สุระ จันทร์ศรีชวาลา เติบโตจากรากฐานธุรกิจอันเกี่ยวข้องกับมหาชน ตั้งแต่ธุรกิจที่ดี
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และประกันชีวิต-ประกันภัย ในยามเขาเผชิญวิกฤติการณ์ด้านเศรษฐกิจ
เขาจะมุ่งรักษาธุรกิจเหล่านี้ไว้อย่างสุดแรง และยังไม่มีทางแยกว่า จะทิ้งแนวเดิมแต่อย่างไร
เขายังเล่นกับมหาชนต่อไป
และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการเก็งกำไร หรือหมุนกระดาษอยู่อย่างไรก็อย่างนั้น
เพราะเขาต้องการสิ่งที่เรียกว่า "เครดิต" และแสวงหามันมาตลอดชีวิต
แต่ดูเหมือนจะออกห่างตัวเขาออกไป ๆ "ผู้จัดการ" เคยอธิบายในเชิงจิตวิทยาไว้นานแล้วว่า
เพราะความเป็นแขกอันเป็นปมด้อยฝังลึกในจิตใจด้วย
ผู้ใกล้ชิดบอกว่า สุระ ดูเหมือนเป็นคนนุ่ม สุภาพในสายตาของผู้สัมผัสอย่างผิวเผินภายนอก
ซึ่งขัดแย้งกับบุคลิกของสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ คู่ปรับ ซึ่งก้าวร้าวและไม่เป็นมิตร
แต่ส่วนลึกแล้ว สุระเป็นคนแข็ง โดยเฉพาะเขาจะไม่ยอมอย่างหัวเด็ดตีนขาดกับคำสบประมาทหรือคำขู่
ครั้งหนึ่งเขาเจรจาประนอมหนี้กับผู้ใหญ่ของแบงก์ไทยพาณิชย์ โดยจะใช้ที่ดินบริเวณสวนหลวงมาพัฒนาตามแผนพัฒนาที่ดินที่เขายกมาอ้างเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
เกือบจะตกลงกันอยู่แล้ว พอเขามารู้ภายหลังว่า ผู้ใหญ่แบงก์นั้นต้องการจะขอซื้อที่ดินของเขาในราคาถูกเพื่อป้อนโครงการหมู่บ้านปัญญา
ผู้ใหญ่คนนั้นพูดจาเชิงสำทับในทำนองเพื่อแลกกับการประนอมหนี้อันจะลงตัวง่ายเข้าสุระดื้อแพ่งทันที
กับสมบูรณ์ นันทาภิวัฒน์ แล้วภาพที่สุระพยายามวาดออกมาให้คนเห็นก็คือ ความไม่พอใจต่อคำดูถูกดูแคลนของฝ่ายนั้นที่มีต่อเขา
แต่แหล่งข่าวกล่าวว่า มีบางคนแสดงอาการดูถูกดูแคลนแขกยิ่งกว่าสมบูรณ์เสียอีก
สุระยังยอม เพราะคน ๆ นั้นให้ประโยชน์กับเขา ลึก ๆ ลงไปแล้วสุระต้องการแบงก์แหลมทองเพราะต้องการ
"เครดิต" น่าจะเป็นคำตอบที่มีน้ำหนักกว่า
เครดิตในสายตาของเขา เป็นเพียงสิ่งต้องการเบื้องต้นเท่านั้น จากนั้นก็คือ
การใช้เครดิตให้ได้มาซึ่งอาณาจักรธุรกิจ เพื่อสะสมเครดิตที่ยิ่งใหญ่กว่าใหญ่โตไปเรื่อย
ๆ สุดท้ายก็คงต้องการเงินทองสะสมไว้ในที่ไหนก็ได้ในโลก ?
เพียงบันไดขั้นแรก สุระยังต้องใช้เวลากับมันมากมาย จนถึงวันนี้เพียงเห็นรำไรในทัศนะเขา
แบงก์แหลมทอง คือ "ตัวแทน" อันจับต้องได้ แสดงถึงเครดิต ขณะเดียวกันเขาก็ได้เรียนรู้ว่า
กิจการบริษัทเงินทุนประกันภัย ซึ่งเขาหวงแหนดุจชีวิตนั้นมันก็เริ่มความเป็นเครดิตของเขาในอดีต
แต่ก็ค่อยๆ เคลื่อนไหวไปในทางโน้มต่ำลงตามกาลเวลา แรงบันดาลใจต้องการสิ่งใหม่แทนจึงสูงทับทวี
บางคนบอก "ผู้จัดการ" ว่า แรงกระตุ้นสำคัญก็คือ เจ้าหนี้รายใหญ่
1-2 ราย พวกเขาต้องการให้สุระมีแบงก์จะได้ชำระหนี้เสียที ด้วยเหตุนี้กระมัง
ฝ่ายสมบูรณ์จึงกล่าวแบงก์ชาติไม่ช่วยเขาก็ต้องการให้สุระเคลียร์หนี้กรุงไทย
โดยใช้แบงก์แหลมทองเป็นหมากตัวสำคัญ
นักจิตวิทยาเชื่อว่า การเป็นคนจริงจังกับบางเรื่องจนเกินเหตุ อาทิ ความต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแรงกล้า
ความแค้นฝังรากลึกนำมาซึ่งทัศนะอันคับแคบ มุ่งแสวงหาหรือฉกฉวยสิ่งเหล่านั้นด้วยทุกวิถีทาง
บางครั้งอาจถลำลงที่ต่ำโดยไม่ตั้งใจ
มีคนถามต่อว่า สุระ เป็นแขกโพ้นทะเล และพฤติกรรมของเขามิได้มุ่งดำเนินธุรกิจปัหลักในประเทศไทยเท่านั้น
เขายังมีธุรกิจในหลายประเทศ และซ้ำมีการถ่ายเททรัพย์สินไปมา เพื่อสร้างทรัพย์สินโดยรวมให้มากขึ้น
เช่นเดียวกับ OVERSEA-CHINESE ซึ่งทำตัวเป็น "ผู้อพยพไม่สิ้นสุด"
เช่นนี้แล้วจะมีประโยชน์อะไร
เขาอาจมาแล้วจากไป ซึ่งก็อาจจะจริงหรือไม่จริง ?
แต่จากการศึกษาประวัติการต่อสู้อย่างทรหดของเขาในประเทศไทยอย่างละเอียดลึกซึ้ง
พบว่า สุระ จันทร์ศรีชวาลา วางจุดหนักของธุรกิจของเขาไว้ในประเทศไทย ส่วนที่ฮ่องกง
อินเดีย นั้นเป็นเพียงแขนขาสนับสนุนซึ่งกันและกัน ทั้งมีความหมายในแง่กระจายความเสี่ยงด้วย
ยิ่งอธิบายในกรณีแหลมทองแล้ว เขาแสดงเจตจำนงไม่ถดถอยเช่นนี้ สอดคล้องกับความจำเป็นต้องวางรากฐานธุรกิจของเขาในไทยนั้น
หากสุระเข้าแหลมทองได้สำเร็จ โดยไม่สะดุดดอกเบี้ยล้มเสียก่อน ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในวงการธุรกิจไทยของการต่อสู้แย่งชิงกิจการที่ยืดเย้อยาวนานที่สุด
และสุระได้ชื่อว่าเป็นคนที่พยายามไต่เส้นแห่งอำนาจอย่างหวาดเสียง บวกกับการแสวงหาอำนาจเงินชนิดพลิกแพลงสุดเหวี่ยง
ที่ยากจะหาคนเทียบได้
สำหรับยุคกลางเก่าลางใหม่แบบธุรกิจบ้านเราเช่นนี้ ก็ต้องยอมรับ สุระ จันทร์ศรีชวาลา
เป็นคนเก่งคนหนึ่ง คู่ต่อสู้ที่พอสมน้ำสมเนื้อจากนี้ของเขาคาดว่าคงจะเป็นแบงก์ชาติ
?!