เพราะความล้มเหลวของระบอบการปกครองแบบโชเชียลลิสต์แบบพม่าๆ ที่สั่งสมความอัตคัดทางเศรษฐกิจมานับสิบๆ
ปี ทำให้เริ่มรู้สึกและมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับยุคสมัยกันบ้างแล้วโฉมหน้าใหม่ของงเมืองม่านมิได้มีความสำคัญเฉพาะเพียงคนในชาติเท่านั้น
หากพร้อมเสมอที่จะส่งผลกระทบทั้งทางตรงหรือโดยอ้อมมายังประเทศไทยด้วย!!?
นักประวัติศาสตร์ชุดหนึ่งเคยศึกษาพบว่ามีชนเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่ในพม่าถึง
126 เผ่า!!!
และนั่นได้กลายเป็นสายธารแห่งความยุ่งยากในการปกครอง กลายเป็นความเปราะบางที่ก่อให้เกิดการแตกร้าวภายใน
จนทำให้พม่าต้องพบกับความยากลำบากในการอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศชาติมหาอำนาจต่างๆ
อยู่ตลอดเวลา
เมืองม่านกลายเป็นสมบัติที่ต่างชาติผลัดกันเข้ามาชม รุมทึ้งบ่อนแซะประโยชน์โภชผลที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ไปอย่างน่าสังเวชใจ!!!
ปี พ.ศ.2490 อูอ่องซาน คนหนุ่มหัวก้าวหน้าได้จุดชนวนและเป็นผู้นำที่กระชากเอาเอกราชของพม่ากลับคืนมา
เขาประกาศเจตนารมณ์หนักแน่นในการปลดเปลื้องความมีอิสรภาพหลุดพ้นจากการครอบงำของอังกฤษ
เขาทำได้และเป็นจุกเริ่มต้นของความหวังใหม่ตามสัญญาเวียงป๋างโหลงที่ประทับใจมมากว่า
"ขอเวลา 10 ปีให้พวกเราอยู่ด้วยกันรักใครกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวไม่มีชนเผาใดๆ
ในพม่าอีกแล้ว พวกเราจะเป็นสายเลือดเดียวกันมีโครงการร่วมกันที่จะช่วยกันสร้างและพัฒนารัฐต่างๆ
ให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติสืบไป"
อูอ่องซานทำเช่นนี้เพราะไม่ต้องการเห็นการทะเลอะวิวาทของชนกลุ่มต่างๆ ในพม่าซึ่งล้วนแล้วแต่สืบสายเผ่าพันธุ์เดียวกันทั้งสิ้น
ซึ่งถ้าเขาไม่ด่วนถูกฆาตกรรมปัญหาชนกลุ่มน้อยในพม่าที่เกิดขึ้นในขณะนี้คงไม่มีแน่
และพม่าเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองคง อหังการได้อย่างไม่ต้องอายใคร!?
อนิจจังน่าสงสารคนม่านที่มีบุญนั้นมีแต่กรรมดันทะลึ่งมาบังไปเสียก่อนนี่!!
ปีพ.ศ. 2500 ทั่วโลกได้รับแจ้งข่าวใหญ่สะเทือนขวัญว่า มีบุคคลกลุ่มหนึ่งใช้ปืนกลมือเป็นอาวุธพากันบุกเข้าไปในรัฐสภาของพม่าขณะที่มีการประชุม
พร้อมกับสาดกระสุนเข้าใส่กลุ่มบุคคลสำคัญทางการเมืองอย่างบ้าดีเดือด
ความอุกอาจโหดเหี้ยมครั้งนั้นพรากชีวิตและวิญญาณของอู่อ่องซาน "วีรบุรุษสัตย์ซื่อ"
ให้จากไปอย่างน่าอเน็จอนาถพร้อมกับสมาชิกรัฐสภาอีกหลายสิบคน เบื้องลึกของการสังหารโหดครั้งนั้นเพื่อทำลายศัตรูทางการเมืองขั้นเด็ดขาด
ทำลายคนสำคัญของเผ่าต่างๆ ที่รอวันแยกตัวเป็นอิสระให้หมดไป
เนื่องเพราะมีอู่อ่องซานและคนใกล้ชิดเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เข้าใจลึกซึ้งว่า
บรรดาเผ่าต่างๆ มีศักยภาพพอที่จะสร้างความรุ่งเรืองให้แก่รัฐบาลของตนได้
การที่ขอเวลา 10 ปีก่อนยินยอมให้แยกกันไปนั้นเพียงเพื่อกระชับความสำคัญให้แน่นแฟ้นและสร้างฐานที่แข็งแกร่งแรงพอกันเสียก่อน
แต่ความคิดของอู่อ่องซานกลับเป็นหายนะภัยของกลุ่มมีอำนาจบางกลุ่มที่ไม่มีวันจะยินยอมให้เผ่าต่างๆ
ปลีกตัวไปเป็นอันขาด ทุกเผ่าจะต้องเป็นเมืองส่วยที่ขึ้นต่อรัฐบาลกลางพม่าโดยตรง
คนกลุ่มนี้พยายามคัดค้าน โจมตีความคิดของอู่อ่องซานมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่อาจทำลายภาพพจน์ของเขาที่มีต่อคนพม่าให้เลือนลางไปได้
ทางเลือกสุดท้ายที่จะบ่อนสลายแนวคิดนี้ได้จึงมีทางเดียวคือ "เก็บ"
ตัวต้นตออู่อ่องซาน!!!
คนที่สืบทอดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากอู่อ่องซานคือ "อ่องอูนุ"
นายพลที่มากไปด้วยเล่ห์เพทุบายทางการเมือง และเป็นคนที่พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์แห่งตน
อูนุก้าวร้าวต่อสัญญาเวียงป๋างโหลงจนเป็นเหตุให้ชนเผ่าต่างๆ ต้องลุกขึ้นมาทวงสิทธิอันชอบธรรม
ยุคสมัยนี้จึงเต็มไปด้วยการเข่นฆ่าของคนม่านด้วยกันเอง ระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่เริ่มจะได้รับการสถาปนามาบ้างแล้วในสมัยอู่อ่องซานถึงกาลพังพินาศโดยปริยาย
รัฐบาลมีแต่งานปราบปรามจนไม่สนใจจะพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
แล้วสังคมพม่าก็เดินทางมาถึงยุคกักขังตัวเองโดยสมบูรณ์แบบ ภายหลังจากที่นายพล
เนวิน ทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลอูนุเมื่อปีพ.ศ.2505 พร้อมกับชักนำประเทศไปสู่ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมประกาศปิดประเทศไม่สุงสิงกับโลกภายนอกอีกต่อไป
รัฐบาลเนวินมีเป้าหมายในระยะแรกๆ ของการปิดประเทศเพื่อเคลียร์ปัญหาชนกลุ่มน้อยให้ลุล่วงเสียก่อน
ทว่านโยบายและแผนงานที่นำมาใช้กลับถูกตราหน้ามากว่าเขานั้นเป็น "ฆาตกรโหด"
กอปรกับการไม่เปิดใจกว้างรับรู้ความเป็นไปของประเทศอื่น ปิดกั้นการลงทุนจากประเทศที่จะเข้าไปในพม่า
พม่าในยุคนี้จึงกลายเป็นยุคที่ซอมซ่อและเลวร้ายเหลือประมาณ เศรษฐกิจภายในได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนัก
การส่งออกสินค้าต่างๆ หยุดชะงักอย่างข้าวที่พม่าเคยเป็นที่หนึ่งในการผลิตข้าวเกือบ
54% เพื่อส่งขายยังตลาดโลกก็กลายเป็นเพียงตำนานเล่าขานกันฟังเท่านั้น!!
สุดท้ายในขณะนี้คนม่านเองที่กลับจะผลิตข้าวจะไม่พอกินเสียอีก!!!
พม่านับตั้งแต่ปีพ.ศ.2505 เป็นต้นมาจึงมีฐานะเป็นเมืองลึกลับที่ทำให้ใครต่อใครติดตามและพิจารณาบนพื้นฐานต่างๆ
นานาว่า เศรษฐีที่เจียมถ่อมหมกตัวเองอยู่ในกระต๊อบทำตัวไม่ยี่หระต่อสังคมภายนอกภายใต้การปกครองระบบสังคมนิยมแบบพม่าๆ
นั้น เป็นการกระทำของคนโง่หรือฉลาดกันแน่!?
คุณไม่ขอฉันก็ไป
จากสภาพความกดดันที่เป็นจริงเหล่านั้นทำให้พม่าต้องยอมจำนน เริ่มผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดเกี่ยวกับการลงทุนลงในระยะปีสองปีมานี้
ทั้งนี้เพื่อหวังใช้เป็นตัวกระตุ้นให้ชาวต่างชาติเข้าไปลงทุน ซึ่งก็ไม่ผิดหวังเพราะปกติเมื่อเป็นเมืองลึกลับ
ใครๆ ก็จ้องมองโอกาสนี้อย่างใจจดใจจ่ออยู่แล้ว
ก็สภาพของประเทศต่างๆ ในกลุ่มอินโดจีนคงเหลือพม่านี่แหละทรัพยากรต่างๆ อันเป็นปัจจัยสำคัญของธุรกิจการอุตสาหกรรม-เกษตรกรรมยังคงมีอยู่ในปริมาณที่มากมายเหลือเฟือ
ญี่ปุ่นกับนโยบายรุกคืบทางเศรษฐกิจจ้องจาบเป็นชาติแรก นอกจากจะส่งออกสินค้าของตนเข้าไปในตลาดพม่าอย่างมากในช่วง
2-3 ปีมานี้ ญี่หุ่นยังได้มีโอกาสเข้าไปร่วมลงทุนในโครงการใหญ่ๆ กับรัฐบาลพม่า
บางโครงการเป็นแบบช่วยเหลือแบบให้เปล่าโดยไปหวังผลด้านอื่นทดแทน
ไม่รู้กี่แสนล้านแล้วที่ญี่ปุ่นโถมลงไปในพม่า!!!
อำนาจทางเศรษฐกิจของพม่าถูกจองจำให้เป็นทาสญี่ปุ่นแล้วอีกครั้ง!??
ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่น-พม่า หากทบทวนประวัติศาสตร์ของพม่าก็มีระยะเวลายาวนานไม่น้อย
ญี่ปุ่นเคยกุมสภาพของพม่าแบบเบ็ดเสร็จมาแล้วก่อนที่จะถูกอังกฤษยึดกลับคืนไปเมื่อวันที่
3 พฤษภาคม 2488 การสู้รบครั้งนั้นอังกฤษต้องใช้เวลายาวนานถึง 2 ปีกว่าที่จะกำชัยชนะเอาไว้ได้
ญี่ปุ่นหวนกลับมามีบทบาทอย่างลับๆ ลึกๆ อีกหนในช่วงสมัยที่อู่อ่องซานเตรียมจะปฏิวัติ
โดยให้การสนับสนุนอู่อ่องซานและสมาชิกพรรคพม่าเสรี 30 คนเข้าไปฝึกยุทธวิธีการสู้รบทางทหารญี่ปุ่น
เพื่อขับไล่อังกฤษออกไป ญี่ปุ่นในราวปีพ.ศ.2490 เริงร่ามากกับการกุมอำนาจบริหารเหนือแผ่นดินพม่าไว้ในกำมือ
แต่ถ้าถามญี่ปุ่นว่าเกลียดใครมากที่สุดก็ตอบได้ว่า "อู่อ่องซาน"
เพราะอู่อ่องซานได้ขอความช่วยเหลือจากกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรลอบตั้งกลุ่มการเมืองลึกลับชื่อ
"กลุ่มทะขิ่น" ทำหารเคลื่อนไหวขับไล่ให้ญี่ปุ่นต้องกระเด็นไปจากวงโคจรที่กำลังเสพประโยชน์สุขจากพม่าอย่างเมามัน
แค้นนั้นเป็นพาระที่จะต้องทวงถามจนถึงปัจจุบัน ถึงกระนั้นญี่ปุ่นก็คุ้มแล้วที่ได้ศึกษาจากข้อมูลทุกๆ
ด้านของพม่าเอาไว้ ซึ่งเมื่อพม่าสะเดาะกุญแจเปิดใจให้ต่างชาติไปลงทุนญี่ปุ่นจึงไม่รีรอที่จะ
"เสี่ยง" บนพื้นฐานของความรุ่งโรจน์ที่เป็นไปได้ค่อนข้างสูง!!!
พม่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีบ่อน้ำมันเป็นของตัวเอง มีโรงกลั่นน้ำมันเอง
บ่อน้ำมันขนาดใหญ่มีอยู่ 2 แห่งคือที่เมืองซีเรียม (CILIAM) กับที่หมู่บ้านมันติอะกัน
(MANTIAGAN) ซึ่งอยู่เหนือไปจากเมืองย่างกุ้งประมาณ 300 ไมล์ โรงกลั่นน้ำมันตั้งอยู่ที่นี่เช่นกัน
น้ำมันพม่านั้นเขาขายกันถูกมากราคาลิตรละไม่กี่บาท เทียบเป็นเงินไทยแล้วไม่ถึง
3 บาทด้วยซ้ำ ราคาอย่างนี้ถ้าเป็นในเมืองไทยมีหวังช่วยให้บริษัทรถยนต์ขายดีขึ้นอีกเท่าตัวเป็นแน่แท้
ระบบขนส่งน้ำมันที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ พม่าได้รับช่วงเหมาลำเรือจากบริษัทโธมาสคุ๊ก
และบริษัทอิระวดีฟอลติลลา (IRRAWADDY . FROTILLA CO.LTD.) ซึ่งเป็นบริษัทผูกขาดการเดินเรือทั้งหมดในพม่า
ทั่งบ่อน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน ไปจนถึงบริษัทขนส่งน้ำมัน แทบจะกล่าวได้ว่าญี่ปุ่นมีส่วนเข้าไปผูกขาดควบคุมกลไกสำคัญๆ
ขององค์การไว้จนเกือบหมดแล้วในขณะนี้แม้แต่การโจมตีฐานกะเหรี่ยงอย่างหนักในช่วงต้นปีนี้ก็เกิดขึ้นจากแรงบีบจากญี่ปุ่นเป็นสำคัญ
เนื่องเพราะต้องการสำรวจแหล่งน้ำมันเพิ่ม
โครงการระดับบิ๊กที่ญี่ปุ่นช่วยสุดตัวอีกก็คือโครงการสร้างสนามบินใหม่ "มิงกะลาโต"
เพื่อใช้แทนสนามบินย่างกุ้งที่ใกล้หมดสภาพเต็มทน นอกไปจากความน่ารักน่าเอ็นดู
ที่ค่อนข้างเข้มงวดแล้วนั้น สนามบินย่างกุ้งยังไม่อาจเทียบติดสนามบินเชียงใหม่หรือภูเก็ตของไทยได้เลย
แต่สนามบินใหม่ "มิงกะลาโต" ที่สิ้นงบลงทุนหลายหมื่นล้านบาท เป็นสนามบินอยู่ถัดจากกรุงย่างกุ้งไปทางเหนือ
10 ไมล์ สนามบินนี้ญี่ปุ่นคาดหวังที่จะให้เป็นศูนย์กลางการบินทางพาณิชย์ในเอเชียอาคเนย์คงแล้วเสร็จในไม่ช้าซึ่ง
"ดอนเมือง" และ "ชางกี" ของสิงคโปร์คงพบศึกหนัก
ในส่วนการลงทุนภาคเอกชนของญี่ปุ่นที่เริ่มสยายปีกเข้าไปในพม่าก็มี โรงงานประกอบรถยนต์ของบริษัทฮีโน่
จำกัด กับบริษัท มาสด้า จำกัด เมื่อก่อนนั้นรถที่ใช้ในพม่าเป็นรถเก่าหลังสงครามโลกเสียเกือบหมดจนมีเสียงพูดกันว่าพม่าคือศูนย์กลางรถยนต์เก่าที่ใหญ่ที่สุดของโลก
ก็ขนาดรถด๊อซประเภทใช้มือหมุนเครื่องยังวิ่งปุเลงๆ กันอยู่บนท้องถนนเลย!!
รถยนต์ของ 2 บริษัทที่ประกอบในพม่าเป็นรถยนต์บรรทุกขนาดเล็กมากกว่าจะเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
โรงงานแต่ละแห่งมีพนักงานประมาณ 400 คน โดยมีผู้เชี่ยวชาญของญี่ปุ่นทำหน้าที่บริหารเกือบทุกจุด
ระดับค่าจ้างสูงสุดที่ญี่ปุ่นจ่ายให้คนม่านที่เป็นวิศวกรนั้น 3,000 จ๊าต
(พันบาทไทย) แต่ยังดีที่ญี่ปุ่นเริ่มเห็นความสำคัญแรงงานระดับเทคนิคมากขึ้นโดยเฉพาะฮีโน่มีการให้ทุนการศึกษาวิศวกรพม่าไปอบรมดูงานถึงปีละ
25 คน
"ญี่ปุ่นก็คงเป็นญี่ปุ่นที่ไม่มีการช่วยแบบให้เปล่า สิ่งที่เขาหวังจากพม่ามากก็คือวัตถุดิบที่เรามีพอที่จะเป็นฐานสำคัญในการผลิตรถยนต์ของเขาได้
ที่ทราบมามีการนำวัตถุดิบกลับไปญี่ปุ่นกันมากแล้วส่งรถเก่าๆ เข้ามาขายแทน"
มร.ไวแมน อดีตวิศวกรพม่าของฮีโน่กล่าวกับ "ผู้จัดการ"
แต่ไม่ว่าอะไรก็ตาม เราต้องยอมรับความเป็นจริงประการหนึ่งว่า พม่านั้นมีวัตถุดิบเพื่อ
อุตสาหกรรมรถยนต์มาก แรงงานก็ถูก ขาดเพียงเทคโนโลยีและคุณภาพของคนที่ต้องเร่งพัฒนาเท่านั้น
ถ้าเขามีความพร้อมในทุกสิ่งเหล่านี้เมื่อไหร่
บางทียาหอมของรถยนต์ค่ายต่างๆ ที่จะให้ไทยเป็นศูนย์กลางในย่านภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ก็อาจเป็นลมที่เปลี่ยนทิศทาง!!??
โครงการลา-ปิ-ดู-โครงการร่วมของบริษัท มัสซูซิตะ จำกัด (เนชั่นแนล) ก็อยู่ในข่ายน่าสนใจ
เพราะโครงการนี้มีผลกระทบต่อตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าไทย-พม่า ได้อย่างสบายๆ เนื่องจากในอดีตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ขายกันในพม่าล้วนนำเข้าจากฝั่งไทยแทบทั้งสิ้น
มูลค่าส่งออกเฉลี่ยวันละ 2 ล้านบาท
ดังนั้นหากโครงการลา-ปิ-ดู เป็นตัวเป็นตนเมื่อไรด้วยนโยบายปกครองสังคมนิยมพม่าบังคับให้คนของเขาหันมาใช้ของที่ผลิตเองภายในประเทศ
หรือดีไม่ดีอาจส่งกลับเข้าตลาดไทยเรียกดุลการค้าที่เคยเสียไปกลับคืนก็ย่อมที่จะเป็นไปได้!?
แต่โครงการที่น่าจะเป็น "ภัย" กับไทยมากที่สุดน่าจะเป็นพวกอุตสาหกรรมสิ่งทอที่กำลังมีอนาคตสดใสในตลาดโลก
เดิมทีพม่าถึงจะมีโรงงานสิ่งทอขนาดใหญ่ 2 โรง แต่ผลผลิตกลับไม่เป็นที่นิยมของคนม่านด้วยกันมากนัก
ทั้งนี้เพราะ หนึ่ง-ลายพิมพ์ไม่สวย สอง-การผลิตห่วย พ่อค้าในตลาดมืดต้องสั่งนำเข้าไปจากเมืองไทย
เป็นสินค้าออกที่เป็นที่เชิดชูหน้าชูตาของไทยมาก
ถ้าใครเคยเข้าเที่ยวในพม่า แล้วแวะไปเที่ยว "มิงกะลาบา" หรือไชน่าทาวน์ของเขาพบเห็นผ้าผืนสวยๆ
วางขายเกลื่อนกลาดนั่นล่ะเป็นผ้าที่ไปจากฝั่งไทยทั้งนั้น!!!
ทว่า สภาพการณ์เช่นนั้นมีสิทธิเปลี่ยนแปลงไปในไม่ช้า เพราะจ้าวสิ่งทอโลกเช่น
ญี่ปุ่นกำลังเข้าไปมีบทบาทในเรื่องนี้กันแล้ว โดยจะร่วมมือกับรัฐบาลพม่าเร่งยกระดับการผลิตหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทดแทนการผลิตแบบเก่าที่ล้าสมัย
นอกจากนี้ มีข่าวที่น่าเป็นไปได้มากว่า กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยสังเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียเคยติดต่อผ่านรัสเซียช่วยเจรจาบีบที่จะเข้าไปลงทุนในพม่า
จะเป็น "เบอร์ล่ากรุ๊ป" หรือไม่นั้น "ผู้จัดการ" ยังไม่กล้าจะชี้ชัด
แต่ถ้าใครอ่านเรื่องราวของเบอร์ล่ากรุ๊ปใน "ผู้จัดการ" ฉบับที่ผ่านมาคงเห็นทิศทางการลงทุนของกลุ่มนี้ได้ดี
เมาะละแหม่ง
เปิดเมื่อไรตัวฆ่าชั้นดี
"พม่าหรือถ้าไปอย่างนักท่องเที่ยว คุณจะเห็นมากที่สุดก็แค่เจดีย์และโบราณสถานต่าง
ๆ เรื่องที่จะได้ไปดูการลงทุนอะไรของเขานั้นยาก"
"ในตัวแม่สอดเอง ยังมีสันติบาลพม่าคอยสอดแนมหาข่าวพ่อค้าตลาดมือของเขาที่ติดต่อกับไทย"
นั่นเป็นคำกล่าวของหลายคนที่เคยเข้าไปพม่ามาแล้วกับ "ผู้จัดการ"
พม่าในปัจจุบันแม้จะมีการเปิดประเทศให้คนต่างชาติเข้าไปท่องเที่ยว แต่คงเป็นการเปิดในลักษณะลักปิดลักเปิดเสียมากกว่ายิ่งมีอีกหลายเขตที่รัฐบาลพม่าไม่ยอมให้ต่างชาติย่างเหยียบเข้าไปถึง
เพราะเมืองเหล่านั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของพม่า
เช่น เมืองเมาะละแหม่ง
เมืองเมาะละแหม่งเป็นชื่อที่คนไทยคุ้นหูกันดีมานับนมนาน เพราะในอดีตการค้าขายไทย-พม่าก่อนที่จะเข้าไปยังใจกลางกรุงย่างกุ้งต้องผ่านเมืองเมาะละแหม่งเสียก่อนจนเมืองนี้คล้ายกับเป็นเมืองท่าขนส่งสินค้า
เมาะละแหม่งอยู่ติดกับทะเลอันดามันจึงสะดวกต่อการขนส่งสินค้ามากกว่าที่อื่น
พม่านั้นยังปิดตายเมาะละแหม่ง เมืองที่เขาหวังจะให้เป็นพอร์ตทาวน์ในอนาคต
ซึ่งดูตามสภาพภูมิศาสตร์เมืองนี้มีศักยภาพต่อการส่งออกอย่างสูง เพราะอยู่กึ่งกลางแม่สอด-ย่างกุ้ง
หากเส้นทางที่จะสร้างจากพม่ามาบรรจบถนนสายเอเชียของไทยเป็นจริง จะมีผลปรับให้เมาะละแหม่งกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ของการส่งออกไปในทันที
หรือว่านี่จะเป็นลางสังหรณ์บอกว่า ศูนย์กลางส่งออกทางภาคเหนือของไทย อาจจะย้อนกลับไปหาเมืองเมาะละแหม่งที่เคยมีความสำคัญในอดีตมาแล้วอีกแล้วหนึ่ง
!!??
อันตรายของเมืองเมาะละแหม่งอีกเรื่องคงเป็นผลต่อเรื่องการท่องเที่ยว เพราะเมืองนี้มีทะเลที่ทั้งสวยงามและบริสุทธ์
ด้านตะวันตกมีเกาะ "พอเลี่ยง" หรือ "เกาะผาลู" ที่รัฐบาลพม่าหวงห้ามเป็นพิเศษยังไม่เปิดให้ใครเข้าไปชมความงาม
จากการเดินทางในอนาคตที่จะใช้เวลาจากแม่สอดไปยังเมืองนี้ไม่กี่ชั่วโมง เห็นทีต่อไปคนทางเหนือคงไม่ต้องไปเที่ยวทะเลไกลถึงพัทยาหรือภูเก็ต
นี่เป็นความน่ากลัวที่แฝงเร้นมากับความสะดวกสบายที่เราควรหาวิธีรับมือกันเสียเนิ่น
ๆ !!!
แต่ถ้าใคร่อยากไปเมืองเมาะละแหม่ง (สมัยก่อนเดินข้ามไปได้สบาย") ในขณะนี้แล้วล่ะก็มีทางเดียวเท่านั้นคือต้องลักลอบเข้าไป
โดยใช้เส้นทางในเขตอิทธิพลกะเหรี่ยง ซึ่งเส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางที่พ่อค้าตลาดมืดของพม่าใช้กันอยู่
จุดเริ่มต้นอาจเริ่มจากตำบลเมียวดีของพม่าด้านตรงข้ามแม่สอดเลยก็ได้ ถ้าไม่ถูกเจ้าหน้าที่พม่าซิวตัวไปเสียก่อน
แต่ให้ง่ายจริงเริ่มจากวังข่าหรือวังแก้วของกะเหรี่ยงดีกว่า จากนั้นค่อยเดินวกกลับผ่านป่าสักข้ามเขาสูงเป็นระยะทางเดินเท้าประมาณ
60 กิโลเมตรเพื่อเข้าสู่อำเภอเกราะกริกหรือ "กอกะเลค" (ทางนี้ถ้าไปจากเมียวดีจะใช้รถจิ๊ปหรือรถด๊อช)
จากเกราะเกริกอีก 30 กว่ากิโลเมตรที่ต้องเดินเขากันอีกจะถึงท่าเรือจองโต
ซึ่งที่นี่จะมีเรือแล่นไปตามลุ่มน้ำอิระวดีจนถึงเมาะละแหม่ง
รวมเวลาลักลอบไป-กลับ ให้เร็วที่สุด 6-8 วัน "สวยมากครับน่าไปเที่ยวเมืองนี้จะมีความสำคัญยิ่งในอนาคต"
คนเก่าแก่ที่เคยไปเมาะละแหม่งมาแล้วเล่าให้ฟัง "ผู้จัดการ" เองทีแรกก็อยากจะไปให้ถึง
แต่ด้วยอุปสรรคบางประการจึงไปได้เพียงบางส่วนที่ก็ "อันตราย" เหลือจะทนแล้วเช่นกัน
!
พลิกแผ่นดินค้าพม่า
ความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-พม่า มีทั้งในและนอกระบบ มูลค่ารวมแต่ละปีไม่น้อยกว่าหกพันล้านบาท
แต่ถ้าคิดเฉพาะในระยะจะตกประมาณ 1,000 ล้านบาท โครงสร้างสินค้าออกจากเราไปก็เช่น
ในปี 2529 มีผงชูรส 219.6 ล้านบาท เรือขนาดไม่เกิน 100 ตัน 52.9 ล้านบาท
แห อวย ไนล่อน 12.8 ล้านบาท เส้นด้ายใยสังเคราะห์ 12.4 ล้านบาท ยารักษาโรค
11.2 ล้านบาท
สินค้าที่นำเข้าจากพม่าก็มีไม้ 656.7 ล้านบาท แร่พลวง 41.1 ล้านบาท ทับทิม
9.1 ล้านบาท หยก 5.6 ล้านบาท ไพลิน 2.3 ล้านบาท และพืชไร่ต่าง ๆ 1.2 ล้านบาท
แต่ตัวเลขนี้เป็นเพียงภาพลวงตาเพราะในเนื้อแท้นั้นแค่ชายแดนแม่สอดมูลค่าส่งออกในปีหนึ่ง
ๆ ตกถึง 9,636 ล้านบาท แบ่งเป็น
สินค้าที่เราส่งออกไปมี ผ้า-ไม้ วันหนึ่งประมาณ 24,000,000 บาท ผงชูรสวันหนึ่ง
800 กิโลกรัม 400,000. บาท รองเท้าฟองน้ำ เครื่องใช้ไฟฟ้า อะไหล่รถวันละ
2,000,000 บาท รวมแล้วปีหนึ่งเป็นเงิน 9,636 ล้านบาท
ส่วนการนำเข้าสินค้าจากพม่าก็แบ่งเป็น
หนึ่ง - ทองคำแท่งหนัก 10.9 บาท วันละ 200 แท่งเป็นเงิน 9,156,000 บาท
สอง - เงินแท่งวันละ 200 กิโลกรัม เป็นเงิน 9,000,000 บาท
สาม - หยกนำเข้าวันละ 2,200,000 บาท
สี่ - อัญมณีชนิดอื่นวันละ 4,000,000 บาท
ห้า - วัวนำเข้าวันละ 600,000 บาท
หก - แร่ ไม้ พืชไร่ วันละ 1,000,000 บาท
มูลค่านำเข้าสินค้าจากพม่ารวมแล้วปีหนึ่ง ๆ คิดเป็นเงิน 6,407 ล้านบาท ซึ่งหมายถึงการได้เปรียบดุลการค้าของฝ่ายไทยประมาณ
3,229 ล้านบาท
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลพม่าได้ประกาศนโยบายออกมาแล้วว่า จะเปิดให้มีการผลิตในระบบเกษตรกรรมอย่างเสรี
ไม่จำกัดปริมาณการผลิตอีกต่อไป ซึ่งคาดว่าในระยะ 6 เดือนข้างหน้าสภาพเศรษฐกิจภายในของพม่าจะกระเตื้องขึ้น
เวลานั้นควรที่จะเป็นนาทีทองของพ่อค้าไทยมิใช่หรือ สำคัญที่ว่ารัฐบาลไทยเองจะผ่อนปรนมาตรการปราบปรามการค้านอกระบบให้มากน้อยเท่าใด
!?
จับตาดูพม่ากันอย่างใกล้ชิดให้ดี ถ้าแรงหนุนให้เปลี่ยนแปลงนโยบายจากหลาย
ๆ ฝ่ายสัมฤทธิผลประเทศลึกลับแห่งนี้จะกลายเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ต่อการลงทุนอย่างฉับพลัน
เพราะไม่ว่าจะมองจากมุมไหนก็หาประเทศไหนในเอเชียอาคเนย์ไม่ได้อีกแล้วที่จะมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งไปกว่าพม่า
พม่าในสายตา "ผู้จัดการ" น่ากลัวไหมก็ "น่ากลัว" !!!
แล้วน่าลงทุนไหม ก็ "น่าลงทุน" !!!
ของพรรค์นี้บางทีมันก็ต้องวัดดวงกันบ้างจริงไหม !??