|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บลจ.ยูไนเต็ดระบุเงินต่างชาติรอบนี้ เป็นเงินจากมาตรการอุ้มสถาบันการเงินที่แฝงเข้ามาลงทุนในตลาดทุนทั่วโลก ส่วนหุ้นไทยครึ่งปีหลังลงทุนยากคาดกรอบซิกแซ็ก 500-700 จุด ส่วนภาคเศรษฐกิจจริงคาดฟื้นตัวได้ปีหน้าเป็นต้นไป
สุพรรณ เศษธะพานิช ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการลงทุน บลจ.ยูไนเต็ด กล่าวว่าการที่ตลาดทุนทั่วโลกมีปรับการปรับขึ้นมาตั้งแต่เดือนกุมพาพันธ์ของปีนี้ เป็นผลมาจากกระแสเงินสดแฝงของสถาบันการเงินที่ได้มาจากจากมาตรการกอบกู้สถาบันการเงินซึ่งมีการใส่เงินเพิ่มทุนเข้าไปในสถาบันการเงินต่างๆจนมีสภาพคล่องส่วนเกิน มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มาจากเงินลงทุนระยะสั้นของกองทุนประกันความเสี่ยง (Hedge Fund) รวมถึงเม็ดเงินลงทุนระยะยาว (Long Term Fund)
โดยเม็ดเงินได้เริ่มเข้าไปที่ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ตามมาด้วยตลาดหุ้นหลักในประเทศพัฒนาแล้ว และหุ้นตลาดเกิดใหม่รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งตลาดหุ้นขนาดเล็กก็ยังรองรับเม็ดเงินเหล่านี้เอาไว้ไม่หมด ส่งผลให้ราคาหุ้นในทุกตลาดทั่วโลกปรับตัวขึ้นมามาก
“จากนี้ไปจนถึงสิ้นปี เม็ดเงินต่างชาติดังกล่าวจะยังคงอยู่กับตลาดหุ้นไทยและจะอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการพูดถึงแผนการลดการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน (The Exit Strategy) ของรัฐบาลประเทศต่างๆ เมื่อนั้นเม็ดเงินก้อนดังกล่าวจึงจะไหลกลับไป ดังนั้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ตลาดหุ้นไทยจะลงทุนยากขึ้น มีการเคลื่อนไหว ในลักษณะแบบซิกแซ็กเป็นลักษณะตัวเอ็ม (M) โดยมองว่า ตลาดหุ้นไทยจะวิ่งอยู่ในกรอบโดยมีโอกาสจะปรับขึ้นไปสูงสุดถึง 700 จุด ในขณะที่กรอบล่างก็ไม่น่าจะหลุดลงไปต่ำกว่า 500 จุด ได้”
ทั้งนี้ตลาดหุ้นไทยถือว่าเป็นตลาดหนึ่งที่น่าสนใจลงทุนในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยซื้อขายที่ระดับราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) ที่ 18-20 เท่า ในขณะที่ P/E ย้อนหลังของตลาดหุ้นไทยในช่วง 10 ปีอยู่ที่ 11 เท่า และ P/E อนาคตที่ประมาณ 12 เท่า ซึ่งก็ถือว่าเป็นระดับที่เรียกว่าไม่ถูกนัก
สำหรับภาวะเศรษฐกิจของไทยก็ยังไม่น่าจะฟื้นตัวได้เร็วนัก เนื่องจากการเข้ามาลงทุนของประเทศคงจะยังไม่เติบโตขึ้นในระยะใกล้นี้ ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐที่มีสัดส่วนน้อยนิดเมื่อเทียบกับ GDP จึงไม่น่าจะมีผลกระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก แต่คงต้องรอการบริโภคภาคเอกชนที่คาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2553
โดยการใช้จ่ายภาครัฐ คิดเป็นสัดส่วนเพียง 10% ของ GDP เท่านั้น ซึ่งลำพังการกระตุ้นที่มีสัดส่วนเพียงแค่ 10% คงไม่น่าจะมีจะช่วยอะไรได้มากนักหากสองเครื่องจักรหลักยังไม่เดิน นั่นคือการบริโภคและการลงทุน ซึ่งมองว่าการลงทุนจะยังคงยากที่จะเกิดในไตรมาส 3/2552 ถึงแม้ตัวเลขภาคการผลิตยังคงเพิ่มขึ้น แต่หากอัตราการใช้กำลังการผลิตยังคงอยู่ในระดับ 60% ก็คงไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นการลงทุนให้เกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ ถ้าโรงงานยังไม่ได้ใช้กำลังการผลิตให้เต็มที่ ทั้งนี้มองว่าการลงทุนน่าจะฟื้นตัวเร็วที่สุดประมาณต้นปี 2553
มองว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยนั้น คงจะไม่ได้เร็วมากนัก เมื่อเปรียบเทียบการเติบโตแบบก้าวกระโดดเหมือนประเทศจีน เพราะจีนมีแผนการอัดฉีดเงินถึง 586,000 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงในภาคสถาบันการเงินจะมีการก่อหนี้ที่เติบโตตามมาอย่างรวดเร็วด้วยก็จริง แต่ภายในเวลาไม่กี่เดือนนี้จีนก็วางแผนที่จะชะลอลง เพราะเกรงปัญหา NPL ที่จะตามมา จากการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รวดเร็วเกินไปจนควบคุมไม่ทัน
ดังนั้นการเติบโตอย่างมั่นคงของไทยเองคงน่าจะเกิดขึ้นในปี 2010 โดยเริ่มจากการบริโภคของภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้ไปเพิ่มตัวเลขของภาคการผลิต ส่งผลให้มีตัวเลขอัตรากำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่สมควรที่จะลงทุนใหม่ และเวลานั้นเอง จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการพลิกกลับสู่รอบการเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ หรือที่เรียกว่า Green Shoot ได้อย่างแท้จริง
|
|
|
|
|