Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2530
วัฒนธรรมการสืบทอดอำนาจของบริษัทอาคเนย์ประกันภัยที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน             
 

   
related stories

เหตุเกิดที่ อาคเนย์ประกันภัยการต่อสู้สองแนวทางจนกลายเป็นศึกล้างตระกูล
ปฏิทินเหตุการณ์การเข้ายึดอำนาจของกลุ่มศรีกาญจนา
โครงสร้างสัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มตระกูลต่าง ๆ ที่สำคัญ

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000) จำกัด

   
search resources

อาคเนย์ประกันภัย (2000), บจก.
Insurance
พยัพ ศรีกาญจนา




หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 กลุ่มข้าราชบริพารสมเด็จพระปกเกล้าฯ กลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย หลวงดำรงดุริตเรขรองสนิท โชติกเสถียร หลังจากลาออกจากการเป็นข้าราชบริพาร ได้ไปชวนพ่อค้าคนจีนคนหนึ่งชื่อ นายเทียน เหลียวรักวงศ์ ร่วมลงทุนทำกิจการหนังสือพิมพ์สยามนิกรและสยามครอนิเคิลและโรงพิมพ์ชื่อไทยพาณิชยการ โดยอาศัยทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งจากการกู้ยืม หม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล ซึ่งเป็นอดีตข้าราชบริพารในสมเด็จพระปกเกล้าฯ ด้วยผู้หนึ่ง การดำเนินกิจการธุรกิจสิ่งพิมพ์ได้ดำเนินมาอย่างไม่ประสบผลสำเร็จ จนถึงปี 2488 ทั้ง 3 ท่านก็มีแนวคิดว่า ในสมัยนั้นกิจการธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่ดีมีอนาคตและทำกำไรได้ดี อีกทั้งกิจการธุรกิจประกันภัยที่อยู่ในมือคนไทยก็มีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น คือ บริษัทไทยประกันชีวิต ส่วนใหญ่กิจการดังกล่าวตกอยู่ในมือของฝรั่งต่างชาติ จึงได้ร่วมกันออกไปชักชวนเพื่อนฝูงที่รู้จักมักคุ้นกันให้มาร่วมลงทุนทำกิจการประกันภัย โดยคนที่เป็นตัวจักรวิ่งเต้นก็คือ หลวงดำรงดุริตเรช (ดำรง เสรีนิยม) และนายรองสนิท โชติกเสถียร

ทั้ง 2 ท่านได้ชักชวน พยัพ ศรีกาญจนา พระยาปรีชานุสาสน์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพัน ยุคล หม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล ให้มาร่วมลงทุนและก่อตั้งบริษัทประกันภัยที่ชื่อ อาคเนย์ประกันภัย ได้เป็นผลสำเร็จในปี 2489 หรือ 41 ปีล่วงมาแล้วนับจากปัจจุบันนี้ นับเป็นกิจการประกันภัยที่อยู่ในมือคนไทยรุ่นบุกเบิกเป็นรายที่สองที่แข่งขันกับกิจการประกันภัยของชาวต่างชาติ

กล่าวกันว่า กลุ่มเป้าหมายลูกค้าของบริษัทในสมัยยุคแรก ๆ นั้น อยู่ในกลุ่มข้าราชบริพารเก่า และพระบรมวงศานุวงศ์ที่อาศัยความสัมพันธ์ทางส่วนตัวของหลวงดำรงดุริตเรข และรองสนิท โชติกเสถียร เป็นหลักใหญ่ไปชักชวนมา ส่วนกลุ่มลูกค้านักธุรกิจคนจีนนั้นก็อาศัยสายสัมพันธ์ของ พยัพ ศรีกาญจนา ซึ่งกว้างขวางในกลุ่มพ่อค้าคนจีนด้วยความเป็นคนชอบเข้าสังคมอยู่เนืองนิตย์ และมีพื้นฐานการงานที่เคยเป็นพนักงานของบริษัทคาเนโบแห่งญี่ปุ่น และเซ้าท์ อิสต์ เทรดดิ้ง มาก่อน อีกทั้งอาศัยความสัมพันธ์ในหมู่คนจีนของนายเทียน เหลียวรักวงศ์ ด้วยเป็นแกนหลัก

ตลอด 41 ปี บริษัทอาคเนย์มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนเพียง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกจาก 1 ล้านบาท ในปีก่อตั้ง 2489 เป็น 4 ล้านบาท ในปี 2492 จากหลักฐานบันทึกการประชุมคณะกรรมการบริษัทในสมัยนั้นได้ระบุว่า "เพื่อต้องการนำไปใช้เป็นทุนขยายงานธุรกิจด้านประกันชีวิต และเป็นหลักประกันที่ใช้สร้างหน้าตาให้กับบริษัทเวลาติดต่อทางธุรกิจกับต่างประเทศ" หลังจากการเพิ่มทุนครั้งแรกต่อมาอีก 2 ปี ในปี 2494 บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 4 ล้านบาทเป็น 10 ล้านบาท จนธุรกิจดำเนินต่อมาอีก 25 ปี คือ ในปี 2519 บริษัทได้มีนโยบายให้พนักงานที่ทำงานมากับบริษัทเป็นเวลายาวนาน มีสิทธิ์ถือหุ้นได้โดยบริษัทขายหุ้นในส่วนที่เพิ่มทุนอีก 10 ล้านบาทเป็น 20 ล้านบาทนี้ในราคาหุ้นละ 100 บาท จำนวน 60,000 หุ้น จากส่วนหุ้นที่เพิ่ม 100,000 หุ้น นรฤทธิ์ โชติกเสถียร กรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจประกันชีวิต เล่าให้ "ผู้จัดการ" ว่าการเพิ่มทุนครั้งนี้ ผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทมีเจตนาให้พนักงานที่ทำงานมานานกับบริษัทได้มีโอกาสถือหุ้นบ้าง ไม่ได้เกี่ยวกับเหตุผลทางธุรกิจแต่อย่างใด

"เหตุผลการเพิ่มทุนที่เกิดจากความจำเป็นทางธุรกิจมีเพียงประการเดียวเท่านั้น คือ การประกอบการประสบการขาดทุนหรือไม่มีส่วนเกินมากพอที่จะจ่ายเป็นผลให้แก่ลูกค้าที่ถือกรมธรรม์ครบกำหนดในอัตรา 1.5% ของทุนประกันและปันผลแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งผลการประกอบการของบริษัทอาคเนย์อยู่ในฐานะที่มีส่วนเกิน (SURPLUS) มากพอโดยตลอด"

ธุรกิจสายประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และประกันเบ็ดเตล็ดของบริษัทอาคเนย์ประกันภัยเท่าที่ดำเนินงาน มีส่วนเกินในเงินกองทุนที่สามารถจ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้นในอัตราอย่างต่ำ 40% โดยตลอด…แน่ล่ะ คงหาธุรกิจประเภทใดที่จ่ายปันผลงาม เช่น ธุรกิจประกันภัยคงยากไม่น้อย !

บริษัทอาคเนย์ฯ มีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายสำคัญ ๆ อยู่มากถึง 11 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มถือสัดส่วนปริมาณหุ้นที่แตกต่างกันไม่มากนัก เงื่อนไขเช่นนี้ทำให้โครงสร้างอำนาจในการบริหารภายในบริษัทมีลักษณะคะคานกันอย่างสมดุล ซึ่งเป็นปมเงื่อนสำคัญที่มีส่วนอย่างสำคัญต่อการช่วยให้การประสานกลมกลืนในสไตล์การบริหารของแต่ละคนเข้ากันได้อย่างสนิท ทั้ง ๆ ที่แต่ละกลุ่มมีพื้นเพของวิถีชีวิตและประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกัน

จะเรียกว่า ลักษณะการถ่วงดุลอำนาจแบบนี้ เป็นวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันหนึ่งของบริษัทอาคเนย์ก็ไม่ผิดนัก !

เมื่อบุคคลรุ่นก่อตั้งเข้าวัยแก่ชราตามกฎแห่งธรรมชาติ การสืบทอดอำนาจจากชนรุ่นพ่อสู่รุ่นลูกก็เกิดขึ้น ซึ่งในบริษัทอาคเนย์กระบวนการถ่ายทอดอำนาจจากชนรุ่นพ่อสู่รุ่นลูกเกิดขึ้นในปี 2516 เป็นต้นมา กล่าวคือ

ปี 2516 หลวงดำรงดุริตเรข ประธานคณะกรรมการบริษัทคนแรก ถึงแก่กรรมที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเดือนกรกฎาคม 2516 มีมติแต่งตั้ง อำพน เสรีนิยม บุตรชายหลวงดำรงฯ ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทที่มีอำนาจลงนามแทน จวบจนกระทั่งปี 2527 อำพน เสรีนิยม ก็ขอลาออกจากกรรมการบริษัทเป็นเพียงแค่ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท ด้วยเหตุผลปรารถนาเป็นผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัทที่บริษัทอาคเนย์ธนกิจ ซึ่งในขณะนั้นเขาเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่แต่เพียงแห่งเดียว

ในปี 2520 นายเทียน เหลียวรักวงศ์ ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทรุ่นก่อตั้งถือหุ้นอยู่ 9,450 หุ้น (ข้อมูลปี 2506) ชราภาพมากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่กรรมการบริษัทได้และขอลาออกเป็นครั้งที่สองเพื่อให้บุตรชาย คือ ประพันธ์ เหลียวรักวงศ์ ซึ่งในปี 2520 ถือหุ้นอยู่ 12,600 หุ้น เข้ามาเป็นกรรมการบริษัทแทน ที่ว่านายเทียนขอลาออกเป็นครั้งที่สองนั้นก็เพราะว่าในปี 2506 เขาได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทด้วยเหตุผลไม่เป็นที่ประจักษ์ชัดและได้ขายหุ้นของตนเองให้แก่ พยัพ ศรีกาญจนา ไปทั้งหมด 9,450 หุ้น ซึ่งอย่างไรก็ดีในภายหลังเมื่อปี 2510 ก็กลับเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทใหม่อีกครั้งหนึ่งตามคำเชื้อเชิญของพยัพ พร้อมเปลี่ยนชื่อนามสกุลใหม่เป็น "เธียร สิงหวาณิช"

ปี 2523 รองสนิท โชติกเสถียร ประธานคณะกรรมการบริษัท ซึ่งรับตำแหน่งสืบต่อจากหลวงดำรงฯ ตั้งแต่ปี 2516 ถึงแก่กรรมลง ในฐานะที่รองสนิทซึ่งมีอดีตทำงานในตำแหน่งต้นห้องรองเสวกโท ในราชสำนักของสมเด็จพระปกเกล้าฯ เป็นหนึ่งกรรมการผู้ก่อตั้งบริษัท คณะกรรมการบริษัทได้เรียกประชุมกรรมการทันทีและแต่งตั้งให้ พยัพ ศรีกาญจนา ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารสืบทอดตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทแทนรองสนิทควบคู่กันไปด้วย พร้อมกันนี้ก็ได้แต่งตั้งให้นรฤทธิ์ โชติกเสถียร บุตรชายรองสนิท ซึ่งในเวลานั้นกำลังทำงานอยู่ที่บริษัทอาคเนย์ประกันภัย ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทแทนบิดา หลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ในปี 2525 นรฤทธิ์ก็ย้ายมาทำงานที่บริษัทอาคเนย์ประกันภัยในตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการคุมสายงานธุรกิจประกันชีวิต จนอีก3 ปีต่อมาในปี 2528 ก็ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นกรรมการบริหาร

ปี 2524 ภักดี นิวาตวงศ์ ซึ่งเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทในปี 2503 ตามคำชวนของพยัพและถือหุ้นอยู่ในขณะนั้น 6,615 หุ้นได้ขอลาออกเนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคทางสมอง คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้ง วิชัย นิวาตวงศ์ บุตรชายเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทแทนพ่อ ขณะที่ในช่วงเวลานั้น วิชัยนั่งบริหารงานในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทส่วนตัว ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตยารักษาโรค จนกระทั่งอีก 4 ปีต่อมาในปี 2528 คณะกรรมการบริษัทก็ประชุมมีมติแต่งตั้งให้วิชัย นิวาตวงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการฝ่ายบริหารพร้อมนรฤทธิ์

ปี 2525 พิทักษ์ บุณยรักษ์ ซึ่งเป็นเถ้าแก่โรงสีข้าวในจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นเพื่อนร่วมสถาบันเดียวกับ พยัพ ศรีกาญจนา ที่ St'STEVEN ฮ่องกง ถูกพยัพชวนเข้ามาซื้อหุ้นบริาทอาคเนย์ประกันภัยสมัยเพิ่มทุนครั้งแรกในปี 2492 จำนวน 374 หุ้น พร้อมทำโรงสีข้าวของตนเข้าทำประกันกับบริษัทอาคเนย์ฯ ในเวลาเดียวกันด้วย พิทักษ์มปัญหาสุขภาพและชราภาพมาก ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท พยัพ ศรีกาญจนา จึงชวน ดร.ศักดา บุณยรักษ์ บุตรชายพิทักษ์เข้ามาเป็นกรรมการแทน ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทก็ไม่ขัดข้อง และอีก 3 ปีต่อมา ดร.ศักดา บุณยรักษ์ ก็ได้รับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการและกรรมการบริหาร ควบคุมดูแลสายงานด้านบัญชีและตรวจสอบ

"ดร.ศักดา เป็นคนที่มีความสามารถด้านวิเคราะห์ข้อมูล ตัวเลขต่าง ๆ มาก" นรฤทธิ์ โชติกเสถียร เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงความเหมาะสมในคุณสมบัติของ ดร.ศักดา ในช่วงขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารควบคุมดูแลสายงานด้านตรวจสอบ

ในช่วงปี 2525 เวลาเดียวกับที่ ดร.ศักดา เข้ามาเป็นกรรมการบริษัท ม.ร.ว.พฤทธิสาณ ชุมพล บุตรชายหม่อมเจ้ากมลลีสาน ชุมพล กรรมการบริษัท ผู้ก่อตั้งด้วยผู้หนึ่ง ซึ่งในปีนั้นเพิ่งจะสำเร็จ PH.D. สาขาสังคมวิทยาการเมือง จากมหาวิทยาลัยโมนาช ออสเตรเลีย ก็ได้รับแต่งตั้งเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทแทนบิดา

"ผมเข้ามาเป็นกรรมการเพราะต้องแบกรับมรดกสืบทอดจากบิดาด้วยเป็นประเพณีปฏิบัติของบริษัทที่เมื่อบิดาซึ่งเป็นกรรมการลาออกไป ตำแหน่งก็จะตกมาถึงลูก" หม่อมพฤทธิสาณ ชุมพล กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ด้วยน้ำเสียงหัวเราะดังลั่นตามสไตล์

กลางปี 2530 วัย วรรธนะกุล กรรมการผู้จัดการคนแรกของบริษัทตั้งแต่ปี 2489 เป็นผู้หนึ่งที่ก่อตั้งบริษัทอาคเนย์ฯ ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท หลังจากที่เคยลาออกจากการเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทมาแล้วเมื่อปี 2510 ด้วยเหตุผลชราภาพมาก คณะกรรมการบริษัทจึงมีมติแต่งตั้งให้ ชัย วรรธนะกุล บุตรชายของวัยเข้ามาเป็นกรรมการบริษัทแทนบิดา โดยชัยมีธุรกิจส่วนตัวที่บริหารอยู่คือ บริษัทไทยชิปบอร์ด แต่หลังการประชุมวิสามัญกลุ่มผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2530 ชัย วรรธนะกุล ก็ถูกปลดออกจากการเป็นกรรมการบริษัท ทั้ง ๆ ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งกรรมการบริษัทเพียงแค่ 2 เดือนเท่านั้น

การเข้าแบกรับภาระหน้าที่สืบทอดต่อจากบิดาของบรรดาชนรุ่นลูกในบริษัทอาคเนย์ประกันภัย ซึ่งมีโครงสร้างสัดส่วนการถือหุ้นและอำนาจการบริหารจัดการกระจายออกไปอย่างสมดุลนี้เอง ที่เป็นรูปแบบหนึ่งที่หาได้น้อยรายเหลือเกินในบรรดาผู้ประกอบการธุรกิจประกันภัยในเมืองไทย และเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอีกสิ่งหนึ่งในบริษัทอาคเนย์ที่เป็นเอกลักษณ์ตลอด 41 ปีที่ผ่านมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us