Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2552
ช่างทอง ลมหายใจ...ทองไทย             
 

   
related stories

Future of Gold
Gold Futures Zero-sum game
เยาวราช ถนนสายทองคำ ยุคสมัยเปลี่ยน การค้าเปลี่ยน
ทองสุโขทัย ตำนานยังต้องรอสืบสาน
ยกระดับสู่สินค้าไฮแบรนด์
ทองคำเปลว...เปลวทองแห่งศรัทธา

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท บ้านช่างทอง จำกัด

   
search resources

Jewelry and Gold
บ้านช่างทอง, บจก.
บุญเลิศ สิริภัทรวณิช




คงเคยได้ยินคำว่า "คนไทยมีฝีมือ ไม่แพ้ใครในโลก" โดยเฉพาะช่างทองที่ประดิษฐ์เครื่องประดับด้วยความประณีตละเอียดอ่อน แต่ดูเหมือนว่าผลงานของไทยจะอยู่เพียงเบื้องหลังชิ้นงานราคาแพงลิบลิ่วของยี่ห้อดังในโลกเท่านั้น

ผู้ค้าทองไทยมีความพยายามหลาย ครั้งหลายคราที่จะผลักดันให้ผลงานทองไทยและเครื่องประดับอัญมณีได้รับการยอมรับจากตลาดโลก แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่สัมฤทธิผล

ความเพียรพยายามของผู้ผลิตไทยที่จะสร้างชื่อเสียงยังเกิดขึ้นอยู่หลายๆ แห่ง และซ่อนอยู่ในระดับกลุ่มเล็กๆ ของกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

ทว่า ปัญหาอุปสรรคการสร้างแบรนด์ทองไทยไปตลาดโลกยังมีอีกหลายแง่มุมให้ขบคิด การขาดช่างทองที่นับวันจะลดน้อยถอยลงไป ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 3 หมื่นคนจากในอดีตที่มีช่างทองร่วมแสน

หรืออีกเหตุผลหนึ่งเป็นเพราะการลดจำนวนร้านค้าทองจาก 1 หมื่นกว่าร้านเหลือประมาณ 6 พันร้านในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าประชาชนลดการบริโภคทองคำลงจนทำให้เจ้าของร้านทองโดยเฉพาะตู้แดงที่มีกำไรการขายทองไม่มากเริ่มทยอยปิดกิจการ

บวกกับราคาทองคำแท่งที่นำเข้าจากตลาดโลกนำไปในลงทุนหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกองทุนหรืออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการแพทย์ โดยเฉพาะการนำทองไปอ้างอิงการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า ส่งผลให้ราคาทองขึ้นลงเร็ว ราคาทองจึงไม่นิ่งเหมือนในอดีต

กระแสการบริโภคทองคำแท่งที่มากขึ้นเพราะเห็นช่องโอกาสมีกำไรจึงทำให้ทองคำ รูปพรรณได้รับความสนใจเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับลดน้อยลง ร้านค้าทองคำหลายแห่งพยายามที่จะดูแลช่างทองให้คงอยู่ แต่ก็ยอมรับว่าไม่สามารถดูแลได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่จะ ส่งงานให้ทำและมีรายได้จากงานแต่ละชิ้นโดยไม่มีรายได้ประจำ

บริษัท บ้านช่างทอง จำกัด (House of Goldsmiths) เป็นสกุลช่างทองที่มีต้นกำเนิด มาจากจังหวัดเพชรบุรี มีความพยายามจะรักษาช่างทองให้คงอยู่ต่อไป เพราะจากประสบ การณ์ที่คลุกคลีกับช่างทองมานานกว่า 20 ปี บุญเลิศ สิริภัทรวณิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท บ้านช่างทอง และในฐานะทายาทรุ่นที่ 3 เชื่อว่าช่างทองไทยมีฝีมือทักษะดีที่สุดในโลก และยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการผลิตเครื่องประดับยี่ห้อดังของโลก

ตึกแถว 3 ชั้น ถนนเจริญนครเป็นหนึ่งในโรงงาน มีช่างทองทำงานราว 10 คน บุญเลิศบอกว่าช่างทองชอบอยู่รวมกันเป็นแบบครอบครัวและทำงานร่วมกันแบบพี่น้อง ไม่ชอบกฎเกณฑ์ที่ต้องเข้าทำงานในตอนเช้าเลิกงานในตอนเย็นและกลับบ้าน แต่จะชอบทำงานอยู่ที่บ้าน

ช่างทองที่มาร่วมงานกับบุญเลิศมาจากหลายจังหวัด เช่น เพชรบุรี สิงห์บุรี พะเยา แต่ละคนจะมีความถนัดแตกต่างกันไป เช่น ช่างที่มาจากสิงห์บุรีจะได้รับอิทธิพลการผลิต ทองแบบเขมร ช่างภาคเหนือจะเก่งเรื่องถักทอเพราะมีประสบการณ์ผลิตเครื่องเงิน

ขณะที่ผู้จัดการ 360 ํ มองเปลวสีทองที่ผ่านกระบวนการความร้อนกำลังเทลงไปใน แม่พิมพ์ให้ได้ทองแท่งขนาดน้ำหนัก 6 บาทที่มีความยาวเท่ากับดินสอหนึ่งแท่งหลังจากนั้นนำไปรีดให้เล็กลงอีกครั้งหนึ่งจนมีศูนย์กลางเหลือ 2.20 มิลลิเมตร และนำทองไปดึงผ่าน แป้นดึงลวดทองให้มีขนาดเล็กที่สุด 0.26 มิลลิเมตร หรือใหญ่กว่าเส้นผมเพียงเล็กน้อย

เส้นทองคำถูกตัดเป็นชิ้นเล็กๆ ที่มีความยาวไม่ถึงครึ่งเซนติเมตรเพื่อเข้าสู่กระบวน การถักทอ โดยช่างทองจะใช้คีมเล็กๆ จับเส้นทองมาเชื่อมต่อกันทีละเส้นทีละเส้นเพื่อผลิตเป็นสร้อยคอ

จุดเด่นของช่างทองคือสามารถผลิตสร้อยคอ แหวน ต่างหู หรือกำไลได้ตั้งแต่เริ่มต้น จนจบ จึงทำให้งานมีคุณค่าในตัวเองเปรียบเหมือนมีงานชิ้นเดียวในโลกเพราะเป็นงานฝีมือ ที่ใช้มือทำงานกว่า 90%

การดูแลช่างทองของบุญเลิศไม่ เพียงแต่ช่วยช่างทองให้อยู่รอดได้เท่านั้นแต่ยังช่วยพยุงให้ธุรกิจบ้านช่างทองให้คงอยู่และสานความฝันของเขาเพื่อยกระดับทองไทยให้เข้าไปอยู่ในตลาดโลก

แผนการปรับปรุงต่อยอดธุรกิจของบุญเลิศมีหลายมิติเพราะการเปลี่ยนแปลงธุรกิจการค้าทองคำแท่ง ทองคำรูปพรรณ หรือแม้แต่โกลด์ฟิวเจอร์สที่เกิดขึ้นในตลาด ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนอยู่ในตอนนี้เร่งให้เขาปรับตัว

บุญเลิศไม่ได้มีเพียงบริษัท บ้านช่างทองเท่านั้นแต่เขามีอุตสาหกรรมทองคำที่ครบวงจรและบริษัทที่ก่อตั้งใหม่ส่วนใหญ่ยังมีอายุไม่ถึง 5 ปี เช่น บริษัท สยาม โกลด์ แกลอรี่ส์ จำกัด ก่อตั้งปี 2548 บริษัท ออสสิริส จำกัด ก่อตั้งปี 2549 และบริษัท ที.ซี.ออสสิริส ฟิวเจอร์ส จำกัด ก่อตั้ง 19 ธันวาคม 2551

ธุรกิจครบวงจรของบริษัทเริ่มตั้งแต่นำเข้า-ส่งออกทองคำแท่ง อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท ออสสิริส ส่วนผลิตทองคำรูปพรรณดูแลโดยบริษัท บ้านช่างทอง บริษัท สยาม โกลด์ แกลอรี่ส์ ดูแลด้านจิวเวลลี่ และบริษัท ที.ซี.ออสสิริสฯ เป็นตัวแทนโกลด์ฟิวเจอร์สจำหน่ายสัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า

บริษัทใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นมาเกิดจากการต่อยอดธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัวบุญเลิศ ที่มา จากสกุลช่างทองเพชรบุรีที่ถ่ายทอดงานศิลปะมากว่า 70 ปี

ปู่ลิ้ว แซ่โฮว คนจีนเดินทางมาประเทศไทยกับพ่อแม่ของเขา เพราะได้ยินว่าประเทศ ไทยได้รับการขนานนามว่า เป็นแผ่นดินทอง มีอู่ข้าวอู่น้ำอุดมสมบูรณ์

บุญเลิศเรียกปู่ลิ้วว่า อากง มาตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านต้นโพธิ์ จังหวัดเพชรบุรี บริเวณชุมชนวัดเกาะเป็นชุมชนเครื่องทองเพชรบุรี อากงเริ่มเรียนรู้เป็นช่างทองในตอนนั้นและไป เรียนเพิ่มกับญาติในจังหวัดสระบุรี และกลับมาเปิดร้านทองร้านแรกที่บ้านต้นโพธิ์เมื่อปี พ.ศ.2480 มีชื่อว่า ร้านช่างทอง รับจ้างผลิตทองให้กับลูกค้า

ต่อมารุ่นลูกคือ มนัส สิริภัทรวณิช บิดาของบุญเลิศได้รับการถ่ายทอดจนขยายร้านค้าเพิ่มอีกหลายแห่ง เช่น ร้านดีเฮง ร้านโฮวดีเฮง ร้านเพชรเจริญ ร้านเพชรรุ่งเรืองซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี มีพี่น้องร่วมกันดูแล

มนัสพร้อมกับครอบครัวและบุญเลิศในฐานะลูกชายเดินทางมาเปิดร้านที่กรุงเทพฯ บนถนนจักรวรรดิ ผลิตทองคำและขายส่งทองรูปพรรณภายใต้การบริหารงานของห้างหุ้น ส่วนจำกัด ห้างค้าทองไท้ฮั้ว เป็นธุรกิจครอบครัว

หลังจากบุญเลิศแต่งงานได้แยกตัว มาเปิดร้านของตนเองเมื่อปี 2535 ชื่อบ้านช่างทอง บนถนนจักรวรรดิ เป็นถนนเดียว กันที่ครอบครัวเปิดร้านและขายส่งทองคำรูปพรรณเน้นขายทองมีลวดลายจากสกุลช่างต่างๆ เช่น ทองสุโขทัย ทองลพบุรีทองเพชรบุรี เน้นความบริสุทธิ์ 99.99%

ลวดลายเครื่องประดับทองเพชรบุรีจะเน้นเทคนิคการถักทอ เดินลวด และเลียนแบบธรรมชาติโดยเฉพาะลูกสนที่เป็นสัญลักษณ์ของเพชรบุรี

ส่วนบ้านช่างทองอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ บริเวณวังบูรพา ผลิตทองคำรูปพรรณบริสุทธิ์ 99.99% และ 96.5% เปิดเป็นร้านค้าส่งมีลูกค้าเข้ามาเลือกแบบและลวดลายอย่างต่อเนื่อง ยังมีร้านจิวเวลรี่ของสยาม โกลด์ แกลอรี่ส์เปิดอยู่ใกล้กัน โดยมีสรสิดา ชานนประภาส์ กรรมการผู้จัดการลูกพี่ลูกน้องของบุญเลิศทำหน้าที่ดูแล

ความฝันของบุญเลิศที่จะนำพาทองไทยภายใต้แบรนด์ "บ้านช่างทอง" ไป ตลาดสากลได้เริ่มมา 3-4 ปี บุญเลิศเริ่มศึกษาและเดินทางไปอิตาลี หรือเวียนนาพบว่าเครื่องประดับของประเทศเหล่านั้นมีจุดเด่นและลักษณะเฉพาะตัว ในขณะที่ของไทยยังไม่มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนเพราะหากนึกถึงทองรูปพรรณในเอเชีย คนทั่วโลก จะนึกถึงอินเดียที่มีเอกลักษณ์ด้านลงยาหรือ ถ้าเป็นสไตล์ของจีนจะเป็นรูปดอกไม้

ประสบการณ์ที่เดินทางไปโชว์สินค้า ในต่างประเทศและเข้าแข่งขันประกวดทำให้เขาพบว่าการทำงานต้องมีกระบวน การและขั้นตอน

เมื่อ 3 ปีก่อนบุญเลิศเปิดจำหน่ายจิวเวลรี่และนำเข้า-ส่งออกทองแท่งเพื่อนำไปตีในตลาดโลก แต่หลังจากที่เขาเดินทาง ไปโชว์สินค้าในต่างประเทศและแข่งขัน ประกวดสินค้าทางด้านจิวเวลรี่ทำให้เรียนรู้ว่างานสไตล์ไทย คนยังไม่ยอมรับและยังขาดความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับแบรนด์ไทย

ทำให้เริ่มต้นใหม่เริ่มจากรับจ้าง ผลิตงานโออีเอ็ม (Original Equipment Manufacturing: OEM) รับจ้างผลิตให้ลูกค้า เพื่อฝึกฝนฝีมือให้มีความเชี่ยวชาญพัฒนาไปสู่งานดีไซน์และผลิตชิ้นงานได้ด้วยตนเอง หรือ (Original Design Manufacturing: ODM) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการสร้างแบรนด์ ที่เรียกว่า Original brand name manufacturing: OBM

การกลับมาเริ่มต้นใหม่ของบุญเลิศเกิดจากการเรียนรู้ของเขาพบว่าการที่จะสร้างแบรนด์ทองไทยและจิวเวลรี่ไปตลาดโลกได้นั้นต้องรู้จักตลาดอย่างถ่องแท้ว่าชอบสินค้า รูปแบบใด พฤติกรรมของลูกค้าเป็นอย่างไร แต่การที่เขาไปเริ่มทำจิวเวลรี่เมื่อ 3 ปีที่แล้วและนำสินค้าออกไปขายเป็นการทำงานที่ลัดขั้นตอน

"คีย์ของเรื่อง ต้นน้ำไม่ใช่การทำพิมพ์แต่ขึ้นอยู่กับการทำดีไซน์ ดีไซน์ที่ดีคือมีแบบดี ทีมงานดีและต้องคิดเลือกคอลเลกชั่น ทำเพื่ออะไร แบ่งกลุ่มทำงาน ใครเป็นลูกค้า ต้องมี หลายหน่วยออกมาช่วยกันคิด"

ระบบการทำงานของกลุ่มบ้านช่างทองเริ่มมีแบบแผนเน้นทำงานร่วมกัน โดยแบ่งออกเป็นหลายฝ่าย ทีมผู้บริหาร ทีมการตลาด ทีมดีไซน์ ทีมช่าง

ทีมดีไซน์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ทีมดีไซน์จิวเวลรี่และทีมดีไซน์เครื่องประดับทอง ผู้ออกแบบจะต้องรู้วิธีการทำงานของช่างและต้องเรียนรู้กระบวนการผลิต เริ่มจากรู้จักวัสดุ องค์ประกอบที่จะต้องไปด้วยกัน ทำงานเพื่อให้ผลิตชิ้นงานได้จริงเพราะบางครั้งงานดีไซน์ที่ออกมามีความสวยงามแต่ไม่สามารถผลิตได้ เป็นปัญหาที่บางครั้งมองไม่เห็น

บริษัทเรียนรู้ว่าการแบบออกชิ้นงานต้องดูทิศทางของตลาดสากลเป็นหลักเพราะการแข่งขันระดับโลกจะมีกลุ่มที่เป็นผู้กำหนดเทรนด์เครื่องประดับ และการผลิตจะต้องสอด คล้องกับฤดูกาล เช่น ฤดูร้อน ฤดูหนาว หรือฤดูใบไม้ผลิ

แต่เทรนด์ที่ตลาดโลกกำหนดเป็นเพียงช่วยนำทางเพื่อไม่ให้เกิดการฝืนกระแส แต่การสร้างแบรนด์ของบุญเลิศเขากลับไม่คิดที่จะตามกระแสมากไปเขาพยายามสร้างเอกลักษณ์ของงานให้มีรูปแบบความเป็นตะวันออก

สิ่งที่เขาคิด ไม่ได้เกิดจากเขาเพียงคนเดียว เขาเริ่มทำงานกับนักวิชาการอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และทีมงาน เพื่อย้อนกลับไปศึกษารากเหง้าของวัฒนธรรมตะวันตก และความเป็นสุวรรณภูมิในไทย พม่า เวียดนาม หรือแม้แต่ชาวเขาที่เป็นกลุ่มสร้างงานเล็กๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องศึกษาเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า

สิ่งที่กลุ่มบ้านช่างทองใช้เป็นแกนหลักในการทำงานคือ การไม่ลืมรากที่เริ่มต้นมาจากงานฝีมือแม้จะปรับรูปแบบให้ทันสมัยไปไกลเพียงใดก็จะคงอนุรักษ์แบบเก่า โดยใช้เทคนิคเดินลวด ถักทอมาดัดแปลง งานดีไซน์หลายแบบที่ลงด้วยดินสอติดข้างฝาผนังบนชั้น 2 ของสำนักงานวังบูรพา เป็นลวดลายใหม่ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ แต่เรียกว่าเป็นงานของปี 2009 กำลังจะสร้างเป็นชิ้นงานและจะเผยโฉมเร็วๆ นี้

กลุ่มผู้หญิงเป็นเป้าหมายหลักในการสร้างงานจิวเวลรี่และทองรูปพรรณ ดังนั้น งานออกแบบจะเจาะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตอย่างไร เช่น ผู้หญิงโรแมนติก รสนิยม เลือกเสื้อผ้า ทำงานประเภทไหน เลือกรับประทานอาหารอย่างไร กลิ่นน้ำหอมที่ใช้ ขับรถยี่ห้ออะไร

การทำงานทั้งหมดบุญเลิศบอกว่าเป็นงานวิจัยเพื่อศึกษาพฤติกรรมของลูกค้าและจำเป็นต้องทำเอง ไม่ว่าจ้างบริษัทภายนอก

ความพยายามสร้างแบรนด์ของกลุ่มบ้านช่างทองมีขึ้นหลายครั้ง เริ่มจากแบรนด์ไอริส จิวเวอร์รี่ส์ และปี 2551 สร้างแบรนด์ Goldlery ที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท สยาม โกลด์ แกลอรี่ส์ จำกัด

แต่แบรนด์ที่บุญเลิศตั้งใจนำไปตีตลาดสากลคือแบรนด์ "บ้านช่างทอง" หรือ House of Goldsmiths ซึ่งเป็นแบรนด์ของกรุ๊ปที่ดูแลบริษัทลูกทั้งหมด และเขายังเชื่อมั่นว่างานจิวเวลรี่และงานทองคำรูปพรรณเป็นศิลปะที่ยังได้รับการชื่นชมแม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไปนานเพียงใดก็ตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us