|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ส.โรงแรมไทยสุดทนกระทรวงการท่องเที่ยวเมินปัญหาโครงการเงินกู้อืด เตรียมร่อนจดหมายถึง “ชุมพล” เสนอจัดเวทีสัมมนา เชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมความคิดเห็นเพื่อหาทางออก ชี้ปัญหาต้นเรื่องอยู่ที่ เอสเอ็มอีแบงก์ ไม่ผ่อนกฎเกณฑ์ ตีโจทย์ไม่แตกว่าเป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการจาก ภาวะวิกฤต ระบุถ้าขืนช้า สิ้นปีมีลุ้นปลดพนักงาน
นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการร่างจดหมายเพื่อเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนา เพื่อระดมความคิดร่วมกับภาคเอกชนเพื่อหาทางออกให้กับโครงการเงินกู้ดอกเบี้ย ต่ำ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 5,000 ล้านบาท
ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้จริงตามที่คาดหวังไว้
ทั้งนี้การสัมมนาดังกล่าวต้องการให้กระทรวงการท่องเที่ยวเชิญหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องมานั่งถกปัญหาเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงการคลัง สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) สมาคมท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) สมาคมโรงแรมไทย(ทีเอชเอ) สมาคมภัตตาคารไทย เป็น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) ซึ่งเป็นผุ้ปล่อยเงินกู้ในโครงการนี้ ซึ่งประเด็นสำคัญของการจัดสัมมนา เพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้
เพราะภาคเอกชนเห็นว่า โครงการนี้เริ่มดำเนินการมานานกว่า 2-3 เดือนแล้ว แต่จนขณะนี้ มีผู้ประกอบการที่ได้รับเงินกู้น้อยมาก โดยสมาชิกของสมาคมโรงแรมไทย ได้รับไปเพียง 9 ราย รวมวงเงิน 40.5ล้านบาท จากกลุ่มผู้ที่ผ่านหลักเกณฑ์เงินกู้ทั้งหมด 168 ราย จากจำนวนผู้ ยื่นขอเงินกู้ทั้งหมด 288 ราย
“การนำทุกฝ่ายมาพูดคุยพร้อมๆกัน จะทำให้มองเห็นปัญหาที่แท้จริงว่าเกิดจากจุดใดจะได้ช่วยกันคิดแก้ไข เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งที่ผ่านมา ภาคเอกชนมองว่าปัญหาสำคัญของโครงการนี้ คือ เอสเอ็มอีแบงก์ ไม่ได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การปล่อยกู้ให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งที่จุดประสงค์ของโครงการต้องการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับ ผลกระทบจากปัญหาการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งผู้ประกอบการที่ขอกู้เงินส่วนใหญ่ก็จะมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง แต่หากธนาคารที่ปล่อยกู้ยึดหลักเกณฑ์การปล่อยกู้ให้แก่ธุรกิจทั่วไป ก็คงไม่มีใครผ่านมาตรฐานแน่นอน”
นายประกิจ กล่าวอีกว่า ตอนนี้ปัญหาสำคัญที่สุด คือ ขั้นตอนการพิจารณาของธนาคารเอสเอ็มอี ซึ่งพบว่าขั้นตอนการปล่อยกู้ไม่มีความชัดเจน การสื่อสารระหว่างแบงก์ กับสมาคมและภาคเอกชนก็ไม่ตรงกัน ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถรับเงินกู้มาเยียวยาธุรกิจได้ทันกับความต้องการ ซึ่งจากการสอบถามภาคเอกชนด้วยกันทุกฝ่ายบอกตรงกันว่ายังไม่ได้รับเงินกู้ แต่ทางเอสเอ็มอีกแบงก์กลับแจ้งว่าได้อนุมัติวงเงินกู้ให้แก่ผู้ประกอบการ จำนวนมากแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าข้อมูลทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน แต่ก็ยังไม่เห็นกระทรวงการท่องเที่ยวจะเรียกฝ่ายใดเข้าประชุมหารือเพื่อจะ ได้รีบแก้ไข
“ขณะนี้โครงการเงินกู้ฯไม่มีความคืบหน้า กระทรวงท่องเที่ยวฯยังไม่ได้เรียกประชุมต่อ ซึ่งความล่าช้าที่เกิดขึ้นทางต่างฝ่ายต่างโยนเรื่องไปมา ทางเอสเอ็มอีแบงกได้อ้างว่าปล่อยกู้จำนวนมาก แต่เมื่อเช็คยอดจริงกลับมีไม่ถึง 10 ราย โดยสร้างความสงสัยให้กับผู้ประกอบการอย่างมาก เพราะโครงการนี้เป็นมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.)แต่กลับล่าช้า”นายประกิจ กล่าว
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมือง และวิกฤตเศรษบกิจโลกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดยังมีปัญหาเรื่องโรคระบาดเข้ามาซ้ำ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีแต่จะลดน้อยลง รวมเวลามามากกว่า 6 เดือนแล้ว ทั้งที่รัฐบาลก็ออกโครงการมาช่วยเหลือ แต่ในทางปฎิบัติไม่สามารถทำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่แท้จริงได้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในขณะนี้ต้องประสบกับปัญหาขาดสภาพคล่องอย่าง หนัก บางรายแทบจะไม่มีเงินทุนหมุนเวียนแล้ว หากยืดเยื้อไปมากกว่านี้ก็จะกระทบต่อการจ้างงานแน่นอน
อย่างไรก็ตามตอนนี้หลายโรงแรมเริ่มทยอยปรับลดค่าใช้จ่ายกันมากยิ่งขึ้น จากปกติก็ประหยัดกันอยู่แล้ว เช่น ลดวันทำงาน การรณรงค์ประหยัดพลังงานทั้งไฟฟ้าและปะปา เพราะต้องการประคองธุรกิจให้อยู่รอดไปได้ถึงช่วงไฮซีซั่น เผื่อที่จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาสร้างรายได้ต่อลมหายใจได้ ต่อไป แต่ยอมรับว่าทุกรายมีความกังวลในสถานการณ์ไฮซีซั่นปีนี้ เพราะจนถึงวันนี้ ยังมียอดจองห้องพักล่วงหน้าเข้ามาไม่มากนักประมาณ 10% เท่านั้น ซึ่งต่างจากทุกปีที่ผ่านมา เพราะอีกราว 2 เดือนก็จะเริ่มเข้าสู่ไฮซีซั่นแล้ว หากรัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการปล่อยเงินกู้ล่าช้าในโครงการนี้ ยิ่งเท่ากับเร่งให้ผู้ประกอบการล้มตายเร็วขึ้น อาจถึงขั้นปลดพนักงาน และ ขายกิจการก็เป็นได้
|
|
|
|
|