Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2530
กำจร สถิรกุล "ใครจะเตะผมก็เชิญ"             
 

   
related stories

ประเทศไทยต้องการผู้ว่าแบงก์ชาติแบบไหน?

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
กำธร สถิรกุล
Banking and Finance




การล่มสลายของสถาบันการเงินเกิดขึ้นในยุคสมัยของ กำจร สถิรกุลมากที่สุด จนหลายคนวิจารณ์เขาว่า เป็นผู้ว่าการแบงก์ชาติที่ไม่กล้าตัดสินใจแก้ปัญหาแบบเฉียบขาด แต่กำจรก็เป็นตัวของเขาเองที่มีสไตล์การทำงานที่ไม่เหมือนใคร เขาบอก "ผู้จัดการ" ว่า "ผมเหมือนลูกฟุตบอล ใครจะเตะ ก็ได้"

"ผู้จัดการ" ฉบับเดือนกันยายน 2527 เคยเขียนถึงกำจร สถิรกุลไว้ตอนหนึ่งว่า ก่อนหน้าที่กำจรได้รับการแต่งตั้งจากสมหมาย ฮุนตระกูล รมต.คลังสมัยนั้นให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าแบงก์ชาติ "กำจรได้ทำงานชิ้นหนึ่ง เพื่อช่วยสมหมายในเรื่องเกี่ยวกับนิพัทธ พุกณะสุต ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานชายของสมหมาย โดยที่นิพัทธ ซึ่งเคยถูกกระทรวงการคลัง ส่งไปเป็นกรรมการของบริษัทไทยเดินเรือทะเล และถูกคณะกรรมการ ป.ป.ป.สอบสวนในกรณีที่จัดทำสัญญาเช่าเรือมารีนไทล์อีเกิล บรรทุกน้ำมันให้ปตท.ซึ่งสัญญาเสียเปรียบเจ้าของเรือทำให้รัฐสูญเสียเงินโดยใช่เหตุ และกำธร พันธุลาภ ซึ่งเป็นประธานป.ป.ป.สอบสวนแล้วว่ามีความผิดจริงจึงส่งเรื่องคืนต้นสังกัดโดยกำจร สถิรกุล เป็นประธานในการสอบสวนและกำจรได้ชี้ลงไปว่า นิพัทธไม่มีความผิดเพราะถูกยืมตัวไปทำงาน หลังจากนั้นกำจรก็ส่งนิพัทธไปเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ ที่กรุงวอชิงตัน นิพัทธจึงรอดตัวไป…"

เหตุการณ์ช่วงนั้น กำจร สถิรกุล ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง กล่าวกันว่าผลงานชิ้นนี้ของกำจรเป็นที่สบอารมณ์ของสมหมายมาก การโยกย้ายกำจรไปแทนที่นุกูล ประจวบเหมาะ ในตำแหน่งผู้ว่าการแบงก์ชาติกระแสข่าวหลายวงการในขณะนั้นเชื่อว่าสมหมายยิงกระสุนนัดเดียวได้นก 2 ตัว กล่าวคือ เอาคนอย่างกำจรซึ่งสมหมายรู้ดีว่าเป็นข้าราชการที่ไม่รู้จักปฏิเสธคำขอร้องของผู้ใหญ่มาเป็นผู้ว่าการแบงก์ชาติ โอกาสที่กำจรจะสร้างความขัดแย้งกับตนย่อมเป็นไปได้ยากขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้มนัส ลีวีระพันธุ์ซึ่งขณะนั้นเป็นรองผ.อ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่เปรียบเสมือนเป็นมือขวาของตนได้ขึ้นตำแหน่งแทนกำจรในตำแหน่ง ผ.อ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

จากวันนั้นถึงวันนี้ 3 ปีเศษแล้วรัฐมนตรีคลังได้เปลี่ยนจากสมหมาย ฮุนตระกูลมาเป็นสุธี สิงห์เสน่ห์ กำจร สถิรกุล เด็กจากปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ผู้ผ่านการศึกษาอบรมด้วยทุนของรัฐบาลของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในสาขาเศรษฐศาสตร์ และเป็นผู้ที่คนในวงการศุลกากรยอมซูฮกให้ในความเป็นผู้รู้มากคนหนึ่งในการบบริหารกิจการศุลกากร ด้วยประสบการณ์การเป็นลูกหม้อในศุลกากรถึง 22 ปี เริ่มต้นเงินเดือนที่ 1,900 บาทก่อนหน้าที่จะถูกโยกย้ายมากินตำแหน่ง ผ.อ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลังในระยะเวลาสั้นเพียง 3 ปี

กล่าวกันว่า ช่วงที่กำจร สถิรกุล ขึ้นมากินตำแหน่งแบงก์ชาติแบบ "บุญหล่นทับ" มีเพื่อนฝูงเขาหลายคนกระเซ้าเขาว่าจะทำหน้าที่นี้ได้หรือในเมื่อเขาเป้นผู้เชี่ยญชาญแต่ด้านศุลกากรจับของเถื่อน กำจรก็ได้แต่ยกประวัติของ ADAM SMITH มาตอบคำถามเพื่อนฝูงอย่างเนืองๆ ว่า "รู้ไหมว่าตอนที่ ADAM SMITH เขียนเรื่อง THE WEALTH NATION ซึ่งเป็นคัมภีร์ของระบบทุนนิยม ที่ใช้อ้างอิงกันแพร่หลายตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน ADAM SMITH ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากรอยู่นะแล้วไฉนคนอย่างกำจรจะเป็นผู้ว่าแบงก์ชาติไม่ได้" …ก็นับว่า คำตอบของกำจรเช่นนี้คมคายไม่เบา เฉียบแหลมพอๆ กับความสามารถในการดูพระดูพลอยที่เขาพูดอยู่เสมอว่า เป็นงานอดิเรกพักผ่อนของเขาทีเดียว….

ประสบการณ์ 22 ปีในกรมศุลกากรเป็นห้วงเวลาที่กำจร สถิรกุล ถือว่ามีคุณค่ายิ่งสำหรับตัวเขาในชีวิตรับราชการ ความรู้ต่างๆ จากงานศุลกากรเขาได้นำมาปรับใช้กับภารกิจในการกำกับนโยบายรักษาความมั่นคงสถาบันการเงิน ซึ่งในสมัยของเขาในตำแหน่งผู้ว่าการแบงก์ชาติถือได้ว่า เป็นเป้าหมายหลักในการดำเนินนโยบายของธนาคารชาติ เพราะปัญหาความไร้เสถียรภาพของสถาบันการเงิน ที่หมักหมมมาก่อนหน้าสมัยของเขาได้ประทุกันอย่างต่อเนื่องมาในสมัยของเขาเป็นระลอกคลื่น จนเขาได้ปรารภกับ "ผู้จัดการ" อย่างยอมรับว่า ในชีวิตราชการของเขา ช่วง 3ปีที่เป็นผู้ว่าแบงก์ชาติรู้สึกอิ่มแล้วทั้งลาภ ยศ สรรเสริญ การติฉินนินทา และการทำงานหนัก

เขากล่าวว่า ปัญหาการตรวจสอบของสถาบันการเงิน เป็นเรื่องที่ต้องใช้แนวทางวิธีการตรวจสอบคล้ายๆ กับการบุกจับสินค้าเถื่อนในงานศุลกากรงานข่าวกรองเป็นเรื่องสำคัญ กรณีตัวอย่างแบงก์มหานครเมื่อปี 2529 ทันทีที่กำจรได้กลิ่นไม่ดีเขาได้จัดส่งปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา เจ้าหน้าที่แบงก์ชาติระดับสูง จากสาขาภาคเหนือเข้าไปกินตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์มหานครเพื่อสอบดูว่าแบงก์มหานครมมมีปัญหาอะไรและอยู่ตรงไหน ขณะเดียวกันเพื่อมิให้เกมข่าวกรองนี้สร้างความตื่นตระหนกแก่สาธาณะชน ภายนอกกำจรได้จัดฉากประชาสัมพันธ์ไปในทำนองว่า ปกรณ์ลาออกจากแบงก์ชาติไปอยู่แบงก์มหานครเพื่อให้แบงก์นี้บริหารแบบมืออาชีพมากขึ้น

เมื่อเกมข่าวกรองทำได้ระยะหนึ่งโดยปกรณ์ ได้รายงานผลต่อกำจรอยู่ทุกระยะจนกำจรแน่ใจว่าวิธีแก้ปัญหาแบงก์มหานครต้องใช้อำนาจทางกฎหมายพ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ปี 2528 ลดทุนจากหุ้นละ 100 บาทเหลือ 5 บาท แล้วเพิ่มทุนเข้าไป 1,000 ล้านบาท เพื่อตัดหนี้สูญบางส่วนที่ตรวจสอบในขณะนั้นประมาณ 4,600 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน กำจรก็ดันปกรณ์ขึ้นไปกินตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่แทน "โคโร่" หรือ คำรณ เตชะไพบูลย์ ผู้กุมตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่เดิม โดยให้คำรณไปนั่งตำแหน่งลอยที่ปรึกษาและประธานกรรมการธนาคาร ทั้งนี้เพื่อให้การแก้ปัญหาที่ว่าดำเนินไปได้สะดวก

ปกรณ์ทำงานในหน้าที่ที่กำจรมอบหมายให้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึงปีกำจรก็สั่งปกรณ์ให้ถอนตัวออกมา แล้วให้สุนทร อรุณานนท์ชัย จากสินเอเชียซึ่งเป็น PROXY ของชาตรี โสภณพนิช ตามความเชื่อของแหล่งข่าวหลายกระแสตอนนั้นขึ้นแทนปกรณ์ขณะเดียวกัน กำจรก็ไม่ปล่อยมือเสียทีเดียว ส่งมาโนช กาญจนฉายา และวิทวัฒน์ อุสินโน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของแบงก์ชาติเข้าไปกินตำแหน่งประธานกรรมการบริหารและกรรมการบริหารคุมสุนทรอีกทีหนึ่ง

เกมข่าวกรองสไตล์กำจร กรณีแบงก์มหานครจบลงในขั้นแรกตรงนี้ ซึ่งเท่ากับที่กำจรเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง เขาแสดงความรู้สึกภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนทำอย่างเห็นได้ชัด มันคล้ายๆ กับว่า กำจรได้ใช้วิทยายุทธงานข่าวกรองและปฏิบัติการจับของเถื่อนที่เคยทำมามากต่อมากในสมัยอยู่ศุลกากรอย่างไรอย่างนั้น

แต่งานนี้ กำจรก็ถูกโจมตีจากคนภายนอกมากว่า เงื้อดาบนานเหลือเกินก่อนจะตัดสินใจฟัน เพราะกินเวลานานถึง 1 ปีเต็ม ส่วนหนึ่งเหตุผลเพราะกำจรต้องการรออำนาจก.ม.ธนาคารพาณิชย์ฉบับแก้ไขใหม่ที่ประกาศใช้เดือน พ.ย. 2528 แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่อยู่ก้นบึ้งของกำจรเองคือ สไตล์ของเขาเองในการจัดการปัญหา ที่เขาเองยอมรับว่า เขาเป็นคนที่ไม่ชอบใช้ดาบ ชอบที่ใช้การเจรจาเพื่อการจูงใจมากกว่า ด้วยเชื่อว่า การใช้ดาบนั้นไม่สามารถทำให้ทุกคนพึงพอใจได้ "ผมเป็นคนที่มีนิสัยเปิดโอกาสให้เวลาไม่ชอบบังคับ" เขากล่าวกับ "ผู้จัดการ" สไตล์การจัดการปัญหาแก้ไขวิกฤติการณ์ความมั่นคงสถาบันการเงินแบบนี้ของกำจรเป็นสไตล์ที่ขัดแย้งกันเอามากๆ กับนุกูล ประจวบเหมาะ ผู้ว่าการแบงก์ชาติคนก่อนหน้า ที่เป็นคนกล้าตัดสินใจใช้ดาบอย่างไม่เกรงกลัวอำนาจบารมีใคร ดังกรณีตัวอย่างแบงก์เอเชียทรัสต์เมื่อช่วงปี 2527

สถานภาพของ ผู้ว่าแบงก์ชาติอยู่ในสภาพที่หนัก ไม่มีใครปฏิเสธเพราะบุคลิกภาพ อำนาจบารมีของผู้ว่าการเป็นตัวสะท้อนภาพสถาบันธนาคารกลาง กำจรก็อยู่ในกรอบนี้เช่นกันเขาต้องใช้ศิลปะอย่างมากในการสร้างดุลยภาพ ระหว่างการเจรจาจูงใจกับการใช้อำนาจตามกฎหมาย วิธีการดำเนินศิลปะแบบนี้ กำจรได้สรุปด้วยคำพูดสั้นๆ ในวิธีการของเขาว่า "เขาจะทำตัวเป็นลูกฟุตบอลให้ทุกคนเตะให้น่วมเสียก่อน เพื่อจะได้รู้ว่าแต่ละคนที่เตะนั้นมีความต้องการอย่างไร แล้วจึงค่อยตัดสินใจดำเนินการ" สิ่งนั้นหมายความอย่างไร

คำตอบมี 2 ประเด็น คือ หนึ่ง-สะท้อนถึงสไตล์ของกำจรได้แจ่มชัดมากกว่าเวลาเผชิญปัญหาเขาไม่หนีปัญหาแต่เขาจะปล่อยให้สถานการณ์มันสุกงอมเอง ไม่ว่าจะกินเวลานานเท่าไร สอง-สะท้อนว่ากำจรเป็นคนชอบแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและพร้อมที่จะดูทิศทางลมอยู่ตลอดเวลา ก่อนตัดสินใจดำเนินการ

กรณีตัวอย่างแบงก์นครหลวงไทยระหว่างปี 2528-2529 เป็นตัวอย่างแจ่มชัดอีกอันหนึ่งที่บุญชู โรจนเสถียร ไม่อาจลืมได้ชั่วชีวิตนี้!!!

กำจรได้ยับยั้งการลาออกของบุญชูโดยรับปากว่าจะส่งคนแบงก์ชาติเข้ามาควบคุมดูแลแบงก์อย่างใกล้ชิด ด้วยเหตุผลของบุญชูที่รายงานให้กำจรทราบตลอดมาว่าเขาถูกขัดขวางแผนการปฏิรูปธนาคาร 5 ปีจากกลุ่มมหาดำรงค์กุล ที่กำจรลงนามอนุมัติเห็นชอบด้วยแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2527

กล่าวกันว่าคำร้องของกำจรครั้งนั้น บุญชูเชื่อ แต่แล้วก็ต้องผิดหวังเมื่อกำจรถูกอำนาจจากกระทรวงการคลัง ทำให้ต้องบิดพริ้วตามทิศทางลมเบื้องบน กำจรกล่าวในภายหลังว่า ปัญหาแบงก์นครหลวงไทยเป็นเรื่องภายในที่ขัดแย้งกันเองของกลุ่มผู้ถือหุ้น "เป็นเรื่องของผัวเมียทะเลอะกัน" มันกลับกลายเป็นว่า ไม่ใช่เรื่องของความขัดแย้งที่เกิดจากหลักการและความถูกต้องที่อีกฝ่ายหนึ่ง (บุญชู) ปฏิบัติตามเงื่อนไขของแบงก์ชาติแต่ถูกขัดขวางอีกฝ่ายหนึ่ง (มหาดำรงค์กุล) ไปเสียฉิบ (อ่านรายละเอียดเรื่องนี้เพิ่มเติมได้จาก "ผู้จัดการ" ฉบับ พฤษภาคม 2528)

สไตล์การแก้ปัญหาของกำจรในลักษณะเช่นนี้ที่ว่า "ทำตัวเป็นแบบลูกฟุตบอล" มันอันตราย มันเหมือนคล้ายๆ กับว่า กำจรเต้นระบำตามเพลงของผู้มีอำนาจในกระทรวงการคลังมากกวาเต้นตามเพลงของตัวเองจุดนี้เองีท่มีการพูดกันมาก ในยุคสมัยของกำจรว่า สมควรที่จะต้องมานั่งทบทวนปัญหาสถานะภาพและความมีอิสระ (ที่แท้จริง) ของแบงก์ชาติกันอย่างจริงจัง

แหล่งข่าวระดับสูงในแบงก์ชาติเคยตั้งข้อสังเกตกับ "ผู้จัดการ" ว่า การทำงานของกำจรนั้น มีลักษณะทุ่มเทให้กับงานมากจัดว่าเป็นผู้ว่าการที่มีความขยันมากคนหนึ่ง จะมาทำงานตั้งแต่เช้า 7.30 น. เพื่อประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์และดำเนินงานด้านต่างๆ จากสต๊าฟระดับสูงของเขา

"มันเป็น INFORMAL MEETING ที่เจ้าหน้าที่ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไปจะมานั่งพูดคุยดื่มกาแฟกัน ปรึกษาหารือในเรื่องงานต่างๆ มากกว่าจะประชุมกันอย่างเคร่งเครียด" แหล่งข่าวบรรยายให้ฟังถึงการทำงานของกำจรในช่วงภาคเช้า

ในช่วงสายถ้าไม่มีการติดนัดประชุมสำคัญ กำจรจะนั่งทำงานในห้องทำงานไปเรื่อยๆ และจะรับประทานอาหารเที่ยงในห้องทำงานของตนเอง เป็นกิจวัตรโดยใช้เวลาสั้นๆ ไม่กี่นาที หลังจากนั้นถ้าช่วงบ่ายไม่มีนัดประชุม เขาจะอาศัยเวลาช่วงพักเที่ยง ก่อนเข้างานในตอนบ่าย แวะไปดูพระเครื่องเพื่อผ่อนคลายแถวๆ วัดมหาธาตุข้างสนามหลวงเขากล่าวให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ในหลายครั้งขณะที่เขากำลังผ่อนคลายดูพระเครื่อง SOLUTION ในงานหน้าที่ที่คิดไม่ออกก็เกิดการ "ปิ๊ง" ขึ้นมาได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากสำหรับตัวเขา

"ผมจำไม่ได้แล้วว่ามัน "ปิ๊ง" ขึ้นมาด้วยเรื่องอะไรบ้าง มันมากหลายครั้ง" กำจรเล่า

สไตล์การทำงานของกำจร บางคนอาจจะมีความรู้สึกว่าเขาไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน หลายคนรู้สึกแปลกใจที่คนระดับผู้ว่าการเลือกวิธีผ่อนคลายโดยเล่นพระเครื่อง แทนที่จะเล่นกอล์ฟ ทั้งๆ ที่ในวัยเด็กของกำจรสมัยเรียนอยู่วชิราวุธเขาเป็นนักกีฬารักบี้ตัวยง

ทุกวันนี้ กำจรนั่งทำงาน โดยไม่คิดอะไรมากเกี่ยวกับอิสรภาพและสถานะภาพของแบงก์ชาติ หรือแม้แต่ความมั่นคงในตำแหน่งของตัวเอง เขามีความคิดว่าในฐานะผู้ว่าการ ต้องพร้อมเสมอที่จะลงจากเก้าอี้ ถ้าผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลังเห็นควร

"มันเป็นเรื่องไกลเกินไปสำหรับท่านผู้ว่าการที่จะเข้าไปแตะเรื่องนั้น เพราะท่านสำนึกอยู่เสมอว่า ท่านเป็นข้าราชการ ที่จะต้องเดินตามผู้บังคับบัญชา คุณจะสังเกตเห็นได้ว่า ตั้งแต่ท่านเป็นผู้ว่าการมา 3 ปี ท่านไม่เคยแสดงการทุบโต๊ะกับทางกระทรวงการคลังเลย" แหล่งข่าวให้ข้อสังเกต ซึ่งก็มีส่วนจริงไม่น้อย เพราะกำจรหลีกเลี่ยงเสมอที่จะเผชิญหน้ากับอิทธิพลของนักการเมืองเข้าทำนองรู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง

นุกูล ประจวบเหมาะ อดีตผู้ว่าการก่อนหน้ากำจร เคยตั้งข้อสังเกตว่า แบงก์ชาติในยุคกำจรมีความหย่อนยานในวินัยทางการเงินมาก (THE LENDER OF LAST PESORT) มีการอัดฉีดเงินเพื่อเข้าไปช่วยเหลือความอ่อนแอของสถาบันการเงินบางแห่ง และปฏิบัติตมคำขอร้องของรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือเพื่อพยุงราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญบางชนิดอย่างต่อเนื่องทุกปีทั้งๆ ที่สภาพคล่องส่วนเกินในปริมาณเงินของระบบมีอยู่สูง เดชะบุญที่ระบบเศรษฐกิจไม่ประสบปัญหาแรงกดดันของอัตราดอกเบี้ยแพงและน้ำมันแพง จึงหลีกเลี่ยงผลกระทบตามมาในปัญหาเงินเฟ้อได้

แน่นอน! กำจร ฉลาดพอที่จะคาดการณ์สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในยุคสมัยเขาได้ว่า อยู่ในสภาวะที่เสถียรภาพทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงพอต่อการรองรับปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้น โดยไม่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ

กำจร มีความเห็นว่า ในยุคสมัยของเขาปัญหาเฉพาะหน้าที่สำคัญยิ่งไม่ใช่เรื่องของอิสรภาพ หรือสถานภาพของแบงก์ชาติ แต่เป็นเรื่องของการรู้จักใช้เครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมต่อการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับสถาบันการเงินที่กำลังอ่อนเปราะ

มันเป็นหน้าที่หน้าที่หลักของผู้ว่าโดยตรงเลยที่จะต้องทำงานแก้ปัญหาความมั่นคงของสถาบันการเงินให้สำเร็จ และดูเหมือนว่ากำจรก็รู้สึกพึงพอใจในผลงานด้านนี้ของเขาอยู่มากโดยไม่แคร์ว่าคนอื่นจะคิดอย่างไร

เขากล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า ในอดีตเขาเคยบรรยายวิชาเศรษฐมิติให้กับนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ที่ธรรมศาสตร์ จุดหนักของวิชาที่บรรยาย พยายามเน้นถึงความพอดีหรือ OPTIMUM และหลักการนี้เป็นสิ่งที่เขายึดถือมาตลอดในสไตล์การทำงาน

อย่างไรก็ตาม แม้ความเชื่อและสไตล์การบริหารของกำจรจะเป็นเช่นนั้น แต่เขาก็ให้ความสำคัญกับตัวบุคคลที่ทำงานในแบงก์ชาติมาก ด้วยความเชื่อว่าการบริหารงานที่แบงก์ชาติในยุคสมัยของเขาจะให้ผลออกมาดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเจ้าหน้าที่เป็นสำคัญเหตุนี้ เมื่อจรัส ชูโต อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ปูนซิเมนต์ไทยเข้ามาเป็นกรรมการแบงก์ชาติในยุคสมัยของกำจร กำจรจึงสนับสนุนอย่างเต็มที่ในความเชี่ยวชาญของจรัส ชูโต ในงานด้านการบริหารงานบุคคล โดยกำจรลงทุนขอร้องให้จรัส ชูโต เป็นที่ปรึกษาในงานด้านพัฒนาบุคลากรในแบงก์ชาติด้วย ซึ่งจรัส ชูโต ก็ไม่ขัดข้องที่จะทำเรื่องนี้

งานปรับปรุงการบริหารงานบุคคลในแบงก์ชาติที่เกิดขึ้นขณะนี้ กำจรถือว่าเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงานแบงก์ชาติมาก และดูเหมือนกำจรเองก็มีความสุขมากที่มีส่วนสนับสนุนงานนี้อย่างเต็มที่

อนาคตของกำจร สถิรกุล ในตำแหน่งผู้ว่าการแบงก์ชาติยังไม่มีผู้ใดคาดการณ์ได้ว่าจะจบสิ้นเมื่อใด บางทีอายุราชการที่เหลืออีก 6 ปี เขาอาจจะอยู่ในตำแหน่งนี้ต่อไปก็ได้แม้นว่าตัวรมต.คลังจะเปลี่ยนไปก็ตาม เหตุผลสำคัญ คงไม่ใช่เพราะกำจรมีบารมีและศิลปะการโน้มน้าวจูงใจอย่างที่ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ มีอยู่เต็มตัว แต่เป็นเพราะกำจร สถิรกุลมีศิลปะในการทำงานสไตล์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน "เป็นลูกฟุตบอลให้เขาเตะจนน่วม" นั่นแหละมากกว่าเหตุผลอื่นใด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us