|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลกทำยอดขายตลาดต่างประเทศหด ข้าวหงษ์ทองพลิกเกมรบ เดินหน้าขยายตลาดใหม่ในประเทศแบบเชิงรุก 2 แนวทาง รักษาฐานลูกค้าเดิม เร่งเพิ่มหน่วยรถกระจายสินค้าเข้าถึงลูกค้าทุกพื้นที่ รับสถานการณ์ข้าวถุงเปลี่ยนจากศึกช่องทางโมเดิร์นเทรด มาที่ร้านค้าทั่วไป พร้อมทั้งจับมือเมเจอร์ และ AIS ขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น มุ่งไปที่กลุ่มอายุ 20-30 ปี ด้วยกลยุทธ์การทำตลาดสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมกันแบบวิน-วิน (Win-Win)
ภาพรวมของตลาดข้าวในปี 2552 เนื่องจากผลผลิตข้าวของตลาดโลก (Supply) มีมากกว่าความต้องการของตลาด (Demand) ประกอบกับข้าวไทยต้องเผชิญสภาพการแข่งขันสูง โดยเฉพาะกับคู่แข่งสำคัญคือ เวียดนามซึ่งได้เบียดแย่งตลาดข้าวไทยด้วยราคาต่ำกว่า ทำให้แนวโน้มราคาข้าวของตลาดโลกลดลง
ในทางกลับกัน สำหรับตลาดข้าวภายในประเทศปีนี้มีแนวโน้มที่ดีและมีความน่าสนใจที่จะทำตลาดมาก เนื่องจากรัฐบาลได้เปิดรับจำนำข้าวเพื่อช่วยพยุงราคาข้าว เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ทำให้ราคาข้าวในประเทศไทยสูงขึ้น ประกอบกับความต้องการข้าวในประเทศยังคงสูงต่อเนื่องตลอดเวลา เพราะคนไทยนิยมบริโภคข้าวเป็นหลัก ทำให้บริษัทที่ทำตลาดส่งออกหันมาบุกตลาดข้าวถุงภายในประเทศมากขึ้น
กอปรกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ประเทศไทยและประเทศแถบเอเชียยังเป็นประเทศที่ได้ผลกระทบค่อนข้างน้อยไม่เท่ากับสหรัฐฯ หรือประเทศในแถบยุโรป ซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างเยอะ จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจในประเทศไทยสามารถเติบโตได้แน่นอน แต่ต้องมีการเตรียมพร้อมและวางแผนอย่างรอบคอบให้เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้
เหตุผลดังกล่าวทำให้ ข้าวหงษ์ทอง ต้องพลิกเกมรบหันมาเปิดแนวรุกใหม่ โดยหันมาให้ความสำคัญกับการแข่งขันในประเทศ แบ่งสัดส่วนตลาดส่งออก 60% และตลาดในประเทศ 40% การปรับเป้าหมายในเวลานี้ ดูจะตรงกันกับคู่แข่งยักษ์ใหญ่อย่าง ข้าวตราฉัตร ของค่าย ซี.พี. ที่ต้องเผชิญกับพิษของเศรษกิจโลก ทำให้ต้องหันหัวเรือมาให้ความสำคัญกับการแข่งขันในประเทศด้วยเช่นกัน และด้วยความเคลื่อนไหวของคู่แข่งดังกล่าว ทำให้การแข่งขันการทำตลาดในประเทศของ ข้าวหงษ์ทอง ต้องเผชิญกับคู่แข่งที่มีความได้เปรียบและเสียเปรียบที่ใกล้เคียงกัน
เพราะทั้ง ข้าวหงษ์ทองและคู่แข่ง สูสีกันในแง่ของแบรนด์ที่มีความโด่งดังอย่างมากในตลาดข้าวถุงต่างประเทศ แต่มีความแตกต่างในแง่ของการรับรู้แบรนด์ และช่องทางขายสำหรับตลาดในประเทศ โดยความชำนาญในตลาดข้าวของหงษ์ทองนั้นก่อตั้งแบรนด์มา 70 ปี โดยทำตลาดต่างประเทศเป็นเวลา 50 ปี และในประเทศขึ้นปีที่ 13 โดยการแข่งขันในประเทศเป็นสงครามข้าวถุงระหว่างข้าวหงษ์ทอง สู้ศึกกับข้าวมาบุญครอง ที่บุกเบิกตลาดข้าวบรรจุถุงแบรนด์แรกของวงการ ซึ่งในระยะหลัง การแข่งขันของตลาดในประเทศ เริ่มหันมาใช้กลยุทธ์เพิ่มมูลค่าสินค้า โดยได้นำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเปิดตัวข้าวหงษ์ทอง ซี ไอ ข้าวเสริมแคลเซียม และธาตุเหล็กออกสู่ตลาดเมื่อปลายปีที่แล้ว ทั้งนี้เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ซึ่งการปรับเปลี่ยนการทำตลาดตามสถานการณ์ตลอดเวลาเป็นสิ่งที่ทำให้ข้าวหงส์ทองครองเบอร์ 1 ด้วยส่วนแบ่ง 18-20% ตามมาด้วยแบรนด์ที่ติดท็อปไฟว์คือ มาบุญครอง ตราเกษตร ตราฉัตร และข้าวแสนดี จากตลาดข้าวถุงมูลค่าในเชิงปริมาณ 3 ล้านถุง
อย่างไรก็ตาม จุดแข็งที่มีชื่อเสียงในตลาดต่างประเทศนี้ก็ทำให้คู่แข่งอย่าง ข้าวตราฉัตร หยิบเรื่องการยอมรับที่ได้จากผู้บริโภคในต่างประเทศเข้ามาเป็นข้อได้เปรียบในการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ในตลาด โดยสื่อสารเมสเซจดังกล่าวผ่านภาพยนตร์โฆษณาชุดข้าวไปนอก และขยายช่องทางขายผ่านยี่ปั๊ว และซาปั๊ว ทั่วประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นการรุกตลาดในรอบหลายปีก็ว่าได้ และเป็นการรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนเกมจากศึกข้าวระอุในช่องทางโมเดิร์นเทรด มาที่ความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาซื้อข้าวถุงในร้านค้าทั่วไป (Traditional Trade) มากขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่กำลังซื้อลด ทำให้ต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
สถานการณ์ที่คู่แข่งพลิกเกมมาเล่นตลาดในประเทศมากขึ้น ในจังหวะเวลาที่ใกล้เคียงกัน และศึกข้าวถุงเปลี่ยนมารุนแรงในช่องทางค้าปลีกนั่นเอง ทำให้ข้าวหงส์ทองต้องงัดกลยุทธ์หลากหลายรูปแบบเพื่อมารับมือกับคู่แข่ง โดยวางแผนการแก้เกมเป็น 2 แนวทางคือ กลยุทธ์รักษาฐานลูกค้าเดิม การขยายฐานลูกค้าใหม่
โดยกลยุทธ์รักษาฐานลูกค้าเดิมจะเน้นเพิ่มศักยภาพในการกระจายสินค้าเพื่อให้ ข้าวหงษ์ทอง เข้าถึงลูกค้าได้ทุกพื้นที่ โดยปีนี้จะเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นทั้งได้ใช้รูปแบบ Distribution Center (DC) คือการกระจายสินค้าโดยมีหน่วยรถวิ่งตรงถึงร้านค้าปลีก ช่วยให้สามารถกระจายสินค้าได้ครอบคลุมร้านค้าปลีกในพื้นที่มากที่สุด โดยปัจจุบันมี DC ทั้งสิ้น 15 แห่ง และตั้งเป้าเพิ่มขึ้นเป็น 30 แห่งภายในปีนี้
ที่ผ่านมา หลังเดินหน้าแก้เกมด้วยการกระจายสินค้าที่ทำให้สินค้าเข้าถึงลูกค้า ด้วย DC และการกระจายสินค้าโดยหน่วยรถ นับว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากช่องทางขายผ่านร้านค้าปลีกในต่างจังหวัด เห็นได้จากยอดขายในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เติบโตถึง 20% ซึ่งใกล้เป้าหมายสิ้นปี'52 ที่วางไว้ว่าจะมียอดขายเติบโตขึ้น 30% หรือ 1,700 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมามียอดขาย 1,400 ล้านบาท
นอกจากแก้เกมด้านช่องทางขายแล้ว ยังวางเป้าหมายขยายฐานกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้กว้างขึ้น โดยมุ่งไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 20-30 ปี โดยในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อทำให้ลูกค้าจะมองเรื่องความคุ้มค่าเป็นเหตุผลในการเลือกซื้อ ซึ่งข้าวหงษ์ทอง ก็นำกลยุทธ์ Partnership Marketing ซึ่งเป็นการตลาดร่วมกันแบบวิน-วิน (Win-Win) ที่จะช่วยให้ข้าวหงษ์ทองสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอายุ 20-30 ปีได้ในทางตรง
ล่าสุดจับมือ 2 พันธมิตรค่ายใหญ่ 'เมเจอร์' และ 'AIS' เปิดตัวแคมเปญ 'Mid Year Bonus' พร้อมทุ่มงบกว่า 20 ล้านบาทในแคมเปญ 'Mid Year Bonus' เพื่อมอบโบนัสสร้างความสุขให้กับผู้บริโภค รวมถึงเป็นการสร้างความคุ้นเคยในแบรนด์หงส์ทอง โดยลูกค้าที่ซื้อข้าวหงษ์ทองขนาด 5 กก. จากห้างสรรพสินค้า (Modern Trade) จะได้รับฟรีคูปอง 'Mid Year Bonus' 1 ใบในถุงข้าวหงษ์ทองสะสมให้ครบ 3 ใบ แลกรับตั๋วชมภาพยนตร์ฟรีมูลค่า 120 บาท จำนวน 10,000 ที่นั่ง หรือสะสมคูปองครบ 2 ใบ แลกรับชุดป๊อปคอร์นมูลค่า 90 บาท จำนวน 5,000 ชุด ส่วนลูกค้าที่ซื้อข้าวหงษ์ทองจากร้านค้าทั่วไป (Traditional Trade) ทั่วประเทศ จะได้รับค่าโทร.ฟรีในระบบเติมเงิน 1-2-Call และสวัสดี มูลค่า 10 บาททุกถุง ทั้งนี้ แคมเปญ 'Mid Year Bonus' จะมีไปจนกระทั่งสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
โสพรรณ มานะธัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เจียเม้งมาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผู้จัดจำหน่าย 'ข้าวหงส์ทอง' ซึ่งเป็นผู้นำตลาดข้าวในประเทศไทย และต่างประเทศ ได้กล่าวถึงภาพรวมการแข่งขันของตลาดข้าวถุงในประเทศที่มีการแข่งขันรุนแรงว่า ในปีนี้ใช้งบการทำตลาด 80 ล้านบาท ประเดิมด้วยแคมเปญ 'Mid Year Bonus' ซึ่งเป็นแคมเปญที่ต่อเนื่องจากปี'51 ที่ทำโปรโมชั่นร่วมกับพาร์ตเนอร์กลุ่มเชนสโตร์ แต่มีความแตกต่างในแง่ของการใช้เพื่อสร้างยอดขายข้าวหงส์ทอง ที่แบ่งเป็นช่องทางขายผ่าน Traditional Trade 60% และโมเดิร์นเทรด 40% โดยแคมเปญที่จะได้รับค่าโทร.ฟรีในระบบเติมเงิน 1-2-Call และสวัสดี จะสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่ซื้อข้าวหงษ์ทองจากร้านค้าทั่วไป (Traditional Trade) ในตลาดต่างจังหวัดทั่วประเทศ ส่วนแคมเปญแลกรับตั๋วชมภาพยนตร์ฟรี เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์คนเมืองที่ซื้อข้าวถุงผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด นอกจากการเพิ่มศักยภาพช่องทางขาย และการทำโปรโมชั่นแล้ว ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ทางบริษัทยังมีแผนที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ตอนนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการลูกค้าอย่างครบถ้วน
|
|
 |
|
|