|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สบน. ต่อคิวพันธบัตรรุ่นใหม่“TIPS” จ่ายผลตอบแทนอ้างอิงเงินเฟ้อ หลัง “ไทยเข้มแข็ง” เต็มวงเงินแล้ว ระบุแม้อนาคตเงินเฟ้อพุ่งสูงลิ่ว แต่คลังก็มีปัญญาจ่าย คาดวงเงินระดมทุน 2,500-5,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณหน้า ผู้จัดการกองทุนชี้ จังหวะเศรษฐกิจฟื้น เงินเฟ้อเป็นบวก โอกาสดีเข้าไปลงทุน เล็งทดลองตั้ง FIF ลุย TIPS ต่างประเทศ
นายธาดา พฤฒิธาดา สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ในช่วงที่พันธบัตรไทยเข้มแข็งออกมาเต็มวงเงินแล้ว เป็นช่วงที่เหมาะสมในการออกพันธบัตรที่อ้างอ้างอัตราคูปองและจำนวนเงินไถ่ถอนคืนให้เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ หรือ TIPS (Treasury Inflation Protected Securities) มากที่สุด และถึงแม้ว่าการลงทุนประเภทนี้ จะต้องจ่ายผลตอบแทนอิงกับเงินเฟ้อ แต่ก็มองว่าจะไม่มีปัญหา หากในช่วงที่ครบอายุ อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น เพราะเชื่อว่ากระทรวงการคลังเอง มีเงินจ่ายผลตอบแทนดังกล่าวได้อยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีปัญหาอยู่ที่การตีความของสำนักงบประมาณว่า เงินก้อนสุดท้ายที่จะจ่ายให้กับผู้ลงทุน ซึ่งมีทั้งเงินต้นบวกกันอัตราเงินเฟ้อในขณะนั้น จะตีความว่าเป็นเงินต้นหรือดอกเบี้ย เพราะถ้าเป็นดอกเบี้ยก็จะไม่มีปัญหา สามารถรีไพแนนซ์ได้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบจากสำนักงบแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังมีปัญหาว่า อัตราเงินเฟ้อที่จะใช้อ้างอิงนั้น เป็นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปหรือเงินเฟ้อพื้นฐาน
“สบน.พร้อมที่จะออก TIPS ให้สอดคล้องกันนโยบายการเงินการคลังได้ โดยคาดว่าจะสามารถออกได้ในปีงบประมาณหน้าซึ่งอาจจะใช้ชื่อว่า พันธบัตร TIPS ไทยเข้มแข็ง ซึ่งในเบื้องต้น คาดว่าจะระดมทุนเป็นมูลค่ารวมประมาณ 2,500-5,000 ล้านบาท”นายธาดากล่าว
นายสันติ กีระนันทน์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มพัฒนางานตลาด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าไถ่ถอนที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะเงินเฟ้อ หรือ ILB นั้น ถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเงินที่นักลงทุนจะได้รับความปลอดภัยจากเงิน ซึ่งการลงทุนใน ILB นั้นผู้ที่จะได้ประโยชน์คือ นักลงทุนสถาบัน โดยเฉพาะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญ เพราะ จะช่วยให้ผู้ออมเพื่อการเกษียณอายุ มีผลตอบแทนที่ดี นักลงทุนสถาบัน บริษัทประกันชีวิต สามารถลงทุนควบคู่กับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ทำเพื่อวัตถุประสงค์เงินออม และนักลงทุนบุคคลจะได้ประโยชน์ในการใช้เพื่อรักษาอำนาจการบริโภค
สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ที่อ้างอิงกับเงินเฟ้อนั้นถือว่ามีความเสี่ยง เพราะหากเงินเฟ้อมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จะได้รับผลตอบแทนที่ดี แต่หากเงินเฟ้อปรับตัวลดลงจะได้รับผลตอบแทนที่ต่ำ และยิ่งหากมีอายุที่ยาวยิ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าอายุสั้น เพราะ อนาคตไม่สามารถทราบได้ว่าเงินเฟ้อจะเป็นเท่าไร
อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงทุนในILBถือว่ามีการเติบโตมากในประเทศอังกฤษ ซึ่งปี ที่ผ่านมาตลาดILB ทั่วโลกมีการเติบโตมากกว่า 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯหรือประมาณ 50 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่มีมูลค่าที่สูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ออกนั้นเป็นรัฐบาล ซึ่งมีส่วนน้อยที่ออกโดยภาคเอกชน
นายศุภกร สุนทรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การลงทุนใน TIPS เป็นการลงทุนที่สร้างโอกาสรับผลตอบแทนเป็นบวกหลังจากหักเงินเฟ้อแล้ว ซึ่งการลงทุนประเภทนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความเสี่ยงเลย เพราะในส่วนของผลตอบที่เกิดขึ้นจริง นั่นคือราคา ยังคงเป็นความเสี่ยงอยู่ อย่างไรก็ตาม การลงทุนใน TIPS เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรทั่วไปประมาณ 1.8% แต่ต้องเป็นการลงทุนที่ต้องถือจนครบอายุของตราสารนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม มองว่า การลงทุนใน TIPS อาจจะเกิดยาก เนื่องจากผลตอบแทนหน้าตั๋ว น้อยกว่าพันธบัตรทั่วไป และไม่ชัดเจนว่าผลตอบแทนที่จะได้รับจะเป็นเท่าไหร่ เนื่องจากขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อที่ขึ้นลงได้ตลอดเวลา เช่น ผลตอบแทนหน้าตั๋วระบุไว้ 1.5% ก็ต้องไปลุ้นว่า หลังจากครบอายุแล้ว เงินเฟ้อ ณ เวลานั้น จะเป็นเท่าไหร่ หากเงินเฟ้อขยับขึ้นสูง โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูง ก็มีความเป็นไปได้
ดังนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการลงทุนใน TIPS จึงเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวขณะนี้ เพราะการที่เศรษฐกิจฟื้น อัตราเงินเฟ้อเองก็จะขยับขึ้นตามไปด้วย
นายศุภกรกล่าวว่า ขณะนี้ตลาด TIPS ในต่างประเทศถือว่าค่อนข้างน่าสนใจ โดยบริษัทเองมีแผนตั้งกองทุนต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ออกไปลงทุนใน TIPS ต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งจะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนดัชนี ETF ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ โดยกองทุนเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะลงทุนใน TIPS ที่ออกโดยรัฐบาล ซึ่งรวมกันไว้ในตระกล้าเดียวกันในแต่ละช่วงอายุ อย่างไรก็ตาม ต้องดูจังหวะที่เหมาะสมอีกครั้ง แต่หากไม่สามารถตั้งกองทุนได้ ก็อาจจะรวมอยู่ในพอร์ตการลงทุนของกองทุนตราสารหนี้ที่ออกไปลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก ซึ่งบริษัทมีแผนจะออกกองทุนใหม่ที่เน้นลงทุนในตลาดสารหนี้ของประเทศเกิดใหม่
ส่วนการใช่ช่องทางผ่านการออก TIPS เพื่อระดมทุนของรัฐบาลมองว่า ขณะนี้ รัฐบาลยังไม่มีความต้องการ แต่ถ้าเป็นเอกชน เช่น บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ ที่เก็บคูปองค่าผ่านทางตามอัตราเงินเฟ้อ ถือว่าน่าสนใจ ถึงแม้ว่าในท้ายที่สุดแล้ว จะต้องจ่ายผลตอบแทนในระดับสูง หากในขณะนั้นอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะว่ารายได้ของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้น ตามอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นด้วย
|
|
|
|
|