|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ระหว่าง Breguet และวัฒนธรรมแบบราชสำนักของยุโรป อาจสืบย้อนไปได้ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ Abraham Louis Breguet ได้มีโอกาสเข้าเฝ้ากษัตริย์และราชินีแห่งฝรั่งเศส กลายเป็นผู้ผลิต นาฬิกาที่สามารถสร้างความชื่นชมให้กับทั้ง Louis XVI และ Marie-Antoinette
มรดกแห่งความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ส่งผ่านให้ Nicolas G. Hayek ประธานบริหารและผู้ก่อตั้ง Swatch Group ในฐานะ CEO ของ Breguet ในปัจจุบัน ตั้งปณิธานที่จะสนับสนุนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรป ที่สืบเนื่องมาผ่านแบรนด์ Breguet และบุคคลสำคัญในยุโรป
แม้ว่า Nicolas G. Hayek จะเป็นผู้ที่มีรากฐานมาจากครอบครัว Lebanese ก็ตาม
โครงการล่าสุดของ Breguet อยู่ที่การเข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลัก ในการบูรณะพระราชวัง Versailles ในส่วนที่พระนาง เจ้า Marie-Antoinette ราชินีของฝรั่งเศส 1 ในผู้ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของนาฬิกา Breguet โปรดให้เป็นที่ประทับประจำ
รวมถึงโอกาสที่ได้เป็นผู้สนับสนุนหลักในการบูรณะ พิพิธภัณฑ์ Louvre ส่วนปีก หลุยส์ที่ 14 ที่ซึ่งประกอบไปด้วยวัตถุโบราณล้ำค่า หายากในช่วงหลุยส์ที่ 14 ทั้งหมด
ปฏิสัมพันธ์กับราชสำนักและพิพิธภัณฑ์ Louvre ส่งผลให้ Breguet จัดนิทรรศการ นาฬิกาเบรเกต์ ใน พิพิธภัณฑ์ Louvre ช่วงระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน - 7 กันยายน 2009 ซึ่งนาฬิกาต่างๆ ที่ได้มาจัดแสดงโชว์นั้น ล้วนแต่เป็นการรวบรวมคอล เลกชั่นที่หายาก ไม่ว่าจะเป็นจากคอลเลกชั่นของพิพิธภัณท์ Louvre และพิพิธภัณท์ Breguet หรือแม้กระทั่งคอลเลกชั่นสะสมส่วนตัวของผู้มีเกียรติทั่วโลก
ประเด็นที่น่าสนใจมากอยู่ที่การจัดแสดงนาฬิกา Breguet ครั้งนี้ ดำเนินอยู่ในช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกับการรำลึกประวัติศาสตร์ว่าด้วยการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่เริ่มต้นจากความไม่พึงใจราชสำนัก ที่ปกครองโดย Louis XVI และ Marie-Antoinette กำลังเสพสุขท่ามกลางวิกฤติที่กำลังนำพาฝรั่งเศสไปสู่ภาวะล้มละลาย
ก่อนที่ฝูงชนจะบุกเข้าโจมตี Bastille ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติและติดตามมาด้วยการประหารชีวิต Louis XVI และ Marie-Antoinette ในที่สุด
บางทีความเป็นไปของนาฬิกา มิได้จำกัดเฉพาะอยู่ที่การเป็นเครื่องบอกเวลาที่กำลังเดินไปในอนาคตเท่านั้น แต่กำลังย้อน รอยประวัติศาสตร์ให้ได้ศึกษากันอย่างน่าสนใจด้วย
|
|
|
|
|