|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บอร์ดทีพีซีสรุป 4 แนวทางเลือกอีลิทการ์ด เสนอบอร์ดททท. 29 ก.ค.นี้ ก่อนส่ง “ชุมพล” ตัดสินใจ แล้วนำเข้าที่ประชุมครม. เชื่อไม่เกิน สิงหาคมนี้รู้ผลแน่ ระบุถ้ายุติโครงการต้องใช้เงินกว่า 2.3 พันล้านชดใช้ค่าเสียหาย แต่ถ้าเดินหน้าต่อก็เป็นภาระของรัฐ ชี้มีความเป็นไปได้ที่จะโอนองค์กรไปเป็นหน่วยงานหนึ่งใน ททท.
นายธงชัย ศรีดามา ประธานคณะกรรมการบริหาร(บอร์ด) บริษัท ไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) ผู้บริหารโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิท เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบ 4 แนวทางเลือก ในการดำเนินงานของทีพีซี โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดททท.ในวันที่ 29 ก.ค.52 เพื่อพิจารณาก่อนนำเสนอต่อนายชุมพล ศิลปอาชา รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้ตัดสินใจเลือก 1 ใน 4 แนวทาง ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อพิจารณาตัดสินชี้ขาดครั้งสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกินเดือนสิงหาคมนี้
สำหรับ 4 แนวทางที่ ทีพีซี จะนำเสนอจะมีรายละเอียดทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจด้วย ได้แก่ 1.ยุติโครงการโดยสิ้นเชิง พร้อมจ่ายเงินคืนให้แก่สมาชิกพร้อมค่าเสียหาย ซึ่งผลดีคือตัดปัญหาในระยะยาว แต่ข้อเสียคือต้องใช้เงินจำนวนมากในการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเลิกจ้างพนักงานรวมเป็นเงินกว่า 2,300 ล้านบาท ไม่รวมเงินที่จะถูกเรียกจากการฟ้องร้องของสมาชิก ที่สำคัญคือเสียภาพลักษณ์ประเทศ
2.ดำเนินการต่อโดยร่วมทุนกับภาคเอกชน สัดส่วนการลงทุนแล้วแต่จะกำหนดว่ารัฐหรือเอกชนจะถือหุ้นใหญ่ โดยในความเป็นจริงรัฐควรถือหุ้นใหญ่ เพราะจะได้รับการช่วยเหลือด้านการประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง 3.เดินหน้าโครงการต่อโดยปรับแผนธุรกิจลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ และ 4.โอนภาระกิจทั้งหมดของทีพีซีให้กับ ททท.ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไปดำเนินงานเองโดยใช้แผนธุรกิจการทำงานที่ทีพีซีได้จัดทำในรูปแบบใหม่แล้วมาใช้บริหารงาน ซึ่งแนวทางนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุด
ทั้งนี้ในแนวทางเลือกข้อ 2-4 กรอบแนวทางจะคล้ายกันคือต้องปรับลดขนาดองค์กรปรับวิธีบริหารจัดการเพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มรายได้ โดยผลเสียคือต้องมีการปรับลดพนักงาน เท่ากับเพิ่มจำนวนตัวเลขผู้ว่างงานในประเทศ อีกทั้งยังเป็นภาระที่รัฐบาลต้องแบกรับไปในระยะยาว หรือบางครั้งอาจต้องจัดสรรงบประมาณเข้าช่วยเหลือด้วย ส่วนผลดีคือประเทศไม่เสียภาพลักษณ์ ลดความเสี่ยงที่จะถูกสมาชิกฟ้องร้อง เป็นต้น
“ทั้ง 4 แนวทางเลือกมีปัญหาทั้งหมดในเรื่องของการจัดทำรายละเอียดในการปฎิบัติว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป แต่ทั้งนี้ก่อนที่ ครม.จะตัดสินใจ ต้องส่งรายละเอียดให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจร่วมกัน เพื่อให้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด”
**แจงสถานทูตลดสิทธิประโยชน์
นายอุดม เมธาธำรงค์ศิริ รักษาการผู้จัดการใหญ่ ทีพีซี กล่าวว่า สมาชิกยังไม่มีสิทธิขอเงินคืน เพราะบริษัทฯยังไม่ได้ปิดกิจการ ส่วนการปรับลดสิทธิประโยชน์ล่าสุด ทีพีซีได้ส่งหนังสือชี้แจงไปยังสถานฑูตทุกแห่งในประเทศไทย และสำนักงาน ททท.ในต่างประเทศ เพื่อชี้แจงถึงความจำเป็นในการปรับลดสิทธิประโยชน์ โดยอ้างถึงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ประเทศไทยและทีพีซีก็ได้รับผลกระทบไปด้วย
บริษัทฯจึงมีความจำเป็นที่ต้องปรับลดค่าใช้จ่ายด้วยการลดสิทธิประโยชน์เสริมแต่ยังคงไว้ซึ่งสิทธิประโยชน์หลักที่แม้มีเงินก็ซื้อไม่ได้เช่น สิทธิวีซ่า 5 ปีสำหรับสมาชิกผู้ถือบัตร และบริการฟาสต์แทรก ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น โดยสิทธิประโยชน์หลักนี้หากทีพีซีได้ดำเนินงานต่อก็จะใช้เป็นจุดขายหลัก
อย่างไรก็ตามหลังจากบริษัทฯได้ปรับลดค่าใช้จ่ายไปกว่า 62% ทำให้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนเหลือประมาณ 20 ล้านบาท โดยมีกระแสเงินสด ณ วันที่ 31 พ.ค.52 อยู่ที่ 408 ล้านบาท ขาดทุนสะสม ณ วันที่ 30 มิ.ย.52 ที่ 1,431.93 ล้านบาท
ทั้งนี้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากที่ ครม.มีมติให้กระทรวงการท่องเที่ยวฯไปดำเนินการยุติโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิท มาเป็นเวลานานแล้วแต่ก็ยังไม่มีเรื่องส่งกลับมาที่ ครม.เสียที ซึ่งมีกระแสข่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่ ครม.จะใช้ทางเลือกโอนทีพีซีไปเป็นหน่วยงานหนึ่งใน ททท. ซึ่งขณะนี้
ครม.ก็รอเรื่องที่กระทรวงการท่องเที่ยวจะส่งมาให้พิจารณา เช่นกัน
|
|
|
|
|