 ล้านบาท.
|
|
 |
|
|