หากไม่ใช่เพราะประเพณีของชาวญี่ปุ่นต้องตีพิมพ์ทรัพย์สมบัติในครอบครองของผู้เสียภาษีสูงสุดให้ได้รับรู้กันทั่วๆ
ละก็โซยิ อุระฮารา คงไม่เป็นจุดเด่นที่ใครๆ ให้ความสนใจเป็นแน่ เขาจะพรางตัวว่าเป็นแค่นักบริหารธรรมดาๆ
คนหนึ่งในโตเกียวได้อย่างสบายๆ ในเมื่อ CHAIRMAN วัย 59 ปีของไทโซะ ฟาร์มาซูติคอลบริษัทผู้ผลิตยาขนาดใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นใช้ชีวิตเหมือนนักบริหารทั่วไป
คือมีบ้านไม่โอ่โถงหรูหราเกินไปนัก ยังเดินไปทำ
งาน และกินอาหารเที่ยงบนโต๊ะทำงานที่มีเมนูซ้ำกันทุกวันคือ ชา ซุปวัว และขนมปังกรอบ
"ผมไม่ได้ยึดติดกับเงินที่มีอยู่" อุเอะฮาร่าผู้มีเรือนร่างเตี้ยล่ำพร้อมรอยยิ้มบนใบหน้าอยู่เป็นนิจเอ่ยปาก
แต่เงินเข้าไปยึดติดกับตัวเขา และทุกคนในญี่ปุ่นต่างก็รู้เรื่องนี้ดี ตระกูลของเขาถือหุ้นในไทโซะ
ฟาร์มาซูติคอลที่พ่อของอุเอะฮาร่าเป็นผู้ก่อตั้งเมื่อทศวรรษ 1920 คิดเป็นมูลค่ากว่า
1.4 พันล้านดอลลาร์ ชื่อของเขาจึงมักปรากฎอยู่ในรายชื่อผู้เสียภาษีประจำปีสูงสุดของประเทศเสมอมาโดยแข่งรัศมีกับ
โคโนสึเกะ มัตสุชิตะ ผู้ก่อตั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนวัย
92 ปีผู้มีมูลค่าความมั่งคั่ง1.5 พันล้านดอลลาร์
ที่ญี่ปุ่นมีคนรวยระดับ "อภิมหาเศรษฐี" น้อยรายนัก เพราะรัฐบาลไม่เพียงแต่จะมีนโบายประกาศให้คนทั่วไปล่วงรู้ทรัพย์สนในครอบครองเท่านั้น
แต่ยังรีดภาษีจากคนพวกนี้ในเพดานสูงสุดถึง 80% รวมทั้งภาษาจากมรดกอสังหาริมทรัพย์อีก
75% ทำให้คนรวยในญี่ปุ่นหลีกเลี่ยงด้วยการแยกทรัพย์สินในครอบครองออกจากทรัพยืสมบัติที่เขามีอยู่ในมือจริงๆ
ทำให้เจ้าหน้าที่ประเมินภาษีหรือคนอื่นๆ สืบรู้หรือประเมินมูลค่าความมั่งคั่งแท้จริงได้ลำบากมาก
โยซิอะกิ จึจึมิ นักธุรกิจวัย 53 ของ เซอิบุ กรุพ ซึ่งเป็นนักธรุกิจขนาดใหญ่ที่มีกิจการทางรถไฟ
โรงแรม และสโมสรกอล์ฟอยู่ในความควบคุมกลับไม่ปรากฎรายชื่อผู้เสียภาษีสูงสุดของประเทศ
เพราะเขาให้โคคุโด เคอิคะคุ ซึ่งเป็น PRIVATE COMPANY เล็กๆ เป็นผู้ควบคุมผลประโยชน์มหาศาลของเขาอีกที
โดยจึจึมิมีชื่อว่าถือหุ้น 40% ของโคคุโด เคอิคะคุ แต่เมื่อประเมินมูลค่าความมั่งคั่งออกมาแล้วจึจึมิ
มีอยู่ถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์
พ่อของจึจึมิตายเมื่อปี 1964 ขณะเขาอายุ 29 ปีและทิ้งกิจการทางรถไฟรวมทั้งรวมทั้งเครือโรงแรมให้เขารับช่วงต่อไป
และจึจึมิสร้างวิธีบริหารที่เข้มงวดขึ้นชื่อลือชาไปทั่วญี่ปุ่นซึ่งมีคนจำคำพุดของเขาได้ว่า
"ผมไม่ต้องการพนักงานสำรวยหรือสมาร์ท แต่ต้องการคนที่แข็งแกร่งขยันขันแข็ง"…เขาไม่เคยศรัทธาที่จะบริจาคเพื่อการกุศลด้วยเหตุผลที่ว่าการที่เขาสร้างงานให้คนนับพันๆ
คนนั้น เป็นกุสลดียิ่งกว่าการบริจาคเงินเป็นไหนๆ !
ส่วนโคโนสึเกะ มัตสุชิตะ ทำงานเลี้ยงตัวเองตั้งแต่อายุ 10 ขวบเท่านั้นด้วยการเป็นลูกมือฝึกหัดในร้านซ่อมจักรยานแห่งหนึ่งเมื่อปี
1905 แต่หลังจากนั้นหลายปีเมื่อเขามีโอกาสเข้าโตเกียวแล้วเขาเริ่มปักใจเชื่อว่างานช่างไฟฟ้าจะมีอนาคตดีกว่าซ่อมจักรยานเป็นแน่
มัตสุชิตะจึงเปลี่ยนงานไปทำกับบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง แต่เมื่อขัดแย้งกับนายจ้างที่ยับยั้งโครงการปรับปรุงกระจุบหลอดไฟฟ้าของเขา
มัตสุชิตะลาออกและตั้งบริษัทของตัวเองเมื่อปี 1918 ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนยี่ห้อ
"พานาโซนิค", "เทคนิคส์", "ควอซอร์", และ
"เนชั่นแนล" ซึ่งบริษัทของเขาเป็นผู้ผลิตความสำเร็จแพร่หลายไปทั่วโลก
และแม้แต่มัตสุซิตะจะอายุมากถึง 92 ปีแล้วก็ตาม เขายังไม่ทิ้งงานเสียทีเดียวยังเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริหารของบริษัทเป็นครั้งคราว
มาซาโทซิ อิโตะ ผู้เริ่มกิจการร้านขายเสื้อผ้าเล็กๆ ในช่วงหลังสงครามและปัจจุบันอายุ
63 ปีกลายเป็นอภิมหาเศรษฐีด้วยการนำระบบห้างร้านค้าปลีกสไตล์อเมริกันคือการขายแฟรนไชส์มาใช้ในญี่ปุ่น
เดี๋ยวนี้กิจการห้าง 7-ELEVEN CONVENIENCE STORE อันหรูหราของเขา กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเมืองใหญ่ในญี่ปุ่นอย่างแยกไม่ออกนอกจากนี้เขายังเป็นเจ้าของกิจการภัตตาคาร
"เดนนี่ส์" ที่ครอบครัวชาวญี่ปุ่นพากันหลั่งไหลเข้าลิ้มรสอาหารตะวันตกกันหนาตาตลอดเวลา
ครอบครัวอิดตะถือหุ้นใหญ่ในอิโตะ-โยคะโดะเครือกิจการซูเปอร์มาร์เก็ตที่ทำกำไรสูงสุดในญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่าทั้งหมด
1.5 พันล้านดอลลาร์
การที่อภิมหาเศรษฐีอย่างอุเอะอาร่าชอบใช้ชีวิตเรียบง่ายสบายๆ นั้น สะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่สืบทอดกันมาหลายศตวรรษ
โดยเฉพาะสมัยศตวรรษที่ 17 นั้นพ่อค้าถูกจัดให้มีสถานะภาพสังคมต่ำสุดตามการจัดอันดับของลัทธิขงจื้อ
พวกเขาต้องแสดงออกถึงความมั่งมีของตัวเองแบบเจียมเนื้อเจียมตัว เช่น สวมชุดที่ตัดเย็บอย่างประณีตหรูหราไว้ข้างในแล้วคลุมทับด้วยเสื้อคลุมอีกชั้นหนึ่ง
อุเอะฮาร่าออกจะถ่อมตัวเอามากๆ เกี่ยวกับความสามารถในการทำเงินของเขา "ผมทำเงินได้มากขนาดนี้ไม่ใช่เพราะความสามารถของผมเพียงคนเดียวหรอกครับ"
ยิ่งกว่านั้นเขายังทำตัวเหมือนพนักงานญี่ปุ่นทั่วไป คือเมื่อเงินออกก็มอบเช็คนั้นให้ภรรยาไปหมด
ตัวเขาเองมีเงินติดกระเป๋าเผื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินเดือนละ 70 ดอลลาร์และอีก
70 ดอลลาร์สำหรับซื้อหนังสืออ่านเท่านั้น
อุเอะฮาร่าออกตัวว่าเพราะถูกรีดภาษีอย่างหนักหน่วงเลยทำให้การบริจาคเพื่อการกุศลไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างที่ควรจะเป็น
แต่เมื่อถึงเวลาเขาก็ให้ได้เหมือนกัน โดยอุเอะฮาร่าจะเก็บเงินสด 1,000 ดอลลาร์ไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานเผื่อไว้กรณีที่ถูกขอร้องให้บริจาคเงินแบบไม่รุ้ตัว
"เพราะคนทั่วไปคิดว่านายอุเอะอาร่าคนนี้ร่ำรวยมหาศาล" เขาสรุป
"ผมก็เลยต้องเป็นฝ่ายให้บ้าง"
โซคิจิ อุเอะฮาร่า พ่อของเขาเป็น PRESIDENT ของไทโซะ ฟาร์มาซูติคอลตั้งแต่ช่วงหลังสงครามแล้วสร้างจนกลายเป็นบริษัทผู้ผลิตยาสามัญประจำบ้านรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น
เขามีปรัชญาที่ยึดมั่นมาตลอดว่า "นักธุรกิจคือสงคราม" และโซคิจิกับภรรยาไม่มีลูกด้วยกันทำให้เขารับเอาโซยิเพิ่งหัดเดินเตอะแแตะ
จนในที่สุดก็เป็นทายาทสืบทอดกิจการมาทุกวันนี้
โซยิไม่เคยผ่านมรสุมสงครามาก่อนเลย เพราะมันยุติลงก่อนที่เขาจะมีอายุครบเกณฑ์เสียอีก
เขาเข้าทำงานกับโทโซะ ฟาร์มาซูติคอลหลังจากจบสาขาวิชาเคมีจากมหาวิทยาลัยโตเกียวเมื่อปี
1948 อีก 2 ปีต่อมาก็รับตำแหน่ง DIRECTOR และขึ้นเป็น PRESIDENT ต่อจากพ่อปี
1973… อุเอะฮาร่าผู้พ่อนั้นเป็นผู้ประกอบการที่กล้าได้กล้าเสียและความตั้งใจเด็ดเดี่ยวมาก
ขณะที่อุเอะ-ฮาร่าผู้เป็นลูกนั้นสุขุมรอบคอบก็จริงแต่บางคนบอกว่ามีนิสัยดื้อรั้นแถมพกมาอีกอย่างหนึ่งด้วย
เขายึดมั่นในภาษิตของชาวญี่ปุ่นที่สอนให้โยนก้อนหินลงบนสะพานเพื่อทดสบความมั่นคงก่อนจะเดินข้ามไป
เมื่ออยู่ในบริษัททุกคนขนานนามให้โยซิ อุเอฮาร่า GHQ ซึ่งย่อมาจาก GOES
HOME QUICKLY เพราะพอเลิกงานแล้วเขาสมัครใจรีบเดินกลับบ้านมากว่าจะไปจ่อมอยู่ตามคลับแล้วไปดื่มเหล้าเหมือนกับที่นักบริหารชาวญี่ปุ่นทำกัน
เขาเป็นคนไมดื่มเหล้าและดูดบุหรี่เพราะมีโรคประจำตัวที่ทำให้คลื่นไส้และวิงเวียนศรีษะ
เมื่อออกงานสังคมอุเอะฮาร่าชอบฟังมากกว่าพูดซึ่งภรรยาของเขาคิดว่าเป็นนิสัยที่ค่อนข้างเสียเปรียบคนอื่น
"ฉันคิดว่าธุรกิจจะดีกว่านี้อีกมากถ้าเขารู้จักประชาสัมพันธ์มากกว่านี้"
เธอวิจารณ์สามี
เขาตั้งเป้าหมาย 10 ปีข้างหน้าสำหรับไทโซะ ฟาร์มาซูติคอลว่า ต้องทำยอดขายให้ได้มากกว่าปีที่แล้ว
800 ล้านดอลลาร์เป็น 1.4 พันล้านดอลลาร์ให้ได้ ปัจจุบันเขามอบตำแหน่ง PRESIDENT
ให้อะคิระ อุเอะฮาร่า บุตรบุญธรรมที่เขาต้องการเป็นภาระหามาเป็นทายาทสืบทอดมรดกเหมือนครั้งที่พ่อรับเขาเป็นบุตรบุญธรรมนั่นเอง
แต่ผลสุดท้ายวัฏจักรนี้สิ้นสุดลงตรงที่อะคิระเมื่อเขากับภรรยามีลูกชายสืบสกุลถึง
3 คนด้วยกัน
เพราะพ่อของโยซิ อุเอะฮาร่ามีบทบาทในบริษัทมานานมาก บวกกับที่โยซิเองก็เป็นคนถ่อมตัว
ทำให้เขาปฏิเสธไม่ยอมรับความสำเร็จของตัวเอง ซึ่งยูอิจะ มะจึอิ อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฟาร์มาซูติคอล
เดลี่ นิวส์ และเพื่อนเกลอของโยซิที่คบกันมา 20 ปีเล่าว่า "การที่คนรุ่นที่สองต้องเจ็บปวดเพราะคนรุ่นที่หนึ่งนั้นกร้าวแกร่งมากจนยากต่อการปฏิบัติตามให้เหมือนทุกอย่างได้
แต่โยซิก็สามารถดำเนินกิจการสร้างความเติบโตก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ"
โยซิยังหลักแหลมมากที่ประจักษ์แล้วว่าเพราะรัฐรีดภาษีหนักหน่วงมากจนไม่ทำให้เขายกสมบัติที่มีอยู่ทั้งหมดให้ลูกหรือหลานๆ
ได้เต็มที่ เขาจึงบอกกับตัวเองว่าสิ่งที่จะทำได้ดีที่สุดคือให้การศึกษาที่ดีเท่าที่จะทำได้แก่ทายาทของเขา
"หลังจากนั้นพวกเขาจะไม่มีทางเลือกอื่นอีกนอกจากสร้างฐานะของตัวเองขึ้นมา"