|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน ทำให้ตลาดรองเท้ากีฬาในปี 2552 ซบเซาลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 5 พันล้านบาท หดตัวลงถึงร้อยละ 19.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้ารองเท้ากีฬารายใหญ่ของโลกและเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ลดปริมาณการนำเข้ารองเท้ากีฬาลง ทำให้มูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 หดตัวลงถึงร้อยละ 41.9 และ 11.5 ตามลำดับ นอกจากนี้การส่งออกรองเท้ากีฬาของไทย ไปยังจีน ซึ่งเป็นตลาดใหม่ก็ยังมีการหดตัวลงเช่นเดียวกันถึงร้อยละ 30.5
แม้ขณะนี้ไทยจะมีความได้เปรียบประเทศคู่แข่งขันสำคัญ ในตลาดรองเท้ากีฬาของโลกอย่างจีนและเวียดนาม ซึ่งถูกสหภาพ ยุโรป (EU) ขยายมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดออกไปอีก 2 ปี และการที่ไทยได้รับคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ในยุโรป ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาของไทยที่จะสามารถส่งออกรองเท้ากีฬาไปยังสหภาพยุโรปได้เพิ่ม มากขึ้นก็ตาม
แต่ด้วยปัจจัยด้านเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติ ทำให้คาดการณ์ว่าการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยตลอดทั้งปี 2552 นี้จะยังคงมีแนวโน้ม หดตัวลงประมาณร้อยละ 19.0 หรือมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 11.9 พันล้านบาท
เนื่องจากตลาดส่งออกรองเท้ากีฬาเกรดเอของไทย ทั้งในตลาดสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปลดลงประมาณร้อยละ 25 ทำให้ผู้ส่งออกต้องพยายามเสนอราคาเพื่อจูงใจให้มีการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าราคาต่อหน่วยของการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทย จะลดลงประมาณร้อยละ 3.7
ขณะที่ตลาดส่งออกซึ่งเป็นตลาดหลักของอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาของไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตลาดรองเท้ากีฬาภายในประเทศก็มีการหดตัวลงเช่นเดียวกัน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 การจำหน่ายรองเท้ากีฬาในประเทศมีปริมาณ 3.5 ล้านคู่ หดตัวลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 24.7 อันเป็นผลมาจากกำลังซื้อของคนในประเทศลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ตลอดทั้งปี 2552 นี้ ปริมาณการจำหน่ายรองเท้ากีฬาภายในประเทศจะลดลงประมาณร้อยละ 26.6 หรือมีปริมาณการจำหน่ายรวมทั้งสิ้นประมาณ 8.4 ล้านคู่ โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 ตลาดรองเท้ากีฬาภายใน ประเทศน่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เพราะผู้ผลิตประสบปัญหาการขยายตลาดส่งออกไม่ได้ตามเป้าหมาย ทำให้ต้องหันมาให้ความสนใจกับตลาดภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายรองเท้ากีฬาในประเทศของไทย นั้นแบ่งเป็นรองเท้ากีฬาที่ผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 71.6 และเป็นรองเท้ากีฬาที่นำเข้าจากต่างประเทศคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 28.4
ทั้งนี้ จากตัวเลขปริมาณการจำหน่ายรองเท้ากีฬาในประเทศที่ลดลง ทำให้ปริมาณการผลิตรองเท้ากีฬาเพื่อจำหน่ายภายในประเทศลดลงตามไปด้วย โดยปริมาณรองเท้ากีฬาที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 ลดลงถึงร้อยละ 27.6
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าในปี 2552 นี้ ปริมาณการผลิตรองเท้ากีฬาเพื่อจำหน่ายในประเทศจะลดลงประมาณร้อยละ 23.2 หรือมีปริมาณการผลิตรวมประมาณ 7.0 ล้านคู่ ซึ่งผู้ผลิตส่วนใหญ่ จะหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดในช่วงที่ความต้องการรองเท้ากีฬาราคาถูกจากจีนในประเทศ เริ่มลดลง
สำหรับการนำเข้ารองเท้ากีฬาของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 นั้น ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 16.5 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปริมาณการนำเข้ารองเท้ากีฬาราคาถูกจากจีนลดลงมาก ถึงร้อยละ 19.7 ซึ่งคาดว่าตลอดทั้งปี 2552 นี้ ปริมาณการนำเข้า รองเท้ากีฬาของไทยจะหดตัวลงประมาณร้อยละ 20.2 หรือมีปริมาณการนำเข้ารองเท้ากีฬารวมทั้งสิ้นประมาณ 2.1 ล้านคู่
แม้ว่านักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจจะให้ความเห็นว่าวิกฤติเศรษฐกิจของโลก ได้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ย่ำแย่ที่สุดมาแล้วก็ตาม แต่ด้วยแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ชัดเจน ทำให้คาดว่ามูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยไปยังตลาดโลกในปี 2552 จะยังคงมีแนวโน้มหดตัวลงตามกำลังซื้อที่ลดลงของผู้บริโภค ในประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป
ขณะที่การแข่งขันของตลาดภายในประเทศในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 คาดว่าจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตประสบปัญหาการส่งออกไม่ได้ตามเป้าหมาย นอกจากนี้ คาดว่าปริมาณการจำหน่ายรองเท้ากีฬาภายในประเทศจะมีแนวโน้มหดตัวลงเช่นเดียวกันประมาณร้อยละ 26.6 ตามกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศที่ลดลงเนื่องจากผลกระทบของภาวะ เศรษฐกิจที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ทาง การตลาดในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ผู้ประกอบการควรเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนานวัตกรรมสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความระมัดระวังในการรับออเดอร์จากต่างประเทศ บริหารจัดการทางการเงินให้มีความรัดกุมเพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนทางการเงิน และเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้มากขึ้น พร้อมทั้งมองหาตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงทางการตลาดไว้ด้วย
|
|
|
|
|