Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน3 สิงหาคม 2552
ธปท.เผยยอดบัตรเดบิตพุ่ง43% แบงก์โกยค่าฟี-แนะเพิ่มช่องใช้             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Debit and Cash Card




ธปท.เผยแบงก์เพิ่มกลยุทธ์ให้ลูกค้าหันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็ม หวังเรียกค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น ล่าสุดสัดส่วนจำนวนบัตรเดบิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในบรรดาบัตรพลาสติกถึง 43% ติดต่อกัน 2 ปีซ้อน แนะแบงก์ลดค่าธรรมเนียมจากร้านค้า ขณะที่ธุรกรรมการเงินผ่านมือถือนิยมมากขึ้น คาดอนาคตใช้เป็นช่องทางชำระเงินระบบขนส่งมวลชน

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้จัดทำรายงานระบบชำระเงินปี 2551ฉบับล่าสุดโดยเผยแพร่ในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา พบว่า ทิศทางของบริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มีการเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะขณะนี้ธนาคารพาณิชย์ในระบบได้มุ่งทำการตลาดให้ลูกค้าหันมาใช้บริการบัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็มมากขึ้น ซึ่งบัตรเดบิตมีสัดส่วนสูงที่สุดในจำนวนบัตรพลาสติกนับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันแล้ว และแนวโน้มจำนวนบัตรเอทีเอ็มในระบบลดต่ำลง เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ ลดต้นทุนผู้ประกอบการ และเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมมากขึ้น

ทั้งนี้ ในปี 2551 ธนาคารพาณิชย์มีจำนวนบัตรเอทีเอ็มทั้งสิ้น 22.4 ล้านใบ ลดลง 0.9% เมื่อปีก่อนที่มีปริมาณบัตรทั้งสิ้น 22.6 ล้านใบ โดยเมื่อเทียบกับปริมาณบัตรเดบิตมีทั้งสิ้น 26.3% เพิ่มขึ้น 12.8% จากปีก่อนที่มีปริมาณบัตรประเภทนี้ทั้งสิ้น 23.3 ล้านใบ และหากพิจารณาบัตรพลาสติกในระบบ พบว่า จำนวนบัตรเดบิตมีสัดส่วนมากที่สุด 43% เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีสัดส่วน 40% ขณะที่บัตรเอทีเอ็มมีสัดส่วนรองลงมา 36% ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีสัดส่วน 39% และบัตรเครดิตมีสัดส่วนทรงตัวอยู่ที่ระดับ 21%

ขณะที่ปริมาณการใช้บัตรเดบิตในปี 51 ไม่แตกต่างกับปีก่อนหน้า โดยผู้ถือบัตรเดบิตมีการใช้ทั้งสิ้น 760 รายการ โดยเป็นการใช้เพื่อเบิกถอนเงินสดในสัดส่วน 83% ใช้เพื่อโอนเงินภายในธนาคารเดียวกัน ใช้โอนเงินต่างธนาคารและชำระค่าสินค้าและบริการมีสัดส่วนเพียง 6% และ 15% ตามลำดับ ส่วนบัตรเอทีเอ็มมีปริมาณการใช้ทั้งสิ้น 531.9 ล้านรายการ หรือลดลงจากปีก่อน 39.4 ล้านรายการ โดยเป็นการลดลงในการเบิกถอนเงินสด 11.4% แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาฝากและโอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มกลับเพิ่มขึ้นมาก 73% และ13.8% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ประกอบการพยายามมุ่งทำการตลาดในการออกบัตรเดบิตมาทดแทนบัตรเอทีเอ็ม พร้อมทั้งจัดรายการส่งเสริมการขาย และขยายจุดรับบัตร เพื่อจูงใจให้ลูกค้าหันมาใช้บัตรเดบิตมากขึ้นในการชำระสินค้าและบริการ ณ จุดขาย แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตยังคงไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก โดยสาเหตุสำคัญ คือส่วนใหญ่ร้านค้ารับบัตรเดบิตยังคงมีปริมาณไม่มากนัก รวมถึงร้านค้าบางแห่งแนะนำให้ใช้เงินสดชำระแทนบัตรเดบิตด้วย

"เชื่อว่าหากมีบริการใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและร้านค้าได้ดี โดยเฉพาะการพัฒนาเครือข่ายบัตรเดบิตในประเทศที่มีค่าธรรมเนียมการรับบัตรของร้านค้าต่ำลง และบัตรเดบิตสามารถรองรับการทำรายการบัตรเอทีเอ็มได้จะเป็นตัวสนับสนุนที่ดีในการชำระเงินผ่านบัตรพลาสติกมีปริมาณมากขึ้น"

รายงานฉบับดังกล่าว แจ้งว่า การชำระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Payment) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาพร้อมกับการแข่งขันที่มีมากขึ้นตาม เนื่องจากนับเป็นบริการที่ลูกค้าจำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายขึ้นและลดปริมาณการให้บริการผ่านสาขาธนาคารและตู้เอทีเอ็ม ซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่า ฉะนั้นคาดว่าในอนาคตผู้ให้บริการหลายรายจะพัฒนารูปแบบมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจขนส่งมวลชนที่ต้องการความรวดเร็วในการชำระเงิน อาทิ รถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง เป็นต้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us