สมหมาย ฮุนตระกูล ขึ้นเป็นผู้จัดการเครือซีเมนต์ไทยช่วง 2519-2532 ต่อจากบุญมา
วงศ์สวรรค์ เขาต่างจากบุญมาตรงที่เขาเป็นนักเรียนเก่าญี่ปุ่นไม่เหมือนบุญมาที่เป็นศิษย์เก่าแอลเอสอี
เพราะสมหมายเป็นนักเรียนเก่าญี่ปุ่น นวัตกรรมสมัยเขาจึงมีกลิ่นอายอาทิตย์อุทัยอยู่มากเห็นได้จากการรับเอาเทคโนโลยีการหล่อเหล็กแท่งจากญี่ปุ่นเข้าสู่บริษัทเหล็กสยาม
ส่วนนวโลหะไทยยิ่งเห็นได้เด่นชัด บริษัทนวโลหะไทย SUBSIDIARY เครือซีเมนต์ไทยรับโน-ฮาวจากคูโบต้า
เพื่อผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ของเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก รับเทคโนโลยีด้านผลบิตจานล้อห้ามรถบรรทุกจากทากาโอกาบริษัทลูกของโตโยต้ามอเตอร์ในปี
พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นยุคของจรัสชูโต
ถึงจะเกิดในยุคของจรัส ชูโต แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าไม่ใช่ผลพวงจากการวางรากฐานของสมหมาย
ฮุนตระกูล ศิษย์เก่าที่ญี่ปุ่นภาคภูมิใจมากๆ
จนถึงยุคของพารณ ผู้จัดการใหญ่คนปัจจุบันมรดกจากสมหมายก็ยังอบอวนอยู่ การเข้าร่วมทุนกับโตโยต้าในการผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถปิกอัพ
นอกจากบริษัทปูนซีเมนต์ไทยจะเข้าร่วมกับโตโยต้าแล้ว นวโลหะไทยในเครือปูนใหญ่ก็เข้าจอยเวนเจอร์กับสยามกลการและนิสสันมอเตอร์
และนวโลหะก็ยังร่วมกับค่ายอีซูซุอีกด้วย นั่นแสดงว่ามีเพียงค่ายยนตรกิจเท่านั้นที่ปูนใหญ่ไม่มีเอี่ยว
"ขนาดในห้องของระดับของระดับบริหารของปูนใหญ่ยังมีตุ๊กตาญี่ปุ่นประดับห้องเลย"
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปูนใหญ่บอก "ผู้จัดการ"
เมื่อเร็วๆ นี้ปูนใหญ่ก็ร่วมกับทางมิตซูบิชิผลิตหลอดภาพโทรศัพท์
หรือนี่จะเป็นแนวโน้มที่ปูนใหญ่จะอิงญี่ปุ่นมากขึ้น???
"เป็นไปได้มาก สังเกตจากพฤติกรรมระยะหลังของปูนใหญ่" ผู้เชี่ยวชาญคนเก่าให้ความเห็น
ฉะนั้นการที่ปูนใหญ่รับเอาคิวซีเข้ามาใช้ในปี 2522 จึงเป็นเรื่องธรรมดามากๆ
ยิ่งถ้าบอกว่ากลุ่มคุณภาพ (คิวซี) เกิดขึ้นจครั้งแรกที่บริษัทนวโลหะไทยยิ่งไม่ต้องการคำอธิบายอะไรมากถ้าอ่านพารากราฟข้างบน
อันที่จริงก่อนปี 2522 ปูนใหญ่และบริษัทในเครือได้ส่งระดับบบริหารไปฝึกปรือวรยุทธทั้งในและนอกประเทศ
จนปี 2522 จึงได้ถือกำเหนิดกลุ่มคุณภาพขึ้นอย่างเป็นทางการที่บริษัทนวโลหะไทย
และถัดจากนั้นก็ขจรขจายไปเกือบทุกปริมณฑลของเครือซิเมนต์ไทยก็ว่าได้ เพราะจากวันนั้นถึงวันนี้
9 ปีที่กลุ่มคุณภาพจุติขึ้นในสยามซีเมนต์ จาก 15 กลุ่มในปี 2522 เป็น 1,185
กลุ่มในปี 2530 มีพนักงานร่วมโดยสมัครใจถึง 8,232 คน "คิดเป็น84% ของพนักงานทั้งหมดในเครือเชียวนะคุณ"
พนักงานระดับกลางคนหนึ่งของปูนบอก "ผู้จัดการ"
พนักงานเกือบหมื่นคนที่มาร่วมกลุ่มคุณภาพของปูนใหญ่นั้นเป็นเสมือนกงล้อขับเคลื่อนอันทรงประสิทธิภาพ
นำพาให้เครือซีเมนต์ไทยรุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง
ถึงคิวซีจะเป็นเทคนิคที่อเมริกาคิดขึ้นมาก่อน และญี่ปุ่นจะนำมาปฏิบัติกันทั่วโลกต่างเอาแบบอย่าง
แต่หลายๆ ประเทศก็มิอาจบรรลุดั่งที่ญี่ปุ่นประสบผลมาแล้ว
ในเมืองไทยเองทุกวันนี้อาจจะเรียกว่าเกิด "คิวซีเมเนีย" ขึ้นมาแต่จะมีสักกี่แห่งที่ประสบผลสำเร็จอย่างปูนใหญ่
จะมีสักกี่แห่งที่มีทรัพยากรพร้อมสรรพอย่างเครือซีเมนต์ไทย จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมปูนใหญ่จึงซัคเซสกับคิวซี
อีกนวัตกรรมหนึ่งที่อิมพอร์ทจากญี่ปุ่น
เกือบทศวรรษของคิวซีสยามซีเมนต์กรุ๊ป จึงได้จัด "มหกรรมกลุ่มคุณภาพเครือซีเมนต์ไทย
ครั้งที่ 1" เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ที่อาคารสำนักงานใหญ่บางซื่อ
งานนี้มีการแสดงผลิตภัณฑ์ในเครือซีเมนต์ไทยทั้งหมด ซึ่งขนมาแสดงกันอย่างจุใจไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัทปูนซีเมนต์ไทยเองทั้งปูนตราช้าง
ตราเสือ คอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มที่เอสซีทีเป็นดีเลอร์อยู่ หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์กระดาษ
กระเบื้อง เครื่องสุขภัณฑ์ ยางรถ และอื่นๆ อีกเหลือคณานับจริงๆ
เรียกว่างานนี้ใครไม่รู้ว่าปูนใหญ่ ทำไมถึงใหญ่? มาชมห้องนี้คงจะเข้าใจว่า
ทำไม "ผู้จัดการ" จึงตั้งปุจฉากับพารณ ว่า "ความใหญ่เป็นอันตราย"
และ "ความใหญ่" ของปูนใหญ่มีวิญญาณของชาวอาทิตย์อุทัยแฝงอยู่?!!