Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2552
Toyota’s เปลี่ยนผู้กุมบังเหียนคนใหม่             
 


   
www resources

Toyota Homepage

   
search resources

โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น
Auto Manufacturers
Akio Toyoda




Akio Toyoda ผู้บริหารคนใหม่และหลานปู่ของผู้ก่อตั้ง Toyota เปิดวิสัยทัศน์อนาคต Toyota

Akio Toyoda ประธานคณะกรรมการบริหารคนใหม่ของ Toyota แทบไม่มีสิ่งใดเหมือนกับประธานคณะกรรมการบริหารคนก่อนๆ แม้ว่าเขาจะมีนามสกุลเดียวกับผู้ที่เคยอยู่ในตำแหน่งบริหารสูงสุดของ Toyota ถึง 5 คนจากทั้งหมด 10 คนที่ผ่านมา Akio Toyoda เคยใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐฯ 7 ปี จบ MBA และพูดภาษาอังกฤษอย่างไร้ที่ติ เขาชอบแข่งรถ เพิ่งเสร็จสิ้นการแข่งรถอันทรหด 24 ชั่วโมงในรถ supercar ของ Toyota ที่สนามแข่งรถ Nurburgring ในเยอรมนี

ด้วยวัย 53 ปี เขาอ่อนกว่าประธานคณะกรรมการบริหารคนก่อนหน้าเขาถึง 14 ปี และนับเป็นผู้บริหารที่หนุ่มมากหากนับตามมาตรฐานของญี่ปุ่น Toyoda เชื่อว่า ความอายุน้อยของเขาจะมีส่วนช่วยบริษัทได้มากเป็นพิเศษ

Toyoda ขึ้นกุมบังเหียน Toyota 2 เดือนหลังจาก Toyota รายงานผลขาดทุนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 6,900 ล้านดอลลาร์ Toyoda คิดว่า วิกฤติที่บริษัทประจำตระกูลเขา (แม้ว่าข้อมูลล่าสุดตระกูล Toyoda จะถือหุ้นเพียงประมาณ 2% เท่านั้ ใน Toyota) ประสบในครั้งนี้เป็น "วิกฤติในรอบ 100 ปี" โดยมีสาเหตุจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก บวกกับปัญหาภายในของ Toyota โดยเฉพาะจากกิจการของ Toyota ในสหรัฐฯ Toyoda ประกาศจะลดกำลังการผลิตส่วนเกิน ปรับการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มการควบคุมให้เข้มข้นยิ่งขึ้น และนำบริษัทกลับคืนสู่คุณค่าพื้นฐาน ซึ่ง หนึ่งในนั้นคือการกลับไปให้ความสำคัญกับหลักการที่สำคัญที่สุดในระบบการผลิตของ Toyota นั่นคือ genchi genbutsu มีความหมายว่า "ออกไปเห็นด้วยตาตนเอง"

Akio Toyoda เป็นหลานปู่ของ Kiichiro Toyoda ผู้ก่อตั้ง Toyota และเป็นบุตรชายของ Shoichiro Toyoda ซึ่งขณะนี้ดำรง ตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ของ Toyota หลังจบปริญญาตรีด้าน กฎหมายจากมหาวิทยาลัย Keio เขาเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐฯ และจบ MBA จาก Babson College ซึ่งเคยมีศิษย์เก่าอีกคนหนึ่ง ที่เป็นสายเลือดของตระกูลค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่อีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ Edsel Ford II

Toyoda เริ่มงานกับ Toyota ตั้งแต่ปี 1984 และได้กลับไปสหรัฐฯ เพื่อไปบริหารโรงงาน NUMMI เป็นเวลา 2 ปี โรงงานดังกล่าวตั้งอยู่ในแคลิฟอร์เนียเป็นกิจการร่วมทุนระหว่าง Toyota กับ General Motors

กับบริษัทที่อนุรักษนิยมสูงมากอย่าง Toyota Toyoda ถูก มองว่าเป็นพวกหัวรุนแรง ในช่วงต้นของทศวรรษนี้ Toyoda เคยบริหารฝ่ายพัฒนาธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตและเว็บ Gazoo.com ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับรถรุ่นใหม่และรถมือสอง ก่อนที่เว็บดังกล่าวจะพัฒนาไปเป็นร้านขายสินค้าไลฟ์สไตล์ออนไลน์

ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์ของ Toyoda ที่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อในสหรัฐฯ คือนิตยสาร Fortune เป็นครั้งแรก ซึ่งเขาได้เผยวิสัย ทัศน์ที่มีต่ออนาคตของ Toyota

ผู้บริหารคนก่อนๆ ของ Toyota มักกลัวว่า Toyota จะโตเกินไป ทำให้งุ่มง่าม คุณคิดว่า Toyota ติดโรคการเป็น "บริษัทยักษ์ใหญ่" นี้แล้วหรือยัง
Toyoda: ติดบ้างนิดหน่อย แต่ถ้าคุณมอง Toyota เป็นบริษัท 3 แห่งที่ผลิตรถยนต์แห่งละ 3 ล้านคัน แทนที่จะมองเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ผลิตรถ 10 ล้านคัน ผมเชื่อว่าเราสามารถจะหาวิธีหลีกเลี่ยงการติดโรคนี้ได้ เงื่อนไขและสถานการณ์ต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไป เราจำเป็นต้องพัฒนารถที่ดีที่สุดสำหรับภูมิภาคทั้งญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป

Toyota ถูกมองว่าหัวโบราณและอนุรักษนิยม คุณคิดจะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้หรือไม่
Toyoda: ไม่รักษาของเก่าไว้บ้างก็ไม่ดี เราต้องมีทั้งความมั่นคงและสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วด้วย ผมเชื่อว่าผมจะช่วยบริษัทได้มากเป็นพิเศษ เพราะผมเป็นผู้บริหารที่อายุน้อยตามมาตรฐานของญี่ปุ่น ทำให้ความแตกต่างของอายุระหว่างผมกับเพื่อนร่วมงานมีน้อยลง

Toyota รับมือกับเศรษฐกิจขาลงดีพอหรือยัง หรือต้องทำให้ดีกว่านี้
Toyoda: เราอาจจะเปลี่ยนแปลงวิธีทำธุรกิจเพียงเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของตลาด แม้เราจะรักษาสิ่งที่เป็นแก่นที่ดีของเราไว้ ขณะเดียวกันเราก็ต้องมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่ควรต้องเปลี่ยนปรัชญาของเราที่ว่า "ลูกค้าต้องมาก่อน" จะต้องเข้มแข็งยิ่งขึ้น

คู่แข่งของคุณกำลังเร่งพัฒนารถยนต์ พลังงานไฟฟ้า ทำให้ Toyota ต้องเร่งมือในเรื่องนี้ด้วยหรือไม่
Toyoda: แบตเตอรี่ของรถพลังงานไฟฟ้ายังมีอายุการใช้งานจำกัด ซึ่งเป็นปัญหาที่ยังแก้ ไม่ได้ Toyota จึงยังเน้นเทคโนโลยีรถลูกผสม (hybrid) ที่ใช้แหล่งพลังงานหลายแหล่ง เพราะเรามีความรู้ดีเกี่ยวกับการใช้แบตเตอรี่ในรถลูกผสม ตอนนี้เราจึงยังเน้นที่เทคโนโลยีรถลูกผสมไปก่อน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความนิยมที่มีต่อรถพลังงานไฟฟ้าด้วย

รถลูกผสม Prius ของคุณขายดีมากในญี่ปุ่น หลังจากคุณตั้งราคาชนกับ Insight ของ Honda โดยตรง ทำไมคุณถึงดันรถรุ่นนี้อย่างมาก
Toyoda: เรามีเป้าหมายจะทำให้รถลูกผสมเป็นที่นิยมในวงกว้าง และตามสถานการณ์ของตลาดในปัจจุบัน เราต้องการจะผลิตรถลูกผสมให้มากขึ้น เพราะเป็นผลดีต่อเรา

คุณคิดว่ายอดขายรถยนต์ที่ตกต่ำจะสิ้นสุดเมื่อใด
Toyoda: มีรถยนต์ 250 ล้านคันในสหรัฐฯ อุตสาหกรรมรถยนต์ขายรถได้ 10 ล้านคันต่อปี หมายความว่าตลาดจะครบวงจรทุกๆ 25 ปี แต่ผมคิดว่า 25 ปีนานเกินไป เราน่า จะลดวงจรนี้ให้เหลือแค่ 10 ปีจะเหมาะสมกว่า ขนาดของตลาดในปัจจุบันที่ 10 ล้านคันนี้เล็กเกินไป แต่ก็คงไม่สามารถฟื้นกลับไปที่ 16 ล้านคันได้เหมือนเดิม แต่ผมคิดว่าเราน่าจะฟื้นกลับไปที่ 12-13 ล้านคันได้

ที่ผ่านมา Toyota โตเร็วเกินไปในอเมริกาเหนือหรือไม่
Toyoda: Toyota ตั้งเป้าจะเป็นบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งในสหรัฐฯ และผมเชื่อว่านั่นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เราจะเพิ่มความแข็งแกร่งในสหรัฐฯ ให้มากขึ้นอีก แม้ว่าถ้าดูจากสถานการณ์ในปัจจุบัน กำลังการผลิตอาจจะมากเกินไปบ้างก็ตาม

ทุกวันนี้การดำเนินงานของ Toyota ในอเมริกาเหนือ อย่างเช่นการผลิตและยอดขาย ยังคงต้องรายงานกลับไปที่ญี่ปุ่น คุณคิดจะเปลี่ยนแปลงจุดนี้หรือไม่
Toyoda: ในสหรัฐฯ เรามีบริษัทซึ่งผลิตรถ 3 ล้านคัน เราต้องแน่ใจว่า บริษัทของเราในสหรัฐฯ จะสามารถดำเนินธุรกิจได้โดยสมบูรณ์ และกลายเป็นบริษัทอเมริกันเต็มตัว

คุณคิดว่าอนาคตของ Detroit Three (3 ค่ายรถยักษ์ใหญ่อเมริกัน) จะเป็นอย่างไร
Toyoda: GM ครองที่หนึ่งมานานหลายปี และเราได้เรียนรู้มากมายจาก GM รวม Big Three ผมหวังว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในสหรัฐฯ จะกลับมาเติบโต เข้มแข็งและรุ่งเรือง เพราะอุตสาหกรรมนี้มีส่วนสำคัญมากในเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

การที่รัฐบาลเข้ามาอุ้มบริษัทรถยนต์เหมาะสมหรือไม่ในสถานการณ์ปัจจุบัน
Toyoda: ผมไม่มีข้อมูลพอที่จะตอบคำถามนี้ได้

คุณมองภาพรวมยอดขายรถในญี่ปุ่นอย่างไร ในขณะที่ญี่ปุ่นกำลัมีประชากรลดลง
Toyoda: ตั้งแต่รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มโครงการให้สิ่งจูงใจแก่คนที่เปลี่ยนรถเก่าที่ใช้งานมานานกว่า 13 ปี ไปซื้อรถ eco-car อย่างเช่นรถลูกผสม ปรากฏว่ารถขายดีมาก แต่ในด้านกำลังการผลิต เราอาจจะต้องลดขนาดลงเล็กน้อยเพื่อความเหมาะสม

ใครเป็นคู่แข่งในอนาคตที่คุณวิตกมากที่สุด จีนหรือเกาหลีใต้
Toyoda: จีนกำลังไล่ตามมาอย่างรวดเร็วมาก และผมคิดว่าจีนคงจะตามทันเราอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นเราคงจะต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงมาก

คุณผ่านงานมาหลายอย่างใน Toyota งานไหนที่คุณชอบที่สุด
Toyoda: แทนที่จะเป็นผู้บริหารที่ต้องนั่งอยู่ในออฟฟิศ ผมชอบออกไปข้างนอกมากที่สุด และทำงานกับคนงานในโรงงานที่สายการผลิต ตอนที่ผมนำแนวคิด kaizen (การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง) มาใช้ และได้ทำงานร่วมกับคนงานในส่วนหน้าเพื่อปฏิบัติตามระบบนี้ ผมรู้สึกดีมากและประสบการณ์นั้นมีส่วนช่วยในอาชีพผมอย่างมาก

คุณเคยอยู่ที่สหรัฐฯ 7 ปี สิ่งที่แตกต่างกันมากที่สุดระหว่างสหรัฐฯ กับญี่ปุ่นคืออะไร
Toyoda: ภาษา (หัวเราะ) แล้วก็ญี่ปุ่นเล็กมาก เราต้องอาศัยอยู่ในที่เล็กๆ เราจึงต้องสนใจคนอื่น และต้องคิดถึงคนอื่นอยู่ตลอดเวลา จนเรารู้สึกเหนื่อยที่จะต้องคอยสนใจคนอื่น แต่ในสหรัฐฯ จะมีเสรีภาพมากกว่า คุณสามารถทำในสิ่งที่คุณชอบ แต่ในญี่ปุ่นคุณต้องคอยคิดถึงสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนอื่นอยู่เสมอ ทำให้ผมรู้สึกเครียดอยู่บ้างและรู้สึกไม่ค่อยมีอิสระเท่าไหร่ (หัวเราะ)

แนวโน้มใหม่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่คุณมองเห็นว่ากำลังจะเกิดขึ้นใน 5-10 ปีข้างหน้า
Toyoda: การเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดรถยนต์ตอนนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงชนิดที่เรียกว่าจะพบพานเพียง 1 ครั้งในรอบ 100 ปี ผมคิดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในขณะนี้กำลังพยายามหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในรอบ 100 ปีที่ว่านั้น สิ่งหนึ่งที่ผมแน่ใจคือ สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปนี้จะไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งที่ต่อยอดจากอดีต

ปีที่แล้วเป็นปีครบรอบ 100 ปีการประดิษฐ์รถ Ford Model T และครบรอบ 100 ปีการก่อตั้ง GM ผมคิดว่านี่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้ผ่านมาแล้วถึง 100 ปี ฐานะของคนทำงานดีขึ้นจนสามารถซื้อรถยนต์ได้ แต่ว่าสภาพการณ์ที่สนับสนุน ให้อุตสาหกรรมรถยนต์รุ่งเรืองอย่างนี้ กำลังเริ่มแตกสลายแล้ว ผมเชื่อว่าถึงเวลาที่ Toyota จะต้องเสนอคำตอบสำหรับ 100 ปีข้างหน้าของอุตสาหกรรมรถยนต์ และถือเป็นภารกิจของ Toyota ที่จะต้องคิดค้นวิธีใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานและเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่ออนาคต

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง ฟอร์จูน 6 กรกฎาคม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us