|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
บอร์ดคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ห่วง “ทีเอสเอฟซี” ปล่อยมาร์จิ้นโลน์เกินตัวจนก่อให้เกิดความเสียหาย สั่งปรับเกณฑ์ให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ให้เหมาะสมกับฐานะการเงินปัจจุบันของบริษัท หากสำนักงาน ก.ล.ต. ตรวจพบมีการฝ่าฝืนให้สามารถระงับการให้กู้เงินแก่นักลงทุนรายใหม่-รายเดิมได้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 16 สิงหาคมนี้
รายงานข่าวจากคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่า คณะกรรมการกำกับตลาดทุนฯ ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ทีเอสเอฟซี) ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ โดยเห็นควรให้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสามารถในการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ (มาร์จิ้น โลน) ให้เหมาะสมกับฐานะการเงินที่เป็นปัจจุบันของบริษัท
ประกอบกับ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่4) พ.ค. 2551 กำหนดให้การออกหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการในการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ เป็นอำนาจของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน จึงเห็นควรออกประกาศเพื่อทดแทนประกาศก.ล.ต.ใหม่
โดยข้อกำหนดใหม่ของทีเอสเอฟซีในการปล่อยกู้เพื่อการซื้อหลักทรัพย์ มีดังนี้ คือ สามารถดำเนินการปล่อยกู้หลักทรัพย์จดทะเบียน แต่ไม่รวมถึงหลักทรัพย์ประเภทใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ และใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น, หุ้นเพิ่มทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งหุ้นจำนวนดังกล่าวยังไม่ได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ, หุ้นของบริษัทที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนต่อ ก.ล.ต. โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ, หุ้นของบริษัทที่เสนอขายแก่กรรมการและพนักงานของบริษัท หรือบริษัทย่อยโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำหุ้นของบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ, ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น ซึ่งบริษัทที่ออกมีวัตถุประสงค์ที่จะนำใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้นดังกล่าวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
สำหรับการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ กำหนดให้ทีเอสเอฟซีปฏิบัติไปตามข้อกำหนดของประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ว่าด้วยหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดอัตรามาร์จินเริ่มต้นประกาศสำนักงานก.ล.ต.ว่าด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์และการให้ ยืมหลักทรัพย์แก่ลูกค้าที่ไม่ใช่ลูกค้าสถาบันขายชอร์ต
รวมถึงข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทมาร์จิ้นในส่วนที่เกี่ยวกับการคำนวณมูลค่าหลักประกันที่นักลงทุนต้องดำรงไว้ มูลค่าหลักประกันขั้นต่ำในบัญชีมาร์จิ้นการเรียกให้นักลง ทุนวางหลักประกันเพิ่ม และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน โดยอนุโลม หากทีเอสเอฟซีประสงค์จะจัดให้มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นไปตามประกาศหรือข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง
โดย ทีเอสเอฟซีต้องยื่นขออนุญาตต่อก.ล.ต.ก่อน โดยต้องสามารถแสดงต่อก.ล.ต.ได้ว่าการปฏิบัติงานดังกล่าวสามารถป้องกันความเสี่ยงในการให้กู้ยืมเงินได้อย่างเพียงพอ ทั้งนี้ให้ก.ล.ต.แจ้งผลการพิจารณาภายใน 30 วัน นักตั้งแต่ที่ก.ล.ต.ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน
นอกเหนือจากการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินแก่นักลงทุนตามที่กำหนดข้างต้น ทีเอสเอฟซีต้องจัดให้มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์อย่างน้อยตามเกณฑ์เงื่อนไข และวิธีการที่ก.ล.ต.ประกาศ กรณีที่ก.ล.ต.พบว่า ทีเอสเอฟซีอาจเกิดความเสียหายจากการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ประกาศครั้งนี้ หรือจากการที่มูลค่าหลักประกันต่ำกว่าภาระหนี้ในบัญชีมาร์จิ้นหรือ จากการขาดระบบการควบ คุมภายในหรือ ระบบการบริหารความเสี่ยงที่ดีเกี่ยวกับการให้ยืมเงิน
อย่างไรก็ตาม เพื่อการซื้อหลักทรัพย์ ให้ก.ล.ต.มีอำนาจสั่งให้ทีเอสเอฟซีดำเนินการดังนี้ ระงับการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์แก่ผู้ที่จะเป็นนักลงทุนรายใหม่ หรือระงับการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์เพิ่มเติมแก่นักลงทุนรายเดิม คืนทรัพย์สินที่นักลงทุนนำมาวางไว้ในบัญชีมาร์จิ้นเพื่อเป็นประกันการซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่คงเหลืออยู่จากการที่นักลงทุนยังซื้อหลักทรัพย์ไม่เต็มมูลค่าของทรัพย์สินที่วางไว้ เมื่อหักภาระหนี้ที่เกิดจากการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในบัญชีมาร์จิ้นแล้ว ให้แก่นักลงทุนรายนั้น สั่งให้แก้ไขการกระทำดังกล่าว หรือกระทำการหรืองดเว้นกระทำการในส่วนที่เกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินเพื่อการซื้อหลักทรัพย์ ในการสั่งการตามวรรคหนึ่ง ก.ล.ต.อาจกำหนดข้อปฏิบัติและระยะเวลาที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องปฏิบัติไว้ด้วยได้ โดยประกาศจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2552 เป็นต้นไป
|
|
 |
|
|