Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2530
กะเหรี่ยง เสี้ยนตำหัวใจพม่า แนวรบด้านนี้ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง             
 

   
related stories

ปิด (เปิด) บัญชี "ไม้สัก"ปล้นข้ามแผ่นดิน "พม่า"เป็น "โจร" กันดีไหม!!??
แม่สอดสะอื้น อนิจจาการทำดีที่งี่เง่า!!!!
สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์คนดีที่ถูกลืม!!
ถลกโสร่งเมืองม่าน (พม่า)ขุดสันดอนเศรษฐีอยู่กระต๊อบ!!
อัญมณี "เถื่อน" ข้ามลำน้ำเมย สีสันน้ำเนื้อจากลำไส้ถึงปลายนิ้ว!!!

   
search resources

Myanmar
Political and Government




ชนชาติกะเหรี่ยงได้เปิดฉากสู้รบเพื่อเอกราชของตนมาเป็นเวลาร่วม 40 ปี นับเป็นชนกลุ่มน้อยที่สร้างความหนักใจแก่รัฐบาลพม่ามากที่สุด และถ้าพม่ายังไม่แก้ไขนโยบายปกครองภายในให้มีเนื้อหาสาระรับใช้ชนทุกกลุ่มอย่างเสมอภาค การเข่นฆ่าคนที่มีเลือดเนื้อเชื้อไขเดียวกันคงสานต่ออีกยาวนาน

กะเหรี่ยงนั้นประกาศหนักแน่นแล้วว่า จะยึดหลักมั่น 4 ประการไม่เปลี่ยนแปรเช่นกัน คือ

หนึ่ง - สำหรับชนชาติกะเหรี่ยงแล้วนั้น ความพ่ายแพ้อยู่เหนือปัญหา

สอง - รัฐกะเหรี่ยงต้องถูกสร้างให้เป็นจริงและได้รับการยอมรับอย่างถูกต้อง

สาม - กะเหรี่ยงจะคงไว้ซึ่งอาวุธทุกชนิดอย่างครบครันต่อการพิทักษ์ภัย

สี่ - โชคชะตาทางการเมือง เศรษฐกิจ ชนชาติกะเหรี่ยงจะตัดสินลิขิตด้วยตนเอง

ชนชาติกะเหรี่ยงนั้น มีความเชื่อมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างสูงถึงกับตอกย้ำยุวชนของเขาทั้งหลายว่า "เสรีภาพมีไว้เพื่อผู้กล้าหาญและยอมตายในสนามรบดีกว่าที่จะมีชีวิตอยู่อย่างอดสูเป็นทาสพม่าไม่มีที่สิ้นสุด"

"ไม่มีคนเลวที่น่าเกลียดน่ากลัวเท่ามันอาชญากรโหดของโลกที่ไม่ควรพึงให้อภัย หลายปีที่คนเลวผู้นี้ครองอำนาจเขาไม่เพียงแต่ทำลายสันติสุขของชนกลุ่มน้อย ยังนำพาสังคมพม่า คนพม่าไปสู่ความวิบัติ ประชาชนต้องทนอยู่อย่างอดอยากปากหมอง" พ.ท.ตาหม่อง ผู้บัญชาการหน่วยรบวังข่า พูดถึงผู้นำพม่ากับ "ผู้จัดการ"

ความร้าวฉานของพม่ากับชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ นอกจากจะเชื่อมโยงถึงประเทศไทยให้วางตัวอย่างลำบากแล้วนั้น ยังเป็นที่น่าเสียดายอีกมาก เพราะถ้าไม่มีปัญหาเหล่านี้แล้ว ด้วยความพร้อมของทรัพยากรนานาชนิดคงผลักดันให้พม่าก้าวไปสู่ความเป็นประเทศชั้นนำของโลกไปแล้วก็ได้

ทุกคนที่สนิทสนมกับพม่าต่างสรุปพ้องกันว่า "พม่าจะไปโลดก็ต่อเมื่อหมดยุคเนวิน" แต่ดูๆ ไปก็เป็นเรื่องยากไม่น้อย เพราะนายพลเนวินได้วางสายอำนาจของตนไว้เสร็จสรรพและค่อนข้างยาวนานเสียด้วย

ในสังคมโชเชียลลิสต์แบบพม่า กลุ่มที่เถลิงอำนาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ ก็ได้แก่ กลุ่มนายทหารชั้นนำทั้งหลาย พวกนี้จะมีความกินดีอยู่ดีและเป็นสมุนของนายพลเนวินเกือบทั้งสิ้น !!!

"แต่ไม่มีใครให้กดดันตลอดไปหรอก ขณะนี้ทางฝ่ายพลเรือนที่คุมการบริหารงานบางส่วน ซึ่งมีโอกาสไปยังประเทศต่าง ๆ และได้เห็นความแตกต่างกันลิบลับกับพม่าต่างพยายามเรียกร้องให้มีการทบทวนนโยบายต่าง ๆ เสียใหม่" มร.ไวแมน อดีตวิศวกรประจำโรงงานประกอบรถยนต์ "ฮีโน่" ในกรุงย่างกุ้ง กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ปีศาจที่หลอกหลอนรัฐบาลพม่าให้ขวัญผวาอยู่เนือง ๆ เช่น ชนชาติกะเหรี่ยงนั้นมิหมายความเพียงแค่การสู้รบในสนามสงครามที่แม้ว่าพม่าจะอาศัยความได้เปรียบทุก ๆ ด้านแล้วก็ยังไม่อาจกำราบความกล้าหาญชาญชัยของกะเหรี่ยงลงไปได้เท่านั้น แต่กล่าวโดยแง่เศรษฐกิจ กะเหรี่ยงก็ยังเป็นเสี้ยนที่ทิ่มแทงหัวใจพม่าให้ปวดหนึบ ๆ เล่น ๆ ได้ตลอดเวลาเช่นกัน

กะเหรี่ยงขนานนามแผ่นดินที่พวกเขาอาศัยอยู่ว่า "กอลาห์" อันหมายถึงดินแดนที่เขียวขจี พรั่งพร้อมด้วยความอุดมสมบูรณ์โดยไม่อดอยากชั่วนาตาปี ซึ่งในความเป็นจริงพวกเขากล่าวโดยไม่ผิดเพี้ยนแต่อย่างใด รัฐบาลพม่าเองก็เข้าใจซึ้งถึงข้อนี้ ดังนั้นจึงทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อจะยึดครอบพื้นที่กะเหรี่ยงให้ได้

ตลอดแนวแม่น้ำเมย 360 กิโลเมตร นับตั้งแต่ตอนใต้ที่วะเลย์ไล่ไปจนถึงแม่ตะวอ คิซาลู จนไปบรรจบแม่น้ำสาละวินตรงรอยต่อกับเขต จ.แม่ฮ่องสอนของไทย ซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนกะเหรี่ยงและกองบัญชาการใหญ่ตามเทือกเขาที่ตั้งเหล่านั้นเต็มไปด้วยทรัพยากรที่สำคัญมากมาย เช่น ป่าไม้สัก ลิกไนท์ วุลแฟรม หินน้ำมัน น้ำมัน และอัญมณี

อย่าว่าแต่พม่าที่มองตาเป็นมันเลย นายทุนพ่อค้าไทยก็จ้องมองด้วยความกระสันต์อยากดุจเดียวกัน บางรายถึงกับเจรจากับผู้นำกะเหรี่ยงขอเข้าไปทำเหมืองอย่างลิกไนท์ (ในเขตทาคิยะ) ทั้งนี้ทั้งนั้นเพียงขอให้มีความปลอดภัยระดับหนึ่ง ไม่ต้องวิ่งแจ้นหนีทหารพม่าที่อาจบุกโจมตีไม่รู้ตัว

ถ้าพม่ายึดกะเหรี่ยงได้สำเร็จเมื่อใด คนที่อาจแฮปปี้อีกรายก็คือ "ญี่ปุ่น" ที่มุ่งหวังอย่างมากกับการจะเข้าไปพัฒนาทรัพยากรในเขตอิทธิพลกะเหรี่ยงให้มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจที่เป็นจริง

กองทัพบกไทยเคยได้รับข่าวสาร "ลับ" จากเจ้าส่ายหว่าย อดีตเลขาธิการพรรครัฐฉานก้าวหน้า (SSPP.-SHAN STATE PROGRESSIVE PARTY) ของกลุ่มกองทัพรัฐฉาน (SSA.-SHAN STATE ARMY) เกี่ยวกับการกวาดล้างกะเหรี่ยงอย่างหนักของพม่าว่าเกิดขึ้นเพราะ "พม่าได้รับความสนับสนุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะรัสเซียเป็นหลัก ซึ่งโซเวียตมองว่า ถ้าได้พม่ามาเป็นพวกทำลายกองกำลังกะเหรี่ยงให้อ่อนล้าลง ก็จะง่ายต่อการขยายอิทธิพลในอินโดจีน"

เจ้าเสือหว่าย รายงานว่า "พม่าไม่มีทางทำได้ด้วยตนเอง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่ดีมาโดยตลอด ไม่มีสมรรถนะทางอุตสาหกรรมหรือการลงทุนใด การโจมตีอย่างบ้าคลั่งที่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณมากมายภายใต้สภาพการณ์รันทดทวยทางเศรษฐกิจไม่น่าจะทำได้หากขาดการช่วยเหลือ"

ไทยเองก็เชื่อว่า รัสเซียได้ให้การช่วยเหลือพม่าอย่างลับ ๆ มาตั้งแต่ปี 2527 แต่รัฐบาลพม่าก็ยังประสบความล้มเหลวในการทำลายกะเหรี่ยง จนเดี๋ยวนี้รัสเซียเริ่มเบนตัวออกห่างและมีข่าวบางสายบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า ได้หันกลับไปช่วยเหลือกะเหรี่ยงแทนด้วยการส่งครูฝึกการสู้รบและช่วยพัฒนาอาวุธให้กองทัพกะเหรี่ยง

ขณะที่รัสเซียปลีกตัวออกห่างพม่าก็ได้ผู้ช่วยเหลือรายใหม่อย่างญี่ปุ่นที่สนับสนุนการเงินอย่างแข็งขัน เนื่องจากญี่ปุ่นไปร่วมลงทุนในพม่าไว้มากจึงต้องการให้สะสางปัญหาความมั่นคงภายในโดยเร็ว "มีโรงงานผลิตอาวุธในย่างกุ้งหลายแห่ง และนี่พม่าก็กำลังซื้อเครื่องบินรบอีกหนึ่งฝูง" แหล่งข่าวกรองของ "ผู้จัดการ" ในพม่ารายงาน

เบื้องหลังของการมุ่งทำลายกะเหรี่ยงอย่างเอาเป็นเอาตายที่ "ผู้จัดการ" ได้รับรายงานคือว่า มีบริษัทต่างชาติแห่งหนึ่งติดต่อขอเข้าไปสำรวจแหล่งน้ำมันในเขตอิทธิพลกะเหรี่ยง (ด้านตรงข้าม อ.แม่สอด) ซึ่งบริษัทแห่งนี้เชื่อว่าจะต้องพบบ่อน้ำมันขนาดใหญ่ค่อนข้างแน่นอน

โรงกลั่นน้ำมันแห่งที่ 3 ของพม่าจึงเป็นการคาดหวังว่าควรจะเกิดขึ้นในพื้นที่นี้ !!

แต่เรื่องของเรื่องมันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะเขตอิทธิพลกะเหรี่ยง ๆ ได้ย้ำหนักแน่นแล้วว่า "จะไม่มีวันปล่อยให้พม่ามาทำผลประโยชน์ได้เด็ดขาด" !!!

เสี้ยนที่ตำหัวใจพม่าอย่างกะเหรี่ยงนี้นับวันยิ่งจะร้อนแรง !!!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us