ตลอด 45 ปีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินงานในฐานะเป็นธนาคารกลางงประเทศ
มีการพูดกันมากถึงศักยภาพและความเป็นอิสระของสถาบันแห่งนี้ ในแง่มุมที่ยอมรับในขีดความสามารถของบุคคลตั้งแต่ระดับผู้ว่าการลงมาถึงเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานที่สูงกว่าสถาบันการเงินอื่นๆ
ที่มีอยู่ในประเทศ นัยนี้กินความถึงเงื่อนไขพิเศษที่สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ในสถานภาพีท่ปลอดจากการครอบงำและแทรกแซงขบวนการตัดสินใจทางนโยบายจากอิทธิพลทางการเมือง
จากสถาบันการเมืองและระบบราชการภายนอก แม้ว่าก.ม.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485
จะตราไว้ชัดเจนถึงการอยู่ภายใต้อำนาจการกำกับและควบคุมดูแลทางนโยบายของกระทรวงการคลังก็ตามที
(มาตรา 14) แต่อำนาจดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมถึงฐานะความมีอิสระในกรอบของนโยบายที่เป็นหลักการทั่วไปของธนาคารกลางทั่วโลก
แต่กระนั้นก็ตามในประวัติศาสตร์ 45 ปี ของธนาคารแห่งประเทศไทยก็มีเหตุการความขัดแย้งในหลักการสำคัญระหว่างผู้ว่าการธนาคารชาติกับรัฐมนตรีกระทรวงการคลังถึง
5 ครั้งด้วยกัน และรุนแรงถึงขั้นผู้ว่าการธนาคารชาติต้องลาออกและถูกปลดออกยกตัวอย่างเช่น
การลาออกของพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ผู้ว่าการคนแรก ได้ลาออกพร้อมกรรมการทั้งคณะ
เพราะเรื่องวิธีการขายทุนสำรองทองคำในปี 2489 แม้อีก 2 ปีต่อมาท่านจะกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารชาติใหม่ก็ตาม
แต่ก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆ เพียง 4 เดือนเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีกรณีความขัดแย้งระหว่าง ม.ล.เดช สนิทวงศ์ กับรมต.คลังในปี
2495 เรื่องการเพิ่มค่าเงินบาท และการควบคุมสินค้าเข้า ผล ม.ล.เดชลาออกจากผู้ว่าการธนาคาร
กรณีเกษม ศรีพยัคฆ์ และดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ ก็เช่นกัน ทั้ง 2 คน ได้ลาออกจากผู้ว่าการแบงก์ชาติต่างกรรม00ต่างวาระกันโดยเหตุผลขัดแย้งกันรุนแรงในการปฏิบัติตามนโยบายการเงินกับรับบาล
กรณีล่าสุด นุกูล ประจวบเหมาะกับรมต.คลัง สมหมาย ฮุนตระกูล ในปี 2527 ก็เช่นกัน
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนำไปสู่การ "เข่นฆ่า" กันในหน้าที่การงาน
โดยการปลดนุกูลออกจากตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแบบสายฟ้าแลบนั้น ก็เนื่องจากการปฏิบัตินโยบายรักษาสถาบันการเงินหลายประการ
ที่เป็นชนวนสร้างความร้าวฉานในเรื่องส่วนตัวในที่สุด (อ่านรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมจาก
"ผู้จัดการ" ฉบับที่ 13 เดือนกันยายน 2527)
การลาออกและถูกปลดออกของผู้ว่าการธนาคารในอดีตด้วยเหตุผลความไม่พอใจจากการถูกควบคุมในวิธีการปฏิบัติทางนโยบายจากผู้มีอำนาจในกระทรวงการคลัง
แสดงให้เห็นถึงความมีอิสรภาพในเนื้อแท้ของธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งอยู่บนโครงสร้างอำนาจที่เปราะบางมากอุปมาอุปไมยก็เหมือนกับเหตุผลทางตรรกวิทยาที่ว่า
ถ้าจะอยู่ในตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารชาติตลอดไป ก็มีหนทางเดียวเท่านั้นคือ
ยอมค้อมหัวให้กับอำนาจการแทรกแซงจากผู้มีอำนาจในกระทรวงการคลัง ซึ่งแน่นอนย่อมสะท้อนเด่นชัดถึงสถานะภาพและบุคลิคภาพของผู้ว่าการธนาคารชาติเป็นเช่นไร
บุคคลอย่างพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ ม.ล.เดช สนิทวงศ์ นายเกษม ศรีพยัคฆ์
ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ และนุกูล ประจวบเหมาะ ได้เขียนประวัติศาสตร์เพื่อความมีอิสรภาพอย่างแท้จริงของธนาคารแห่งประเทศไทย
ด้วยบุคลิคภาพของการเป้นนักต่อสู้เพื่อหลักการอย่างหนักแน่นและสมเกียรติที่สุด
เอกกมล คีรีวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์เคยกล่าวว่าทิศทางของธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกมาในรูปใดขึ้นอยู่กับตัวผู้ว่าการฯ
ซึ่งเหมือนกับประเทศต่างๆ ไม่ได้กล่าวถึงความมีชื่อเสียงของสถาบัน แต่ดูบุคลิกของผู้ว่าการว่าเป็นคนอย่างไร
ความเชื่อมั่นในตัวผู้ว่าการเป็นดัชนีที่สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพของธนาคารกลางว่า
จะมีบทบาทเพียงไรต่อหน้าที่ของธนาคารกลางที่มีอยู่มากมายเหมือนกับที่กำจร
สถิรกุล ผู้ว่าการธนาคารชาติคนปัจจุบันได้สะท้อนความรู้สึกของตนเองถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบด้วยคำพูดสั้นๆ
ว่า "เป็นงานคลุกฝุ่นจริงๆ" เพราะตั้งแต่หน้าที่การให้บริการทางการเงินในฐานะเป็นแหล่งรับฝากเงินกระทรวงการคลัง
(ที่ไม่มีดอกเบี้ย) และการให้กู้ยืมแก่สถาบันธุรกิจการเงินเอกชน หน้าที่ด้านกำกับและควบคุมสถาบันการเงินให้อยู่ในฐานะที่มั่นคง
สร้างศรัทธาแก่ประชาชน และหน้าที่สุดท้าย ด้านการเป็นกลไกทางการเงินเพื่อการพัฒนาระบบเงินและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
ซึ่งหน้าที่หลังนี้ไม่ใช่หน้าที่หลักเพียงเป็นหน้าที่เสริมตามนโยบายของรัฐบาล
ปัญหาความหย่อนยานในวินัยทางการเงินที่เกิดขึ้นจากากรปฏิบัติหน้าที่อันนี้ของธนาครแห่งประเทศไทยจะมีผลต่อการถูกวิจารณ์ในทางเสียหายมากน้อยแค่ไหน
ก็ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพและความสามารถในการจูงใจของผุ้ว่าการธนาคารชาติต่อรมต.คลัง
มันมีอยู่กรณีหนึ่งเกิดขึ้นในปีนี้ (2530) สมัยผู้ว่าการกำจร ทางธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับนโยบายของกระทรวงการคลังที่จะให้เงินอุดหนุนดอกเบี้ยต่ำในรูปซื้อลดตั๋วเงิน
60% ของมูลค่าแก่โรงสีในการพยุงราคาข้าวเปลือกนาปี (2530/31) วงเงิน จำนวน
5,000 ล้านบาท ด้วยทางธนาคารชาติเห็นว่าราคาข้าวระดับส่งออกปีนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว
สถานะภาพทางการเงินของโรงสีเองก็ดีกว่าปีที่ผ่านมา การเพิ่มเงินอุดหนุนเข้าไปเกรงว่าจะเกิดผลต่อสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ที่สูงอยู่แล้วควรจะให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยเงินอุดหนุนดอกเบี้ยต่ำนี้เองจะดีกว่า
แต่ข้อเสนอของธนาคารชาติเช่นนี้ทางกระทรวงการคลังไม่เห็นด้วย รมช.คลังศุภชัย
พานิชภักดิ์ เห็นว่าต้นทุนของธนาคารพาณิชย์สูงอยู่แล้ว การให้เงินอุดหนุนแก่โรงสีเพื่อเพิ่มสต็อกการซื้อข้าวจากชาวนาในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ไม่สมเหตุสมผลแม้นว่าทางธนาคารพาณิชย์จะมีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่มากก็ตาม
แต่แล้วในที่สุดทางธนาคารชาติก็ต้องยอมกระทรวงการคลัง ให้เงินอุดหนุนโดยผ่านธนาคารพาณิชย์จำนวน
5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 5%/ปี และธนาคารพาณิชย์ปล่อยต่อให้โรงสีในอัตรา
7%/ปีอีกต่อหนึ่ง
"เงินจำนวนนี้ได้ดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมานี้เอง
แน่นอนเราเห็นว่าทางคลังให้เหตุผลทางการเมืองเพื่อเอาใจประชาชนเป็นนัยสำคัญมากกว่าเหตุผลทางเศรษฐกิจ"
แหล่งข่าวในธนาคารชาติกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ด้วยสีหน้าที่ผิดหวัง
เหตุการณ์กรณีนี้แสดงชัดว่า ทางคลังต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปเป็นเครื่องมือทางการเงินของรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา
โดยไม่นำพาต่อหลักการการมีวินัยทางการเงินที่ธนาคารชาติยึดถือมาตลอด อีกด้านหนึ่งย่อมชี้ชัดว่าความสามารถในการจูงใจของผู้ว่าการธนาคารชาติต่อกระทรวงการคลังก็หย่อนยานด้วย
"คุณกำจรเป็นคนประนีประนอมโดยบุคลิก ทั้งที่งานนี้ท่านไม่เห็นด้วยก็น่าเห็นใจขืนทุบโต๊ะท่านมีสิทธิ์เด้งจากตำแหน่ง"
แหล่งข่าวกล่าว
บางทีกรณีนี้อาจมองได้ว่ากำจรเป็นคนที่ชอบใช้ศิลปะ "การยืดหยุ่นในหลักการ"
เวลา DEAL กับกระทรวงการคลังก็เป็นไปได้เพราะเล็งเห็นว่า การปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงการคลังเป็นเรื่องต้องระมัดระวังอย่างสูงที่ต้องเผชิญหน้า
จุดนี้เองที่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาในสมัยกำจรเป็นผู้ว่าการธนาคารชาติ มักจะถูกโจมตีจากคนภายนอกอยู่เสมอว่า
สถานะภาพของแบงก์ชาติตกต่ำมาก
มันเป็นความรู้สึกเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับผู้ว่าการแบงก์ชาติคนก่อน แต่เมื่อนำพฤติกรรมในยุคปัจจุบันมาพิจารณา
ก็มีส่วนถูกไม่ใช่น้อย!!!
อย่างไรก็ตามถ้ามองถาพธนาคารแห่งประเทศไทย โดยตัดออกจากบทบาทของผู้ว่าการแบงก์ชาติ
มองเฉพาะตัวสถาบันโดดๆ ในยุคสมัยปัจจุบันแม้ว่าแบงก์ชาติอาจจะอยู่ในสถานภาพที่ต้องเป็นกลไกคอยควบคุมและการเสริมกลไกต่างๆ
ในระบบเศรษฐกิจให้สามารถต้านทานแรงกดดันจากความผันผวนของเศรษฐกิจมหาภาคที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ภายในกรอบของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ก็ต้องให้ CREDIT กันพอสมควรว่า ธนาคารชาติทำได้ดี
การเปลี่ยนแปลงวิธีการคำนวณค่าเงินบาทจากระบบ FIX CURRENCY เป็น BASKET CURRENCY
มีผลอย่างมากต่อการช่วยให้ค่าเงินบาทลอยตัวตามสภาพที่เป็นจริงมากขึ้น มีส่วนส่งผลให้
FLOW OE FUNDS ในบัญชีเงินการชำระเงินเกินดุลในอัตราที่เพิ่มขึ้นอัตราเฉลี่ยปีละมากกว่า
90% (2527-2530) และฐานะเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับมูลค่าสินค้าเข้าประมาณ
4 เดือน ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับปี 2526 ซึ่งอยู่ในสัดส่วนประมาร 2
เดือนเท่านั้น (ดูกราฟประกอบ) สิ่งเหล่านี้แสดงว่าการปรับปรุงกลไกทางการเงินให้สอดคล้องกับภาวะความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจมหาภาคที่เกิดขึ้นทั่วโลกอย่างทันท่วงที
มีส่วนอย่างสำคัยที่ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจมหาภาคภายใต้ยุคกำจรเป็นผู้ว่าการแบงกืชาติมีเสถียรภาพมาก
ในความสำเร็จของแบงก์ชาติยุคกำจรมีทั้งความสำเร็จและล้มเหลว…นี่เป็นสัจจะในการประเมินบทบาทฐานะทางประวัติศาสตร์!!
3 ปีหลังของแบงก์ชาติยุคกำจรมีความสำเร็จในการปฏิบัติตามนโยบายรักษษเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจระดับมหาภาค
แต่ในความสำเร็จก็มีความล้มเหลวโดยเฉพาะความล้มเหลวในแง่บุคลิกภาพ (PERSONALALITY)
และบารมี (CREDITABILITY) ของผู้ว่าการในสายตาของผู้มีอำนาจในกระทรวงการคลัง