Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์27 กรกฎาคม 2552
มองหุ้นกลุ่มแบงก์ยังมีอัพไซด์ หลังไตรมาส 2 ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว             
 


   
search resources

Investment




มองหุ้นแบงก์ยังถูก แม้ปรับตัวขึ้นมาเยอะแล้วก็ตาม พบราคาในเชิง PB มีส่วนลดกว่า 11% เมื่อเทียบกับวิกฤติการเงินปี 40 และ 26% จาก PB เฉลี่ย 6 ปีย้อนหลัง ชี้จุดต่ำสุดได้ผ่านไปแล้วในไตรมาส 2 โบรกฯปรับเพิ่มการลงทุนเป็น"มากกว่าตลาด" แนะลงทุน 5 แบงก์ใหญ่

ความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตการเงินโลกและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้เริ่มคลายตัวลงเมื่อเทียบกับต้นปีที่ผ่านมาทำให้หุ้นแบงก์ปรับตัวขึ้นมากกว่า 59% โดยปรับตัวสูงกว่า SET ถึง 22% แต่บทวิเคราะห์จาก บล.เคจีไอ ก็มองว่าหุ้นแบงก์ยังมีการซื้อขายที่ค่า PB(อัตราส่วนราคาต่อมูลค่าทางบัญชี) เพียง 1.1เท่า และยังถูกว่าค่า PB Multipleเฉลี่ยหลังวิกฤตการเงินเอเชียในปี 40-41 อยู่กว่า 11%

โดยแม้ว่าธนาคารไทยจะมีฐานะทางการเงินที่ดีกว่าช่วงนั้นซึ่ง NPL ลดลงเหลือ 6-7%จากกว่า 50% และเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่ 11-12% เทียบกับขณะนั้นที่ 6-7% และยังไม่มีไม่มีสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่อการปรับลดมูลค่า นอกจากนั้น เมื่อเทียบกับค่า PB เฉลี่ยในรอบ 6 ปีที่ผ่านมาที่1.45เท่า หุ้น ณ ปัจจุบันก็ยังมีระดับซื้อขายที่ต่ำกว่าถึง 26% หากวัดจากจุดสูงสุดที่ค่า PB 2 เท่าจะทำให้ส่วนลดสูงถึง 45% แม้ความเสี่ยงในด้านการเมืองจะยังอยู่ แต่ก็ยังมีโอกาสอีกมากที่หุ้นจะปรับตัวขึ้นไปสู่แค่ค่าเฉลี่ยที่ควรจะเป็น(Mean Reversion) และก็ยังเชื่อว่าราคาของหุ้นธนาคารไทยที่ระดับปัจจุบันยังไม่สูงเกินไปแม้จะวิ่งขึ้นมามากแล้วก็ตาม

เมื่อเทียบกับหุ้นธนาคารอื่นๆในภูมิภาค หุ้นธนาคารไทยยังมีการซื้อขายในระดับต่ำกว่าค่า PB ภูมิภาคเฉลี่ยที่ 1.5เท่า ถึง 23% แม้ว่าราคาที่ต่ำกว่าดังกล่าวจะสะท้อนถึงความเสี่ยงด้านการเมืองในประเทศที่ยังมีอยู่และแนวโน้มกำไรสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ที่ปรับลดลงมาจากค่าเฉลี่ยในอดีต ซึ่งปรับตัวลดต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 จากการสิ้นสุดของสิทธิพิเศษทางภาษีและการเปลี่ยนไปใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อให้ธนาคารบันทึกค่าใช้จ่ายสำรองเพิ่ม เช่น IAS39

ในความเห็นของฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ ส่วนลดของราคาธนาคารไทยต่อธนาคารในภูมิภาคต่างๆยังคงสูงเกินไป ประเมินได้จากสัดส่วน ROE/PB ยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในหลายๆประเทศ แม้ว่ายังจะมีมุมมองที่ยังไม่ดีมากต่อการเมืองไทยบ้างแต่ก็เชื่อว่าช่วงที่เลวร้ายที่สุดน่าจะได้ผ่านไปแล้ว

นอกจากนี้ ในแง่ของค่า PE Multiple ธนาคารไทยยังคงซื้อขายอยู่ในอันดับต่ำมากที่เพียง 10เท่า ในปี 2552 ซึ่งถูกกว่าหุ้นอื่นในภูมิภาคที่ 15เท่า กว่า 30% ในขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัว แม้ว่าจะเกิดขึ้นในอัตราที่ไม่ได้เร็วมาก ฝ่ายวิจัยก็ยังประเมินว่าส่วนลดของธนาคารไทยน่าจะแคบลงได้อีกเมื่อเทียบกับหุ้นธนาคารอื่นๆในภูมิภาค

ทั้งนี้ แม้จะคาดว่าช่วงเลวร้ายที่สุดได้ผ่านไปแล้วในครึ่งแรกของปี 2552 ตลาดคงไม่ฟื้นตัวเป็นรูปตัว V และในระยะสั้นตลาดจะยังได้รับผลกระทบจากผลประกอบการไตรมาส2/2552 ที่คาดว่าจะอ่อนตัวจากแรงกดดันด้านส่วนต่างดอกเบี้ย อัตราการขยายตัวของสินเชื่อในระดับต่ำ สำรองที่เพิ่มขึ้น และรายรับค่าธรรมเนียมที่ลดลง ในภาพรวมทั้งปี 2552 ผลประกอบการน่าจะยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ก็คงไม่เป็นเรื่องแปลกสำหรับตลาดเนื่องจากตลาดได้คาดไว้แล้วว่ากำไรจะลดลง 6% ในปีนี้

อย่างไรก็ตามครึ่งหลังของปี ฝ่ายวิจัยเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีและสัญญาณการฟื้นตัวของปัจจัยบวกต่อกำไรกลุ่มธนาคาร เช่น อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ส่วนต่างดอกเบี้ย รายรับค่าธรรมเนียม ซึ่งก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลของการฟื้นตัวเริ่มชัดเจนขึ้นมากในปีหน้าโดยค่าประมาณการณ์ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROAE) จะเริ่มปรับขึ้น และกำไรจะขยายตัวดีถึง 17-18% ดังนั้นจึงคาดว่าจากแนวโน้มดังกล่าวหุ้นธนาคารยังมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก

นอกจากนี้ ฝ่ายวิจัยยังได้ปรับลดค่าความเสี่ยงที่ใช้ประเมินมูลค่าหุ้น (Risk premium) ต้นทุนการลงทุน (COE) ลดลงจากกว่า 12-13% เป็นประมาณ 11-12% และได้ราคาพื้นฐานที่สูงขึ้น แต่ราคาพื้นฐานใหม่ส่วนมากยังถูกกว่าค่า PB เฉลี่ย 6 ปีอยู่กว่า 15% ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อที่ว่าการประเมินมูลค่าที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงแนวโน้มระยะยาวของหุ้นธนาคารไทยที่ดีขึ้น

จากการฟื้นตัวในระยะกลางถึงยาว และการคาดการณ์เกี่ยวกับส่วนลดต่างของมูลค่าในปัจจุบันกับในอดีตหรือเทียบกับตลาดภูมิภาคจะน้อยลง ฝ่ายวิจัยจึงปรับเพิ่มน้ำหนักกลุ่มธนาคารเป็น"มากกว่าตลาด" จาก "เท่ากับตลาด" และยังคงเลือกลงทุนในธนาคารขนาดใหญ่ เช่นKBANK, SCB, KTB, BBL, BAY ส่วนในกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก ฝ่ายวิจัยเลือก TISCO และยังคงแนะนำ "เก็งกำไร"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us