Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2530
"นายแบงก์คนใหม่ ชื่อ "เสี่ยเล้ง"?มังกรโดดเดี่ยวที่อยากเป็นสุภาพบุรุษ"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารนครหลวงไทย

   
search resources

ธนาคารนครหลวงไทย, บมจ.
เจริญ พัฒน์ดำรงจิตร
Financing




ในบรรดาผู้ถูกกล่าวอ้างว่าได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของธนาคารนครหลวงไทยยุคยกเครื่องนั้นชื่อ เจริญ พัฒนดำรงจิตร์ ออกจะสร้างความแปลกใจแก่หลาย ๆ คนเป็นอย่างมากว่าคนผู้นี้เป็นใครมาจากไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร จึงหาญกล้าตีปีกเข้าประกบและอาจดูโดดเด่นกว่าเจ้าสัวบางคนเสียอีก

แต่ถ้าพูดถึงชื่อนี้กับคนขอนแก่นใครไม่รู้จักนับว่าเชยเต็มที กิตติศัพท์ของเจริญ พัฒนดำรงจิตร์ หรือ "เสี่ยเล้ง" คนนี้จัดอยู่ในแถวหน้าของจังหวัดและภาคอีสาน เป็นนักธุรกิจค้าพืชผลคนสำคัญที่โด่งดังคู่มากับวิญญู คุวานันนท์ หรือ "โค้วยู่ฮะ" คนดังด้านรถยนต์ อาณาจักรธุรกิจของเสี่ยเล้งเจ้าตัวเองยังเคยบอกว่า "ไม่รู้เหมือนกันว่าจดทะเบียนไว้กี่แห่ง มันมากเสียจนจำไม่ได้"

ซึ่งก็คงมากมายสมคำคุยไม่เช่นนั้นแล้วคงไม่สามารถผ่าตัดอัดฉีดระบบเงินแชร์ของเมืองขอนแก่นที่เคยล้มทั้งยืนให้กลับตั้งตัวอยู่รอดตลอดฝั่งมาได้ แม้ว่าบางส่วนของเงินหล่อเลี้ยงจะมีคนพูดกันมากว่าได้มาจากการค้าบางประเภทที่ทำให้เสี่ยเล้งต้องถูกโจษขานอีกมุมหนึ่งว่าเป็นคนโตของวงการ "ได้เสีย"

ความเป็นคนดังซึ่งสนิทชิดเชื้อเป็นอย่างมากกับพ่อค้าใหญ่คนจีนที่กุมหนังสือพิมพ์จีนไว้ในมือถึง 7 ฉบับ และเป็นคนที่มีชื่อเสียงเรียงนามในวงการ "ได้เสีย" เหมือน ๆ กัน ทำให้เสี่ยเล้งเคยถูกสั่งเก็บอย่างอุกอาจมาแล้วเมื่อปี 2522 ตอนนั้นเสี่ยเล้งถูก 2 มือปืนดักยิงหน้าภัตตาคารรินคำ ตรงข้ามธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่ เดชะบุญกระสุนเจาะแค่หน้าแข้งเท่านั้น

แต่ก็เล่นเอาต้องเก็บตัวเงียบอยู่พักใหญ่!

"ทุกคนมีศัตรูกันทั้งนั้นห้ามกันไม่ได้ แต่ศัตรูนี่ไม่เท่าไรเขาเกลียดเราเขาก็ทำให้เรารู้เราก็ระวัง ๆ ไว้ได้ แต่คนที่ปองร้ายหรืออิจฉาเงียบ ๆ นี่อันตรายมากเหมือนไฟสุมขอนไม่รู้ว่าวันหนึ่งเขาจะคิดตีแทงข้างหลังเราอย่างไร" เสี่ยเล้งเคยกล่าวสั้น ๆ แต่ดูจะเป็นปรัชญาชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับคนที่มีวิถีชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้ายและเส้นไหมอย่างเขา

ชีวิตของคนดังขอนแก่นผู้นี้เป็นชาว อ. สีคิ้ว จ. นครราชสีมา เกิดเมื่อปี 2477 อพยพมาทำงานที่ขอนแก่นเมื่อปี 2496 โดยเป็นลูกจ้างร้านขายเครื่องไฟฟ้า "ไทยแสงพาณิชย์" เพราะความเป็นคนงานใหม่ทำให้ถูกข่มตลอดเวลา จนทำให้เจ้าตัวมุมานะที่จะเอาชนะเพื่อนร่วมงานเหล่านั้นให้ได้

ดังนั้นเลยใช้เวลาว่างร่ำเรียนภาษาจีน แล้วสมัครเรียนบัญชีทางไปรษณีย์ที่กรุงเทพการบัญชีไปในตัว ผลพลอยได้จากการเรียนทำให้ตำแหน่งหน้าที่การงานเลื่อนขึ้นจากคนส่งของมาเป็นคนทำบัญชีและคนเดินตลาด ทำงาน 6 ปีเงินเดือนขึ้นจาก 300 บาทเป็น 700 บาท แต่สิ่งที่เขาได้รับและปิติใจมากไปกว่านั้นก็คือ ทำให้ได้รู้จักกับผู้คนมาหน้าหลายตา โดยเฉพาะตำรวจกับทหารในระดับท้องถิ่น

และนั่นก็จุดเริ่มต้นที่ผลักดันวิถีชีวิตของเสี่ยเล้งให้ต้องโจษขานกันว่าเขาคือ ผู้กว้างขวาง

"ใจมันนักเลงตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว กล้าได้กล้าเสียและไม่ยอมแพ้ใครง่าย ๆ คิดดูสมัยก่อนต้องขี่ม้าไปเก็บเงินนอกเมืองเป็นคนอื่นคงไม่กล้า แต่หมอนี้ไปได้สบายไปเป็นเดือนก็ยังมี" พ่อค้าเก่า ๆ ของขอนแก่นเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

หลังจากออกจากร้านไทยแสงพาณิชย์ ก็ใช้ชีวิตสำมะเลเทเมาอย่างเต็มที่ เล่นบ่อนตีตั๋วจนตำรวจจำหน้าจำตาได้เป็นอย่างดีและคราวหนึ่งเปิดบ่อนในค่ายทหารชนิด 7 วัน 7 คืนครั้งนั้นทำให้ชีวิตของเสี่ยเล้งผันแปรไปเป็นอย่างมาก เขาทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำอย่างที่ไม่น่าเชื่อ

สำหรับเส้นทางเดินธุรกิจเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อปี 2506 โดยนำเงินที่ได้จากชีวิตนักเลงไพ่มาทำโรงปอ แล้วก็เปลี่ยนเป็นโรงมัน วิ่งล่องค้าพืชผลต่าง ๆ ซึ่งก้าวหน้าไปได้อย่างดี ทั้งนี้อาจเป็นผลที่ได้มาจากการที่มีเพื่อนมากของเขาก็เป็นได้

"ทำพืชไร่มันก็เหมือนกับการเล่นพนัน เราต้องขายให้หมดซื้อมางวดหนึ่งจะให้เหลือไม่ได้ราคาตกมายังไงเราก็ต้องขาย จะต้องไม่ให้มีของเหลือเดน" ปรัชญาการค้าง่าย ๆ ที่เสี่ยเล้งยังใช้มาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าบางครั้งอาจทำให้เขาเลือดตาแทบกระเด็นแต่ก็ไม่เคยทิ้งมัน

กิจการด้านพืชผลรุดหน้าไปตามสถานการณ์ เสี่ยเล้งกลายเป็นคหบดีไปอย่างรวดเร็ว มีทั้งโรงสี โรงมัน โรงปอ โรงแป้งจิปาถะ โดยเฉพาะโรงแป้งที่ขอนแก่นของเขาได้ชื่อว่าเป็นโรงแป้งที่ทันสมัยแห่งหนึ่งใช้เงินลงทุนหลายร้อยล้านบาท นอกจากนี้เสี่ยเล้งยังมีหุ้นส่วนกับธุรกิจต่าง ๆ ในจังหวัดอีกมากมายและยังมีบริษัทส่งออกชื่อชุมแสงอินเตอร์เนชั่นแนลอีกด้วย

"แต่ส่วนใหญ่คนไม่รู้จักธุรกิจเหล่านี้ของเขามากนักเพราะตัวเสี่ยเล้งมอบภาระหน้าที่ให้กับเมียและน้อง ๆ เป็นผู้ดูแลมากกว่า ที่รู้จักกันมากก็คือ เขาเป็นคนใจถึงในเรื่องได้เสียมากกว่า" พ่อค้าขอนแก่นคนหนึ่งกล่าว

ธุรกิจที่เสี่ยเล้งมีอยู่อีกก็เช่น ไร่ยูคาลิปตัสกว่า 3,000 ไร่ที่ลงทุนด้วยเงินถึง 20 ล้านบาทเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่อีกรายหนึ่งของฟินิค พัลพ์ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนกิติคุณวิทยาที่โคราชอีกแห่ง เสี่ยเล้งคิดจะขยับขยายโรงเรียนแห่งนี้ให้เป็นวิทยาลัยเช่นกัน

"เคยมีข่าวว่าเสี่ยใหญ่จากขอนแก่นคนหนึ่ง นำเครื่องบินของกองทัพภาคที่ 2 ขึ้นไปบินสำรวจดูพื้นที่แถวโคกกรวด นับว่าเสี่ยคนนี้บารมีมากจริง ๆ" พ่อค้าในโคราชเคยคุยกันถึงเรื่องที่กองทัพภาคที่ 2 อนุญาตให้เอกชนเอาเครื่องบินของทางราชการไปใช้บินสำรวจที่ ซึ่งเป็นข่าวครึกโครมมาก และเสี่ยคนที่ว่าก็มีผู้พูดกันว่า ไม่ใช่ใครที่ไหนอื่นเขาคือ เสี่ยเล้งคนนี้

ถ้าเป็นอย่างนี้จริงเห็นทีจะต้องยอมรับว่าบารมีของมังกรทะยานฟ้าผู้นี้ไม่ยิ่งหย่อนเลยทีเดียว

ช่วงหลัง ๆ นี้เสี่ยเล้งยังได้ชื่อว่าเป็นคนสนิทของ บุญชู โรจนเสถียร เป็นฐานกำลังสนับสนุนด้านการเงินแก่พรรคกิจประชาคมทางภาคอีสาน คนสำคัญการเข้ามาซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทยว่ากันว่าผ่านมาทางสายบุญชู โรจนเสถียร และก็ว่ากันว่าเขาเป็นคน ๆ เดียวในกลุ่มบุญชูที่เล็ดลอดเข้าไปในรังแห่งนี้ได้

แต่ ดิลก มหาดำรงค์กุล กลับปฏิเสธกับ "ผู้จัดการ" ว่า เรื่องการเข้ามาซื้อหุ้นโดย "เสี่ยเล้ง" นั้นเป็นเรื่องยกเมฆ

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของนครหลวงไทยจะมีนักธุรกิจใหญ่เชื้อสายจีนพูดไทยสำเนียงอีสานอย่าง "เสี่ยเล้ง" ด้วยหรือไม่นั้น ยังสับสน

ที่ไม่สับสนก็เพียงว่า เสี่ยเล้งนี้ร่ำรวยมาก และเขาต้องการ "หน้าตา" และ "ชื่อเสียง" ในฐานะนักธุรกิจระดับชาติคนหนึ่งอย่างแน่นอนที่สุด

อย่างเช่นมีส่วนเป็นเจ้าของแบงก์ก็ต้องนับว่าตรงเป้ามากๆ

ก็คงคล้าย ๆ กับที่ "เสี่ยเล้ง" ส่งลูกชายทั้ง 3 คนที่มีไปเรียนอังกฤษ

"ที่อังกฤษเขาสอนให้เป็นสุภาพบุรุษ เคยได้ยินไหมสุภาพบุรุษอังกฤษ เราอยากให้ลูกเป็นอย่างนั้น" เสี่ยเล้งมักบอกกับทุกคน

ภารกิจในทุกวันนี้ของเขาก็น่าจะเป็นการสร้างกิจการที่เหมาะสมกับลูก ๆ "สุภาพบุรุษอังกฤษ"

ไม่ใช่กิจการ ที่ใช้ความเป็น "ผู้กว้างขวาง" อย่างเช่นที่เขาเคยเติบโตขึ้นมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us