Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน3 สิงหาคม 2552
ตั้งบ.ลูกเดินรถแอร์พอร์ตลิงค์             
 


   
www resources

โฮมเพจ การรถไฟแห่งประเทศไทย

   
search resources

การรถไฟแห่งประเทศไทย
Transportation




ประธานบอร์ดร.ฟ.ท.มั่นใจแนวทางตั้งบริษัทลูกเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ การรันตีทำให้ร.ฟ.ท.อยู่รอด ระบุ 1 ปี บริษัทลูกล้มเหลวในด้านบริหารและความโปร่ง พร้อมยื่นใบลาออก ลุ้นคณะทำงานชุดเสธ.หนั่นหาข้อยุติให้ได้ภายในเดือนส.ค. เพราะไม่เช่นนั้นจะเปิดทดลองระบบเดือนธ.ค.ไม่ทัน พร้อมสั่งร.ฟ.ท. ทบทวนแผนโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ใหม่ตามสถานการณ์ปัจจุบัน หวังสร้างรายได้เพิ่ม

นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หากการเจรจาระหว่างผู้บริหารร.ฟ.ท.และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท. ไม่สามารถหาข้อยุติและจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเดินรถโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ต เรล ลิงค์) ได้ ภายในเดือนส.ค.นี้ ก็จะไม่สามารถทดสอบเดินรถแอร์พอร์ตลิงค์ตามกำหนดวันที่ 5 ธ.ค.ได้ และจะกระทบไปถึงแผนการเดินรถเชิงพาณิชย์ที่จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในเดือนมี.ค.2553

“ขณะนี้แนวทางการบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตลิงค์ ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเลือกแนวทางการตั้งบริษัทลูก ตามที่ฝ่ายบริหารร.ฟ.ท. เสนอ หรือตั้งเป็นหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ที่เป็นข้อเสนอของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท. เสนอ โดยต้องรอคณะกรรมการชุดที่มีพล.ต.สนั่น ขจรประศาสตร์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานชี้ขาด เชื่อว่าจะสามารถตัดสินเลือกแนวทางได้ทันภายในเดือนส.ค.นี้”นายถวัลย์รัฐกล่าว

นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า แนวทางการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ จะส่งผลดีต่อร.ฟ.ท.ดังนั้น หากรัฐบาลเลือกแนวทางการตั้งบริษัทลูกแล้ว ในระยะเวลา 1 ปี การบริหารงานของบริษัทลูกเดินรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ไม่มีประสิทธิภาพ ก็พร้อมที่จะรับผิดชอบโดยการลาออกจากราชการ ซึ่งขณะนี้เหลืออายุราชการประมาณ 3 ปี

“ถ้าตั้งบริษัทลูกไปแล้ว 1 ปี มีความล้มเหลว เช่น การจัดซื้อจัดจ้างไม่โปร่งใส การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ เหมือนเป็นการซ้ำเติมองค์กร ร.ฟ.ท. เพราะจากโครงสร้างการดำเนินงานของบริษัทลูก ผมก็พร้อมรับผิดชอบ แต่ถ้าทำได้ตามแผน ร.ฟ.ท. อยู่รอดแน่นอน ประเมินเพียงปีแรกก็น่าจะรู้ผลแล้วว่า การทำงานประสบความสำเร็จ โดยวัดจากการดำเนินงานที่โปร่งใส ซึ่งไม่ได้วัดที่รายได้ เพราะรายได้ต้องวัดจากส่วนอื่น เช่น รายได้จากมักกะสันคอมเพล็กซ์ มาประกอบกันด้วย” นายถวัลย์รัฐกล่าว

นายถวัลย์รัฐกล่าวว่า สำหรับโครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ เนื่องจากสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ได้สั่งการให้ร.ฟ.ท.ไปทบทวนแผนแม่บทใหม่ คาดว่าใน 1-2 เดือน จะรายงานบอร์ดได้ และจะต้องตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 13 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 สำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นต้องนำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติในการดำเนินการ เพราะเป็นโครงการร่วมลงทุนที่มีมูลค่าเกินกว่า 1,000 ล้านบาท

“ต้องยอมรับว่าโครงการแอร์พอร์ลลิ้งค์ ไม่สามารถอยู่ด้วยรายได้จากค่าโดยสารเท่านั้น จะต้องมีรายได้จากส่วนอื่นเข้ามาเสริมด้วย โดยการเข้ามาลงทุนในพื้นที่มักกะสันนั้น ร.ฟ.ท.จะไม่เจาะจงว่าจะมีโครงการอะไรบ้าง แต่จะเปิดโอกาสให้เอกชนนำเสนอว่าต้องการทำอะไรบ้าง ซึ่งจะต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกัน ”นายถวัลย์รัฐกล่าว

สำหรับแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณมักกะสันเดิมนั้น ร.ฟ.ท.จะย้ายศูนย์เก็บอะไหล่ออกไปอยู่ที่เชียงราก เพื่อนำพื้นที่ดังกล่าวมาพัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บริเวณถนนราชปรารภ อโศก เพชรบุรี ประตูน้ำ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้มอบให้ กรมธนารักษ์ประเมินราคาที่ดินในราคาซื้อ-ขาย ซึ่งที่ดินติดถนนราชปรารภ ตกตารางวาละ 100,000 กว่าบาท ในกรณีที่เป็นแปลงใหญ่ 20-100 ไร่ หากเป็นตึกแถวอาคารพาณิชย์หรือที่ดินแปลงเล็กราคาตารางวาละ 300,000-400,000บาท ส่วนราคาประเมินที่ดินค่อนข้างต่ำเ นื่องจากบริเวณดังกล่าวยังไม่พัฒนาเฉลี่ยราคาอยู่ที่ 30,000-50,000 บาทต่อตารางวา และเมื่อเปิดให้บริการแล้วราคาที่ดินจะปรับสูงขึ้นไม่ต่ำกว่า30-40%

ส่วนรูปแบบการพัฒนาจะยังคงแนวคิดเดิม เป็นลักษณะคอมเพล็กซ์ ครบวงจร เพราะพื้นที่บริเวณนั้น ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (กทม.) กำหนดให้เป็นพื้นที่สีแดง (พาณิชยกรรม) หรือ พ.4 สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ และใช้เพื่อกิจการอื่นได้ไม่เกิน 10% โดย จะแบ่งพื้นที่พัฒนาออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 แยกเป็น พื้นที่ 1 A เนื้อที่ประมาณ 122 ไร่ อยู่ทางทิศตะวันออก ติดกับสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (CAT) จัดทำเป็นศูนย์การค้า สถานบันเทิง ที่จอดรถ โรงแรม ที่พักอาศัยประเภทเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ และอาคารสำนักงาน พื้นที่ 1 B เนื้อที่ 42 ไร่ ทางทิศตะวันตก ติดกับสถานีราชปรารภ ทำเป็นศูนย์กลางแฟชั่นของกรุงเทพฯ และอาคารสำนักงาน พื้นที่ 1C เนื้อที่ 205 ไร่ ทางตอนล่างของพื้นที่ด้านทิศใต้ ติดกับถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ทำเป็นศูนย์นิทรรศการ โรงแรมขนาดใหญ่ และศูนย์การแสดงสินค้าถาวร

ส่วน ที่ 2 แยกเป็นพื้นที่ 2 A เนื้อที่ 55 ไร่ อยู่ตอนกลางของพื้นที่ติดกับบึงมักกะสัน ทำเป็นอาคารสูง พื้นที่ 2 B เนื้อที่ 33 ไร่ ทางตอนกลางของพื้นที่ติดกับบึงมักกะสัน และเชื่อมต่อกับพื้นที่ส่วน 1 A ในทิศ ตะวันออก ทำเป็นศูนย์กลางธุรกิจ และอาคารสำนักงาน พื้นที่ 2 C เนื้อที่ 42 ไร่ ทางตอนกลางของพื้นที่ ติดกับบึงมักกะสันและพื้นที่ส่วนที่ 3 ทำเป็นศูนย์กลางธุรกิจ และอาคารสำนักงาน ส่วนที่ 3 เนื้อที่ประมาณ 72 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่ส่วน 1 C และส่วน 2 C จะสร้างศูนย์แสดงสินค้าถาวรและศูนย์การประชุมสัมมนาและแสดงสินค้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us