Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2530
"ซิโน-ไทย ฟ้าสีทองผ่องอำไพแล้ว"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น

   
search resources

ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น, บมจ.
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล
Construction




ชวรัตน์ ชาญวีรกุล ตอนนี้อายุ 51 แล้ว เมื่อปี 2510 ขณะอายุเพิ่ม 31 เขากับญาติ ๆ ร่วมกันก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างเล็ก ๆ ทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทขึ้นใช้ชื่อว่าบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด

หลายปีหลังจากนั้นกิจการภายใต้การบริหาร "วัน แมน โชว์" ของเขารุ่งเรืองอย่างต่อเนื่อง พื้นฐานความรู้เพียงมัธยม 8 ไม่ใช่อุปสรรคในการนำพากิจการก่อสร้างและงานวิศวกรรมหนักของเขาไปสู่ความสำเร็จและความมั่งคั่งทางธุรกิจ

ซิโน-ไทย กลายเป็นชื่อที่โด่งดังตรงกันข้ามกับการวางตัวไม่ฟู่ฟ่าของชวรัตน์

คนภายนอกรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของซิโน-ไทย แต่คนข้างนอกไม่มีโอกาสได้รับรู้ว่าซิโน-ไทยมีปัจจัยอันใดทำให้ประสบความสำเร็จสามารถรับงานยิ่งใหญ่ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวิธีบริหารงานภายใต้แบบฉบับ "วัน แมน โชว์" ของชวรัตน์ ชาญวีรกุล ยิ่งไม่มีใครทราบ

ซิโน-ไทย ดูเหมือนเพิ่มศักยภาพความเกรียงไกรถึงขีดสุดในช่วงปี 2525

ช่วงนั้นซิโน-ไทยจับงานก่อสร้างและงานวางท่อแก๊สงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ที่แต่ละงานมูลค่าเป็นร้อยล้านบาทขึ้นไป

ปี 2526 เพื่อรองรับความยิ่งใหญ่ซิโน-ไทยเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 16 ล้านบาทเป็น 30 ล้านบาท

ปี 2527 จับงานก่อสร้างอาคารระดับมโหฬารย่านถนนอโศกที่เดิมเป็นโครงการชื่อเอ็มพีดีออฟฟิศคอนโดมิเนียมของสมใจ ปัญจะ ในนามบริษัทสินทรัพย์ธานี

"มันเริ่มจากคุณสมใจ ปัญจะเจ้าของโครงการเพิ่งจะลงมือก่อสร้างไปได้ไม่มากก็มาเสียชีวิตไปเสียก่อน ญาติ ๆ ก็ไม่คิดจะสานต่อเพราะไม่มีใครถนัด ก็เลยบอกขายในราคาราว ๆ 250 ล้านบาท ทางซิโน-ไทยก็สนใจก็ไปรับซื้อเอามาสร้างต่อกลายเป็นอาคารซิโน-ไทย ทาวเวอร์ ในปัจจุบัน" แหล่งข่าววงการรีลเอสเตทคนหนึ่งเล่า

สำหรับชวรัตน์ ชาญวีรกุลแล้ว ช่วงนั้นก็คงจะเป็นช่วงที่เขาดูจะมีความสุขมาก

และก็คงจะเป็นความสุขครั้งสุดท้ายก่อนหน้าพายุใหญ่ที่ไม่มีใครคาดคิด

ปี 2528 ซิโน-ไทย โดนพายุร้ายกระหน่ำถึงกับยืนไม่ติด ต่อเนื่องถึงปี 2529 อาการซวดเซแสดงผลอย่างซึมลึกแผ่ซ่านไปทุกรูขุมขนของอาณาจักรยิ่งใหญ่แห่งนี้

"ปัญหาของซิโน-ไทยดูเผิน ๆ ก็เหมือน ๆ กับอีกหลาย ๆ ธุรกิจนั่นแหละ คือได้รับความเสียหายจากการประกาศลดค่าเงินบาทในยุคสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีคลัง "นักการคลังคนหนึ่งอธิบาย

"ช่วงนั้นซิโน-ไทย รับงานวางท่อแก๊สของ ปตท. เป็นซับคอนแท็คจากบริษัทก่อสร้างของญี่ปุ่น ก่อนลงมือวางท่อ ทางญี่ปุ่นก็ให้เครดิตในการสั่งซื้อเครื่องจักรและเครื่องมือรวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในงานจากต่างประเทศ นอกจากนี้งานสร้างคลังเก็บน้ำมันที่ซิโน-ไทย รับจากเอสโซ่ก็มีการสั่งซื้อเหล็กเป็นจำนวนมาก สั่งซื้อเสร็จไม่นานก็ลดค่าเงินบาทซิโน-ไทยก็ขาดทุนทันทีจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงใหม่ ว่ากันว่าเงินขาดทุนจากสถานการณ์นี้สูงถึง 800 ล้านบาท" แหล่งข่าวในวงการก่อสร้างพูดให้ฟัง

ส่วนอาคารซิโน-ไทย ทาวเวอร์ ที่ซิโน-ไทย เทคโอเวอร์โครงการเอ็มพีดีของสมใจ ปัญจะมานั้น ช่วงที่เจรจาซื้อสถานการณ์ก็ยังรุ่งเรืองอยู่ มีหลายโครงการคล้าย ๆ กันโผล่ขึ้นมาเป็นดอกเห็ด แต่ไม่ทันข้ามปีสถานการณ์ก็พลิกเป็นตรงกันข้าม กำลังซื้อหดตัว ขณะที่พื้นที่ให้เช่าซื้อภายในอาคารใหญ่มีเกินความต้องการค่าวัสดุก่อสร้างขยับสูงขึ้นและนโยบายจำกัดสินเชื่อไม่เกิน 18 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปี 2528 ทำให้เงินหมุนเวียนของภาคธุรกิจหดตัวอย่างกระทันหัน โครงการก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้เงินล้วนเจอสภาพหยุดชะงัก

ผสมผสานกับวิธีการบริหารงานแบบ "วัน แมน โชว์" ที่ทุกอย่างรวมศูนย์อยู่ที่ชวรัตน์ ชาญวีรกุล เพียงผู้เดียว จอมยุทธที่สันทัดจัดเจนด้านงานก่อสร้าง แต่ออกจะไม่สันทัดกับยุทธวิธีการบริหารเงินภายใต้สถานการณ์วิกฤตก็เลยต้องหายหน้าหายตาไปจากประเทศไทยพักใหญ่

"ช่วงปี 28 กับปี 29 ใครถือเช็คของซิโน-ไทยก็ร้อน ๆ หนาว ๆ เพราะหลายคนก็พอรู้ ๆ ว่าเขากำลังลำบากขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง ตัวชวรัตน์ก็ไม่อยู่ให้ใครพบ คนที่ค้าขายกันมานาน ๆ ก็เห็นใจเขามาก เพราะเชื่อว่าชวรัตน์ไม่เบี้ยวแน่ เขาต้องอาศัยเวลาบ้างเท่านั้น แต่บางคนก็ปฏิบัติอย่างไม่ไว้หน้าที่พยายามแสวงหาประโยชน์จากความยากลำบากของชวรัตน์ก็มาก..." คนที่ทำธุรกิจติดต่อกับซิโน-ไทย พูดให้ฟัง

อาคารซิโน-ไทย ทาวเวอร์นั้นในช่วงที่กำลังเผชิญปัญหารอบทิศบริษัทอุตสาหกรรมนมไทยเจ้าของผลิตภัณฑ์นมตรามะลิก็มาเจรจาจะขอเช่าซื้อพื้นที่จำนวน 6 ชั้น เพียงแต่มีเงื่อนไขว่า ซิโน-ไทย จะต้องถอดป้ายชื่ออาคารทิ้งแล้วแขวนป้าย "อาคารอุตสาหกรรมนมไทย" เข้าไปแทน ซิโน-ไทย ก็จะได้อุตสาหกรรมนมไทยเป็นลูกค้าอย่างไม่ต้องสงสัย

"คุณชวรัตน์นั้นโมโหมาก ก็ไม่ตกลง เนื่องจากเขาถือว่าชื่อเสียงของซิโน-ไทย ไม่เคยเป็นรองใคร ให้ราคาอย่างไรแกก็ไม่เอา เรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องเงินแต่มันเป็นเรื่องของหน้าตา" คนที่รู้จักชวรัตน์เล่า

หลายคนสรุปว่าคนอย่างชวรัตน์นั้นแม้ลำบากก็ยังหยิ่งในศักดิ์ศรีมาก ๆ

คนที่ทำธุรกิจกับชวรัตน์ยิ่งมั่นใจว่าคนหยิ่งในศักดิ์ศรีคนนี้จะต้องเป็นคนมีความรับผิดชอบย่อมไม่หนีปัญหาอย่างแน่นอน

และวันนี้คนหยิ่งในศักดิ์ศรีกำลังจะพบกับฟ้าสีทองผ่องอำไพอีกครั้ง ภายหลังพายุร้ายผ่านพ้นซากปรักหักพังกำลังอยู่ในช่วงของการซ่อมแซมและฟื้นฟูขึ้นมาใหม่

ซิโน-ไทย รับงานใหญ่หลายชิ้นในรอบปี 30 นี้ซึ่งงานใหญ่มาก ๆ ก็คืองานวางท่อแก๊สของ ปตท. ขึ้นไปทางบางปะอินและแก่งคอยสระบุรีและอาจติดตามด้วยงานขยายโรงกลั่นน้ำมันโรงหนึ่ง

ซิโน-ไทยและชวรัตน์ กำลังปีนภูเขาสูงอีกครั้งอย่างคนมีบทเรียน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us