Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน6 สิงหาคม 2552
ธปท.ปล่อยผีบาท ดัน500บริษัทยักษ์ลงทุนนอก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ดีคอนโปรดักส์, บมจ.




คลอดแล้ว เกณฑ์ใหม่ดันทุนไทยไปนอกสกัดค่าบาทแข็ง แบงก์ชาติขยายขอบเขตลงทุน เพิ่มประเภทให้นักลงทุนสถาบันที่เป็นนิติบุคคลสินทรัพย์มากกว่า 5 พันล้านบาท กว่า 500 บริษัท ไปลงทุนหลักทรัพย์ไม่เกิน 50 ล้านเหรียญ หากต้องการเกินให้เพิ่มได้ พร้อมขยายเพดานทำประกันความเสี่ยงส่งออกนำเข้า

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงวานนี้ (5 ส.ค.) ว่า ธปท.ได้ผ่อนคลายหลักเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของคนไทยมากขึ้น รวมถึงการทำธุรกรรมอนุพันธ์ภายในประเทศมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสระยะยาวให้แก่นักลงทุนไทย โดยพยายามตักตวงการลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการอื่นในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งช่วงนี้ถือเป็นจังหวะที่ดีและเป็นจุดที่มีเสถียรภาพอยู่แล้ว พร้อมทั้งช่วยบริหารความเสี่ยงและบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศให้มีความ คล่องตัวมากขึ้น ซึ่งอย่างน้อยช่วยให้ประเทศมีความเข้มแข็งมากขึ้น

ข้อมูลเบื้องต้นในปี 51 พบว่า สินทรัพย์ในประเทศมีทั้งสิ้น 1.59 แสนล้านเหรียญ ขณะที่หนี้สิน 1.85 แสนล้านเหรียญ ส่งผลให้หนี้สุทธิของไทยยังมีอยู่ แต่ลดลงจำนวนมากแล้วเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา และเมื่อเข้าไปดูรายกลุ่ม พบว่า สินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ที่ธปท. ที่มีอยู่ 1.1 แสนล้านเหรียญ ขณะที่ภาคหนี้สินส่วนใหญ่เกิดจากภาคเอกชนไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ 1.4 แสนล้านเหรียญ ซึ่งส่วนนี้โดยรวมแล้วหนี้สุทธิ 1.17 แสนล้านเหรียญ จึงเกิดความไม่สมดุลขึ้นระหว่างทางการกับภาคเอกชน ประกอบกับการลงทุนภาคเอกชนที่จำกัด จึงได้ผ่อนผันให้ภาคเอกชนหันไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งอย่างน้อยเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประเทศ

สำหรับหลักเกณฑ์ที่ ธปท.ผ่อนผันให้มากขึ้น คือ กำหนดให้เพิ่มประเภทนักลงทุนสถาบันที่เป็นนิติบุคคลมีสินทรัพย์ตามงบดุล ตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งมีธุรกิจหลักเป็นผู้ผลิต ผู้ค้าหรือผู้บริการสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้ด้วยตัวเองในวง เงินไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐต่อรายได้ทันที แต่หากเกินวงเงินดังกล่าวสามารถขอมายัง ธปท.เพิ่มเติมได้ ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะผ่อนผันการลงทุนให้แก่นักลงทุนต่างชาติเพิ่มเติมด้วย

ทำให้นักลงทุนสถาบันเพิ่มมาเป็นประเภทที่ 8 จากเดิมอนุญาตให้นักลงทุน 7 ประเภท ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และสถาบันการเงิน

“มาตรการที่เราเปิดมากขึ้นนี้จะไม่มีการปิดในอนาคต ซึ่งแบงก์ชาติได้มองอย่างรอบคอบแล้ว โดยมองว่านิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ตั้งแต่ 5,000 ล้านบาทขึ้นไปที่มีอยู่ในระบบ 503 บริษัท บริษัทเหล่านี้มีการวิเคราะห์การลงทุนต่างๆ การเงิน และฐานะที่ดี จึงเชื่อว่าไม่มีปัญหาอะไรหากมีการตัดสินใจไปลงทุนต่างประเทศด้วยตัวเอง แต่ยอมรับว่าในช่วงแรกอาจใช้เวลาบ้างเพราะการลงทุนในต่างประเทศต้องขอบอร์ด อนุมัติ จึงเป็นการทยอยออกไป และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวเงินทุนไหลเข้า-ออกไทยจะสมดุลมากขึ้น”

ขณะเดียวกัน ธปท.ยังได้ขยายขอบเขตการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยผู้ลงทุนสถาบันสามารถซื้ออนุพันธ์กับคู่สัญญาได้ทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ จากเดิมกำหนดเฉพาะคู่สัญญาในประเทศเท่านั้น และซื้ออนุพันธ์ในลักษณะเพื่อหาผลตอบแทนในลักษณะเก็งกำไรส่วนต่างได้ นอกเหนือจากการป้องกันความเสี่ยงรวมทั้งผ่อนผันให้นำเอาหลักทรัพย์หรือ อนุพันธ์ที่ทำไว้มาซื้อขายในตลาดรอง และทำธุรกรรมยืม และให้ยืมหลักทรัพย์เพื่อการลงทุน ซึ่งจะเพิ่มความยืดหยุ่นในการลงทุนมากขึ้น

สำหรับบุคคลธรรมดาที่ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์นั้น ธปท.ได้ผ่อนคลายให้ทำธุรกรรมอนุพันธ์ที่ซื้อขายในตลาดต่างประเทศ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น เพิ่มประเภทการลงทุนในตราสารหนี้ หรือ คำจำกัดความของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (FDI) เพิ่มเติมในการลงทุนหุ้นต่างประเทศไม่ถึง 10% ถือเป็นการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศได้จากเดิมที่ให้ลงทุนเฉพาะหลักทรัพย์ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดเท่านั้น เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการลงทุนมากขึ้น รวมถึงยกระดับขอบเขตการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลให้เทียบเท่ากับนักลงทุน สถาบันด้วย

เปิดเพดานส่งออกนำเข้าทำประกันเสี่ยง

นอกจากนี้ ธปท.ยังผ่อนผันการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของผู้ส่งออก -นำเข้าเพิ่มขึ้น จากเดิมการอนุญาตให้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อทำป้องกันความ เสี่ยงนั้นกำหนดให้ทำเท่ากับคำสั่งซื้อหรือขายที่มีเท่านั้น แต่ในขณะนี้เพิ่มให้ทำได้ไม่เกินมูลค่าสินค้าเข้าหรือส่งออก 12 เดือนและให้ทำป้องกันความเสี่ยงข้ามสกุลเงินได้เพื่อความคล่องตัวในการค้า ขาย และเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลางที่ยังไม่มีความสามารถในการบริหาจัดการอัตราแลกเปลี่ยนฯ หากทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงไปแล้ว แต่ค่าเงินเกิดกลับทิศ สามารถมาขอยกเลิกสัญญาได้ก่อนครบสัญญาจริง ในวงเงินครั้งละไม่เกิน 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

“ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ส่งออก ธนาคารพาณิชย์ และนักลงทุนต่างชาติมีการนำเงินมาลงทุน ซื้อหุ้น หรือลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทำให้เงินบาทแข็ง ดังนั้น ในขณะนี้ผู้นำเข้าควรหันมาซื้อดอลลาร์ เพราะหากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว วัตถุดิบ น้ำมันและสินค้าต่างๆ จะแพงขึ้น แม้ตอนนี้โครงการภาครัฐคืบหน้าช้า แต่เข้าใจว่ารัฐบาลพยายามกระตุ้นอยู่ นอกจากนี้ การทำธุรกรรมอนุพันธ์ นอกเหนือจากการป้องกันความเสี่ยงแล้วยังได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น และเป็นการสร้างผลจิตวิทยาในระยะสั้นต่อค่าเงินบาท ทำให้เงินบาทไม่แข็งมาก”

ขณะเดียวกัน ยังเพิ่มทางเลือกในการลงทุนของนักลงทุนไทยในประเทศ ธปท.ผ่อนผันให้นักลงทุนไทยสามารถซื้อ กู้ยืม หรือฝากเงินกับสถาบันการเงินในประเทศ ที่อิงกับอัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยต่างประเทศ ผลตอบแทนทองคำ น้ำมัน หรืออื่นๆ ได้ด้วย

“ที่ผ่านมา ด้วยความไม่เข้าใจเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนฯ ทำให้รายย่อยไม่ค่อยป้องกันความเสี่ยง เมื่อค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงจะมีความเสียหายได้ ดังนั้น การเปิดโอกาสให้ยกเลิกสัญญาได้ อาจจะทำให้รายกลางรายย่อย ทำป้องกันความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ส่วนกรณีที่เป็นห่วงว่า การให้ผู้ส่งออกทำสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้าเกินคำสั่งซื้อขายที่มีจะทำ ให้เกิดแรงเก็งกำไรนั้น ต้องมองทั้ง 2 ด้านคือ ภาคการนำเข้า และส่งออก ที่จะช่วยให้แรงซื้อและขายเงินสมดุลกันได้”

ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การเคลื่อนไหวค่าเงินบาทไทยไม่ได้แตกต่างกับประเทศอื่น แต่กลับนิ่งกว่าด้วยซ้ำ โดยนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเงินบาทแข็งค่า 2.4% เช่นเดียวกับอินเดีย เทียบกับประเทศเกาหลี 3.5% อินโดนีเซีย 9.8% ขณะที่เฉพาะค่าเงินดอลลาร์อ่อนประมาณ 4%

สำหรับภายในประเทศมองว่าปัจจุบันสภาพคล่องในระบบมีจำนวนมาก โดยล่าสุดมีสภาพคล่องส่วนเกิน 1.75 ล้านล้านบาท หรือสูงถึง 5 เท่าที่ต้องกันดำรงไว้ จึงเชื่อว่าจะสามารถรองรับการลงทุนและการขยายตัวในอนาคตได้.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us