Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2530
เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งมังกรโพ้นทะเลคืนถิ่น             
 

   
related stories

ในอาณาจักรของกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้ง

   
search resources

กระจกไทยอาซาฮี, บมจ.
เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง
Investment
Glass




ภายหลังการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยแล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ประสบความสำเร็จและล้มเหลวนับครั้งไม่ถ้วน มีไม่กี่คนที่ทราบว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ผู้นี้เป็นเจ้าของธนาคารศรีนครเป็นคนแรก ในวันนี้อาณาจักรนับหลายพันล้านบาทของเกียรติเริ่มที่จะคับแคบไปแล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ตัดสินใจกลับสู่ประเทศจีนอีกครั้ง ครั้งนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ยอมขนเงินออกจากประเทศไทยเพือ่เข้าร่วมลงทุนกับรัฐบาลจีนสร้างโรงงานผลิตกระจกมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านบาท ที่นั่นเขากล่าวย้ำกับ "ผู้จัดการ" ว่า "มันเป็นความภาคภูมิใจและมีความหมายที่สุดในชีวิตของผม" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เริ่มเดินทางสู่เส้นทางสายเก่า เส้นทางสายที่เขาเคยทอดทิ้งมา โดยนอกเหนือจากการกลับเข้าสู่ในประเทศจีนอีกครั้งแล้ว ในประเทศไทย เกียรติยังกลับเข้าสู่ธุรกิจธนาคารที่เขาเคยทอดทิ้งมาแล้วอีกด้วยเช่นกัน

เหตุเกิดที่ SHEKOU, SHENZHEN SPECIAL ECONOMIC ZONE CHINA

วันที่ 2 กันยายน 2530 ดูเหมือนเป็นวันที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะต้องจดจำไปอีกนาน เพราะวันนี้เป็นวันทำพิธีเปิดโรงงานกระจก GUANGDONG FLOAT GLASS CO., LTD. ซึ่งเป็นโรงงานผลิตกระจกโฟลทแห่งแรกในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

"ถ้าคุณได้ไปร่วมในพิธี คุณก็จะเห็นธงชาติไทยสบัดพลิ้วเคียงคู่กับธงของสองอภิมหาอำนาจอย่างจีนและอเมริกา มันน่าภาคภูมิใจ และมันก็มีความหมายที่สุดในชีวิตผม" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ย้ำกับ "ผู้จัดการ"

ในวันทำพิธีเปิดโรงงานมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านบาทแห่งนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลงทุนเชิญผู้ใหญ่คนใกล้ชิดสนิทสนมหลายคนบินไปร่วมงานด้วย ไม่ว่าจะเป็น พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ รองนายกรัฐมนตรีและประธานสมาคมมิตรภาพไทย-จีน เดช บุญหลง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง สมาน โอภาสวงศ์ รองประธานหอการค้าไทย บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง ประธานหอการค้าไทยจีน (น้องชายเกียรติ) สุชัย วีระเมธีกุล ประธานบริษัทเอ็มไทย อุตสาหกรรม จำกัด เป็นต้น

มิหนำซ้ำ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ยังลงทุนเชิญและหอบหิ้วสื่อมวลชนในประเทศไทยไปทำข่าวเพื่อกลับมาทำซัพพลีเม้นท์ โดยมีทั้งหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ซินเสียน เยอะเป้า และไทยทีวีสีช่อง 9

"ซัพพลีเมนท์ออกมาเป็นแสนฉบับเลย" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ" อีก

คงจะเป็นงานที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ภาคภูมิใจมากที่สุดจริงๆ ทั้ง ๆ ที่เงินที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ขนไปลงทุนในครั้งนี้ เป็นจำนวนเงินประมาณ 600 ล้านบาทเท่านั้น สำหรับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งแล้ว การลงทุนครั้งนี้ ไม่ใช่การลงทุนครั้งใหญ่ที่สุด แต่การลงทุนครั้งนี้กลับสร้างความภาคภูมิใจให้กับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มากที่สุดในชีวิต

"เมื่อก่อนนี้ ผมสู้เขาไม่ได้ อเมริกา หรือบริษัท พีพีจี อินดัสเตรียล ที่มาร่วมลงทุนกับผมนั้น เขาเป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีสูงและใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ ในอุตสาหกรรมกระจก เมื่อก่อนผมสู้เขาไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้ผมสามารถตกลงกับเขาได้และอยู่ในสภาพที่สามารถต่อสู้กับต่างประเทศได้แล้ว ต่อไปผมก็สามารถแชร์ตลาดแบ่งกับเขาได้ ไม่ต้องมาแย่งกันอีก" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ความภาคภูมิใจของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่เพียงอยู่ที่การได้ร่วมลงทุนกับบริษัท พีพีจี อินดัสเตรียล เท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงความภาคภูมิใจแห่งการได้กลับคืนมาสู่มาตุภูมิเก่าของตัวเองอย่างยิ่งใหญ่ และรวมไปถึงก้าวย่างอีกก้าวใหญ่ของธุรกิจของเขาอีกด้วย

วิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร ผู้ดูแลด้านการเงินและคนใกล้ชิดที่สุดของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้ให้ทัศนะในการลงทุนครั้งนี้กับ "ผู้จัดการ" ว่า ถึงแม้ว่าทุกวันนี้บริษัทกระจกไทย-อาซาฮีของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะเป็นผู้ผลิตกระจกในประเทศไทยเพียงเจ้าเดียวอยู่ก็ตาม แต่กระจกไทย-อาซาฮีก็ประสบปัญหามาก เมื่อมีกระจกจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด เนื่องจากกระจกที่เข้ามาตีตลาดส่วนใหญ่จะมีราคาถูก เพราะว่าเป็นกระจกที่เหลือจาการขายในประเทศของเขาแล้ว

"อย่างทางประเทศจีน ถ้าเขาเกิดผลิตได้ขึ้นมาแล้ว เราไม่ได้ร่วมกับเขา เขาก็ต้องแย่งตลาดเราหมดแน่ เนื่องจากจีนเขามีน้ำมัน น้ำมันเขาราคาถูกมาก ทรายเขาก็มี แรงงานเขาก็ราคาถูก ก็จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด เพราะฉะนั้นแทนที่จะปล่อยให้เขามาแย่งตลาดเราไป เราก็ไปร่วมลงทุนกับเขาเสียเลย" วิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร กล่าว

คำกล่าวของวิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร ดูจะเป็นคำกล่าวที่มีเหตุผลสมบูรณ์ที่สุด แต่ก็ยังมีนักธุรกิจคนจีนเก่าแก่หลายคนได้กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เหมือนกับนักธุรกิจคนจีนอื่น ๆ ทั่วไป เมื่อกลับบ้านได้ก็อยากกลับไปตายที่เมืองจีนมากกว่า ซึ่งเป็นลักษณะของ NEW OVERSEA CHINESS ในปัจจุบัน

การลงทุนครั้งนี้ของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จึงเป็นก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่อีกก้าวหนึ่งของเกียรติ ถึงแม้เขาจะถือหุ้นอยู่ในบริษัทกระจกโฟลทในประเทศจีนแห่งนี้ เพียง 25% โดยรัฐบาลจีนถือหุ้นอีก 50% และพีพีจี ถืออีก 25% ก็ตาม แต่จากการที่ทั้งสามฝ่ายได้ตกลงให้พีพีจี รับผิดชอบในด้านเทคโนโลยีทางการผลิต และให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รับผิดชอบทางด้านการตลาดนั้น ได้สร้างผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลแก่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง

ประการแรก - เป็นหลักประกันได้ว่า บริษัทที่มีเทคโนโลยีสูงแห่งนี้ จะไม่แย่งตลาดของกระจกไทย-อาซาฮี ซึ่งเป็นบริษัทของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง

ประการที่สอง - โรงงานกระจกแห่งใหม่นี้ จะสามารถเป็นเครื่องมือในการใช้ถล่มกลุ่มผู้ผลิตรายอื่นที่จะเข้ามาแย่งตลาด ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศของกระจกไทยอาซาฮี ซึ่งความจริง หมากตานี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งก็เคยใช้มาแล้วในประเทศไทย คงไม่ปฏิเสธว่า การที่บริษัทกระจกไทย-อาซาฮีผูกขาดการผลิตกระจกอยู่ในประเทศไทยเพียงรายเดียวนั้น ก็เนื่องจากการใช้กลยุทธ์ทางด้านราคา อาศัยเทคโนโลยีที่สูง ต้นทุนที่ต่ำ ลดราคาลงมาแข่งขัน จนคู่แข่งขันเจ๊งและไม่มีโอกาสได้เกิด กระจกไทย-อาซาฮี จึงยืนอยู่ได้แต่ผู้เดียวในทุกวันนี้ และตอนนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็กำลังเดินหมากตานี้บดขยี้คู่แข่งในต่างประเทศอีกครั้ง

ประการที่สาม - การได้กุมตลาดไว้นั่นเท่ากับเป็นการสร้างหลักประกันว่า เมื่อขายกระจกออกนอกประเทศจีนแล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งและญาติมิตรของตัวเองที่เข้าร่วมลงทุนด้วยคือ กลุ่มพานิชชีวะ ต้องได้เงินทุนคืนแน่ ซึ่งเหตุผลข้อนี้อ้างได้จากคำให้การของวิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร คนใกล้ชิดของเกียรติเอง ซึ่งวิฑูรย์ได้ให้การต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในการขออนุญาตนำเงินออกนอกประเทศครั้งนี้ไว้ว่า ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องปัญหาการนำเงินออกจากประเทศจีน เนื่องจากเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รับผิดชอบทางการตลาด เมื่อขายได้ก็ไม่จำเป็นต้องขนเงินเข้าประเทศจีนก่อน

หมากตานี้ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ทั้งลุ่มลึกและเต็มไปด้วยสายตาที่ยาวไกล

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีภาคปฏิบัติของตัวเองอย่างนี้มาตลอด เขาจะไม่ยอมกระทำในสิ่งที่เขาไม่มั่นใจเป็นอันขาด

มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อครั้งที่ธนาคารศรีนครเข้าสู่ยุคของอุเทน เตชะไพบูลย์ ภายหลังการเสียชีวิตของอื้อจือเหลียงในปี 2517 แล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่มีความมั่นใจธนาคารแห่งนี้มากนัก เขาจึงเริ่มขายหุ้นที่ตัวเองถืออยู่จำนวนหนึ่งไป พร้อมทั้งไม่ยอมซื้อหุ้นใหม่ที่ธนาคารศรีนคร ทำการเพิ่มอีก 110 ล้านบาทในเดือนตุลาคม 2518 อีกด้วย

เขาจึงเดินออกมาจากเส้นทางสายเก่า นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินเข้าสู่เส้นทางสายอุตสาหกรรมอย่างจริง ๆ จัง ๆ โดยยึดเอาธุรกิจ BASIC INDUSTRIAL ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาของเทคโนโลยีอุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นหลัก

ว่ากันว่า ความสำเร็จของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งในปัจจุบัน ไม่ได้ด้อยกว่านักธุรกิจคนใดในบ้านเราเลย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่ ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายคนโตของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะกล่าวว่า กลุ่มของเขาจะลงทุนในธุรกิจใดในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องใช้หรือพึ่งธนาคารใดธนาคารหนึ่งเลย

กว่าที่ เกียรติ จะมีจุดยืนอยู่ได้อย่างทุกวันนี้นั้น เขาได้ผ่านสิ่งต่าง ๆ มานับไม่ถ้วน เคยยืนอยู่ในช่วงระหว่างสองสิ่งที่ถูกเรียกว่า ความเป็นและความตาย ภายใต้สถานการณ์ที่สู้รบ ในสมัยที่เขาเป็นทหารให้กับกองทัพก๊กมินตั๋ง เคยอดมื้อกินมื้อ ซัดเซพเนจรอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ ในประเทศจีนอย่างไม่รู้จุดหมายปลายทางของชีวิตในช่วงสงคราม

ชีวิตของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง แตกต่างกับอีกหลาย ๆ ชีวิต และอาจจะเนื่องจากความแตกต่างอันนี้ก็ได้ที่ทำให้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้อาณาจักรของ ชิน โสภณพนิช หรือใครต่อใครในทุกวันนี้

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เป็นคนที่เรียกได้ว่า LOW PROFILE เอามาก ๆ ทีเดียว มีไม่บ่อยครั้งนักที่เขาจะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนฉบับใดฉบับหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกที่ประวัติของเขาเองถูกเผยแพร่ออกมาแต่ละครั้งในสื่อมวลชน แต่ละฉบับข้อมูลกระท่อนกระท่อนไม่ตรงกัน หรือพอจะอ้างอิงได้เลย เรียกว่า สับสนเอามาก ๆ ทีเดียว

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เขาเกิดที่ตลาดบางลี่ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2459

"ตอนนั้น พ่อแม่ของผมมีอาชีพค้าขาย ทำโรงสี ขายพวกผ้า เครื่องบวชอะไรเหล่านี้ พ่อของผมเขาเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย ครอบครัวของเราย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองไทยถึงผมก็ 3 ชั่วคนแล้ว ก๋งของผมอพยพเข้ามาจากเมืองจีน ตอนนั้นก๋งของผมเขาก็ส่งข้าวเปลือกมาให้โรงสีที่กรุงเทพเขาขาย เราเองก็ต่อมามีโรงสีขนาดเล็กๆ ขนาด 30 เกวียน…" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ซึ่งคำกล่าวเหล่านี้ของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงกับเอกสารที่เคยมีผู้บันทึไว้ !!

พรรณี บัวเล็ก ได้เขียนถึง เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง "วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ของไทย พ.ศ. 2475 - 2516" ไว้ว่า

"นายเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง หรือนายแต้เหลียงอิม บ้านเดิมอยู่มณฑลกวางตุ้ง ได้รับการศึกษาจากเซนต์สตีเฟนคอลเลจในฮ่องกง แล้วกลับไปศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนเผยอิงในกวางเจา และมหาวิทยาลัยหลิงหนัน หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาต่อที่อเมริกา นับได้ว่า นายแต้เหลียงอิมเป็นคนที่มีการศึกษาเป็นอย่างดี ในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าร่วมรบต่อต้านสงครามญี่ปุ่น โดยการเป็นนักบินให้กองทัพจีน อยู่ที่คุนหมิง และยูนาน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จึงได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย"

พรรณี บัวเล็ก เธอได้อ้างอิงข้อมูลบทความในวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จาก "ชีวประวัตินายแต้เหลียงอิม" ในสารานุกรมชาวจีนโพ้นทะเล ปี ค.ศ. 1967 ซึ่งได้ถูกบันทึกไว้เป็นภาษาจีน

ไม่ว่าคำกล่าวของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะถูกต้องและเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่เกียรติมีและทุกคนยอมรับก็คือ เขาคลุกคลีกับความเป็นคนจีนมาตลอด เริ่มตั้งแต่การศึกษา เกียรติเล่าให้ฟังว่า เขาเริ่มเรียนหนังสือ ที่โรงเรียนซีหมิง ในกรุงเทพฯ

"ผมมาเริ่มต้นเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนซีหมิง คุณหนุ่มเกินไปอาจจะไม่รู้จักซีหมิง เขาเป็นโรงเรียนเด็กที่ดังมากเมื่อสมัยก่อน คุณอุเทนก็จบจากซีหมิง ผู้ใหญ่หลายคนจบจากที่นี่"

และเล่าต่อไปว่า เมี่อจบการซีหมิงแล้ว จึงเข้าเรียนหนังสือต่อที่ฮ่องกง จบแล้วจึงไปเรียนต่อที่ซัวเถา แล้วกลับไปฮ่องกงอีกครั้งหนึ่ง

"ผมจบไฮสคูลที่โรงเรียนเผยอิง แล้วเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยหางโจว เมื่อประมาณปี 1940)" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าว

ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่ใกล้เคียงกับที่พรรณี บัวเล็ก ได้เขียนไว้ในวิทยานิพนธ์ของเธอ เนื่องจากมหาวิทยาลัยหลิงหนันที่เธอว่าไว้นั้นอยู่ในมณฑลหางโจวที่เกียรติกล่าวถึง

เกียรติ เล่าต่อไปอีกว่า เขาเรียนจบได้ประมาณ 1 ปี สงครามก็ระเบิด ญี่ปุ่นเข้ายึด เขาต้องหนีไปอยู่ที่คุนหมิง

ช่วงนี้เองเป็นช่วงที่เกียรติเล่าว่า เป็นช่วงที่ลำบากที่สุดในชีวิตของเขา จากผลของสงครามทำให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ต้องร่อนเร่ไปทั่วผืนแผ่นดินจีน เพื่อหางานทำ

"มันลำบากมาก ผมต้องต่อสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง บางวันไม่ได้กินข้าวทั้งวัน เนื่องจากเงินเดือนไม่มี เราไม่สามารถติดต่อกับทางเมืองไทยได้ เพราะตอนนั้นญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองไทยแล้ว แล้วในที่สุดก็ต้องไปสมัครเป็นทหาร" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รำพึงรำพันถึงความหลัง

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าสมัครเป็นทหารแห่งกองทัพ 14 ของก๊กมินตั๋ง ซึ่งดูเหมือนเกียรติจะมีความสุขและความภาคภูมิใจมาก เมื่อได้เล่าและพูดคุยถึงความหลังช่วงที่เขาได้เป็นนักบินแห่งกองทัพ 14 นี้

"เขาส่งผมไปอเมริกาไปหัดขับเครื่องบิน" เกียรติ กล่าวอย่างภาคภูมิใจ

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้รับยศทางทหารล่าสุดเป็นเรืออากาศตรี ก่อนที่จะเดินทางกลับสู่ประเทศไทย ภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินทางสู่ประเทศไทยโดยมีเป้าหมายบางอย่าง หากเกียรติยืนยันว่า เขาเกิดที่สุพรรณบุรี เป็นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ การกลับบ้านเกิดเมืองนอนครั้งนี้ก็ไม่ใช่การกลับบ้านอย่างธรรมดาแน่นอน และหากเชื่ออย่างที่พรรณี บัวเล็ก ว่าเอาไว้ในวิทยานิพนธ์ของเธอว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามาในช่วงนั้น เราก็ต้องเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่อย่างที่ไม่มีใครเคยเขียนว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รัภาระหน้าที่ในการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อทำการจัดตั้งธนาคารสาขาให้กับธนาคารมณฑลกวางตุ้งในประเทศไทย

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เจ้าของธนาคารมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งอยู่ที่กวางโจวนั้นเป็นพ่อตาของเขาเอง สิ่งนี้นับเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งของเขา ที่ได้ลูกสาวของเจ้าของธนาคารมณฑลกวางตุ้งเป็นภริยา

และจากข้อต่ออันนี้เองที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับเขาจนทุกวันนี้

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าสู่ประเทศไทยแล้วก็วิ่งเต้นขอใบอนุญาตในการจัดตั้งสาขาธนาคารมณฑลกวางตุ้งในประเทศไทยทันที

ใบอนุญาตการตั้งสาขาธนาคารมณฑลกวางตุ้งถูกยื่นออกมาให้กับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง อย่างไม่ยากเย็นนักในยุคที่พลเรือนตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี (ช่วงปี พ.ศ. 2489-2490)

"หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กับผมก็เหมือนญาติกัน ผมนับถือท่านเหมือนญาติคนหนึ่ง เราสนิทกันมากและผมก็นับถือท่านมากทีเดียว" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ผู้รู้หลายคนได้เล่าว่า ในยุคนั้นพลเรือนตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นคนที่ช่วยเหลือเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ในการก่อตั้งแบงก์แห่งนี้ จนกระทั่งทุกวันนี้ เกียรติก็ยังไม่เคยลืมเลือนบุญคุณของบุรุษผู้นี้ เมื่อใครพูดถึงเกียรติจะต้องเล่าให้ฟังถึงความดีของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้

"จุดกำเนิดธนาคารพาณิชย์เกือบทุกแห่งในประเทศไทยมีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือ คนมีเงินและมีความรู้ด้านธนาคารบวกกับทหารและผู้มีอำนาจในแผ่นดินยุคนั้น…" ใครคนหนึ่งกล่าวเอาไว้

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ธนาคารมณฑลกวางตุ้งก็ได้กำเนิดขึ้นในประเทศไทย เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เองก็เริ่มการก้าวย่างเข้าสู่วงจรธุรกิจด้วยการเป็นผู้จัดการแบงก์แห่งนี้ ซึ่งนับเป็นก้าวย่างแรกของเขา

"ตอนที่ผมเป็นผู้จัดการแบงก์น่ะ คุณชิน โสภณพนิช ยังเป็นกำปะโดร์อยู่เลย" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

แต่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เป็นผู้จัดการแบงก์แห่งนี้ได้ไม่นาน ก็ต้องปิดกิจการที่ตัวเองอุตส่าห์วิ่งเต้นจนได้ใบอนุญาตมา

ในปี 2492 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ในผืนแผ่นดิน เหมาเจ๋อตุงนำทัพขับไล่พรรคก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค ได้สำเร็จ

ธนาคารมณฑลกวางตุ้งในประเทศไทย ซึ่งเป็นเพียงสาขาหนึ่งก็ต้องหยุดกิจการลงทันที

ในประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็ขาดสะบั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำรัฐบาลไทยในยุคนั้นก็ประกาศนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างแข็งกร้าว

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ปิดกิจการธนาคารมณฑลกวางตุ้งไว้ชั่วคราว หากแต่ยังถือใบอนุญาตไว้ในมือ เขาเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้มีอำนาจและข้าราชการไทยในยุคนั้นเป็นอย่างดี เขารู้ว่าเขาควรจะทำอย่างไร ใบอนุญาตแผ่นดินนี้จึงจะไม่ถูกยึด

"จอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ในการต่อใบอนุญาตการจัดตั้งธนาคารให้" คนเก่าแก่คนหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ว่ากันว่า ในยุคนั้นถึงแม้จอมพล ป.พิบูลสงคราม จะเป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่ผู้ที่อยู่เบื้องหลังแห่งอำนาจจริง ๆ ก็คือ กลุ่มจอมพลผิน ชุณหุวัณ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ กับกลุ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทั้งอสงกลุ่มต่างก็แข่งขันกันแสวงหาผลประโยชน์ทั้งจากธุรกิจของรัฐ ส่วนตัว และพ่อค้ากันอย่างกว้างขวาง การดำเนินธุรกิจของทั้งสองกลุ่มนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ ใช้อิทธิพลทางการเมืองเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ ด้วยการให้ความคุ้มครอง ให้สิทธิพิเศษ มอบอภิสิทธิ์ให้ผูกขาด และหลีกเลี่ยงกฎหมาย

เมื่อใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารยังอยู่ในมือ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จึงเริ่มทำการจัดตั้งธนาคารขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งเก่า เนื่องจากครั้งนี้เกียรติขาดเงินทุนสนับสนุน

"ผมไม่มีเงิน แต่คุณอุเทน คุณอื้อจือเหลียง ขุนเศรษฐภักดี เขามีเงิน ในขณะที่ผมมีใบอนุญาตก่อตั้งธนาคารอยู่ในมือ ผมจึงชวนพวกเขามาร่วมกันก่อตั้งธนาคารขึ้นมาใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อธนาคารใหม่ว่า ธนาคารสิงขร เรียกตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แสอั้ง" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวต่อ

ธนาคารสิงขร ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ด้วยทุน 10 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 10,000 หุ้น โดยอื้อจือเหลียงถือหุ้นเอาไว้มากที่สุด คือ 1,239 หุ้น กลุ่มตระกูลเตชะไพบูลย์ ถือหุ้นมากเป็นอันดับสอง 1,113 หุ้น กลุ่มตระกูลเศรษฐีภักดีถือมากเป็นอันดับสาม 1,040 หุ้น และเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งกับบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง ถือหุ้นรวมกันมากเป็นอันดับสี่ด้วยจำนวน 473 หุ้น

"ตอนนั้น คุณเกียรติแกไม่มีเงินจริง ๆ หุ้นที่แกได้รับก็เนื่องจากว่า แกมีใบอนุญาตอยู่" แหล่งข่าวซึ่งอยู่ในธนาคารแห่งนี้มานานบอก

การก่อตั้งธนาคารสิงขรจนเป็นรูปเป็นร่างได้สำเร็จ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อธนาคารเป็นธนาคารศรีนครแห่งนี้ ได้สร้างฐานการเงินให้กับ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จนสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จในกาลต่อมา

"คุณอื้อจือเหลียงและคุณอุเทน มีลักษณะที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ การชอบช่วยเหลือคน ไม่เคยทิ้งเพื่อน และไม่เคยลืมบุญคุณคน คุณเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เขาโชคดีที่ได้รู้จักและสนิทสนมกับทั้งสองคนนี้" แหล่งข่าวคนเก่าแก่รายเดิมเล่าอีก

แต่การก่อตั้งธนาคารครั้งใหม่นี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารคนหนึ่งเท่านั้น พระยาโทณวนิกมนตรี ถูกเชื้อเชิญมาเป็นประธานกรรมการของธนาคาร โดยมีอื้อจือเหลียงเป็นรองประธานกรรมการ

มีผู้รู้ได้กล่าวถึงความอยู่รอดของธนาคารไทยและการเรืองอำนาจของทหารยุคนั้นว่า ทั้งสองฝ่ายต่างประสานผลประโยชน์กัน โดยทหารได้ฐานทางการเงินสนับสนุนอำนาจทางการเมืองและธุรกิจของตัวเอง ธนาคารได้รับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจของตัวเอง

ในช่วงนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีความสัมพันธ์สนิทสนมอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับ จอมพลผิน ชุณหะวัณ

"จอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นคนที่แนะนำให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้รู้จักกับลูกเขยชของตัวเอง คือ พันโทประมาณ อดิเรกสาร ยศของเขาขณะนั้นนะ ตอนนั้นผมจำได้ว่า จอมพลผินได้บอกกับคุณเกียรติว่า ฝากลูกเขยคนนี้ด้วยแล้วกัน" แหล่งข่าวอีกรายหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

และอาจจะเป็นความโชคดีของพลตรีประมาณ อดิเรกสาร ด้วยที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เป็นคนที่ไม่ลืมบุญคุณคนคนหนึ่งเช่นกัน

"เราจะลืมเขาได้อย่างไร เมื่อครั้งที่เขาเป็นใหญ่ เขาช่วยเหลือเรา พอเขาตกอับ จะให้เราทอดทิ้งเขาได้อย่างไรกัน" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง เคยกล่าวไว้กับ "ผู้จัดการ"

การร่วมมือกันครั้งแรกระหว่างเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และประมาณ อดิเรกสาร เริ่มต้นขึ้นเมื่อเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เริ่มก่อตั้งบริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้าขึ้น เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2496 ด้วยทุนจดทะเบียนถึง 10 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 10,000 หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท โดยเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ถือหุ้นมากที่สุดเป็นจำนวน 2,996 หุ้น สะอาด บุรณานนท์ ถือหุ้น 2,150 หุ้น เจริญ พานิชชีวะ พี่เขยของเกียรติถือหุ้นมากเป็นอันดับสาม คอื 800 หุ้น อุเทน เตชะไพบูลย์ ถือ 200 หุ้น ขุนเศรษฐภักดีถือ 210 หุ้น อื้อจือเหลียงถือ 200 หุ้น และหุ้นถูกแบ่งให้กับ พ.อ.ประมาณ อดิเรกสาร (ยศขณะนั้น) 40 หุ้น

ความแตกร้าวยังไม่มีในกลุ่มศรีนครแห่งนี้ อื้อจือเหลียง อุเทน เตชะไพบูลย์ ยังรวมตัวกันด้วยความสามัคคีและเหนียวแน่นเป็นอย่างยิ่ง ใครคนหนึ่งลงทุนธุรกิจอะไร อีกสองคนจะวิ่งเข้าช่วยด้วยเสมอ

ในสามมิตรที่สนิทสนมและรักใคร่กันนี้ อื้อจือเหลียงได้รับการยกย่องและถูกเรียกว่า ตั้วเฮีย เนื่องจากความอาวุโสมากที่สุดของเขานั่นเอง อื้อจือเหลียงเกิดที่อำเภอเยี่ยวเพ้ง มณฑลกวางตุ้ง จากคำบอกเล่าของ เกียรติ ทำให้ทราบว่า อื้อจือเหลียงผู้นี้ร่ำรวยมาจากการพ่ายแพ้สงครามของเยอรมัน เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยก่อนหน้านั้นอื้อจือเหลียงทำงานเป็นพนักงานคนหนึ่งในบริษัทพาราวินเซอร์ ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งของชาวเยอรมันที่มาค้าขายในประเทศไทยในยุคนั้น เมื่อสงครามสงบชาวเยอรมันซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทแห่งนี้ หนีออกนอกประเทศทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างตกเป็นของอื้อจือเหลียงไปโดยปริยาย

สำหรับ อุเทน เตชะไพบูลย์ นั้นถูกเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เรียกว่า ยี่เฮีย เนื่องจากอายุมากกว่าเกียรติ 3 ปี

กลับมาที่เรื่องราวของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง อีกครั้ง ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2495 พลตรีประมาณ อดิเรกสาร กำลังรุ่งเรืองอย่างโลดแล่นและก้าวกระดดดในอาชีพราชการด้วยบารมีของพ่อค้า คือจอมพลผิน ชุณหะวัณ ทำให้ได้เก้าอี้ผู้อำนวยการ ร.ส.พ.เข้ามานั่งอีกตำแหน่ง

พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ได้ให้องค์การ ร.ส.พ. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตั้งบริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ขึ้นมา แล้วทำการสนับสนุนให้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าบริหารและถือหุ้นในบริษัทแห่งนี้ถึง 40% ร่วมกับองค์การ ร.ส.พ. ที่พลตรีประมาณ อดิเรกสาร นั่งเป็นผู้อำนวยการอยู่ในขณะนั้น

การดำเนินงานของบริษัท ร.ส.พ. ประกันภัย ล้มเหลวมาตลอด ทางองค์การ ร.ส.พ.จึงมีมติให้เลิกบริษัทนี้ เมื่อองค์การ ร.ส.พ. เลิก เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็ทำการเข้าครอบครองหุ้นทั้งหมดเกือบ 100% เต็ม ที่เหลืออีกนิดหน่อยก็เป็นของญาติมิตรเพื่อนของเกียรติเอง

นับแต่นั้นมา ความสัมพันธ์ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร จึงสนิทสนมแน่นมาตลอด ทำธุรกิจด้วยกันและช่วยเหลือกันมาตลอด

"จะไม่ให้เขาสนิทกันมากได้อย่างไร ก็ในเมื่อเขาโตกันมาด้วยกัน ตั้งแต่เมื่อ 30 กว่าปีก่อนที่ร่วมกันทำ ร.ส.พ.ประกันภัยนั่น" สมบัติ พานิชชีวะ หลานชายของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ในบันทึกประวัติขององค์การ ร.ส.พ. หน่วยงานของรัฐแห่งนี้ได้บอกเอาไว้ว่า บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัดนั้น ขาดทุนมาตลอด ทางองค์การจึงถอนหุ้นหรือเลิกดำเนินการ

แต่คนรุ่นหลังและใกล้ชิดกับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กลับกล่าวว่า เกียรติ และพลตรีประมาณเติบโตมาด้วยกันที่นี่ เป็นข้อมูลที่ขัดแย้ง ซึ่งชี้ให้เห็นอะไรบางอย่างของการดำเนินงานในรัฐวิสาหกิจไทยในช่วงนั้น

ความสัมพันธ์ที่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีกับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร นับวันก็ยิ่งลึกซึ้ง ในช่วงที่อำนาจทางการเมืองแทบจะเป็นของกลุ่มผิน ชุณหะวัณ (ก่อนปี 2500) อยู่นั้น เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เริ่มเดินเข้าสู่อาณาจักรอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกโดยร่วมกับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร ร่วมกันก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมทอผ้าไทย จำกัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2497

อำนาจทางการเมืองในขณะนั้น แบ่งออกเป็นสองขั้ว ขั้วหนึ่งเป็นกลุ่มของกลุ่มซอยราชครู อันประกอบด้วยจอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นแกนนำ กับอีกขั้วหนึ่งเป็นกลุ่มสี่เสาเทเวศน์ ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นแกนนำ นักธุรกิจในยุคนั้นจำเป็นต้องเลือกเอาขั้วใดขั้วหนึ่งเท่านั้นที่จะมาให้ความคุ้มครองแก่ธุรกิจของตน

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง อิงซอยราชครูเอาไว้อย่างแนบแน่น บริษัทอุสาหกรรมทอผ้าไทย จำกัด ดำเนินธุรกิจไปได้เพียง 3 ปี เรียกว่า บริษัทอุตสาหกรรมทอผ้าไทย เพิ่งสร้างโรงงานเสร็จได้ไม่นาน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ทำการรัฐประหารจอมพลผิน ชุณหะวัณ กลุ่มซอยราชครูก็ต้องหมดอำนาจลง จอมพลผินต้องหนีออกนอกประเทศ

ช่วงนี้เอง ความยิ่งใหญ่ทางอำนาจของพลตรีประมาณ อดิเรกสาร จบสิ้น นี่เป็นจุดหนึ่งของคำถามที่ว่า ทำไมบริาทอุตสาหกรรมทอผ้าแห่งนี้จึงไม่รุ่งเรืองเท่าที่ควร

ทั้งประมาณและเกียรติในขณะนั้น ไม่ใช่นักอุตสาหกรรมที่มีความเชี่ยวชาญเพียงแต่ตั้งบริษัทเหล่านี้ขึ้นมาเพียงเพื่อหวังให้อำนาจทางการเมืองเป็นตัวกรุยทางเท่านั้น

ถึงแม้ประมาณ อดิเรกสารจะตกอับในช่วงนั้น เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็ไม่ถึงกับตกอับลงไปด้วย อาจจะมีการชะงักบ้างนิดหน่อย เกียรติยังมีธนาคารศรีนครอยู่ข้างหลัง ยังมีบริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้า ยังมีบริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย ซึ่งเป็นฐานที่สร้างอำนาจทางการเงินให้กับเกียรติอยู่

ความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เริ่มต้นเมื่อเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเริ่มมีความสนใจในอุตสาหกรรมกระจก ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีใครสามารถผลิตได้ กระจกในประเทศยุคนั้นถูกนำเข้ามาจากไต้หวันเป็นส่วนใหญ่

"อุตสาหกรรมกระจกเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่สูง คุณเกียรติเขาคิดในตอนแรกว่าจะร่วมลงทุนกับไต้หวัน ใช้เทคโนโลยีของไต้หวัน ตอนนั้นจึงได้เชิญพวกไต้หวันมาถือหุ้นด้วย" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ปีนั้นเป็นปี 2506 ซึ่งเป็นช่วงปลายแห่งยุคสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก่อตั้งบริษัท กระจกไทย จำกัด ขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 12 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 12,00 หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท โดยเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้อง คือ บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง น้องชายของเกียรติ และไพบูลย์ พานิชชีวะ กับสมบัติ พานิชชีวะ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวคนโตของเกียรติ รวมทั้งบริษัทในเครือของเกียรติ อันมี บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด บริษัท บุญศรีพานิช จำกัด (บริษัทค้าไม้ของเกียรติ) บริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้า จำกัด บริษัท โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์ จำกัด เหล่านี้ถือหุ้นรวมกันทั้งหมดเป็นจำนวน 9,795 หุ้น หรือประมาณ 81.6% ของหุ้นทั้งหมด โดยเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งถือหุ้นไว้มากที่สุด คือ 3,395 หุ้น

หุ้นที่เหลือนอกจากนั้นเป็นของ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร อุเทน เตชะไพบูลย์ คนละ 500 หุ้น ที่เหลืออีกจำนวนหนึ่งถูกแบ่งให้กับชาวไต้หวันที่จะมาร่วมลงทุนด้วย

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เองก็ยังใช้สไตล์เก่าของตัวเอง คือ ไม่อาจทอดทิ้งผู้มีอิทธิพลทางการเมืองได้ในขณะที่ทำธุรกิจ เขาจึงได้เชิญทองดุลย์ ธนะรัชต์ น้องชายของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้กุมอำนาจทางการเมืองทั้งหมดไว้ในมือในยุคนั้น เข้าร่วมถือหุ้นด้วยเป็นจำนวน 500 หุ้น (ไม่ขอยืนยันว่าเป็นหุ้มลมหรือไม่)

ทองดุลย์ ธนะรัชต์ ไม่เพียงได้รับเชิญเป็นผู้ถือหุ้นอย่างเดียวเท่านั้น ยังได้เป็นกรรมการบริหารในบริษัท กระจกไทย จำกัด แห่งนี้อีกด้วย และบริษัทแห่งนี้ก็ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลในสามเดือนต่อมาภายหลังการก่อตั้งบริษัท

อย่างไรก็ดี การติดต่อกับทางไต้หวัน ซึ่งจะให้มาเป็นผู้ร่วมทุนในฐานะเจ้าของเทคโนโลยี มีปัญหาบางอย่างถึงปี 2507 แล้วโรงงานผลิตกระจกซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ.เรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเป็นรูปเป็นร่าง

ในที่สุด เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เปลี่ยนท่าทีใหม่ด้วยการหันหน้าไปทางญี่ปุ่น

บริษัท อาซาฮีกลาส จำกัด แห่งญี่ปุ่น มีความสนใจที่จะมาร่วมลงทุนด้วย แต่มีข้อแม้ว่า ตัวเองจะต้องมีหุ้นอยู่ในบริษัทกระจกนี้อย่างน้อย 50% เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็ยอมตกลงด้วย

ในรายงานการประชุมสามัญครั้งที่ 2 ของบริษัท กระจกไทย จำกัด เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2507 มีบันทึกรายงานการประชุมกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

"ในการตั้งโรงงานผลิตกระจกแผ่นเรียบนั้น คณะกรรมการได้ประชุมปรึกษากัน และมีความเห็นสอดคล้องเป็นเอกฉันท์ว่า ควรจะร่วมทุนกับบริษัท อาซาฮีกลาส จำกัด แห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญในการผลิตกระจกแผ่นเรียบมาเป็นเวลานานแล้ว และวิธีในการร่วมทุนก็คือ ให้ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยทุกคนโอนหุ้นของตนขายให้แก่บริษัทอาซาฮีกลาสจำกัด คนละครึ่งในราคาเท่ามูลค่าหุ้นเดิม เมื่อได้ทำการตามที่เสนอนี้แล้ว บริษัทอาซาฮีกลาส จำกัด ก็จะเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเป็นจำนวนร้อยละ 50"

แล้วก็ทำการเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท กระจกไทย-อาซาฮี จำกัด ในการประชุมวันนั้น

การลงหลักปักฐานที่นี่ แทบจะเรียกได้ว่า ที่นี่ ที่บริษัทกระจกไทย-อาซาฮีแห่งนี้ เป็นเสมือนเส้นสายโลหิตใหญ่ที่หล่อเลี้ยง เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้องของตัวเองในกาลต่อมา

บริษัท กระจกไทย-อาซาฮี ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นบริษัทที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าไปร่วมบริหารอย่างจริง ๆ จัง ๆ มากที่สุด กิจการหลายอย่างที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีในทุกวันนี้มาจากบริษัทนี้เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ไทยเซฟตี้กลาส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตกระจกนิรภัยรถยนต์ของเขา บริษัทไทยอาซาฮีโซดาไฟ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตโซดาแอชให้กับบริษัทกระจกไทยอาซาฮี บริษัท ศรีเสรีขนส่ง ซึ่งเป็นบริษัทที่เกียรติ และกลุ่มตระกูลพานิชชีวะก่อตั้งขึ้นมา ให้ทำหน้าที่ขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานกระจกไทยอาซาฮี บริษัทกระจกไทยและการตลาดที่เกียรติตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนจำหน่ายกระจกจากบริษัทกระจกไทยอาซาฮี จำกัด

เกือบทั้งหมด ยกเว้นบริษัท ไทยเซฟตี้กลาส และไทย-อาซาฮีโซดาไฟที่ร่วมกับอาซาฮีกลาสแล้ว ทุกบริษัทล้วนเป็นของเกียรติ และตระกูลพานิชชีวะทั้งนั้น ผลประโยชน์จากบริาทกระจกไทย-อาซาฮีที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ร่วมทุนกับญี่ปุ่นจึงมหาศาล

"มีสักกี่คนในประเทศไทยที่ร่วมลงทุนกับญี่ปุ่นแล้วไม่เสียเปรียบอย่างเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวชม เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง

ปีหนึ่ง ๆ บริษัทกระจกไทย-อาซาฮี ทำรายได้เฉลี่ยปีละประมาณหนึ่งพันล้านบาท มีกำลังการผลิตถึง 4 ล้านกว่าหีบต่อปี

รายได้ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งและญาติพี่น้องในบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีจึงมหาศาล ถึงแม้บางปีที่ถูกกระจกต่างประเทศเข้ามาตีตลาดจนบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีขาดทุน แต่บริษัทต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วไม่ขาดทุนแน่นอน ไม่ว่าบริษัทนั้นจะเป็นบริษัทขนส่งวัตถุดิบ บริษัทขนส่งสินค้ากระจก บริษัทผู้แทนจำหน่าย ก็ตาม

สาเหตุประการหนึ่งก็คือ กระจกไทย-อาซาฮี เป็นบริษัทผู้ผูกขาดการผลิตกระจกในประเทศไทยจนทุกวันนี้ แม้จะมีกระจกจากต่างประเทศเข้ามาตีบ้างในบางปี แต่ก็เป็นการแข่งขันกันทางด้านราคาเท่านั้น เป็นลักษณะเข้ามาแล้วหายไป เข้ามาแล้วหายไปเหมือนตีหัวเข้าบ้าน

"ตลาดเมืองนอก มันมักล้นตลาดอยู่เสมอ พอมันล้นตลาด เขาก็จะส่งเข้ามาขายในประเทศไทย ในราคาถูกกว่าความเป็นจริง เราเป็นเจ้าตลาดอยู่เราก็ต้องผลิตของเราทุกปี หยุดไม่ได้ เมื่อหยุดไม่ได้มันก็ต้องแข่งด้านราคากัน" วิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

กล่าวไปแล้ว ไม่เพียงกิจการต่าง ๆ ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ที่กำเนิดขึ้นเหล่านั้นจะมีผลต่อนเองมาจากกระจกไทยอาซาฮีเท่านั้น แม้แต่การได้ไปลงทุนในจีนครั้งนี้ (ปี 2530) สาเหตุก็เนื่องจากกระจกไทยอาซาฮีเช่นกัน

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ตัวเขาเองนั้นไปประเทศจีนบ่อย เนื่องจากจีนเป็นลูกค้ากระจกไทย-อาซาฮีรายใหญ่ ความสนิทสนมมีมากขึ้น เมื่อทางรัฐบาลมีความสนใจด้านอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแผ่นเรียบ ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาดุงานการผลิตที่โรงงานกระจกไทย-อาซาฮีแห่งนี้ แล้วจึงได้ชักชวนเกียรติ ไปลงทุนผลิตกระจกในจีน

"เจ้าหน้าที่ที่มาดูโรงงานเขาก็เห็นว่า ขนาดเมืองไทยเมืองเล็ก ๆ อย่างนี้ ยังมีเทคนิคสูง โรงงานก็ใหญ่ขนาดนี้ มีตั้ง 3 โรงงาน เขาก็ชักชวนว่าไปร่วมลงทุนกับรัฐบาลจีนในประเทศเขามั้ย เราก็บอกว่าลงทุนเยอะนะ เขาบอกว่าไม่เป็นไร ก็ขอให้คุณนำไอ้ที่เรียกว่าระบบโฟลท ที่เรียกว่าเป็นการผลิตที่ทันสมัยไปก็แล้วกัน" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เล่าให้ฟัง

นี่ก็เป็นเพราะชื่อเสียงของกระจกไทย-อาซาฮีอีกที่ได้ไปลงทุนในจีนครั้งนี้

และการลงทุนครั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าเป็นบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีไปลงทุน หากแต่เป็นการลงทุนส่วนตัวของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้อง

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่มีเทคโนโลยี เนื่องจากญี่ปุ่นหรืออาซาฮีกลาส ไม่ได้ไปร่วมลงทุนด้วย เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งวางหมากตานี้ไว้แล้ว หากร่วมลงทุนกับอาซาฮีกลาสของญี่ปุ่น ทุกสิ่งทุกอย่างก็ยังคงเดิม ตลาดก็ไม่ได้กว้างขวางขึ้น เขาจึงหันหน้าไปทางสหรัฐอเมริกาติดต่อไปยังพีพีจี อินดัสเตรียล (PITTSBURGH PLATE GLASS CO., LTD.) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตกระจกแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด

เรื่องการติดต่อเป็นเรื่องที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ถนัดมาก เขาเป็นคนที่มีความกว้างขวางมากในวงการธุรกิจต่างประเทศ การที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไปต่างประเทศแทบจะทุกสัปดาห์ก็เนื่องจากสาเหตุนี้ การทำงานของเขาขณะนี้เน้นหนักที่การสร้างคอนเนคชั่นทำความรู้จักกับนักธุรกิจต่างประเทศแทบทุกวัน

สมบัติ พานิชชีวะ ผู้ทำงานใกล้ชิดกับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มากที่สุดคนหนึ่ง กล่าวชมเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งว่า เกียรติเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจับแพะชนแกะได้เป็นอย่างดียิ่ง มีความสามารถสูงในการชักนำผู้ร่วมลงทุนจากต่างประเทศโดยที่ตัวเองไม่เคยเสียเปรียบ และมีความสามารถสูงในการตัดสินใจ

การตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตกระจกไทย-อาซาฮีนั่นเป็นมุขหนึ่งที่ชี้ถึงการตัดสินใจที่ฉลาดในการมองถึงผลประโยชน์จากธุรกิจต่อเนื่องของตัวเอง

แต่เกียรติ ก็หาใช่ว่าจะไม่เคยผิดพลาดและพลาดหวัง ความล้มเหลวของตัวเองในธนาคารศรีนครคือตัวชี้ตัวหนึ่ง

ก่อนหน้าที่ อุเทน เตชะไพบูลย์ จะขึ้นนั่งในตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารศรีนคร (พ.ศ. 2517) ใคร ๆ ก็รู้ว่าเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินเข้าเดินออกที่ธนาคารแห่งนี้แทบทุกวัน ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นตัวของเกียรติเองก็เริ่มจะมีธุรกิจของตัวเองอยู่มากมายแล้ว แต่หลังจากที่อุเทน เตชะไพบูลย์ตัดสินใจยึดสองตำแหน่งในธนาคารแห่งนี้แล้ว หลังจากนั้น เกียรติก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับที่นี่อีกมากนักเลย คงปล่อยให้บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง น้องชายของตัวเองมีชื่อในตำแหน่งกรรมการบริหารแทนตัวเองเท่านั้นเอง

แต่เกียรติเองก็หาใช่ว่าจะทิ้งธุรกิจไฟแนนซ์ไปเลย ภายหลังจากออกจากธนาคารศรีนครแล้ว เขาจึงหันไปทุ่มเทให้กับธุรกิจของตัวเอง โดยมีบริษัทไฟแนนซ์ที่ใหญ่และมั่นคงของตัวเอง คือ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ทรัสต์ ซึ่งชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายคนที่สองของตัวเองได้บุกเบิกเอาไว้

"เมื่อก่อนนี้ บริษัทคาเธ่ย์เขาทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงหนัง คุณคงรู้จักโรงหนังคาเธ่ย์ โดยคุณพ่อเขาร่วมกับคุณอุเทน คุณอื้อจือเหลียง อะไรเหล่านี้ ต่อมาเขาก็ขายโรงหนังไป แล้วใช้ชื่อบริษัททำเป็นบริษัทโฮลดิ้ง คอมปะนี ผมจึงเข้าไปเปลี่ยนใบอนุญาตให้มาเป็นทรัสต์จนกระทั่งทุกวันนี้" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายคนที่สองของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ผู้เอาจริงเอาจังกับธุรกิจทางการเงิน และเป็นลูกชายของเกียรติคนเดียวที่ทุ่มเทให้กับธุรกิจไฟแนนซ์อย่างจริงจังกล่าว

ภายหลังการเดินออกจากธนาคารศรีนครของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง แล้ว บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งว่ากันว่าเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเป็นผู้ที่ทุ่มเทให้กับที่นี่อย่างเต็มที่ จนในปัจจุบัน ถ้ากล่าวถึงคาเธ่ย์กรุ๊ปแล้วก็จะหมายถึงกลุ่มของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งและญาติพี่น้องไปแล้ว

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินออกจากธนาคารศรีนครเมื่อปี 2518 แล้วหันหน้าไปเอาจริงเอาจังกับคาเธ่ย์ทรัสต์ เขาคิดจะสร้างตึกที่ทำการใหญ่ให้กับคาเธ่ย์ทรัสต์ ครั้งแรกเกียรติเล็งไปบนที่ดินบนถนนสีลมและเลือกเอาที่ดินฝั่งตรงข้ามกับเซ็นทรัลชิดลม

การติดต่อซื้อขายที่ดินกำลังจะเสร็จสมบูรณ์ ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เข้ามาท้วงติงว่า ทำไมต้องซื้อที่ดินตรงนี้ เสียเวลาในการก่อสร้างตึกอีก ทำไมไม่ไปซื้อที่เขาสร้างเสร็จแล้ว เอสโซ่เขากำลังบอกขายตึกของเขาอยู่ ถ้าไปซื้อตึกเอสโซ่ เอสโซ่เขาก็จะกลายเป็นผู้เช่าไปทันที พื้นที่ที่เหลืออีก 50 เปอร์เซ็นต์ ทางกลุ่มก็ใช้ประโยชน์ได้เต็มเนื้อที่พอดี

ในขณะนั้น อเมริกากำลังพ่ายแพ้จากสงครามในอินโดจีนอย่างยับเยิน นักธรุกิจอเมริกันและต่างชาติในประเทศไทยต่างหวาดกลัวต่อทฤษฎีโดมิโน บริษัทเอสโซ่ สแตนดาร์ด ก็เป็นเช่นเดียวกัน พวกเขาจึงประกาศขายตึกสูง 14 ชั้นบนถนนพระรามสี่ใกล้สี่แยกวิทยุ ซึ่งเป็นที่ทำการใหญ่ของเอสโซ่ในประเทศไทย

ด้วยสาเหตุนี้เอง ที่ทำให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ทิ้งที่ดินบนถนนสีลมแห่งนั้นหันมาให้ความสนใจกับตึกเอสโซ่ทันที

การซื้อขายตกลงกันด้วยราคา 88 ล้านบาท โดยเอสโซ่ขอเป็นผู้เช่าตึกเป็นที่ทำการใหญ่ส่วนหนึ่ง

"ผมซื้อได้ถูกมากทีเดียว ตึกนี้เป็นตึกที่ได้มาตรฐานมาก" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ด้วยความภูมิใจ

ตึกเอสโซ่ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอาคารคาเธ่ย์นับแต่วันนั้น

เล่ากันว่า เมื่อครั้งที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ซื้อตึกแห่งนี้นั้น มีหลายกลุ่มที่เข้ามาแข่งขันซื้อด้วย กลุ่มที่เข้ามาติดต่อซื้อก็มี ธนาคารทหารไทย กลุ่มลูก ๆ ของอื้อจือเหลียง สุขุม นวพันธ์ เป็นต้น แต่เนื่องจากคนเหล่านั้นมองและเข้าใจเหตุการณ์เป็นอย่างดีว่า ทำไมเอสโซ่จึงขายตึกแห่งนี้ พวกเขาจึงทำการต่อรองราคากับทางเอสโซ่

แต่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่ได้มาฟอร์มนั้น พอทราบว่าทางเอสโซ่จะขายในราคา 88 ล้านบาท เกียรติก็ใจป้ำซื้อทันทีเลยเช่นกัน

มีหลายคนกล่าวว่า ขณะนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กำลังเดินสู่เส้นทางสายเก่า ไม่เพียงเดินทางไปปักหลักในประเทศจีนเท่านั้น หากแต่ยังพยายามเดินสู่ธุรกิจธนาคารที่ตัวเองเคยทอดทิ้งมาแล้วอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2528 ธนาคารมหานครมีปัญหาอย่างรุนแรง คำรณ เตชะไพบูลย์ หนีออกนอกประเทศ ธนาคารชาติต้องเข้าโอบอุ้งพยุงไม่ให้ธนาคารล้ม พร้อมประกาศขายหุ้น เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเฝ้าจับตามองอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อราคาหุ้นตกลงมาเหลือแค่หุ้นละ 5 บาท เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง พร้อมญาติพี่น้งอทั้งตระกูลศรีเฟื่องฟุ้งและพานิชชีวะไม่รอช้า ทำการซื้อหุ้นในธนาคารแห่งนี้ไว้ทันทีเป็นจำนวนกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของหุ้นทั้งหมดพร้อมทั้งส่ง ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายของเกียรติ เข้าเป็นกรรมการบริหารธนาคารและนั่งอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีหน้าที่ดูแลกิจการสาขาธนาคารมหานครจนทุกวันนี้

"คุณดูตัวเลขการเติบโตของธนาคารของเรา อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารของเราทั้งสินเชื่อและเงินฝากมันเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 กว่าเปอร์เซ็นต์" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ซึ่งนับเป็นอัตราตัวเลขที่เพิ่มสูงมากทีเดียว เพราะในปีนี้ถ้าพูดไปแล้วอย่างธนาคารกรุงเทพมีอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก 5 เปอร์เซ็นต์ และสินเชื่อเพิ่มขึ้นเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

มีข้อสงสัยก็คือ กลุ่มศรีเฟื่องฟุ้ง และกลุ่มหลาน ๆ ของเกียรติเอง คือ กลุ่มพานิชชีวะ ทุ่มเทเงินฝากในธุรกิจตัวเองซึ่งมีอยู่นับพัน ๆ ล้านจนเกือบหมื่นล้านบาทเข้าสู่ธนาคารแห่งนี้ด้วยหรือเปล่า และทำการใช้สินเชื่อจากธนาคารแห่งนี้ในการลงทุนธุรกิจของตัวเองหรือไม่

"ไม่ใช่ ผมบอกคุณตรง ๆ ได้เลยว่า กลุ่มของเราไม่จำเป็นต้องพึ่งธนาคารเลย การที่เราเข้ามาถือหุ้นก็เนื่องจากเราต้องการเข้ามาช่วยสถาบันการเงินเท่านั้น" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ให้สัมภาษณ์กับ "ผู้จัดการ" ในเย็นวันหนึ่งที่ธนาคารมหานคร

ไม่เพียงที่ธนาคารมหานครเท่านั้นที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และทางกลุ่มเข้าร่วมกว้านซื้อหุ้นไว้ที่ธนาคารนครหลวงไทยก็เช่นเดียวกัน เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้องต่างเข้ากว้านซื้อหุ้นที่นี่ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2529 จนในปัจจุบันว่ากันว่า เมื่อธนาคารนครหลวงไทยประกาศขายหุ้นออกใหม่อีกครั้งเมื่อตอนต้นปี 2530 เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้ซื้อสิทธิ์ในการจองหุ้นจากเสี่ยเม้งหรือมงคล กาญจนพาสน์ เป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท

อย่างนี้แล้วจะไม่ให้ผู้คนในวงการต่างมองเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งว่า กำลังเดินทางกลับสู่เส้นทางสายเก่าได้อย่างไรเล่า

ทุกวันนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ยืนอยู่ด้วยความมั่นคงในอาณาจักรนับหลายพันล้านของตัวเอง เขาเป็นทั้งผู้นำกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้ง และตระกูลพานิชชีวะ ซึ่งไม่อาจแยกกันได้

"พานิชชีวะทุกคนเขาก็เหมือนลูก ๆ ของผม พวกเขาเป็นลูก ๆ ของพี่สาวของผม เมื่อพี่สาวและพี่เขยของผมเสียชีวิตลง ผมก็เอาพวกเขามาเลี้ยงเหมือนลูก ผมก็มีหน้าที่คอยดูแลพวกเขาอยู่ต่อไป" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ภายหลังการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยแล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ประสบความสำเร็จและล้มเหลวนับครั้งไม่ถ้วน มีไม่กี่คนที่ทราบว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ผู้นี้เป็นเจ้าของธนาคารศรีนครเป็นคนแรก ในวันนี้อาณาจักรนับหลายพันล้านบาทของเกียรติเริ่มที่จะคับแคบไปแล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ตัดสินใจกลับสู่ประเทศจีนอีกครั้ง ครั้งนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ยอมขนเงินออกจากประเทศไทยเพือ่เข้าร่วมลงทุนกับรัฐบาลจีนสร้างโรงงานผลิตกระจกมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านบาท ที่นั่นเขากล่าวย้ำกับ "ผู้จัดการ" ว่า "มันเป็นความภาคภูมิใจและมีความหมายที่สุดในชีวิตของผม" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เริ่มเดินทางสู่เส้นทางสายเก่า เส้นทางสายที่เขาเคยทอดทิ้งมา โดยนอกเหนือจากการกลับเข้าสู่ในประเทศจีนอีกครั้งแล้ว ในประเทศไทย เกียรติยังกลับเข้าสู่ธุรกิจธนาคารที่เขาเคยทอดทิ้งมาแล้วอีกด้วยเช่นกัน

เหตุเกิดที่ SHEKOU, SHENZHEN SPECIAL ECONOMIC ZONE CHINA

วันที่ 2 กันยายน 2530 ดูเหมือนเป็นวันที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะต้องจดจำไปอีกนาน เพราะวันนี้เป็นวันทำพิธีเปิดโรงงานกระจก GUANGDONG FLOAT GLASS CO., LTD. ซึ่งเป็นโรงงานผลิตกระจกโฟลทแห่งแรกในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

"ถ้าคุณได้ไปร่วมในพิธี คุณก็จะเห็นธงชาติไทยสบัดพลิ้วเคียงคู่กับธงของสองอภิมหาอำนาจอย่างจีนและอเมริกา มันน่าภาคภูมิใจ และมันก็มีความหมายที่สุดในชีวิตผม" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ย้ำกับ "ผู้จัดการ"

ในวันทำพิธีเปิดโรงงานมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านบาทแห่งนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลงทุนเชิญผู้ใหญ่คนใกล้ชิดสนิทสนมหลายคนบินไปร่วมงานด้วย ไม่ว่าจะเป็น พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ รองนายกรัฐมนตรีและประธานสมาคมมิตรภาพไทย-จีน เดช บุญหลง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง สมาน โอภาสวงศ์ รองประธานหอการค้าไทย บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง ประธานหอการค้าไทยจีน (น้องชายเกียรติ) สุชัย วีระเมธีกุล ประธานบริษัทเอ็มไทย อุตสาหกรรม จำกัด เป็นต้น

มิหนำซ้ำ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ยังลงทุนเชิญและหอบหิ้วสื่อมวลชนในประเทศไทยไปทำข่าวเพื่อกลับมาทำซัพพลีเม้นท์ โดยมีทั้งหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ซินเสียน เยอะเป้า และไทยทีวีสีช่อง 9

"ซัพพลีเมนท์ออกมาเป็นแสนฉบับเลย" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ" อีก

คงจะเป็นงานที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ภาคภูมิใจมากที่สุดจริงๆ ทั้ง ๆ ที่เงินที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ขนไปลงทุนในครั้งนี้ เป็นจำนวนเงินประมาณ 600 ล้านบาทเท่านั้น สำหรับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งแล้ว การลงทุนครั้งนี้ ไม่ใช่การลงทุนครั้งใหญ่ที่สุด แต่การลงทุนครั้งนี้กลับสร้างความภาคภูมิใจให้กับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มากที่สุดในชีวิต

"เมื่อก่อนนี้ ผมสู้เขาไม่ได้ อเมริกา หรือบริษัท พีพีจี อินดัสเตรียล ที่มาร่วมลงทุนกับผมนั้น เขาเป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีสูงและใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ ในอุตสาหกรรมกระจก เมื่อก่อนผมสู้เขาไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้ผมสามารถตกลงกับเขาได้และอยู่ในสภาพที่สามารถต่อสู้กับต่างประเทศได้แล้ว ต่อไปผมก็สามารถแชร์ตลาดแบ่งกับเขาได้ ไม่ต้องมาแย่งกันอีก" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ความภาคภูมิใจของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่เพียงอยู่ที่การได้ร่วมลงทุนกับบริษัท พีพีจี อินดัสเตรียล เท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงความภาคภูมิใจแห่งการได้กลับคืนมาสู่มาตุภูมิเก่าของตัวเองอย่างยิ่งใหญ่ และรวมไปถึงก้าวย่างอีกก้าวใหญ่ของธุรกิจของเขาอีกด้วย

วิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร ผู้ดูแลด้านการเงินและคนใกล้ชิดที่สุดของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้ให้ทัศนะในการลงทุนครั้งนี้กับ "ผู้จัดการ" ว่า ถึงแม้ว่าทุกวันนี้บริษัทกระจกไทย-อาซาฮีของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะเป็นผู้ผลิตกระจกในประเทศไทยเพียงเจ้าเดียวอยู่ก็ตาม แต่กระจกไทย-อาซาฮีก็ประสบปัญหามาก เมื่อมีกระจกจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด เนื่องจากกระจกที่เข้ามาตีตลาดส่วนใหญ่จะมีราคาถูก เพราะว่าเป็นกระจกที่เหลือจาการขายในประเทศของเขาแล้ว

"อย่างทางประเทศจีน ถ้าเขาเกิดผลิตได้ขึ้นมาแล้ว เราไม่ได้ร่วมกับเขา เขาก็ต้องแย่งตลาดเราหมดแน่ เนื่องจากจีนเขามีน้ำมัน น้ำมันเขาราคาถูกมาก ทรายเขาก็มี แรงงานเขาก็ราคาถูก ก็จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด เพราะฉะนั้นแทนที่จะปล่อยให้เขามาแย่งตลาดเราไป เราก็ไปร่วมลงทุนกับเขาเสียเลย" วิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร กล่าว

คำกล่าวของวิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร ดูจะเป็นคำกล่าวที่มีเหตุผลสมบูรณ์ที่สุด แต่ก็ยังมีนักธุรกิจคนจีนเก่าแก่หลายคนได้กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เหมือนกับนักธุรกิจคนจีนอื่น ๆ ทั่วไป เมื่อกลับบ้านได้ก็อยากกลับไปตายที่เมืองจีนมากกว่า ซึ่งเป็นลักษณะของ NEW OVERSEA CHINESS ในปัจจุบัน

การลงทุนครั้งนี้ของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จึงเป็นก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่อีกก้าวหนึ่งของเกียรติ ถึงแม้เขาจะถือหุ้นอยู่ในบริษัทกระจกโฟลทในประเทศจีนแห่งนี้ เพียง 25% โดยรัฐบาลจีนถือหุ้นอีก 50% และพีพีจี ถืออีก 25% ก็ตาม แต่จากการที่ทั้งสามฝ่ายได้ตกลงให้พีพีจี รับผิดชอบในด้านเทคโนโลยีทางการผลิต และให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รับผิดชอบทางด้านการตลาดนั้น ได้สร้างผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลแก่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง

ประการแรก - เป็นหลักประกันได้ว่า บริษัทที่มีเทคโนโลยีสูงแห่งนี้ จะไม่แย่งตลาดของกระจกไทย-อาซาฮี ซึ่งเป็นบริษัทของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง

ประการที่สอง - โรงงานกระจกแห่งใหม่นี้ จะสามารถเป็นเครื่องมือในการใช้ถล่มกลุ่มผู้ผลิตรายอื่นที่จะเข้ามาแย่งตลาด ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศของกระจกไทยอาซาฮี ซึ่งความจริง หมากตานี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งก็เคยใช้มาแล้วในประเทศไทย คงไม่ปฏิเสธว่า การที่บริษัทกระจกไทย-อาซาฮีผูกขาดการผลิตกระจกอยู่ในประเทศไทยเพียงรายเดียวนั้น ก็เนื่องจากการใช้กลยุทธ์ทางด้านราคา อาศัยเทคโนโลยีที่สูง ต้นทุนที่ต่ำ ลดราคาลงมาแข่งขัน จนคู่แข่งขันเจ๊งและไม่มีโอกาสได้เกิด กระจกไทย-อาซาฮี จึงยืนอยู่ได้แต่ผู้เดียวในทุกวันนี้ และตอนนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็กำลังเดินหมากตานี้บดขยี้คู่แข่งในต่างประเทศอีกครั้ง

ประการที่สาม - การได้กุมตลาดไว้นั่นเท่ากับเป็นการสร้างหลักประกันว่า เมื่อขายกระจกออกนอกประเทศจีนแล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งและญาติมิตรของตัวเองที่เข้าร่วมลงทุนด้วยคือ กลุ่มพานิชชีวะ ต้องได้เงินทุนคืนแน่ ซึ่งเหตุผลข้อนี้อ้างได้จากคำให้การของวิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร คนใกล้ชิดของเกียรติเอง ซึ่งวิฑูรย์ได้ให้การต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในการขออนุญาตนำเงินออกนอกประเทศครั้งนี้ไว้ว่า ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องปัญหาการนำเงินออกจากประเทศจีน เนื่องจากเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รับผิดชอบทางการตลาด เมื่อขายได้ก็ไม่จำเป็นต้องขนเงินเข้าประเทศจีนก่อน

หมากตานี้ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ทั้งลุ่มลึกและเต็มไปด้วยสายตาที่ยาวไกล

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีภาคปฏิบัติของตัวเองอย่างนี้มาตลอด เขาจะไม่ยอมกระทำในสิ่งที่เขาไม่มั่นใจเป็นอันขาด

มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อครั้งที่ธนาคารศรีนครเข้าสู่ยุคของอุเทน เตชะไพบูลย์ ภายหลังการเสียชีวิตของอื้อจือเหลียงในปี 2517 แล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่มีความมั่นใจธนาคารแห่งนี้มากนัก เขาจึงเริ่มขายหุ้นที่ตัวเองถืออยู่จำนวนหนึ่งไป พร้อมทั้งไม่ยอมซื้อหุ้นใหม่ที่ธนาคารศรีนคร ทำการเพิ่มอีก 110 ล้านบาทในเดือนตุลาคม 2518 อีกด้วย

เขาจึงเดินออกมาจากเส้นทางสายเก่า นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินเข้าสู่เส้นทางสายอุตสาหกรรมอย่างจริง ๆ จัง ๆ โดยยึดเอาธุรกิจ BASIC INDUSTRIAL ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาของเทคโนโลยีอุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นหลัก

ว่ากันว่า ความสำเร็จของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งในปัจจุบัน ไม่ได้ด้อยกว่านักธุรกิจคนใดในบ้านเราเลย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่ ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายคนโตของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะกล่าวว่า กลุ่มของเขาจะลงทุนในธุรกิจใดในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องใช้หรือพึ่งธนาคารใดธนาคารหนึ่งเลย

กว่าที่ เกียรติ จะมีจุดยืนอยู่ได้อย่างทุกวันนี้นั้น เขาได้ผ่านสิ่งต่าง ๆ มานับไม่ถ้วน เคยยืนอยู่ในช่วงระหว่างสองสิ่งที่ถูกเรียกว่า ความเป็นและความตาย ภายใต้สถานการณ์ที่สู้รบ ในสมัยที่เขาเป็นทหารให้กับกองทัพก๊กมินตั๋ง เคยอดมื้อกินมื้อ ซัดเซพเนจรอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ ในประเทศจีนอย่างไม่รู้จุดหมายปลายทางของชีวิตในช่วงสงคราม

ชีวิตของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง แตกต่างกับอีกหลาย ๆ ชีวิต และอาจจะเนื่องจากความแตกต่างอันนี้ก็ได้ที่ทำให้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้อาณาจักรของ ชิน โสภณพนิช หรือใครต่อใครในทุกวันนี้

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เป็นคนที่เรียกได้ว่า LOW PROFILE เอามาก ๆ ทีเดียว มีไม่บ่อยครั้งนักที่เขาจะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนฉบับใดฉบับหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกที่ประวัติของเขาเองถูกเผยแพร่ออกมาแต่ละครั้งในสื่อมวลชน แต่ละฉบับข้อมูลกระท่อนกระท่อนไม่ตรงกัน หรือพอจะอ้างอิงได้เลย เรียกว่า สับสนเอามาก ๆ ทีเดียว

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เขาเกิดที่ตลาดบางลี่ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2459

"ตอนนั้น พ่อแม่ของผมมีอาชีพค้าขาย ทำโรงสี ขายพวกผ้า เครื่องบวชอะไรเหล่านี้ พ่อของผมเขาเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย ครอบครัวของเราย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองไทยถึงผมก็ 3 ชั่วคนแล้ว ก๋งของผมอพยพเข้ามาจากเมืองจีน ตอนนั้นก๋งของผมเขาก็ส่งข้าวเปลือกมาให้โรงสีที่กรุงเทพเขาขาย เราเองก็ต่อมามีโรงสีขนาดเล็กๆ ขนาด 30 เกวียน…" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ซึ่งคำกล่าวเหล่านี้ของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงกับเอกสารที่เคยมีผู้บันทึไว้ !!

พรรณี บัวเล็ก ได้เขียนถึง เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง "วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ของไทย พ.ศ. 2475 - 2516" ไว้ว่า

"นายเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง หรือนายแต้เหลียงอิม บ้านเดิมอยู่มณฑลกวางตุ้ง ได้รับการศึกษาจากเซนต์สตีเฟนคอลเลจในฮ่องกง แล้วกลับไปศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนเผยอิงในกวางเจา และมหาวิทยาลัยหลิงหนัน หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาต่อที่อเมริกา นับได้ว่า นายแต้เหลียงอิมเป็นคนที่มีการศึกษาเป็นอย่างดี ในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าร่วมรบต่อต้านสงครามญี่ปุ่น โดยการเป็นนักบินให้กองทัพจีน อยู่ที่คุนหมิง และยูนาน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จึงได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย"

พรรณี บัวเล็ก เธอได้อ้างอิงข้อมูลบทความในวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จาก "ชีวประวัตินายแต้เหลียงอิม" ในสารานุกรมชาวจีนโพ้นทะเล ปี ค.ศ. 1967 ซึ่งได้ถูกบันทึกไว้เป็นภาษาจีน

ไม่ว่าคำกล่าวของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะถูกต้องและเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่เกียรติมีและทุกคนยอมรับก็คือ เขาคลุกคลีกับความเป็นคนจีนมาตลอด เริ่มตั้งแต่การศึกษา เกียรติเล่าให้ฟังว่า เขาเริ่มเรียนหนังสือ ที่โรงเรียนซีหมิง ในกรุงเทพฯ

"ผมมาเริ่มต้นเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนซีหมิง คุณหนุ่มเกินไปอาจจะไม่รู้จักซีหมิง เขาเป็นโรงเรียนเด็กที่ดังมากเมื่อสมัยก่อน คุณอุเทนก็จบจากซีหมิง ผู้ใหญ่หลายคนจบจากที่นี่"

และเล่าต่อไปว่า เมี่อจบการซีหมิงแล้ว จึงเข้าเรียนหนังสือต่อที่ฮ่องกง จบแล้วจึงไปเรียนต่อที่ซัวเถา แล้วกลับไปฮ่องกงอีกครั้งหนึ่ง

"ผมจบไฮสคูลที่โรงเรียนเผยอิง แล้วเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยหางโจว เมื่อประมาณปี 1940)" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าว

ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่ใกล้เคียงกับที่พรรณี บัวเล็ก ได้เขียนไว้ในวิทยานิพนธ์ของเธอ เนื่องจากมหาวิทยาลัยหลิงหนันที่เธอว่าไว้นั้นอยู่ในมณฑลหางโจวที่เกียรติกล่าวถึง

เกียรติ เล่าต่อไปอีกว่า เขาเรียนจบได้ประมาณ 1 ปี สงครามก็ระเบิด ญี่ปุ่นเข้ายึด เขาต้องหนีไปอยู่ที่คุนหมิง

ช่วงนี้เองเป็นช่วงที่เกียรติเล่าว่า เป็นช่วงที่ลำบากที่สุดในชีวิตของเขา จากผลของสงครามทำให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ต้องร่อนเร่ไปทั่วผืนแผ่นดินจีน เพื่อหางานทำ

"มันลำบากมาก ผมต้องต่อสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง บางวันไม่ได้กินข้าวทั้งวัน เนื่องจากเงินเดือนไม่มี เราไม่สามารถติดต่อกับทางเมืองไทยได้ เพราะตอนนั้นญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองไทยแล้ว แล้วในที่สุดก็ต้องไปสมัครเป็นทหาร" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รำพึงรำพันถึงความหลัง

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าสมัครเป็นทหารแห่งกองทัพ 14 ของก๊กมินตั๋ง ซึ่งดูเหมือนเกียรติจะมีความสุขและความภาคภูมิใจมาก เมื่อได้เล่าและพูดคุยถึงความหลังช่วงที่เขาได้เป็นนักบินแห่งกองทัพ 14 นี้

"เขาส่งผมไปอเมริกาไปหัดขับเครื่องบิน" เกียรติ กล่าวอย่างภาคภูมิใจ

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้รับยศทางทหารล่าสุดเป็นเรืออากาศตรี ก่อนที่จะเดินทางกลับสู่ประเทศไทย ภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินทางสู่ประเทศไทยโดยมีเป้าหมายบางอย่าง หากเกียรติยืนยันว่า เขาเกิดที่สุพรรณบุรี เป็นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ การกลับบ้านเกิดเมืองนอนครั้งนี้ก็ไม่ใช่การกลับบ้านอย่างธรรมดาแน่นอน และหากเชื่ออย่างที่พรรณี บัวเล็ก ว่าเอาไว้ในวิทยานิพนธ์ของเธอว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามาในช่วงนั้น เราก็ต้องเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่อย่างที่ไม่มีใครเคยเขียนว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รัภาระหน้าที่ในการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อทำการจัดตั้งธนาคารสาขาให้กับธนาคารมณฑลกวางตุ้งในประเทศไทย

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เจ้าของธนาคารมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งอยู่ที่กวางโจวนั้นเป็นพ่อตาของเขาเอง สิ่งนี้นับเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งของเขา ที่ได้ลูกสาวของเจ้าของธนาคารมณฑลกวางตุ้งเป็นภริยา

และจากข้อต่ออันนี้เองที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับเขาจนทุกวันนี้

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าสู่ประเทศไทยแล้วก็วิ่งเต้นขอใบอนุญาตในการจัดตั้งสาขาธนาคารมณฑลกวางตุ้งในประเทศไทยทันที

ใบอนุญาตการตั้งสาขาธนาคารมณฑลกวางตุ้งถูกยื่นออกมาให้กับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง อย่างไม่ยากเย็นนักในยุคที่พลเรือนตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี (ช่วงปี พ.ศ. 2489-2490)

"หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กับผมก็เหมือนญาติกัน ผมนับถือท่านเหมือนญาติคนหนึ่ง เราสนิทกันมากและผมก็นับถือท่านมากทีเดียว" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ผู้รู้หลายคนได้เล่าว่า ในยุคนั้นพลเรือนตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นคนที่ช่วยเหลือเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ในการก่อตั้งแบงก์แห่งนี้ จนกระทั่งทุกวันนี้ เกียรติก็ยังไม่เคยลืมเลือนบุญคุณของบุรุษผู้นี้ เมื่อใครพูดถึงเกียรติจะต้องเล่าให้ฟังถึงความดีของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้

"จุดกำเนิดธนาคารพาณิชย์เกือบทุกแห่งในประเทศไทยมีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือ คนมีเงินและมีความรู้ด้านธนาคารบวกกับทหารและผู้มีอำนาจในแผ่นดินยุคนั้น…" ใครคนหนึ่งกล่าวเอาไว้

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ธนาคารมณฑลกวางตุ้งก็ได้กำเนิดขึ้นในประเทศไทย เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เองก็เริ่มการก้าวย่างเข้าสู่วงจรธุรกิจด้วยการเป็นผู้จัดการแบงก์แห่งนี้ ซึ่งนับเป็นก้าวย่างแรกของเขา

"ตอนที่ผมเป็นผู้จัดการแบงก์น่ะ คุณชิน โสภณพนิช ยังเป็นกำปะโดร์อยู่เลย" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

แต่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เป็นผู้จัดการแบงก์แห่งนี้ได้ไม่นาน ก็ต้องปิดกิจการที่ตัวเองอุตส่าห์วิ่งเต้นจนได้ใบอนุญาตมา

ในปี 2492 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ในผืนแผ่นดิน เหมาเจ๋อตุงนำทัพขับไล่พรรคก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค ได้สำเร็จ

ธนาคารมณฑลกวางตุ้งในประเทศไทย ซึ่งเป็นเพียงสาขาหนึ่งก็ต้องหยุดกิจการลงทันที

ในประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็ขาดสะบั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำรัฐบาลไทยในยุคนั้นก็ประกาศนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างแข็งกร้าว

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ปิดกิจการธนาคารมณฑลกวางตุ้งไว้ชั่วคราว หากแต่ยังถือใบอนุญาตไว้ในมือ เขาเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้มีอำนาจและข้าราชการไทยในยุคนั้นเป็นอย่างดี เขารู้ว่าเขาควรจะทำอย่างไร ใบอนุญาตแผ่นดินนี้จึงจะไม่ถูกยึด

"จอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ในการต่อใบอนุญาตการจัดตั้งธนาคารให้" คนเก่าแก่คนหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ว่ากันว่า ในยุคนั้นถึงแม้จอมพล ป.พิบูลสงคราม จะเป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่ผู้ที่อยู่เบื้องหลังแห่งอำนาจจริง ๆ ก็คือ กลุ่มจอมพลผิน ชุณหุวัณ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ กับกลุ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทั้งอสงกลุ่มต่างก็แข่งขันกันแสวงหาผลประโยชน์ทั้งจากธุรกิจของรัฐ ส่วนตัว และพ่อค้ากันอย่างกว้างขวาง การดำเนินธุรกิจของทั้งสองกลุ่มนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ ใช้อิทธิพลทางการเมืองเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ ด้วยการให้ความคุ้มครอง ให้สิทธิพิเศษ มอบอภิสิทธิ์ให้ผูกขาด และหลีกเลี่ยงกฎหมาย

เมื่อใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารยังอยู่ในมือ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จึงเริ่มทำการจัดตั้งธนาคารขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งเก่า เนื่องจากครั้งนี้เกียรติขาดเงินทุนสนับสนุน

"ผมไม่มีเงิน แต่คุณอุเทน คุณอื้อจือเหลียง ขุนเศรษฐภักดี เขามีเงิน ในขณะที่ผมมีใบอนุญาตก่อตั้งธนาคารอยู่ในมือ ผมจึงชวนพวกเขามาร่วมกันก่อตั้งธนาคารขึ้นมาใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อธนาคารใหม่ว่า ธนาคารสิงขร เรียกตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แสอั้ง" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวต่อ

ธนาคารสิงขร ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ด้วยทุน 10 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 10,000 หุ้น โดยอื้อจือเหลียงถือหุ้นเอาไว้มากที่สุด คือ 1,239 หุ้น กลุ่มตระกูลเตชะไพบูลย์ ถือหุ้นมากเป็นอันดับสอง 1,113 หุ้น กลุ่มตระกูลเศรษฐีภักดีถือมากเป็นอันดับสาม 1,040 หุ้น และเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งกับบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง ถือหุ้นรวมกันมากเป็นอันดับสี่ด้วยจำนวน 473 หุ้น

"ตอนนั้น คุณเกียรติแกไม่มีเงินจริง ๆ หุ้นที่แกได้รับก็เนื่องจากว่า แกมีใบอนุญาตอยู่" แหล่งข่าวซึ่งอยู่ในธนาคารแห่งนี้มานานบอก

การก่อตั้งธนาคารสิงขรจนเป็นรูปเป็นร่างได้สำเร็จ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อธนาคารเป็นธนาคารศรีนครแห่งนี้ ได้สร้างฐานการเงินให้กับ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จนสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จในกาลต่อมา

"คุณอื้อจือเหลียงและคุณอุเทน มีลักษณะที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ การชอบช่วยเหลือคน ไม่เคยทิ้งเพื่อน และไม่เคยลืมบุญคุณคน คุณเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เขาโชคดีที่ได้รู้จักและสนิทสนมกับทั้งสองคนนี้" แหล่งข่าวคนเก่าแก่รายเดิมเล่าอีก

แต่การก่อตั้งธนาคารครั้งใหม่นี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารคนหนึ่งเท่านั้น พระยาโทณวนิกมนตรี ถูกเชื้อเชิญมาเป็นประธานกรรมการของธนาคาร โดยมีอื้อจือเหลียงเป็นรองประธานกรรมการ

มีผู้รู้ได้กล่าวถึงความอยู่รอดของธนาคารไทยและการเรืองอำนาจของทหารยุคนั้นว่า ทั้งสองฝ่ายต่างประสานผลประโยชน์กัน โดยทหารได้ฐานทางการเงินสนับสนุนอำนาจทางการเมืองและธุรกิจของตัวเอง ธนาคารได้รับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจของตัวเอง

ในช่วงนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีความสัมพันธ์สนิทสนมอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับ จอมพลผิน ชุณหะวัณ

"จอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นคนที่แนะนำให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้รู้จักกับลูกเขยชของตัวเอง คือ พันโทประมาณ อดิเรกสาร ยศของเขาขณะนั้นนะ ตอนนั้นผมจำได้ว่า จอมพลผินได้บอกกับคุณเกียรติว่า ฝากลูกเขยคนนี้ด้วยแล้วกัน" แหล่งข่าวอีกรายหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

และอาจจะเป็นความโชคดีของพลตรีประมาณ อดิเรกสาร ด้วยที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เป็นคนที่ไม่ลืมบุญคุณคนคนหนึ่งเช่นกัน

"เราจะลืมเขาได้อย่างไร เมื่อครั้งที่เขาเป็นใหญ่ เขาช่วยเหลือเรา พอเขาตกอับ จะให้เราทอดทิ้งเขาได้อย่างไรกัน" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง เคยกล่าวไว้กับ "ผู้จัดการ"

การร่วมมือกันครั้งแรกระหว่างเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และประมาณ อดิเรกสาร เริ่มต้นขึ้นเมื่อเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เริ่มก่อตั้งบริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้าขึ้น เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2496 ด้วยทุนจดทะเบียนถึง 10 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 10,000 หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท โดยเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ถือหุ้นมากที่สุดเป็นจำนวน 2,996 หุ้น สะอาด บุรณานนท์ ถือหุ้น 2,150 หุ้น เจริญ พานิชชีวะ พี่เขยของเกียรติถือหุ้นมากเป็นอันดับสาม คอื 800 หุ้น อุเทน เตชะไพบูลย์ ถือ 200 หุ้น ขุนเศรษฐภักดีถือ 210 หุ้น อื้อจือเหลียงถือ 200 หุ้น และหุ้นถูกแบ่งให้กับ พ.อ.ประมาณ อดิเรกสาร (ยศขณะนั้น) 40 หุ้น

ความแตกร้าวยังไม่มีในกลุ่มศรีนครแห่งนี้ อื้อจือเหลียง อุเทน เตชะไพบูลย์ ยังรวมตัวกันด้วยความสามัคคีและเหนียวแน่นเป็นอย่างยิ่ง ใครคนหนึ่งลงทุนธุรกิจอะไร อีกสองคนจะวิ่งเข้าช่วยด้วยเสมอ

ในสามมิตรที่สนิทสนมและรักใคร่กันนี้ อื้อจือเหลียงได้รับการยกย่องและถูกเรียกว่า ตั้วเฮีย เนื่องจากความอาวุโสมากที่สุดของเขานั่นเอง อื้อจือเหลียงเกิดที่อำเภอเยี่ยวเพ้ง มณฑลกวางตุ้ง จากคำบอกเล่าของ เกียรติ ทำให้ทราบว่า อื้อจือเหลียงผู้นี้ร่ำรวยมาจากการพ่ายแพ้สงครามของเยอรมัน เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยก่อนหน้านั้นอื้อจือเหลียงทำงานเป็นพนักงานคนหนึ่งในบริษัทพาราวินเซอร์ ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งของชาวเยอรมันที่มาค้าขายในประเทศไทยในยุคนั้น เมื่อสงครามสงบชาวเยอรมันซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทแห่งนี้ หนีออกนอกประเทศทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างตกเป็นของอื้อจือเหลียงไปโดยปริยาย

สำหรับ อุเทน เตชะไพบูลย์ นั้นถูกเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เรียกว่า ยี่เฮีย เนื่องจากอายุมากกว่าเกียรติ 3 ปี

กลับมาที่เรื่องราวของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง อีกครั้ง ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2495 พลตรีประมาณ อดิเรกสาร กำลังรุ่งเรืองอย่างโลดแล่นและก้าวกระดดดในอาชีพราชการด้วยบารมีของพ่อค้า คือจอมพลผิน ชุณหะวัณ ทำให้ได้เก้าอี้ผู้อำนวยการ ร.ส.พ.เข้ามานั่งอีกตำแหน่ง

พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ได้ให้องค์การ ร.ส.พ. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตั้งบริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ขึ้นมา แล้วทำการสนับสนุนให้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าบริหารและถือหุ้นในบริษัทแห่งนี้ถึง 40% ร่วมกับองค์การ ร.ส.พ. ที่พลตรีประมาณ อดิเรกสาร นั่งเป็นผู้อำนวยการอยู่ในขณะนั้น

การดำเนินงานของบริษัท ร.ส.พ. ประกันภัย ล้มเหลวมาตลอด ทางองค์การ ร.ส.พ.จึงมีมติให้เลิกบริษัทนี้ เมื่อองค์การ ร.ส.พ. เลิก เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็ทำการเข้าครอบครองหุ้นทั้งหมดเกือบ 100% เต็ม ที่เหลืออีกนิดหน่อยก็เป็นของญาติมิตรเพื่อนของเกียรติเอง

นับแต่นั้นมา ความสัมพันธ์ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร จึงสนิทสนมแน่นมาตลอด ทำธุรกิจด้วยกันและช่วยเหลือกันมาตลอด

"จะไม่ให้เขาสนิทกันมากได้อย่างไร ก็ในเมื่อเขาโตกันมาด้วยกัน ตั้งแต่เมื่อ 30 กว่าปีก่อนที่ร่วมกันทำ ร.ส.พ.ประกันภัยนั่น" สมบัติ พานิชชีวะ หลานชายของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ในบันทึกประวัติขององค์การ ร.ส.พ. หน่วยงานของรัฐแห่งนี้ได้บอกเอาไว้ว่า บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัดนั้น ขาดทุนมาตลอด ทางองค์การจึงถอนหุ้นหรือเลิกดำเนินการ

แต่คนรุ่นหลังและใกล้ชิดกับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กลับกล่าวว่า เกียรติ และพลตรีประมาณเติบโตมาด้วยกันที่นี่ เป็นข้อมูลที่ขัดแย้ง ซึ่งชี้ให้เห็นอะไรบางอย่างของการดำเนินงานในรัฐวิสาหกิจไทยในช่วงนั้น

ความสัมพันธ์ที่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีกับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร นับวันก็ยิ่งลึกซึ้ง ในช่วงที่อำนาจทางการเมืองแทบจะเป็นของกลุ่มผิน ชุณหะวัณ (ก่อนปี 2500) อยู่นั้น เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เริ่มเดินเข้าสู่อาณาจักรอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกโดยร่วมกับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร ร่วมกันก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมทอผ้าไทย จำกัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2497

อำนาจทางการเมืองในขณะนั้น แบ่งออกเป็นสองขั้ว ขั้วหนึ่งเป็นกลุ่มของกลุ่มซอยราชครู อันประกอบด้วยจอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นแกนนำ กับอีกขั้วหนึ่งเป็นกลุ่มสี่เสาเทเวศน์ ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นแกนนำ นักธุรกิจในยุคนั้นจำเป็นต้องเลือกเอาขั้วใดขั้วหนึ่งเท่านั้นที่จะมาให้ความคุ้มครองแก่ธุรกิจของตน

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง อิงซอยราชครูเอาไว้อย่างแนบแน่น บริษัทอุสาหกรรมทอผ้าไทย จำกัด ดำเนินธุรกิจไปได้เพียง 3 ปี เรียกว่า บริษัทอุตสาหกรรมทอผ้าไทย เพิ่งสร้างโรงงานเสร็จได้ไม่นาน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ทำการรัฐประหารจอมพลผิน ชุณหะวัณ กลุ่มซอยราชครูก็ต้องหมดอำนาจลง จอมพลผินต้องหนีออกนอกประเทศ

ช่วงนี้เอง ความยิ่งใหญ่ทางอำนาจของพลตรีประมาณ อดิเรกสาร จบสิ้น นี่เป็นจุดหนึ่งของคำถามที่ว่า ทำไมบริาทอุตสาหกรรมทอผ้าแห่งนี้จึงไม่รุ่งเรืองเท่าที่ควร

ทั้งประมาณและเกียรติในขณะนั้น ไม่ใช่นักอุตสาหกรรมที่มีความเชี่ยวชาญเพียงแต่ตั้งบริษัทเหล่านี้ขึ้นมาเพียงเพื่อหวังให้อำนาจทางการเมืองเป็นตัวกรุยทางเท่านั้น

ถึงแม้ประมาณ อดิเรกสารจะตกอับในช่วงนั้น เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็ไม่ถึงกับตกอับลงไปด้วย อาจจะมีการชะงักบ้างนิดหน่อย เกียรติยังมีธนาคารศรีนครอยู่ข้างหลัง ยังมีบริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้า ยังมีบริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย ซึ่งเป็นฐานที่สร้างอำนาจทางการเงินให้กับเกียรติอยู่

ความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เริ่มต้นเมื่อเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเริ่มมีความสนใจในอุตสาหกรรมกระจก ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีใครสามารถผลิตได้ กระจกในประเทศยุคนั้นถูกนำเข้ามาจากไต้หวันเป็นส่วนใหญ่

"อุตสาหกรรมกระจกเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่สูง คุณเกียรติเขาคิดในตอนแรกว่าจะร่วมลงทุนกับไต้หวัน ใช้เทคโนโลยีของไต้หวัน ตอนนั้นจึงได้เชิญพวกไต้หวันมาถือหุ้นด้วย" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ปีนั้นเป็นปี 2506 ซึ่งเป็นช่วงปลายแห่งยุคสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก่อตั้งบริษัท กระจกไทย จำกัด ขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 12 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 12,00 หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท โดยเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้อง คือ บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง น้องชายของเกียรติ และไพบูลย์ พานิชชีวะ กับสมบัติ พานิชชีวะ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวคนโตของเกียรติ รวมทั้งบริษัทในเครือของเกียรติ อันมี บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด บริษัท บุญศรีพานิช จำกัด (บริษัทค้าไม้ของเกียรติ) บริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้า จำกัด บริษัท โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์ จำกัด เหล่านี้ถือหุ้นรวมกันทั้งหมดเป็นจำนวน 9,795 หุ้น หรือประมาณ 81.6% ของหุ้นทั้งหมด โดยเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งถือหุ้นไว้มากที่สุด คือ 3,395 หุ้น

หุ้นที่เหลือนอกจากนั้นเป็นของ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร อุเทน เตชะไพบูลย์ คนละ 500 หุ้น ที่เหลืออีกจำนวนหนึ่งถูกแบ่งให้กับชาวไต้หวันที่จะมาร่วมลงทุนด้วย

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เองก็ยังใช้สไตล์เก่าของตัวเอง คือ ไม่อาจทอดทิ้งผู้มีอิทธิพลทางการเมืองได้ในขณะที่ทำธุรกิจ เขาจึงได้เชิญทองดุลย์ ธนะรัชต์ น้องชายของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้กุมอำนาจทางการเมืองทั้งหมดไว้ในมือในยุคนั้น เข้าร่วมถือหุ้นด้วยเป็นจำนวน 500 หุ้น (ไม่ขอยืนยันว่าเป็นหุ้มลมหรือไม่)

ทองดุลย์ ธนะรัชต์ ไม่เพียงได้รับเชิญเป็นผู้ถือหุ้นอย่างเดียวเท่านั้น ยังได้เป็นกรรมการบริหารในบริษัท กระจกไทย จำกัด แห่งนี้อีกด้วย และบริษัทแห่งนี้ก็ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลในสามเดือนต่อมาภายหลังการก่อตั้งบริษัท

อย่างไรก็ดี การติดต่อกับทางไต้หวัน ซึ่งจะให้มาเป็นผู้ร่วมทุนในฐานะเจ้าของเทคโนโลยี มีปัญหาบางอย่างถึงปี 2507 แล้วโรงงานผลิตกระจกซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ.เรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเป็นรูปเป็นร่าง

ในที่สุด เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เปลี่ยนท่าทีใหม่ด้วยการหันหน้าไปทางญี่ปุ่น

บริษัท อาซาฮีกลาส จำกัด แห่งญี่ปุ่น มีความสนใจที่จะมาร่วมลงทุนด้วย แต่มีข้อแม้ว่า ตัวเองจะต้องมีหุ้นอยู่ในบริษัทกระจกนี้อย่างน้อย 50% เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็ยอมตกลงด้วย

ในรายงานการประชุมสามัญครั้งที่ 2 ของบริษัท กระจกไทย จำกัด เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2507 มีบันทึกรายงานการประชุมกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

"ในการตั้งโรงงานผลิตกระจกแผ่นเรียบนั้น คณะกรรมการได้ประชุมปรึกษากัน และมีความเห็นสอดคล้องเป็นเอกฉันท์ว่า ควรจะร่วมทุนกับบริษัท อาซาฮีกลาส จำกัด แห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญในการผลิตกระจกแผ่นเรียบมาเป็นเวลานานแล้ว และวิธีในการร่วมทุนก็คือ ให้ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยทุกคนโอนหุ้นของตนขายให้แก่บริษัทอาซาฮีกลาสจำกัด คนละครึ่งในราคาเท่ามูลค่าหุ้นเดิม เมื่อได้ทำการตามที่เสนอนี้แล้ว บริษัทอาซาฮีกลาส จำกัด ก็จะเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเป็นจำนวนร้อยละ 50"

แล้วก็ทำการเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท กระจกไทย-อาซาฮี จำกัด ในการประชุมวันนั้น

การลงหลักปักฐานที่นี่ แทบจะเรียกได้ว่า ที่นี่ ที่บริษัทกระจกไทย-อาซาฮีแห่งนี้ เป็นเสมือนเส้นสายโลหิตใหญ่ที่หล่อเลี้ยง เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้องของตัวเองในกาลต่อมา

บริษัท กระจกไทย-อาซาฮี ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นบริษัทที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าไปร่วมบริหารอย่างจริง ๆ จัง ๆ มากที่สุด กิจการหลายอย่างที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีในทุกวันนี้มาจากบริษัทนี้เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ไทยเซฟตี้กลาส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตกระจกนิรภัยรถยนต์ของเขา บริษัทไทยอาซาฮีโซดาไฟ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตโซดาแอชให้กับบริษัทกระจกไทยอาซาฮี บริษัท ศรีเสรีขนส่ง ซึ่งเป็นบริษัทที่เกียรติ และกลุ่มตระกูลพานิชชีวะก่อตั้งขึ้นมา ให้ทำหน้าที่ขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานกระจกไทยอาซาฮี บริษัทกระจกไทยและการตลาดที่เกียรติตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนจำหน่ายกระจกจากบริษัทกระจกไทยอาซาฮี จำกัด

เกือบทั้งหมด ยกเว้นบริษัท ไทยเซฟตี้กลาส และไทย-อาซาฮีโซดาไฟที่ร่วมกับอาซาฮีกลาสแล้ว ทุกบริษัทล้วนเป็นของเกียรติ และตระกูลพานิชชีวะทั้งนั้น ผลประโยชน์จากบริาทกระจกไทย-อาซาฮีที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ร่วมทุนกับญี่ปุ่นจึงมหาศาล

"มีสักกี่คนในประเทศไทยที่ร่วมลงทุนกับญี่ปุ่นแล้วไม่เสียเปรียบอย่างเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวชม เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง

ปีหนึ่ง ๆ บริษัทกระจกไทย-อาซาฮี ทำรายได้เฉลี่ยปีละประมาณหนึ่งพันล้านบาท มีกำลังการผลิตถึง 4 ล้านกว่าหีบต่อปี

รายได้ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งและญาติพี่น้องในบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีจึงมหาศาล ถึงแม้บางปีที่ถูกกระจกต่างประเทศเข้ามาตีตลาดจนบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีขาดทุน แต่บริษัทต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วไม่ขาดทุนแน่นอน ไม่ว่าบริษัทนั้นจะเป็นบริษัทขนส่งวัตถุดิบ บริษัทขนส่งสินค้ากระจก บริษัทผู้แทนจำหน่าย ก็ตาม

สาเหตุประการหนึ่งก็คือ กระจกไทย-อาซาฮี เป็นบริษัทผู้ผูกขาดการผลิตกระจกในประเทศไทยจนทุกวันนี้ แม้จะมีกระจกจากต่างประเทศเข้ามาตีบ้างในบางปี แต่ก็เป็นการแข่งขันกันทางด้านราคาเท่านั้น เป็นลักษณะเข้ามาแล้วหายไป เข้ามาแล้วหายไปเหมือนตีหัวเข้าบ้าน

"ตลาดเมืองนอก มันมักล้นตลาดอยู่เสมอ พอมันล้นตลาด เขาก็จะส่งเข้ามาขายในประเทศไทย ในราคาถูกกว่าความเป็นจริง เราเป็นเจ้าตลาดอยู่เราก็ต้องผลิตของเราทุกปี หยุดไม่ได้ เมื่อหยุดไม่ได้มันก็ต้องแข่งด้านราคากัน" วิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

กล่าวไปแล้ว ไม่เพียงกิจการต่าง ๆ ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ที่กำเนิดขึ้นเหล่านั้นจะมีผลต่อนเองมาจากกระจกไทยอาซาฮีเท่านั้น แม้แต่การได้ไปลงทุนในจีนครั้งนี้ (ปี 2530) สาเหตุก็เนื่องจากกระจกไทยอาซาฮีเช่นกัน

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ตัวเขาเองนั้นไปประเทศจีนบ่อย เนื่องจากจีนเป็นลูกค้ากระจกไทย-อาซาฮีรายใหญ่ ความสนิทสนมมีมากขึ้น เมื่อทางรัฐบาลมีความสนใจด้านอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแผ่นเรียบ ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาดุงานการผลิตที่โรงงานกระจกไทย-อาซาฮีแห่งนี้ แล้วจึงได้ชักชวนเกียรติ ไปลงทุนผลิตกระจกในจีน

"เจ้าหน้าที่ที่มาดูโรงงานเขาก็เห็นว่า ขนาดเมืองไทยเมืองเล็ก ๆ อย่างนี้ ยังมีเทคนิคสูง โรงงานก็ใหญ่ขนาดนี้ มีตั้ง 3 โรงงาน เขาก็ชักชวนว่าไปร่วมลงทุนกับรัฐบาลจีนในประเทศเขามั้ย เราก็บอกว่าลงทุนเยอะนะ เขาบอกว่าไม่เป็นไร ก็ขอให้คุณนำไอ้ที่เรียกว่าระบบโฟลท ที่เรียกว่าเป็นการผลิตที่ทันสมัยไปก็แล้วกัน" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เล่าให้ฟัง

นี่ก็เป็นเพราะชื่อเสียงของกระจกไทย-อาซาฮีอีกที่ได้ไปลงทุนในจีนครั้งนี้

และการลงทุนครั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าเป็นบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีไปลงทุน หากแต่เป็นการลงทุนส่วนตัวของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้อง

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่มีเทคโนโลยี เนื่องจากญี่ปุ่นหรืออาซาฮีกลาส ไม่ได้ไปร่วมลงทุนด้วย เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งวางหมากตานี้ไว้แล้ว หากร่วมลงทุนกับอาซาฮีกลาสของญี่ปุ่น ทุกสิ่งทุกอย่างก็ยังคงเดิม ตลาดก็ไม่ได้กว้างขวางขึ้น เขาจึงหันหน้าไปทางสหรัฐอเมริกาติดต่อไปยังพีพีจี อินดัสเตรียล (PITTSBURGH PLATE GLASS CO., LTD.) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตกระจกแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด

เรื่องการติดต่อเป็นเรื่องที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ถนัดมาก เขาเป็นคนที่มีความกว้างขวางมากในวงการธุรกิจต่างประเทศ การที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไปต่างประเทศแทบจะทุกสัปดาห์ก็เนื่องจากสาเหตุนี้ การทำงานของเขาขณะนี้เน้นหนักที่การสร้างคอนเนคชั่นทำความรู้จักกับนักธุรกิจต่างประเทศแทบทุกวัน

สมบัติ พานิชชีวะ ผู้ทำงานใกล้ชิดกับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มากที่สุดคนหนึ่ง กล่าวชมเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งว่า เกียรติเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจับแพะชนแกะได้เป็นอย่างดียิ่ง มีความสามารถสูงในการชักนำผู้ร่วมลงทุนจากต่างประเทศโดยที่ตัวเองไม่เคยเสียเปรียบ และมีความสามารถสูงในการตัดสินใจ

การตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตกระจกไทย-อาซาฮีนั่นเป็นมุขหนึ่งที่ชี้ถึงการตัดสินใจที่ฉลาดในการมองถึงผลประโยชน์จากธุรกิจต่อเนื่องของตัวเอง

แต่เกียรติ ก็หาใช่ว่าจะไม่เคยผิดพลาดและพลาดหวัง ความล้มเหลวของตัวเองในธนาคารศรีนครคือตัวชี้ตัวหนึ่ง

ก่อนหน้าที่ อุเทน เตชะไพบูลย์ จะขึ้นนั่งในตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารศรีนคร (พ.ศ. 2517) ใคร ๆ ก็รู้ว่าเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินเข้าเดินออกที่ธนาคารแห่งนี้แทบทุกวัน ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นตัวของเกียรติเองก็เริ่มจะมีธุรกิจของตัวเองอยู่มากมายแล้ว แต่หลังจากที่อุเทน เตชะไพบูลย์ตัดสินใจยึดสองตำแหน่งในธนาคารแห่งนี้แล้ว หลังจากนั้น เกียรติก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับที่นี่อีกมากนักเลย คงปล่อยให้บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง น้องชายของตัวเองมีชื่อในตำแหน่งกรรมการบริหารแทนตัวเองเท่านั้นเอง

แต่เกียรติเองก็หาใช่ว่าจะทิ้งธุรกิจไฟแนนซ์ไปเลย ภายหลังจากออกจากธนาคารศรีนครแล้ว เขาจึงหันไปทุ่มเทให้กับธุรกิจของตัวเอง โดยมีบริษัทไฟแนนซ์ที่ใหญ่และมั่นคงของตัวเอง คือ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ทรัสต์ ซึ่งชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายคนที่สองของตัวเองได้บุกเบิกเอาไว้

"เมื่อก่อนนี้ บริษัทคาเธ่ย์เขาทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงหนัง คุณคงรู้จักโรงหนังคาเธ่ย์ โดยคุณพ่อเขาร่วมกับคุณอุเทน คุณอื้อจือเหลียง อะไรเหล่านี้ ต่อมาเขาก็ขายโรงหนังไป แล้วใช้ชื่อบริษัททำเป็นบริษัทโฮลดิ้ง คอมปะนี ผมจึงเข้าไปเปลี่ยนใบอนุญาตให้มาเป็นทรัสต์จนกระทั่งทุกวันนี้" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายคนที่สองของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ผู้เอาจริงเอาจังกับธุรกิจทางการเงิน และเป็นลูกชายของเกียรติคนเดียวที่ทุ่มเทให้กับธุรกิจไฟแนนซ์อย่างจริงจังกล่าว

ภายหลังการเดินออกจากธนาคารศรีนครของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง แล้ว บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งว่ากันว่าเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเป็นผู้ที่ทุ่มเทให้กับที่นี่อย่างเต็มที่ จนในปัจจุบัน ถ้ากล่าวถึงคาเธ่ย์กรุ๊ปแล้วก็จะหมายถึงกลุ่มของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งและญาติพี่น้องไปแล้ว

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินออกจากธนาคารศรีนครเมื่อปี 2518 แล้วหันหน้าไปเอาจริงเอาจังกับคาเธ่ย์ทรัสต์ เขาคิดจะสร้างตึกที่ทำการใหญ่ให้กับคาเธ่ย์ทรัสต์ ครั้งแรกเกียรติเล็งไปบนที่ดินบนถนนสีลมและเลือกเอาที่ดินฝั่งตรงข้ามกับเซ็นทรัลชิดลม

การติดต่อซื้อขายที่ดินกำลังจะเสร็จสมบูรณ์ ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เข้ามาท้วงติงว่า ทำไมต้องซื้อที่ดินตรงนี้ เสียเวลาในการก่อสร้างตึกอีก ทำไมไม่ไปซื้อที่เขาสร้างเสร็จแล้ว เอสโซ่เขากำลังบอกขายตึกของเขาอยู่ ถ้าไปซื้อตึกเอสโซ่ เอสโซ่เขาก็จะกลายเป็นผู้เช่าไปทันที พื้นที่ที่เหลืออีก 50 เปอร์เซ็นต์ ทางกลุ่มก็ใช้ประโยชน์ได้เต็มเนื้อที่พอดี

ในขณะนั้น อเมริกากำลังพ่ายแพ้จากสงครามในอินโดจีนอย่างยับเยิน นักธรุกิจอเมริกันและต่างชาติในประเทศไทยต่างหวาดกลัวต่อทฤษฎีโดมิโน บริษัทเอสโซ่ สแตนดาร์ด ก็เป็นเช่นเดียวกัน พวกเขาจึงประกาศขายตึกสูง 14 ชั้นบนถนนพระรามสี่ใกล้สี่แยกวิทยุ ซึ่งเป็นที่ทำการใหญ่ของเอสโซ่ในประเทศไทย

ด้วยสาเหตุนี้เอง ที่ทำให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ทิ้งที่ดินบนถนนสีลมแห่งนั้นหันมาให้ความสนใจกับตึกเอสโซ่ทันที

การซื้อขายตกลงกันด้วยราคา 88 ล้านบาท โดยเอสโซ่ขอเป็นผู้เช่าตึกเป็นที่ทำการใหญ่ส่วนหนึ่ง

"ผมซื้อได้ถูกมากทีเดียว ตึกนี้เป็นตึกที่ได้มาตรฐานมาก" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ด้วยความภูมิใจ

ตึกเอสโซ่ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอาคารคาเธ่ย์นับแต่วันนั้น

เล่ากันว่า เมื่อครั้งที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ซื้อตึกแห่งนี้นั้น มีหลายกลุ่มที่เข้ามาแข่งขันซื้อด้วย กลุ่มที่เข้ามาติดต่อซื้อก็มี ธนาคารทหารไทย กลุ่มลูก ๆ ของอื้อจือเหลียง สุขุม นวพันธ์ เป็นต้น แต่เนื่องจากคนเหล่านั้นมองและเข้าใจเหตุการณ์เป็นอย่างดีว่า ทำไมเอสโซ่จึงขายตึกแห่งนี้ พวกเขาจึงทำการต่อรองราคากับทางเอสโซ่

แต่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่ได้มาฟอร์มนั้น พอทราบว่าทางเอสโซ่จะขายในราคา 88 ล้านบาท เกียรติก็ใจป้ำซื้อทันทีเลยเช่นกัน

มีหลายคนกล่าวว่า ขณะนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กำลังเดินสู่เส้นทางสายเก่า ไม่เพียงเดินทางไปปักหลักในประเทศจีนเท่านั้น หากแต่ยังพยายามเดินสู่ธุรกิจธนาคารที่ตัวเองเคยทอดทิ้งมาแล้วอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2528 ธนาคารมหานครมีปัญหาอย่างรุนแรง คำรณ เตชะไพบูลย์ หนีออกนอกประเทศ ธนาคารชาติต้องเข้าโอบอุ้งพยุงไม่ให้ธนาคารล้ม พร้อมประกาศขายหุ้น เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเฝ้าจับตามองอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อราคาหุ้นตกลงมาเหลือแค่หุ้นละ 5 บาท เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง พร้อมญาติพี่น้งอทั้งตระกูลศรีเฟื่องฟุ้งและพานิชชีวะไม่รอช้า ทำการซื้อหุ้นในธนาคารแห่งนี้ไว้ทันทีเป็นจำนวนกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของหุ้นทั้งหมดพร้อมทั้งส่ง ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายของเกียรติ เข้าเป็นกรรมการบริหารธนาคารและนั่งอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีหน้าที่ดูแลกิจการสาขาธนาคารมหานครจนทุกวันนี้

"คุณดูตัวเลขการเติบโตของธนาคารของเรา อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารของเราทั้งสินเชื่อและเงินฝากมันเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 กว่าเปอร์เซ็นต์" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ซึ่งนับเป็นอัตราตัวเลขที่เพิ่มสูงมากทีเดียว เพราะในปีนี้ถ้าพูดไปแล้วอย่างธนาคารกรุงเทพมีอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก 5 เปอร์เซ็นต์ และสินเชื่อเพิ่มขึ้นเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

มีข้อสงสัยก็คือ กลุ่มศรีเฟื่องฟุ้ง และกลุ่มหลาน ๆ ของเกียรติเอง คือ กลุ่มพานิชชีวะ ทุ่มเทเงินฝากในธุรกิจตัวเองซึ่งมีอยู่นับพัน ๆ ล้านจนเกือบหมื่นล้านบาทเข้าสู่ธนาคารแห่งนี้ด้วยหรือเปล่า และทำการใช้สินเชื่อจากธนาคารแห่งนี้ในการลงทุนธุรกิจของตัวเองหรือไม่

"ไม่ใช่ ผมบอกคุณตรง ๆ ได้เลยว่า กลุ่มของเราไม่จำเป็นต้องพึ่งธนาคารเลย การที่เราเข้ามาถือหุ้นก็เนื่องจากเราต้องการเข้ามาช่วยสถาบันการเงินเท่านั้น" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ให้สัมภาษณ์กับ "ผู้จัดการ" ในเย็นวันหนึ่งที่ธนาคารมหานคร

ไม่เพียงที่ธนาคารมหานครเท่านั้นที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และทางกลุ่มเข้าร่วมกว้านซื้อหุ้นไว้ที่ธนาคารนครหลวงไทยก็เช่นเดียวกัน เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้องต่างเข้ากว้านซื้อหุ้นที่นี่ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2529 จนในปัจจุบันว่ากันว่า เมื่อธนาคารนครหลวงไทยประกาศขายหุ้นออกใหม่อีกครั้งเมื่อตอนต้นปี 2530 เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้ซื้อสิทธิ์ในการจองหุ้นจากเสี่ยเม้งหรือมงคล กาญจนพาสน์ เป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท

อย่างนี้แล้วจะไม่ให้ผู้คนในวงการต่างมองเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งว่า กำลังเดินทางกลับสู่เส้นทางสายเก่าได้อย่างไรเล่า

ทุกวันนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ยืนอยู่ด้วยความมั่นคงในอาณาจักรนับหลายพันล้านของตัวเอง เขาเป็นทั้งผู้นำกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้ง และตระกูลพานิชชีวะ ซึ่งไม่อาจแยกกันได้

"พานิชชีวะทุกคนเขาก็เหมือนลูก ๆ ของผม พวกเขาเป็นลูก ๆ ของพี่สาวของผม เมื่อพี่สาวและพี่เขยของผมเสียชีวิตลง ผมก็เอาพวกเขามาเลี้ยงเหมือนลูก ผมก็มีหน้าที่คอยดูแลพวกเขาอยู่ต่อไป" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ภายหลังการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยแล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ประสบความสำเร็จและล้มเหลวนับครั้งไม่ถ้วน มีไม่กี่คนที่ทราบว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ผู้นี้เป็นเจ้าของธนาคารศรีนครเป็นคนแรก ในวันนี้อาณาจักรนับหลายพันล้านบาทของเกียรติเริ่มที่จะคับแคบไปแล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ตัดสินใจกลับสู่ประเทศจีนอีกครั้ง ครั้งนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ยอมขนเงินออกจากประเทศไทยเพือ่เข้าร่วมลงทุนกับรัฐบาลจีนสร้างโรงงานผลิตกระจกมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านบาท ที่นั่นเขากล่าวย้ำกับ "ผู้จัดการ" ว่า "มันเป็นความภาคภูมิใจและมีความหมายที่สุดในชีวิตของผม" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เริ่มเดินทางสู่เส้นทางสายเก่า เส้นทางสายที่เขาเคยทอดทิ้งมา โดยนอกเหนือจากการกลับเข้าสู่ในประเทศจีนอีกครั้งแล้ว ในประเทศไทย เกียรติยังกลับเข้าสู่ธุรกิจธนาคารที่เขาเคยทอดทิ้งมาแล้วอีกด้วยเช่นกัน

เหตุเกิดที่ SHEKOU, SHENZHEN SPECIAL ECONOMIC ZONE CHINA

วันที่ 2 กันยายน 2530 ดูเหมือนเป็นวันที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะต้องจดจำไปอีกนาน เพราะวันนี้เป็นวันทำพิธีเปิดโรงงานกระจก GUANGDONG FLOAT GLASS CO., LTD. ซึ่งเป็นโรงงานผลิตกระจกโฟลทแห่งแรกในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

"ถ้าคุณได้ไปร่วมในพิธี คุณก็จะเห็นธงชาติไทยสบัดพลิ้วเคียงคู่กับธงของสองอภิมหาอำนาจอย่างจีนและอเมริกา มันน่าภาคภูมิใจ และมันก็มีความหมายที่สุดในชีวิตผม" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ย้ำกับ "ผู้จัดการ"

ในวันทำพิธีเปิดโรงงานมูลค่าเกือบ 3,000 ล้านบาทแห่งนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลงทุนเชิญผู้ใหญ่คนใกล้ชิดสนิทสนมหลายคนบินไปร่วมงานด้วย ไม่ว่าจะเป็น พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ รองนายกรัฐมนตรีและประธานสมาคมมิตรภาพไทย-จีน เดช บุญหลง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง สมาน โอภาสวงศ์ รองประธานหอการค้าไทย บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง ประธานหอการค้าไทยจีน (น้องชายเกียรติ) สุชัย วีระเมธีกุล ประธานบริษัทเอ็มไทย อุตสาหกรรม จำกัด เป็นต้น

มิหนำซ้ำ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ยังลงทุนเชิญและหอบหิ้วสื่อมวลชนในประเทศไทยไปทำข่าวเพื่อกลับมาทำซัพพลีเม้นท์ โดยมีทั้งหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ซินเสียน เยอะเป้า และไทยทีวีสีช่อง 9

"ซัพพลีเมนท์ออกมาเป็นแสนฉบับเลย" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ" อีก

คงจะเป็นงานที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ภาคภูมิใจมากที่สุดจริงๆ ทั้ง ๆ ที่เงินที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ขนไปลงทุนในครั้งนี้ เป็นจำนวนเงินประมาณ 600 ล้านบาทเท่านั้น สำหรับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งแล้ว การลงทุนครั้งนี้ ไม่ใช่การลงทุนครั้งใหญ่ที่สุด แต่การลงทุนครั้งนี้กลับสร้างความภาคภูมิใจให้กับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มากที่สุดในชีวิต

"เมื่อก่อนนี้ ผมสู้เขาไม่ได้ อเมริกา หรือบริษัท พีพีจี อินดัสเตรียล ที่มาร่วมลงทุนกับผมนั้น เขาเป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีสูงและใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ ในอุตสาหกรรมกระจก เมื่อก่อนผมสู้เขาไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้ผมสามารถตกลงกับเขาได้และอยู่ในสภาพที่สามารถต่อสู้กับต่างประเทศได้แล้ว ต่อไปผมก็สามารถแชร์ตลาดแบ่งกับเขาได้ ไม่ต้องมาแย่งกันอีก" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ความภาคภูมิใจของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่เพียงอยู่ที่การได้ร่วมลงทุนกับบริษัท พีพีจี อินดัสเตรียล เท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงความภาคภูมิใจแห่งการได้กลับคืนมาสู่มาตุภูมิเก่าของตัวเองอย่างยิ่งใหญ่ และรวมไปถึงก้าวย่างอีกก้าวใหญ่ของธุรกิจของเขาอีกด้วย

วิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร ผู้ดูแลด้านการเงินและคนใกล้ชิดที่สุดของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้ให้ทัศนะในการลงทุนครั้งนี้กับ "ผู้จัดการ" ว่า ถึงแม้ว่าทุกวันนี้บริษัทกระจกไทย-อาซาฮีของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะเป็นผู้ผลิตกระจกในประเทศไทยเพียงเจ้าเดียวอยู่ก็ตาม แต่กระจกไทย-อาซาฮีก็ประสบปัญหามาก เมื่อมีกระจกจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด เนื่องจากกระจกที่เข้ามาตีตลาดส่วนใหญ่จะมีราคาถูก เพราะว่าเป็นกระจกที่เหลือจาการขายในประเทศของเขาแล้ว

"อย่างทางประเทศจีน ถ้าเขาเกิดผลิตได้ขึ้นมาแล้ว เราไม่ได้ร่วมกับเขา เขาก็ต้องแย่งตลาดเราหมดแน่ เนื่องจากจีนเขามีน้ำมัน น้ำมันเขาราคาถูกมาก ทรายเขาก็มี แรงงานเขาก็ราคาถูก ก็จะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด เพราะฉะนั้นแทนที่จะปล่อยให้เขามาแย่งตลาดเราไป เราก็ไปร่วมลงทุนกับเขาเสียเลย" วิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร กล่าว

คำกล่าวของวิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร ดูจะเป็นคำกล่าวที่มีเหตุผลสมบูรณ์ที่สุด แต่ก็ยังมีนักธุรกิจคนจีนเก่าแก่หลายคนได้กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เหมือนกับนักธุรกิจคนจีนอื่น ๆ ทั่วไป เมื่อกลับบ้านได้ก็อยากกลับไปตายที่เมืองจีนมากกว่า ซึ่งเป็นลักษณะของ NEW OVERSEA CHINESS ในปัจจุบัน

การลงทุนครั้งนี้ของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จึงเป็นก้าวย่างที่ยิ่งใหญ่อีกก้าวหนึ่งของเกียรติ ถึงแม้เขาจะถือหุ้นอยู่ในบริษัทกระจกโฟลทในประเทศจีนแห่งนี้ เพียง 25% โดยรัฐบาลจีนถือหุ้นอีก 50% และพีพีจี ถืออีก 25% ก็ตาม แต่จากการที่ทั้งสามฝ่ายได้ตกลงให้พีพีจี รับผิดชอบในด้านเทคโนโลยีทางการผลิต และให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รับผิดชอบทางด้านการตลาดนั้น ได้สร้างผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างมหาศาลแก่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง

ประการแรก - เป็นหลักประกันได้ว่า บริษัทที่มีเทคโนโลยีสูงแห่งนี้ จะไม่แย่งตลาดของกระจกไทย-อาซาฮี ซึ่งเป็นบริษัทของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง

ประการที่สอง - โรงงานกระจกแห่งใหม่นี้ จะสามารถเป็นเครื่องมือในการใช้ถล่มกลุ่มผู้ผลิตรายอื่นที่จะเข้ามาแย่งตลาด ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศของกระจกไทยอาซาฮี ซึ่งความจริง หมากตานี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งก็เคยใช้มาแล้วในประเทศไทย คงไม่ปฏิเสธว่า การที่บริษัทกระจกไทย-อาซาฮีผูกขาดการผลิตกระจกอยู่ในประเทศไทยเพียงรายเดียวนั้น ก็เนื่องจากการใช้กลยุทธ์ทางด้านราคา อาศัยเทคโนโลยีที่สูง ต้นทุนที่ต่ำ ลดราคาลงมาแข่งขัน จนคู่แข่งขันเจ๊งและไม่มีโอกาสได้เกิด กระจกไทย-อาซาฮี จึงยืนอยู่ได้แต่ผู้เดียวในทุกวันนี้ และตอนนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็กำลังเดินหมากตานี้บดขยี้คู่แข่งในต่างประเทศอีกครั้ง

ประการที่สาม - การได้กุมตลาดไว้นั่นเท่ากับเป็นการสร้างหลักประกันว่า เมื่อขายกระจกออกนอกประเทศจีนแล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งและญาติมิตรของตัวเองที่เข้าร่วมลงทุนด้วยคือ กลุ่มพานิชชีวะ ต้องได้เงินทุนคืนแน่ ซึ่งเหตุผลข้อนี้อ้างได้จากคำให้การของวิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร คนใกล้ชิดของเกียรติเอง ซึ่งวิฑูรย์ได้ให้การต่อธนาคารแห่งประเทศไทยในการขออนุญาตนำเงินออกนอกประเทศครั้งนี้ไว้ว่า ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องปัญหาการนำเงินออกจากประเทศจีน เนื่องจากเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รับผิดชอบทางการตลาด เมื่อขายได้ก็ไม่จำเป็นต้องขนเงินเข้าประเทศจีนก่อน

หมากตานี้ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ทั้งลุ่มลึกและเต็มไปด้วยสายตาที่ยาวไกล

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีภาคปฏิบัติของตัวเองอย่างนี้มาตลอด เขาจะไม่ยอมกระทำในสิ่งที่เขาไม่มั่นใจเป็นอันขาด

มีอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อครั้งที่ธนาคารศรีนครเข้าสู่ยุคของอุเทน เตชะไพบูลย์ ภายหลังการเสียชีวิตของอื้อจือเหลียงในปี 2517 แล้ว เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่มีความมั่นใจธนาคารแห่งนี้มากนัก เขาจึงเริ่มขายหุ้นที่ตัวเองถืออยู่จำนวนหนึ่งไป พร้อมทั้งไม่ยอมซื้อหุ้นใหม่ที่ธนาคารศรีนคร ทำการเพิ่มอีก 110 ล้านบาทในเดือนตุลาคม 2518 อีกด้วย

เขาจึงเดินออกมาจากเส้นทางสายเก่า นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินเข้าสู่เส้นทางสายอุตสาหกรรมอย่างจริง ๆ จัง ๆ โดยยึดเอาธุรกิจ BASIC INDUSTRIAL ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาของเทคโนโลยีอุตสาหกรรมภายในประเทศเป็นหลัก

ว่ากันว่า ความสำเร็จของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งในปัจจุบัน ไม่ได้ด้อยกว่านักธุรกิจคนใดในบ้านเราเลย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่ ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายคนโตของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะกล่าวว่า กลุ่มของเขาจะลงทุนในธุรกิจใดในปัจจุบัน ไม่จำเป็นต้องใช้หรือพึ่งธนาคารใดธนาคารหนึ่งเลย

กว่าที่ เกียรติ จะมีจุดยืนอยู่ได้อย่างทุกวันนี้นั้น เขาได้ผ่านสิ่งต่าง ๆ มานับไม่ถ้วน เคยยืนอยู่ในช่วงระหว่างสองสิ่งที่ถูกเรียกว่า ความเป็นและความตาย ภายใต้สถานการณ์ที่สู้รบ ในสมัยที่เขาเป็นทหารให้กับกองทัพก๊กมินตั๋ง เคยอดมื้อกินมื้อ ซัดเซพเนจรอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ ในประเทศจีนอย่างไม่รู้จุดหมายปลายทางของชีวิตในช่วงสงคราม

ชีวิตของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง แตกต่างกับอีกหลาย ๆ ชีวิต และอาจจะเนื่องจากความแตกต่างอันนี้ก็ได้ที่ทำให้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้อาณาจักรของ ชิน โสภณพนิช หรือใครต่อใครในทุกวันนี้

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เป็นคนที่เรียกได้ว่า LOW PROFILE เอามาก ๆ ทีเดียว มีไม่บ่อยครั้งนักที่เขาจะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนฉบับใดฉบับหนึ่งเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกที่ประวัติของเขาเองถูกเผยแพร่ออกมาแต่ละครั้งในสื่อมวลชน แต่ละฉบับข้อมูลกระท่อนกระท่อนไม่ตรงกัน หรือพอจะอ้างอิงได้เลย เรียกว่า สับสนเอามาก ๆ ทีเดียว

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เขาเกิดที่ตลาดบางลี่ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2459

"ตอนนั้น พ่อแม่ของผมมีอาชีพค้าขาย ทำโรงสี ขายพวกผ้า เครื่องบวชอะไรเหล่านี้ พ่อของผมเขาเป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย ครอบครัวของเราย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองไทยถึงผมก็ 3 ชั่วคนแล้ว ก๋งของผมอพยพเข้ามาจากเมืองจีน ตอนนั้นก๋งของผมเขาก็ส่งข้าวเปลือกมาให้โรงสีที่กรุงเทพเขาขาย เราเองก็ต่อมามีโรงสีขนาดเล็กๆ ขนาด 30 เกวียน…" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ซึ่งคำกล่าวเหล่านี้ของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงกับเอกสารที่เคยมีผู้บันทึไว้ !!

พรรณี บัวเล็ก ได้เขียนถึง เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง "วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ของไทย พ.ศ. 2475 - 2516" ไว้ว่า

"นายเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง หรือนายแต้เหลียงอิม บ้านเดิมอยู่มณฑลกวางตุ้ง ได้รับการศึกษาจากเซนต์สตีเฟนคอลเลจในฮ่องกง แล้วกลับไปศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนเผยอิงในกวางเจา และมหาวิทยาลัยหลิงหนัน หลังจากนั้นจึงได้ศึกษาต่อที่อเมริกา นับได้ว่า นายแต้เหลียงอิมเป็นคนที่มีการศึกษาเป็นอย่างดี ในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เข้าร่วมรบต่อต้านสงครามญี่ปุ่น โดยการเป็นนักบินให้กองทัพจีน อยู่ที่คุนหมิง และยูนาน หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จึงได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย"

พรรณี บัวเล็ก เธอได้อ้างอิงข้อมูลบทความในวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้จาก "ชีวประวัตินายแต้เหลียงอิม" ในสารานุกรมชาวจีนโพ้นทะเล ปี ค.ศ. 1967 ซึ่งได้ถูกบันทึกไว้เป็นภาษาจีน

ไม่ว่าคำกล่าวของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จะถูกต้องและเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่เกียรติมีและทุกคนยอมรับก็คือ เขาคลุกคลีกับความเป็นคนจีนมาตลอด เริ่มตั้งแต่การศึกษา เกียรติเล่าให้ฟังว่า เขาเริ่มเรียนหนังสือ ที่โรงเรียนซีหมิง ในกรุงเทพฯ

"ผมมาเริ่มต้นเรียนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนซีหมิง คุณหนุ่มเกินไปอาจจะไม่รู้จักซีหมิง เขาเป็นโรงเรียนเด็กที่ดังมากเมื่อสมัยก่อน คุณอุเทนก็จบจากซีหมิง ผู้ใหญ่หลายคนจบจากที่นี่"

และเล่าต่อไปว่า เมี่อจบการซีหมิงแล้ว จึงเข้าเรียนหนังสือต่อที่ฮ่องกง จบแล้วจึงไปเรียนต่อที่ซัวเถา แล้วกลับไปฮ่องกงอีกครั้งหนึ่ง

"ผมจบไฮสคูลที่โรงเรียนเผยอิง แล้วเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยหางโจว เมื่อประมาณปี 1940)" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าว

ซึ่งก็เป็นข้อมูลที่ใกล้เคียงกับที่พรรณี บัวเล็ก ได้เขียนไว้ในวิทยานิพนธ์ของเธอ เนื่องจากมหาวิทยาลัยหลิงหนันที่เธอว่าไว้นั้นอยู่ในมณฑลหางโจวที่เกียรติกล่าวถึง

เกียรติ เล่าต่อไปอีกว่า เขาเรียนจบได้ประมาณ 1 ปี สงครามก็ระเบิด ญี่ปุ่นเข้ายึด เขาต้องหนีไปอยู่ที่คุนหมิง

ช่วงนี้เองเป็นช่วงที่เกียรติเล่าว่า เป็นช่วงที่ลำบากที่สุดในชีวิตของเขา จากผลของสงครามทำให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ต้องร่อนเร่ไปทั่วผืนแผ่นดินจีน เพื่อหางานทำ

"มันลำบากมาก ผมต้องต่อสู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง บางวันไม่ได้กินข้าวทั้งวัน เนื่องจากเงินเดือนไม่มี เราไม่สามารถติดต่อกับทางเมืองไทยได้ เพราะตอนนั้นญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองไทยแล้ว แล้วในที่สุดก็ต้องไปสมัครเป็นทหาร" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รำพึงรำพันถึงความหลัง

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าสมัครเป็นทหารแห่งกองทัพ 14 ของก๊กมินตั๋ง ซึ่งดูเหมือนเกียรติจะมีความสุขและความภาคภูมิใจมาก เมื่อได้เล่าและพูดคุยถึงความหลังช่วงที่เขาได้เป็นนักบินแห่งกองทัพ 14 นี้

"เขาส่งผมไปอเมริกาไปหัดขับเครื่องบิน" เกียรติ กล่าวอย่างภาคภูมิใจ

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้รับยศทางทหารล่าสุดเป็นเรืออากาศตรี ก่อนที่จะเดินทางกลับสู่ประเทศไทย ภายหลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงคราม

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินทางสู่ประเทศไทยโดยมีเป้าหมายบางอย่าง หากเกียรติยืนยันว่า เขาเกิดที่สุพรรณบุรี เป็นคนไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ การกลับบ้านเกิดเมืองนอนครั้งนี้ก็ไม่ใช่การกลับบ้านอย่างธรรมดาแน่นอน และหากเชื่ออย่างที่พรรณี บัวเล็ก ว่าเอาไว้ในวิทยานิพนธ์ของเธอว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เป็นคนจีนที่อพยพเข้ามาในช่วงนั้น เราก็ต้องเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่อย่างที่ไม่มีใครเคยเขียนว่า เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง รัภาระหน้าที่ในการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อทำการจัดตั้งธนาคารสาขาให้กับธนาคารมณฑลกวางตุ้งในประเทศไทย

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เจ้าของธนาคารมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งอยู่ที่กวางโจวนั้นเป็นพ่อตาของเขาเอง สิ่งนี้นับเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งของเขา ที่ได้ลูกสาวของเจ้าของธนาคารมณฑลกวางตุ้งเป็นภริยา

และจากข้อต่ออันนี้เองที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับเขาจนทุกวันนี้

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าสู่ประเทศไทยแล้วก็วิ่งเต้นขอใบอนุญาตในการจัดตั้งสาขาธนาคารมณฑลกวางตุ้งในประเทศไทยทันที

ใบอนุญาตการตั้งสาขาธนาคารมณฑลกวางตุ้งถูกยื่นออกมาให้กับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง อย่างไม่ยากเย็นนักในยุคที่พลเรือนตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี (ช่วงปี พ.ศ. 2489-2490)

"หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์กับผมก็เหมือนญาติกัน ผมนับถือท่านเหมือนญาติคนหนึ่ง เราสนิทกันมากและผมก็นับถือท่านมากทีเดียว" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ผู้รู้หลายคนได้เล่าว่า ในยุคนั้นพลเรือนตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นคนที่ช่วยเหลือเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ในการก่อตั้งแบงก์แห่งนี้ จนกระทั่งทุกวันนี้ เกียรติก็ยังไม่เคยลืมเลือนบุญคุณของบุรุษผู้นี้ เมื่อใครพูดถึงเกียรติจะต้องเล่าให้ฟังถึงความดีของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นี้

"จุดกำเนิดธนาคารพาณิชย์เกือบทุกแห่งในประเทศไทยมีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือ คนมีเงินและมีความรู้ด้านธนาคารบวกกับทหารและผู้มีอำนาจในแผ่นดินยุคนั้น…" ใครคนหนึ่งกล่าวเอาไว้

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ธนาคารมณฑลกวางตุ้งก็ได้กำเนิดขึ้นในประเทศไทย เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เองก็เริ่มการก้าวย่างเข้าสู่วงจรธุรกิจด้วยการเป็นผู้จัดการแบงก์แห่งนี้ ซึ่งนับเป็นก้าวย่างแรกของเขา

"ตอนที่ผมเป็นผู้จัดการแบงก์น่ะ คุณชิน โสภณพนิช ยังเป็นกำปะโดร์อยู่เลย" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

แต่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เป็นผู้จัดการแบงก์แห่งนี้ได้ไม่นาน ก็ต้องปิดกิจการที่ตัวเองอุตส่าห์วิ่งเต้นจนได้ใบอนุญาตมา

ในปี 2492 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ในผืนแผ่นดิน เหมาเจ๋อตุงนำทัพขับไล่พรรคก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็ค ได้สำเร็จ

ธนาคารมณฑลกวางตุ้งในประเทศไทย ซึ่งเป็นเพียงสาขาหนึ่งก็ต้องหยุดกิจการลงทันที

ในประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็ขาดสะบั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำรัฐบาลไทยในยุคนั้นก็ประกาศนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างแข็งกร้าว

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ปิดกิจการธนาคารมณฑลกวางตุ้งไว้ชั่วคราว หากแต่ยังถือใบอนุญาตไว้ในมือ เขาเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้มีอำนาจและข้าราชการไทยในยุคนั้นเป็นอย่างดี เขารู้ว่าเขาควรจะทำอย่างไร ใบอนุญาตแผ่นดินนี้จึงจะไม่ถูกยึด

"จอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ในการต่อใบอนุญาตการจัดตั้งธนาคารให้" คนเก่าแก่คนหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ว่ากันว่า ในยุคนั้นถึงแม้จอมพล ป.พิบูลสงคราม จะเป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่ผู้ที่อยู่เบื้องหลังแห่งอำนาจจริง ๆ ก็คือ กลุ่มจอมพลผิน ชุณหุวัณ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ กับกลุ่มของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทั้งอสงกลุ่มต่างก็แข่งขันกันแสวงหาผลประโยชน์ทั้งจากธุรกิจของรัฐ ส่วนตัว และพ่อค้ากันอย่างกว้างขวาง การดำเนินธุรกิจของทั้งสองกลุ่มนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ ใช้อิทธิพลทางการเมืองเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ ด้วยการให้ความคุ้มครอง ให้สิทธิพิเศษ มอบอภิสิทธิ์ให้ผูกขาด และหลีกเลี่ยงกฎหมาย

เมื่อใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารยังอยู่ในมือ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จึงเริ่มทำการจัดตั้งธนาคารขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งเก่า เนื่องจากครั้งนี้เกียรติขาดเงินทุนสนับสนุน

"ผมไม่มีเงิน แต่คุณอุเทน คุณอื้อจือเหลียง ขุนเศรษฐภักดี เขามีเงิน ในขณะที่ผมมีใบอนุญาตก่อตั้งธนาคารอยู่ในมือ ผมจึงชวนพวกเขามาร่วมกันก่อตั้งธนาคารขึ้นมาใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อธนาคารใหม่ว่า ธนาคารสิงขร เรียกตามภาษาจีนแต้จิ๋วว่า แสอั้ง" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวต่อ

ธนาคารสิงขร ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ด้วยทุน 10 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 10,000 หุ้น โดยอื้อจือเหลียงถือหุ้นเอาไว้มากที่สุด คือ 1,239 หุ้น กลุ่มตระกูลเตชะไพบูลย์ ถือหุ้นมากเป็นอันดับสอง 1,113 หุ้น กลุ่มตระกูลเศรษฐีภักดีถือมากเป็นอันดับสาม 1,040 หุ้น และเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งกับบุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง ถือหุ้นรวมกันมากเป็นอันดับสี่ด้วยจำนวน 473 หุ้น

"ตอนนั้น คุณเกียรติแกไม่มีเงินจริง ๆ หุ้นที่แกได้รับก็เนื่องจากว่า แกมีใบอนุญาตอยู่" แหล่งข่าวซึ่งอยู่ในธนาคารแห่งนี้มานานบอก

การก่อตั้งธนาคารสิงขรจนเป็นรูปเป็นร่างได้สำเร็จ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อธนาคารเป็นธนาคารศรีนครแห่งนี้ ได้สร้างฐานการเงินให้กับ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง จนสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จในกาลต่อมา

"คุณอื้อจือเหลียงและคุณอุเทน มีลักษณะที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ การชอบช่วยเหลือคน ไม่เคยทิ้งเพื่อน และไม่เคยลืมบุญคุณคน คุณเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เขาโชคดีที่ได้รู้จักและสนิทสนมกับทั้งสองคนนี้" แหล่งข่าวคนเก่าแก่รายเดิมเล่าอีก

แต่การก่อตั้งธนาคารครั้งใหม่นี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารคนหนึ่งเท่านั้น พระยาโทณวนิกมนตรี ถูกเชื้อเชิญมาเป็นประธานกรรมการของธนาคาร โดยมีอื้อจือเหลียงเป็นรองประธานกรรมการ

มีผู้รู้ได้กล่าวถึงความอยู่รอดของธนาคารไทยและการเรืองอำนาจของทหารยุคนั้นว่า ทั้งสองฝ่ายต่างประสานผลประโยชน์กัน โดยทหารได้ฐานทางการเงินสนับสนุนอำนาจทางการเมืองและธุรกิจของตัวเอง ธนาคารได้รับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจของตัวเอง

ในช่วงนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีความสัมพันธ์สนิทสนมอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นกับ จอมพลผิน ชุณหะวัณ

"จอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นคนที่แนะนำให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้รู้จักกับลูกเขยชของตัวเอง คือ พันโทประมาณ อดิเรกสาร ยศของเขาขณะนั้นนะ ตอนนั้นผมจำได้ว่า จอมพลผินได้บอกกับคุณเกียรติว่า ฝากลูกเขยคนนี้ด้วยแล้วกัน" แหล่งข่าวอีกรายหนึ่งเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

และอาจจะเป็นความโชคดีของพลตรีประมาณ อดิเรกสาร ด้วยที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เป็นคนที่ไม่ลืมบุญคุณคนคนหนึ่งเช่นกัน

"เราจะลืมเขาได้อย่างไร เมื่อครั้งที่เขาเป็นใหญ่ เขาช่วยเหลือเรา พอเขาตกอับ จะให้เราทอดทิ้งเขาได้อย่างไรกัน" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง เคยกล่าวไว้กับ "ผู้จัดการ"

การร่วมมือกันครั้งแรกระหว่างเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และประมาณ อดิเรกสาร เริ่มต้นขึ้นเมื่อเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เริ่มก่อตั้งบริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้าขึ้น เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2496 ด้วยทุนจดทะเบียนถึง 10 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 10,000 หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท โดยเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ถือหุ้นมากที่สุดเป็นจำนวน 2,996 หุ้น สะอาด บุรณานนท์ ถือหุ้น 2,150 หุ้น เจริญ พานิชชีวะ พี่เขยของเกียรติถือหุ้นมากเป็นอันดับสาม คอื 800 หุ้น อุเทน เตชะไพบูลย์ ถือ 200 หุ้น ขุนเศรษฐภักดีถือ 210 หุ้น อื้อจือเหลียงถือ 200 หุ้น และหุ้นถูกแบ่งให้กับ พ.อ.ประมาณ อดิเรกสาร (ยศขณะนั้น) 40 หุ้น

ความแตกร้าวยังไม่มีในกลุ่มศรีนครแห่งนี้ อื้อจือเหลียง อุเทน เตชะไพบูลย์ ยังรวมตัวกันด้วยความสามัคคีและเหนียวแน่นเป็นอย่างยิ่ง ใครคนหนึ่งลงทุนธุรกิจอะไร อีกสองคนจะวิ่งเข้าช่วยด้วยเสมอ

ในสามมิตรที่สนิทสนมและรักใคร่กันนี้ อื้อจือเหลียงได้รับการยกย่องและถูกเรียกว่า ตั้วเฮีย เนื่องจากความอาวุโสมากที่สุดของเขานั่นเอง อื้อจือเหลียงเกิดที่อำเภอเยี่ยวเพ้ง มณฑลกวางตุ้ง จากคำบอกเล่าของ เกียรติ ทำให้ทราบว่า อื้อจือเหลียงผู้นี้ร่ำรวยมาจากการพ่ายแพ้สงครามของเยอรมัน เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยก่อนหน้านั้นอื้อจือเหลียงทำงานเป็นพนักงานคนหนึ่งในบริษัทพาราวินเซอร์ ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งของชาวเยอรมันที่มาค้าขายในประเทศไทยในยุคนั้น เมื่อสงครามสงบชาวเยอรมันซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทแห่งนี้ หนีออกนอกประเทศทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างตกเป็นของอื้อจือเหลียงไปโดยปริยาย

สำหรับ อุเทน เตชะไพบูลย์ นั้นถูกเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เรียกว่า ยี่เฮีย เนื่องจากอายุมากกว่าเกียรติ 3 ปี

กลับมาที่เรื่องราวของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง อีกครั้ง ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2495 พลตรีประมาณ อดิเรกสาร กำลังรุ่งเรืองอย่างโลดแล่นและก้าวกระดดดในอาชีพราชการด้วยบารมีของพ่อค้า คือจอมพลผิน ชุณหะวัณ ทำให้ได้เก้าอี้ผู้อำนวยการ ร.ส.พ.เข้ามานั่งอีกตำแหน่ง

พลตรีประมาณ อดิเรกสาร ได้ให้องค์การ ร.ส.พ. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตั้งบริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด ขึ้นมา แล้วทำการสนับสนุนให้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าบริหารและถือหุ้นในบริษัทแห่งนี้ถึง 40% ร่วมกับองค์การ ร.ส.พ. ที่พลตรีประมาณ อดิเรกสาร นั่งเป็นผู้อำนวยการอยู่ในขณะนั้น

การดำเนินงานของบริษัท ร.ส.พ. ประกันภัย ล้มเหลวมาตลอด ทางองค์การ ร.ส.พ.จึงมีมติให้เลิกบริษัทนี้ เมื่อองค์การ ร.ส.พ. เลิก เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็ทำการเข้าครอบครองหุ้นทั้งหมดเกือบ 100% เต็ม ที่เหลืออีกนิดหน่อยก็เป็นของญาติมิตรเพื่อนของเกียรติเอง

นับแต่นั้นมา ความสัมพันธ์ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร จึงสนิทสนมแน่นมาตลอด ทำธุรกิจด้วยกันและช่วยเหลือกันมาตลอด

"จะไม่ให้เขาสนิทกันมากได้อย่างไร ก็ในเมื่อเขาโตกันมาด้วยกัน ตั้งแต่เมื่อ 30 กว่าปีก่อนที่ร่วมกันทำ ร.ส.พ.ประกันภัยนั่น" สมบัติ พานิชชีวะ หลานชายของ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ในบันทึกประวัติขององค์การ ร.ส.พ. หน่วยงานของรัฐแห่งนี้ได้บอกเอาไว้ว่า บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัดนั้น ขาดทุนมาตลอด ทางองค์การจึงถอนหุ้นหรือเลิกดำเนินการ

แต่คนรุ่นหลังและใกล้ชิดกับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กลับกล่าวว่า เกียรติ และพลตรีประมาณเติบโตมาด้วยกันที่นี่ เป็นข้อมูลที่ขัดแย้ง ซึ่งชี้ให้เห็นอะไรบางอย่างของการดำเนินงานในรัฐวิสาหกิจไทยในช่วงนั้น

ความสัมพันธ์ที่ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีกับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร นับวันก็ยิ่งลึกซึ้ง ในช่วงที่อำนาจทางการเมืองแทบจะเป็นของกลุ่มผิน ชุณหะวัณ (ก่อนปี 2500) อยู่นั้น เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เริ่มเดินเข้าสู่อาณาจักรอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกโดยร่วมกับพลตรีประมาณ อดิเรกสาร ร่วมกันก่อตั้งบริษัทอุตสาหกรรมทอผ้าไทย จำกัด ขึ้นในปี พ.ศ. 2497

อำนาจทางการเมืองในขณะนั้น แบ่งออกเป็นสองขั้ว ขั้วหนึ่งเป็นกลุ่มของกลุ่มซอยราชครู อันประกอบด้วยจอมพลผิน ชุณหะวัณ เป็นแกนนำ กับอีกขั้วหนึ่งเป็นกลุ่มสี่เสาเทเวศน์ ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นแกนนำ นักธุรกิจในยุคนั้นจำเป็นต้องเลือกเอาขั้วใดขั้วหนึ่งเท่านั้นที่จะมาให้ความคุ้มครองแก่ธุรกิจของตน

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง อิงซอยราชครูเอาไว้อย่างแนบแน่น บริษัทอุสาหกรรมทอผ้าไทย จำกัด ดำเนินธุรกิจไปได้เพียง 3 ปี เรียกว่า บริษัทอุตสาหกรรมทอผ้าไทย เพิ่งสร้างโรงงานเสร็จได้ไม่นาน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ทำการรัฐประหารจอมพลผิน ชุณหะวัณ กลุ่มซอยราชครูก็ต้องหมดอำนาจลง จอมพลผินต้องหนีออกนอกประเทศ

ช่วงนี้เอง ความยิ่งใหญ่ทางอำนาจของพลตรีประมาณ อดิเรกสาร จบสิ้น นี่เป็นจุดหนึ่งของคำถามที่ว่า ทำไมบริาทอุตสาหกรรมทอผ้าแห่งนี้จึงไม่รุ่งเรืองเท่าที่ควร

ทั้งประมาณและเกียรติในขณะนั้น ไม่ใช่นักอุตสาหกรรมที่มีความเชี่ยวชาญเพียงแต่ตั้งบริษัทเหล่านี้ขึ้นมาเพียงเพื่อหวังให้อำนาจทางการเมืองเป็นตัวกรุยทางเท่านั้น

ถึงแม้ประมาณ อดิเรกสารจะตกอับในช่วงนั้น เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็ไม่ถึงกับตกอับลงไปด้วย อาจจะมีการชะงักบ้างนิดหน่อย เกียรติยังมีธนาคารศรีนครอยู่ข้างหลัง ยังมีบริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้า ยังมีบริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย ซึ่งเป็นฐานที่สร้างอำนาจทางการเงินให้กับเกียรติอยู่

ความผันผวนและการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เริ่มต้นเมื่อเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเริ่มมีความสนใจในอุตสาหกรรมกระจก ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีใครสามารถผลิตได้ กระจกในประเทศยุคนั้นถูกนำเข้ามาจากไต้หวันเป็นส่วนใหญ่

"อุตสาหกรรมกระจกเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่สูง คุณเกียรติเขาคิดในตอนแรกว่าจะร่วมลงทุนกับไต้หวัน ใช้เทคโนโลยีของไต้หวัน ตอนนั้นจึงได้เชิญพวกไต้หวันมาถือหุ้นด้วย" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ปีนั้นเป็นปี 2506 ซึ่งเป็นช่วงปลายแห่งยุคสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก่อตั้งบริษัท กระจกไทย จำกัด ขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 12 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 12,00 หุ้น ๆ ละ 1,000 บาท โดยเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้อง คือ บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง น้องชายของเกียรติ และไพบูลย์ พานิชชีวะ กับสมบัติ พานิชชีวะ ซึ่งเป็นลูกของพี่สาวคนโตของเกียรติ รวมทั้งบริษัทในเครือของเกียรติ อันมี บริษัท ร.ส.พ.ประกันภัย จำกัด บริษัท บุญศรีพานิช จำกัด (บริษัทค้าไม้ของเกียรติ) บริษัทไทยศรีนครประกันภัยและคลังสินค้า จำกัด บริษัท โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์ จำกัด เหล่านี้ถือหุ้นรวมกันทั้งหมดเป็นจำนวน 9,795 หุ้น หรือประมาณ 81.6% ของหุ้นทั้งหมด โดยเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งถือหุ้นไว้มากที่สุด คือ 3,395 หุ้น

หุ้นที่เหลือนอกจากนั้นเป็นของ พลตรีประมาณ อดิเรกสาร อุเทน เตชะไพบูลย์ คนละ 500 หุ้น ที่เหลืออีกจำนวนหนึ่งถูกแบ่งให้กับชาวไต้หวันที่จะมาร่วมลงทุนด้วย

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เองก็ยังใช้สไตล์เก่าของตัวเอง คือ ไม่อาจทอดทิ้งผู้มีอิทธิพลทางการเมืองได้ในขณะที่ทำธุรกิจ เขาจึงได้เชิญทองดุลย์ ธนะรัชต์ น้องชายของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้กุมอำนาจทางการเมืองทั้งหมดไว้ในมือในยุคนั้น เข้าร่วมถือหุ้นด้วยเป็นจำนวน 500 หุ้น (ไม่ขอยืนยันว่าเป็นหุ้มลมหรือไม่)

ทองดุลย์ ธนะรัชต์ ไม่เพียงได้รับเชิญเป็นผู้ถือหุ้นอย่างเดียวเท่านั้น ยังได้เป็นกรรมการบริหารในบริษัท กระจกไทย จำกัด แห่งนี้อีกด้วย และบริษัทแห่งนี้ก็ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐบาลในสามเดือนต่อมาภายหลังการก่อตั้งบริษัท

อย่างไรก็ดี การติดต่อกับทางไต้หวัน ซึ่งจะให้มาเป็นผู้ร่วมทุนในฐานะเจ้าของเทคโนโลยี มีปัญหาบางอย่างถึงปี 2507 แล้วโรงงานผลิตกระจกซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ.เรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะเป็นรูปเป็นร่าง

ในที่สุด เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เปลี่ยนท่าทีใหม่ด้วยการหันหน้าไปทางญี่ปุ่น

บริษัท อาซาฮีกลาส จำกัด แห่งญี่ปุ่น มีความสนใจที่จะมาร่วมลงทุนด้วย แต่มีข้อแม้ว่า ตัวเองจะต้องมีหุ้นอยู่ในบริษัทกระจกนี้อย่างน้อย 50% เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็ยอมตกลงด้วย

ในรายงานการประชุมสามัญครั้งที่ 2 ของบริษัท กระจกไทย จำกัด เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2507 มีบันทึกรายงานการประชุมกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

"ในการตั้งโรงงานผลิตกระจกแผ่นเรียบนั้น คณะกรรมการได้ประชุมปรึกษากัน และมีความเห็นสอดคล้องเป็นเอกฉันท์ว่า ควรจะร่วมทุนกับบริษัท อาซาฮีกลาส จำกัด แห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญในการผลิตกระจกแผ่นเรียบมาเป็นเวลานานแล้ว และวิธีในการร่วมทุนก็คือ ให้ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยทุกคนโอนหุ้นของตนขายให้แก่บริษัทอาซาฮีกลาสจำกัด คนละครึ่งในราคาเท่ามูลค่าหุ้นเดิม เมื่อได้ทำการตามที่เสนอนี้แล้ว บริษัทอาซาฮีกลาส จำกัด ก็จะเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเป็นจำนวนร้อยละ 50"

แล้วก็ทำการเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท กระจกไทย-อาซาฮี จำกัด ในการประชุมวันนั้น

การลงหลักปักฐานที่นี่ แทบจะเรียกได้ว่า ที่นี่ ที่บริษัทกระจกไทย-อาซาฮีแห่งนี้ เป็นเสมือนเส้นสายโลหิตใหญ่ที่หล่อเลี้ยง เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้องของตัวเองในกาลต่อมา

บริษัท กระจกไทย-อาซาฮี ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นบริษัทที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เข้าไปร่วมบริหารอย่างจริง ๆ จัง ๆ มากที่สุด กิจการหลายอย่างที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มีในทุกวันนี้มาจากบริษัทนี้เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ไทยเซฟตี้กลาส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตกระจกนิรภัยรถยนต์ของเขา บริษัทไทยอาซาฮีโซดาไฟ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตโซดาแอชให้กับบริษัทกระจกไทยอาซาฮี บริษัท ศรีเสรีขนส่ง ซึ่งเป็นบริษัทที่เกียรติ และกลุ่มตระกูลพานิชชีวะก่อตั้งขึ้นมา ให้ทำหน้าที่ขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานกระจกไทยอาซาฮี บริษัทกระจกไทยและการตลาดที่เกียรติตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนจำหน่ายกระจกจากบริษัทกระจกไทยอาซาฮี จำกัด

เกือบทั้งหมด ยกเว้นบริษัท ไทยเซฟตี้กลาส และไทย-อาซาฮีโซดาไฟที่ร่วมกับอาซาฮีกลาสแล้ว ทุกบริษัทล้วนเป็นของเกียรติ และตระกูลพานิชชีวะทั้งนั้น ผลประโยชน์จากบริาทกระจกไทย-อาซาฮีที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ร่วมทุนกับญี่ปุ่นจึงมหาศาล

"มีสักกี่คนในประเทศไทยที่ร่วมลงทุนกับญี่ปุ่นแล้วไม่เสียเปรียบอย่างเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวชม เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง

ปีหนึ่ง ๆ บริษัทกระจกไทย-อาซาฮี ทำรายได้เฉลี่ยปีละประมาณหนึ่งพันล้านบาท มีกำลังการผลิตถึง 4 ล้านกว่าหีบต่อปี

รายได้ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งและญาติพี่น้องในบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีจึงมหาศาล ถึงแม้บางปีที่ถูกกระจกต่างประเทศเข้ามาตีตลาดจนบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีขาดทุน แต่บริษัทต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วไม่ขาดทุนแน่นอน ไม่ว่าบริษัทนั้นจะเป็นบริษัทขนส่งวัตถุดิบ บริษัทขนส่งสินค้ากระจก บริษัทผู้แทนจำหน่าย ก็ตาม

สาเหตุประการหนึ่งก็คือ กระจกไทย-อาซาฮี เป็นบริษัทผู้ผูกขาดการผลิตกระจกในประเทศไทยจนทุกวันนี้ แม้จะมีกระจกจากต่างประเทศเข้ามาตีบ้างในบางปี แต่ก็เป็นการแข่งขันกันทางด้านราคาเท่านั้น เป็นลักษณะเข้ามาแล้วหายไป เข้ามาแล้วหายไปเหมือนตีหัวเข้าบ้าน

"ตลาดเมืองนอก มันมักล้นตลาดอยู่เสมอ พอมันล้นตลาด เขาก็จะส่งเข้ามาขายในประเทศไทย ในราคาถูกกว่าความเป็นจริง เราเป็นเจ้าตลาดอยู่เราก็ต้องผลิตของเราทุกปี หยุดไม่ได้ เมื่อหยุดไม่ได้มันก็ต้องแข่งด้านราคากัน" วิฑูรย์ เตชะทัศนสุนทร กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

กล่าวไปแล้ว ไม่เพียงกิจการต่าง ๆ ของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ที่กำเนิดขึ้นเหล่านั้นจะมีผลต่อนเองมาจากกระจกไทยอาซาฮีเท่านั้น แม้แต่การได้ไปลงทุนในจีนครั้งนี้ (ปี 2530) สาเหตุก็เนื่องจากกระจกไทยอาซาฮีเช่นกัน

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ตัวเขาเองนั้นไปประเทศจีนบ่อย เนื่องจากจีนเป็นลูกค้ากระจกไทย-อาซาฮีรายใหญ่ ความสนิทสนมมีมากขึ้น เมื่อทางรัฐบาลมีความสนใจด้านอุตสาหกรรมการผลิตกระจกแผ่นเรียบ ก็ได้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาดุงานการผลิตที่โรงงานกระจกไทย-อาซาฮีแห่งนี้ แล้วจึงได้ชักชวนเกียรติ ไปลงทุนผลิตกระจกในจีน

"เจ้าหน้าที่ที่มาดูโรงงานเขาก็เห็นว่า ขนาดเมืองไทยเมืองเล็ก ๆ อย่างนี้ ยังมีเทคนิคสูง โรงงานก็ใหญ่ขนาดนี้ มีตั้ง 3 โรงงาน เขาก็ชักชวนว่าไปร่วมลงทุนกับรัฐบาลจีนในประเทศเขามั้ย เราก็บอกว่าลงทุนเยอะนะ เขาบอกว่าไม่เป็นไร ก็ขอให้คุณนำไอ้ที่เรียกว่าระบบโฟลท ที่เรียกว่าเป็นการผลิตที่ทันสมัยไปก็แล้วกัน" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เล่าให้ฟัง

นี่ก็เป็นเพราะชื่อเสียงของกระจกไทย-อาซาฮีอีกที่ได้ไปลงทุนในจีนครั้งนี้

และการลงทุนครั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าเป็นบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีไปลงทุน หากแต่เป็นการลงทุนส่วนตัวของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้อง

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่มีเทคโนโลยี เนื่องจากญี่ปุ่นหรืออาซาฮีกลาส ไม่ได้ไปร่วมลงทุนด้วย เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งวางหมากตานี้ไว้แล้ว หากร่วมลงทุนกับอาซาฮีกลาสของญี่ปุ่น ทุกสิ่งทุกอย่างก็ยังคงเดิม ตลาดก็ไม่ได้กว้างขวางขึ้น เขาจึงหันหน้าไปทางสหรัฐอเมริกาติดต่อไปยังพีพีจี อินดัสเตรียล (PITTSBURGH PLATE GLASS CO., LTD.) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตกระจกแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด

เรื่องการติดต่อเป็นเรื่องที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ถนัดมาก เขาเป็นคนที่มีความกว้างขวางมากในวงการธุรกิจต่างประเทศ การที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไปต่างประเทศแทบจะทุกสัปดาห์ก็เนื่องจากสาเหตุนี้ การทำงานของเขาขณะนี้เน้นหนักที่การสร้างคอนเนคชั่นทำความรู้จักกับนักธุรกิจต่างประเทศแทบทุกวัน

สมบัติ พานิชชีวะ ผู้ทำงานใกล้ชิดกับเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง มากที่สุดคนหนึ่ง กล่าวชมเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งว่า เกียรติเป็นผู้ที่มีความสามารถในการจับแพะชนแกะได้เป็นอย่างดียิ่ง มีความสามารถสูงในการชักนำผู้ร่วมลงทุนจากต่างประเทศโดยที่ตัวเองไม่เคยเสียเปรียบ และมีความสามารถสูงในการตัดสินใจ

การตัดสินใจสร้างโรงงานผลิตกระจกไทย-อาซาฮีนั่นเป็นมุขหนึ่งที่ชี้ถึงการตัดสินใจที่ฉลาดในการมองถึงผลประโยชน์จากธุรกิจต่อเนื่องของตัวเอง

แต่เกียรติ ก็หาใช่ว่าจะไม่เคยผิดพลาดและพลาดหวัง ความล้มเหลวของตัวเองในธนาคารศรีนครคือตัวชี้ตัวหนึ่ง

ก่อนหน้าที่ อุเทน เตชะไพบูลย์ จะขึ้นนั่งในตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารศรีนคร (พ.ศ. 2517) ใคร ๆ ก็รู้ว่าเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินเข้าเดินออกที่ธนาคารแห่งนี้แทบทุกวัน ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นตัวของเกียรติเองก็เริ่มจะมีธุรกิจของตัวเองอยู่มากมายแล้ว แต่หลังจากที่อุเทน เตชะไพบูลย์ตัดสินใจยึดสองตำแหน่งในธนาคารแห่งนี้แล้ว หลังจากนั้น เกียรติก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับที่นี่อีกมากนักเลย คงปล่อยให้บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง น้องชายของตัวเองมีชื่อในตำแหน่งกรรมการบริหารแทนตัวเองเท่านั้นเอง

แต่เกียรติเองก็หาใช่ว่าจะทิ้งธุรกิจไฟแนนซ์ไปเลย ภายหลังจากออกจากธนาคารศรีนครแล้ว เขาจึงหันไปทุ่มเทให้กับธุรกิจของตัวเอง โดยมีบริษัทไฟแนนซ์ที่ใหญ่และมั่นคงของตัวเอง คือ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ทรัสต์ ซึ่งชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายคนที่สองของตัวเองได้บุกเบิกเอาไว้

"เมื่อก่อนนี้ บริษัทคาเธ่ย์เขาทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงหนัง คุณคงรู้จักโรงหนังคาเธ่ย์ โดยคุณพ่อเขาร่วมกับคุณอุเทน คุณอื้อจือเหลียง อะไรเหล่านี้ ต่อมาเขาก็ขายโรงหนังไป แล้วใช้ชื่อบริษัททำเป็นบริษัทโฮลดิ้ง คอมปะนี ผมจึงเข้าไปเปลี่ยนใบอนุญาตให้มาเป็นทรัสต์จนกระทั่งทุกวันนี้" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายคนที่สองของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ผู้เอาจริงเอาจังกับธุรกิจทางการเงิน และเป็นลูกชายของเกียรติคนเดียวที่ทุ่มเทให้กับธุรกิจไฟแนนซ์อย่างจริงจังกล่าว

ภายหลังการเดินออกจากธนาคารศรีนครของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง แล้ว บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์คาเธ่ย์ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งว่ากันว่าเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเป็นผู้ที่ทุ่มเทให้กับที่นี่อย่างเต็มที่ จนในปัจจุบัน ถ้ากล่าวถึงคาเธ่ย์กรุ๊ปแล้วก็จะหมายถึงกลุ่มของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งและญาติพี่น้องไปแล้ว

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง เดินออกจากธนาคารศรีนครเมื่อปี 2518 แล้วหันหน้าไปเอาจริงเอาจังกับคาเธ่ย์ทรัสต์ เขาคิดจะสร้างตึกที่ทำการใหญ่ให้กับคาเธ่ย์ทรัสต์ ครั้งแรกเกียรติเล็งไปบนที่ดินบนถนนสีลมและเลือกเอาที่ดินฝั่งตรงข้ามกับเซ็นทรัลชิดลม

การติดต่อซื้อขายที่ดินกำลังจะเสร็จสมบูรณ์ ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ก็เข้ามาท้วงติงว่า ทำไมต้องซื้อที่ดินตรงนี้ เสียเวลาในการก่อสร้างตึกอีก ทำไมไม่ไปซื้อที่เขาสร้างเสร็จแล้ว เอสโซ่เขากำลังบอกขายตึกของเขาอยู่ ถ้าไปซื้อตึกเอสโซ่ เอสโซ่เขาก็จะกลายเป็นผู้เช่าไปทันที พื้นที่ที่เหลืออีก 50 เปอร์เซ็นต์ ทางกลุ่มก็ใช้ประโยชน์ได้เต็มเนื้อที่พอดี

ในขณะนั้น อเมริกากำลังพ่ายแพ้จากสงครามในอินโดจีนอย่างยับเยิน นักธรุกิจอเมริกันและต่างชาติในประเทศไทยต่างหวาดกลัวต่อทฤษฎีโดมิโน บริษัทเอสโซ่ สแตนดาร์ด ก็เป็นเช่นเดียวกัน พวกเขาจึงประกาศขายตึกสูง 14 ชั้นบนถนนพระรามสี่ใกล้สี่แยกวิทยุ ซึ่งเป็นที่ทำการใหญ่ของเอสโซ่ในประเทศไทย

ด้วยสาเหตุนี้เอง ที่ทำให้เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ทิ้งที่ดินบนถนนสีลมแห่งนั้นหันมาให้ความสนใจกับตึกเอสโซ่ทันที

การซื้อขายตกลงกันด้วยราคา 88 ล้านบาท โดยเอสโซ่ขอเป็นผู้เช่าตึกเป็นที่ทำการใหญ่ส่วนหนึ่ง

"ผมซื้อได้ถูกมากทีเดียว ตึกนี้เป็นตึกที่ได้มาตรฐานมาก" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ด้วยความภูมิใจ

ตึกเอสโซ่ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอาคารคาเธ่ย์นับแต่วันนั้น

เล่ากันว่า เมื่อครั้งที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ซื้อตึกแห่งนี้นั้น มีหลายกลุ่มที่เข้ามาแข่งขันซื้อด้วย กลุ่มที่เข้ามาติดต่อซื้อก็มี ธนาคารทหารไทย กลุ่มลูก ๆ ของอื้อจือเหลียง สุขุม นวพันธ์ เป็นต้น แต่เนื่องจากคนเหล่านั้นมองและเข้าใจเหตุการณ์เป็นอย่างดีว่า ทำไมเอสโซ่จึงขายตึกแห่งนี้ พวกเขาจึงทำการต่อรองราคากับทางเอสโซ่

แต่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไม่ได้มาฟอร์มนั้น พอทราบว่าทางเอสโซ่จะขายในราคา 88 ล้านบาท เกียรติก็ใจป้ำซื้อทันทีเลยเช่นกัน

มีหลายคนกล่าวว่า ขณะนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กำลังเดินสู่เส้นทางสายเก่า ไม่เพียงเดินทางไปปักหลักในประเทศจีนเท่านั้น หากแต่ยังพยายามเดินสู่ธุรกิจธนาคารที่ตัวเองเคยทอดทิ้งมาแล้วอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2528 ธนาคารมหานครมีปัญหาอย่างรุนแรง คำรณ เตชะไพบูลย์ หนีออกนอกประเทศ ธนาคารชาติต้องเข้าโอบอุ้งพยุงไม่ให้ธนาคารล้ม พร้อมประกาศขายหุ้น เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งเฝ้าจับตามองอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อราคาหุ้นตกลงมาเหลือแค่หุ้นละ 5 บาท เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง พร้อมญาติพี่น้งอทั้งตระกูลศรีเฟื่องฟุ้งและพานิชชีวะไม่รอช้า ทำการซื้อหุ้นในธนาคารแห่งนี้ไว้ทันทีเป็นจำนวนกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของหุ้นทั้งหมดพร้อมทั้งส่ง ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ลูกชายของเกียรติ เข้าเป็นกรรมการบริหารธนาคารและนั่งอยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ มีหน้าที่ดูแลกิจการสาขาธนาคารมหานครจนทุกวันนี้

"คุณดูตัวเลขการเติบโตของธนาคารของเรา อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารของเราทั้งสินเชื่อและเงินฝากมันเพิ่มสูงขึ้นถึง 20 กว่าเปอร์เซ็นต์" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ซึ่งนับเป็นอัตราตัวเลขที่เพิ่มสูงมากทีเดียว เพราะในปีนี้ถ้าพูดไปแล้วอย่างธนาคารกรุงเทพมีอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินฝาก 5 เปอร์เซ็นต์ และสินเชื่อเพิ่มขึ้นเพียง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

มีข้อสงสัยก็คือ กลุ่มศรีเฟื่องฟุ้ง และกลุ่มหลาน ๆ ของเกียรติเอง คือ กลุ่มพานิชชีวะ ทุ่มเทเงินฝากในธุรกิจตัวเองซึ่งมีอยู่นับพัน ๆ ล้านจนเกือบหมื่นล้านบาทเข้าสู่ธนาคารแห่งนี้ด้วยหรือเปล่า และทำการใช้สินเชื่อจากธนาคารแห่งนี้ในการลงทุนธุรกิจของตัวเองหรือไม่

"ไม่ใช่ ผมบอกคุณตรง ๆ ได้เลยว่า กลุ่มของเราไม่จำเป็นต้องพึ่งธนาคารเลย การที่เราเข้ามาถือหุ้นก็เนื่องจากเราต้องการเข้ามาช่วยสถาบันการเงินเท่านั้น" ชัยนรินทร์ ศรีเฟื่องฟุ้ง ให้สัมภาษณ์กับ "ผู้จัดการ" ในเย็นวันหนึ่งที่ธนาคารมหานคร

ไม่เพียงที่ธนาคารมหานครเท่านั้นที่เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และทางกลุ่มเข้าร่วมกว้านซื้อหุ้นไว้ที่ธนาคารนครหลวงไทยก็เช่นเดียวกัน เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง และญาติพี่น้องต่างเข้ากว้านซื้อหุ้นที่นี่ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2529 จนในปัจจุบันว่ากันว่า เมื่อธนาคารนครหลวงไทยประกาศขายหุ้นออกใหม่อีกครั้งเมื่อตอนต้นปี 2530 เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ได้ซื้อสิทธิ์ในการจองหุ้นจากเสี่ยเม้งหรือมงคล กาญจนพาสน์ เป็นจำนวนเงิน 60 ล้านบาท

อย่างนี้แล้วจะไม่ให้ผู้คนในวงการต่างมองเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งว่า กำลังเดินทางกลับสู่เส้นทางสายเก่าได้อย่างไรเล่า

ทุกวันนี้ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ยืนอยู่ด้วยความมั่นคงในอาณาจักรนับหลายพันล้านของตัวเอง เขาเป็นทั้งผู้นำกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้ง และตระกูลพานิชชีวะ ซึ่งไม่อาจแยกกันได้

"พานิชชีวะทุกคนเขาก็เหมือนลูก ๆ ของผม พวกเขาเป็นลูก ๆ ของพี่สาวของผม เมื่อพี่สาวและพี่เขยของผมเสียชีวิตลง ผมก็เอาพวกเขามาเลี้ยงเหมือนลูก ผมก็มีหน้าที่คอยดูแลพวกเขาอยู่ต่อไป" เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us