Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน6 สิงหาคม 2552
แบงก์รัฐกอดคอลุยสินเชื่อ ครม.ไฟเขียวเป้าสิ้นปี9.2แสนล้าน             
 


   
search resources

Loan




ครม.เปิดทางแบงก์ 6 รัฐลุยไฟปล่อยสินเชื่อทั้งปี 9.27 แสนล้านบาท จากเป้าหมายเดิม 6.25 แสนล้านบาท หวังใช้กระตุ้นเศรษฐกิจควบคู่โครงการไทยเข้มแข็ง แยกบัญชีสินเชื่อเพื่อสังคมกำหนดวงเงินชดเชยที่ชัดเจน พร้อมผ่อนเกณฑ์ปล่อยกู้ให้ยื้ดหยุ่นมากขึ้น

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า วานนี้คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้รับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอในเรื่องการขับเคลื่อนสถาบันการเงิน เฉพาะกิจเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหน้าที่เป็นกลไกของรัฐเพื่อฟื้นฟูและช่วย เหลือกลุ่มประชาชนและธุรกิจเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีมาตรการดังนี้ เป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจปรับเพิ่มเป้าหมายการอนุมัติการปล่อยสินเชื่อปี 2552 จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ที่ 625,500 ล้านบาท อีก 301,500 ล้านบาท รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 927,000 ล้านบาท

โดยมีรายละเอียดดังนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เป้าการอนุมัติสินเชื่อเดิม 323,000 ล้านบาท เป้าสินการอนุมัติเชื่อเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 147,000 ล้านบาท เป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ 470,000 ล้านบาท ธนาคารออมสิน เป้าการอนุมัติสินเชื่อเดิม 162,600ล้านบาท เป้าสินการอนุมัติเชื่อเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 80,000ล้านบาท เป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ 242,600ล้านบาท

ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) เป้าการอนุมัติสินเชื่อเดิม 73,500 ล้านบาท เป้าสินการอนุมัติเชื่อเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 26,500 ล้านบาท เป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ 100,000 ล้านบาท ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เป้าการอนุมัติสินเชื่อเดิม 26,000 ล้านบาท เป้าสินการอนุมัติเชื่อเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 17,500ล้านบาท เป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ 43,500 ล้านบาท

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ เป้าการอนุมัติสินเชื่อเดิม 19,700 ล้านบาท เป้าสินการอนุมัติเชื่อเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 17,500 ล้านบาท เป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ 37,200 ล้านบาท และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ธอท.) หรือ iBank เป้าการอนุมัติสินเชื่อเดิม 20,700 ล้านบาท เป้าสินการอนุมัติเชื่อเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 13,000 ล้านบาท เป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ 33,700 ล้านบาท รวมเป้าการอนุมัติสินเชื่อเดิม 625,500 ล้านบาท เป้าสินการอนุมัติเชื่อเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 301,500 ล้านบาท เป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ 927,000 ล้านบาท

โดยกระทรวงการคลังได้เสนอให้มีการแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทำหน้าที่เป็นกลไกของรัฐเพื่อฟื้นฟูและช่วย เหลือกลุ่มประชาชนและธุรกิจเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในกลุ่มเป้าหมายที่มีวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม

ในขณะเดียวกัน สถาบันการเงินเฉพาะกิจก็สามารถดำเนินการอย่างมั่งคงและยั่งยืน กระทรวงการคลังจึงมีนโยบายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจแยกบัญชีธุรกรรมที่ ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟู และช่วยเหลือประชาชนและธุรกิจเป้าหมาย ออกจากบัญชีธุรกรรมทั่วไปเพื่อที่จะได้ดูแลหรือชดเชยรายได้ส่วนที่ขาดหายไป แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจเหล่านั้นอย่างเป็นระบบชัดเจน โดยมีกรอบในการพิจารณาโครงการที่สามารถแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐได้ ดังนี้

โครงการที่มีวัตถุประสงค์และรูปแบบการให้บริการเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้ รับผลกระทบจากสาธารณภัย หรือการก่อวินาศกรรม ตามคำจำกัดความของพระราชบัญญัติป้องกันฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2522 หรือ ฟื้นฟูกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ หรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน วิสาหกิจ และหน่วยธุรกิจ และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี

หรือเป็นโครงการหรือธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน หรือธุรกรรมที่รัฐบาลสั่งการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินการเป็นกรณี พิเศษ โดยต้องมีมติคณะรัฐมนตรีระบุให้มีการชดเชยหรือสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาลแก่ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐอย่างชัดเจน

สำหรับเกณฑ์การผ่อนปรนที่สามารถเสนอกระทรวงการคลังเพื่อผ่อนปรนกว่าเกณฑ์ ปกติ เช่น อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และค่าเบี้ยประกัน เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาด หรือมีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และค่าเบี้ยประกัน หลักประกัน เช่น ไม่มีหลักประกัน หรือหลักประกันต่ำกว่าสินเชื่อที่ให้บริการเป็นอย่างมาก ระยะเวลา เช่น มีระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ หรือระยะเวลาปลอดการชำระหนี้มากกว่าระยะเวลาที่สถาบันการเงินทั่วไปพึงยึด ถือปฏิบัติ ปลอดการชำระเงินต้น

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาโครงการและกำหนดมาตรฐานการคำนวณเงินชดเชย รวมถึงสรุปวงเงินที่ควรได้รับการชดเชยเพื่อประกอบการขอตั้งงบประมาณ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการแผกบัญชีและกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละโครงการ เพื่อให้การดำเนินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์แก่การดำเนินนโยบายของรัฐเพื่อการเร่งรัดการแก้ไขบัญหา และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างแท้จริงและยั่งยืน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us