|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ธปท.ได้ช่องปรับปรุงรูปแบบพันธบัตรใหม่ หลังประชาชนแห่ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์คลัง หันเน้นอายุขนาดกลาง พร้อมใช้กลไกลนี้ดูแลตลาดไม่ให้ผลตอบแทนแกว่งเกินไป และสร้างสมดุลในตลาดให้ดีขึ้น ย้ำไม่ใช่แนวทางออกพันธบัตรเพิ่ม เผยในปัจจุบันยังไม่มีแผนออกพันธบัตรออมทรัพย์มาแข่งกับคลัง ระบุครึ่งหลังปีนี้ ภาคเอกชนยังระดมทุนออกหุ้นกู้กว่าแสนล้านน้อยกว่าครึ่งปีแรก
นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ธปท.กำลังพิจารณาปรับรูปแบบการออกพันธบัตรใหม่ หลังจากที่ความต้องการซื้อพันธบัตรในตลาดยังอยู่ในระดับสูง และส่วนใหญ่ตลาดมีความต้องการพันธบัตรอายุขนาดกลางมากขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรอายุ 5 ปี และ 7 ปี จากปัจจุบันที่ธปท.มีการออกพันธบัตรที่มีอายุ 15 วัน ถึง 3 ปี
"การปรับรูปแบบครั้งนี้ไม่ใช่จะเป็นการส่งสัญญาณว่าธปท.จะออกพันธบัตรเพิ่ม ขึ้นในตลาด ซึ่งไม่ต้องการสร้างแรงกดดันต่อตลาดและผลตอบแทนตราสารหนี้ในอนาคต แต่เราพิจารณาด้านซับพลายและดีมานส์สมดุลมากขึ้น ซึ่งธปท.มองว่าด้านดีมานส์ในตลาดยังมีอยู่ ขณะที่ด้านซัพพลาย แม้มีการออกมาเพิ่มขึ้น แต่ดีมานส์ยังมีอยู่มากกว่า จึงปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งรักษาผลตอบแทนในตลาดไม่ให้แกว่งเกินไป"นางผ่องเพ็ญกล่าว
ย้ำไม่ออกพันธบัตรออมทรัพย์แข่งกับคลัง
ทั้งนี้ แม้ในปัจจุบันภาครัฐมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์มามาก ส่วนธปท.เองจะออกพันธบัตรประเภทนี้หรือไม่นั้นจะพิจารณาด้านความต้องการซื้อ ในตลาดเป็นสำคัญ แต่ขณะนี้มองว่ารัฐบาลยังมีแผนออกอยู่จึงไม่จำเป็นต้องแข่งขันกัน แต่ควรมีการแบ่งๆ กันออกไป
ผลตอบแทนรัฐไม่กดดันผลตอบแทนตลาด
นอกจากนี้ ผลตอบแทนของพันธบัตรกระทรวงการคลังที่ออกมาสู่ตลาดในปัจจุบันจะสูงกว่าผลตอบ แทนในตลาดไม่ได้กดดันให้ผลตอบแทนพันธบัตรในตลาดต้องเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งยอมรับว่าในช่วงแรกผลตอบแทนอาจเพิ่มขึ้นบ้าง แต่หลังจากกระทรวงการคลังประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ ผลตอบแทนกลับมาลดลง ถือว่าเป็นช่วงปกติ ขณะเดียวกัน ธปท.เองเน้นขายให้แก่สถาบันการเงิน ส่วนคลังเน้นลูกค้ารายย่อย จึงเป็นลูกค้าคนละกลุ่มกัน
คาดครึ่งหลังภาคเอกชนระดมทุนน้อย
ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท.กล่าวว่า ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้คาดว่าปริมาณหุ้นกู้ในระบบลดลงเหลือกว่า 1 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกที่มีการออกหุ้นกู้กว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งมีการทยอยออกหุ้นกู้จำนวนมากนับตั้งแต่ปีก่อน อย่างไรก็ตาม มองว่าภาคเอกชนยังมีแนวโน้มออกหุ้นกู้อยู่จากความต้องการที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยพัฒนาตลาดนี้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและเป็นจังหวะที่ดีให้สภาพคล่อง เพิ่มขึ้นและผลกำไรที่ดีขึ้น
อนึ่ง สายตลาดการเงินของธปท.แจ้งว่า ล่าสุดในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ในระบบมียอดคงค้างตราสารหนี้ทั้งสิ้น 4.23 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 1.96 ล้านล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 3.78 แสนล้านบาท พันธบัตรธปท.จำนวน 1.45 ล้านล้านบาท พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1.66 แสนล้านบาท ตั๋วเงินคลัง 2.84 แสนล้านบาท
|
|
|
|
|