Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2530
"มร. วี. เอ็ม. ดโวรัก อดีต M.D. บาจา อีกตำนานของความรักเมืองไทย             
 


   
search resources

รองเท้าบาจาแห่งประเทศไทย, บมจ.
Garment, Textile and Fashion
วี. เอ็ม. ดโวรัก, มร.




ถ้าเอ่ยถึง มร. วี. เอ็ม. ดโวรัก ชาวเช็คโกสโลวาเกีย กรรมการผู้จัดการบริษัท รองเท้าบาจาแห่งประเทศไทย ระหว่างปี 2502-2521 ซึ่งเสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจ และณาปนกิจศพไปแล้วเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2530 ณ เมรุวัดธาตุทอง คงมีไม่กี่คนนักที่รู้จัก

แต่ถ้ากล่าวถึงรองเท้าบาจาคนทั่วไปจะรู้จักดีในฐานะรองเท้าที่มีราคาเป็นเอกลักษณ์ที่ลงท้ายด้วยเลข 9

และคนที่อยู่ในวงการตลาดหุ้นจะรู้ดีว่า ในปี 2520-2521 นั้นมูลค่าหุ้นบาจาสูงขึ้นถึง 800-900 บาท จากราคาพาร์ 100 บาท และในปี 2521 จ่ายเงินปันผลถึง 50 บาท/หุ้น

สำหรับนักศึกษาที่เรียนวิชาการตลาดมักจะรู้จักบาจาในฐานะที่เป็นนักศึกษา ที่อาจารย์นำมาสอนเรื่องกลยุทธการตลาดและไม่เพียงนักศึกษาเท่านั้นที่ศึกษา CASE ของบาจา แม้แต่ผู้ผลิตรายใหม่และรองเท้าที่กำลังมีชื่อขณะนี้บางยี่ห้อก็ศึกษา CASE ของบาจาอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนลงทุนด้วยซ้ำไป

คงไม่ผิดถ้าจะกล่าวว่าผู้มีส่วนสำคัญทำให้บาจาเป็นที่รู้จักเช่นทุกวันนี้คือ ถึง มร. วี. เอ็ม. ดโวรัก อดีตกรรมการผู้จัดการ ที่ทำงานอย่างหนักมาตลอด 20 ปี

ถึง มร. วี. เอ็ม. ดโวรัก เข้าร่วมงานกิจการรองเท้าบาจาครั้งแรกที่เมืองชลิน ประเทศเช็คโกสโลวาเกีย ในปี 2472 ขณะอายุได้เพียง 14 ปี และได้เข้ารับการศึกษาจนจบหลักสูตรจากโรงเรียนด้านเทคนิคด้านการผลิตและการจัดการของกิจการรองเท้าบาจา ซึ่งเป็นสถาบันที่ฝึกสอนให้มีความรู้ความสามารถในการผลิตรองเท้าอย่างแท้จริง

จากนั้นก็ได้ร่วมงานกับกิจการรองเท้าบาจาในประเทศต่าง ๆ มาโดยลำดับ ในปี 2476 ที่ประเทศอังกฤษ ปี 2477-2480 ที่ประเทศออสเตรเลีย ปี 2491 ที่ประเทศอินเดีย ปี 2492-2501 ที่ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย และตั้งแต่ปี 2502-2521 ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการรองเท้าบาจาประเทศไทย จนกระทั่งปลดเกษียณ

"ท่านมารับตำแหน่งในต้นปี 2502 ขณะที่บริษัทฯ กำลังประสบปัญหาและความยุ่งยากในด้านการผลิตและจัดจำหน่าย แต่ท่านก็ใช้บุคลิกความเป็นผู้นำและประสบการณ์นำทีมพนักงานบาจาฝ่าฟันอุปสรรคนั้นผ่านมาได้" พนักงานระดับสูงของรองเท้าบาจากล่าวถึง ถึง มร. วี. เอ็ม. ดโวรัก ด้วยความชื่นชมและด้วยความสามารถในการทำงานอย่างมืออาชีพจึงทำให้ราคาหุ้นบาจาก่อนที่เขาจะปลดเกษียณสูงถึง 800-900 บาท ทั้งให้เงินปันผล 50 บาท/หุ้น

ไม่เพียงแต่ ถึง มร. ดโวรัก จะทำงานอย่างมีหลักการ ความรู้ KNOW HOW ที่พัฒนาอุตสาหกรรมรองเท้าได้อย่างแท้จริงเท่านั้น ในด้านพัฒนาคน มร. ดโวรักก็เน้นการพัฒนาบุคลากรของบาจามาตลอดเวลาที่เป็น M.D. ทั้งปฏิบัติต่อลูกน้องดุจพ่อปฏิบัติกับลูก

"ในช่วงที่ท่านอยู่และมีการสนับสนุนส่งคนไปฝึกอบรมหรือเรียนต่อในต่างประเทศนั้นท่านจะคอยดูแลทุกอย่าง สอบถามถึงเอกสารที่ต้องใช้ ดูแลกระเป๋าเสื้อผ้าจะช่วยดูว่าเอาเสื้อนอกไปกี่ตัว ถุงเท้ากี่คู่ พอกันหนาวได้ไหม" ผู้จัดการฝ่ายบุคคลรองเท้าบาจาเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงการที่ มร. ดโวรักปฏิบัติต่อพนักงานเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน

หลังจาก มร. ดโวรักปลดเกษียณ ตั้งแต่ปี 2522 บริษัทรองเท้าบาจาขาดทุนมาตลอด เพราะช่วงเวลาดังกล่าวสถานการณ์เปลี่ยนแปลงมากมาย ตั้งแต่อัตราดอกเบี้ยสูงในปี 2522 การมีคู่แข่งใหม่ ๆ เข้ามาในตลาดมากหน้าหลายตาขึ้น รวมทั้งการตลาดและระบบการจัดจำหน่ายที่สู้คู่แข่งรายใหม่ ๆ ไม่ได้ บาจาช่วงนั้นปรับตัวไม่ทัน จึงขาดทุนมาตลอดจนเพิ่งจะมีกำไรในปี 2529 ที่ผ่านมา

"ตลอดระยะเวลาที่บาจาขาดทุนนั้น มร. ดโวรักก็มีความเป็นห่วงเป็นใยบริษัท แม้ขณะนั้นไม่ได้มีส่วนในการบริหารงานแล้วก็ตาม แต่ก็เยี่ยมเยียนบริษัทเสมอ"

"ครั้งที่ท่านป่วยหนักไปเยี่ยมบอกให้ดีใจว่า ปีที่แล้วบริษัทได้กำไร ท่านก็ดีใจแต่ก็ยังถามด้วยความเป็นห่วงว่า บริษัทกำไรเท่าไร" เฉลิม จันทรอุไร กล่าวถึง มร. ดโวรักที่ผูกพันกับบาจามาตลอด

มร. ดโวรักนั้นไม่มีครอบครัวและใช้ชีวิตในเมืองไทยมาตลอด ทั้งเป็นผู้หนึ่งที่ศึกษาค้นคว้าพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

ถึงแม้ มร. ดโวรักจะจากไปโดยไม่มีคนในครอบครัวอยู่ข้าง ๆ แต่เขาก็สิ้นลมในแผ่นดินที่เขารัก โดยมีคนที่เขาเทรนขึ้นมาและเพื่อนร่วมงานที่บาจาอยู่ข้าง ๆ มร. ดโวรักคือตำนานนักบริหารมืออาชีพที่บาจาจะต้องจดจำ

เช่นเดียวกันก็เป็นอีกตำนานของชาวต่างชาติที่รักเมืองไทยจวบจนวาระสุดท้ายบนเชิงตะกอน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us