แม้ว่าการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ (securitisation) นิยมกันในประเทศ ที่พัฒนาแล้ว
แต่ในประเทศไทยเกิดอะไรขึ้น เมื่อธุรกรรมดังกล่าวยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก
ต้นกำเนิด securitisation เกิด ที่อเมริกา สืบเนื่องจากปี 1934 รัฐบาลอเมริกามีนโยบายส่งเสริมให้สินเชื่อ
เพื่อ ที่อยู่อาศัยขยายตัว จึงตั้ง Federal Housing Administration (FHA)
ทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อ ที่อยู่อาศัยให้ผู้กู้ ทำให้สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงให้สถาบันการเงินได้
ต่อมาในปี 1938 รัฐบาลอเมริกาจัดตั้ง Federal National Mortgage Association
(FNMA) เพื่อเป็นตลาดรองสินเชื่อ ที่อยู่อาศัย ที่ FHA ค้ำประกัน โดย FNMA
มีอำนาจในการซื้อขายสัญญาจำนอง (mortgages) ที่ได้รับการค้ำประกันจากรัฐหรือจาก
FHA
หลังจากมีการพัฒนากระบวน การ securitisation ที่เกิดขึ้นในอเมริกา เป็นต้นมา
ก็ได้เริ่มแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆ มากมาย โดยประเทศ ส่วนใหญ่นิยมการแปลงสินทรัพย์ ที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ก่อน ที่จะพัฒนาไปสู่การแปลงสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ
ในประเทศไทย กระบวนการ securitisation เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1993 เมื่อธนาคารเอเชียรวบรวมสินทรัพย์ประเภทลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์มูลค่าประมาณ
200 ล้านบาท ขายให้กับ บริษัทเฉพาะ ที่ตนเองจัดตั้งขึ้นมา คือ BOA Receivables
(BARC)
BARC ดำเนินการแปลงสิทธิเหนือหนี้เช่าซื้อนั้น เป็นหลักทรัพย์หรือตราสารการเงิน
เรียกว่า asset-backed bill of exchange (ABE) ออกจำหน่าย ให้กับนักลงทุน
จากนั้น เป็นต้นมา securitisa-tion ในประเทศไทยก็เป็นที่รู้จักกันพอสมควร
แต่ด้วยข้อจำกัดทางด้านเครื่องมือ และกฎระเบียบ ส่งผลให้การพัฒนาธุรกรรม securitisation
ในปัจจุบันยังติดขัดจนมีความรู้สึกว่าการพัฒนาธุร-กรรม ดังกล่าวก้าวไปช้ามากพอสมควร
จนกระทั่งผู้ที่จะระดมทุนด้วยการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ในประเทศไทยพบว่าปัญหา ที่เจอ
ก็คือ ข้อมูลเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์มีอยู่มากมาย
"ข้อมูลที่ชัดเจนในเรื่องนี้กลับ มีไม่มาก ที่จริงแล้วผู้ระดมทุนควรมองการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เป็นทางเลือกหนึ่งเหมือนการออกหุ้นกู้
คือ ระดมทุนในรูปหนี้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสินทรัพย์รวมมากกว่าอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัท
และอาจมองเปรียบเทียบกับการกู้ยืมในรูปอื่น" แกรี่ วัตมอร์ รองผู้จัดการใหญ่
หัวหน้ากลุ่ม ที่ดูแลทางด้าน Asset securitisation ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร อธิบายถึงปัญหา
securitisation ในเมืองไทย
"ไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมเงินของบริษัท การระดมทุนจากตลาดทุนทั้งใน และต่างประเทศ
แล้วประเมินดูต้นทุน และผลกำไรจากผลิตภัณฑ์"
เขาได้พูดถึงตลาดในประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อกระตุ้นให้ธุรกรรม
securitisation ได้รับความสนใจมากขึ้น ซึ่งมีหลายประเด็น ที่จะต้องพิจารณา
"เราอาจต้องมองทั้งสองด้าน คือ จากแง่มุมของผู้ระดมทุน และจากแง่มุมของนักลงทุน
ในแง่ของผู้ระดมทุน พวกเขาจะต้องตระหนักว่าการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ควรจะใช้เป็นแหล่งเงินทุนในเชิงยุทธศาสตร์
และควรจะแปลงสินทรัพย์ ที่มีคุณภาพสูง และสอดคล้องกับธุรกิจ ที่คาดว่าจะพัฒนาต่อไปหรือขยายต่อไปอีกได้"
มีบ่อยครั้ง ที่การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ถูกใช้เป็นทางแก้ปัญหาเร่งด่วนมากกว่าทางเลือกการระดมทุนระยะยาว
ถ้าหากมองจากด้านของนักลงทุน ปัจจุบันยังไม่เห็นความคืบหน้ามากนักในประเทศไทย
หากไม่มีการเคลื่อนไหว หรือสนับสนุนในเรื่องวัฒนธรรมทางด้าน สินเชื่อให้เข้มแข็งขึ้น
และถ้ามอง ที่การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จะเห็นว่ามันเป็นผลิตภัณฑ์ ที่มีโครงสร้างซับซ้อนมาก
นักลงทุนจึงต้องสามารถประเมินเปรียบเทียบกับทางเลือกการลงทุนอย่างอื่น
" และพวกเขาจะประเมินได้ก็ต้องมีมาตรวัดร่วมกันอันหนึ่ง ซึ่งในตลาดอื่นๆ
โดยทั่วไปก็คือ อันดับความน่าเชื่อถือระดับ A การใช้อันดับความน่าเชื่อถือมากขึ้นจะนำไปสู่การยอมรับการทำธุรกรรมประเภทนี้มากขึ้น"
วัตมอร์กล่าว
ความสำคัญ และบทบาทของธุรกรรม securitisation ในขบวนการฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศ
หากย้อนกลับไปมองเมื่อตอนต้นของภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ใครต่อใครก็แห่พูดถึงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ว่าเป็นทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยที่ไม่ได้มีผลิตภัณฑ์รองรับ
"การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จะช่วยได้ในสองด้านคือ ในแง่ ที่เกี่ยวข้องกับหนี้ ที่ไม่ก่อรายได้ระยะยาวหรือเอ็นพีแอล
แต่จะต้องระมัดระวังให้มากว่าได้แบ่งหนี้เอ็นพีแอลออกเป็นสอง กลุ่มแล้ว คือ
กลุ่ม ที่จะสามารถชำระ คืน ได้เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว และกลุ่ม ที่ไม่มีทางชำระคืนได้เลย
ซึ่งจะเป็นประเด็นการฟ้องร้องคดีต่อไป เอ็นพีแอล ที่พูดถึง คือ เอ็นพีแอลกลุ่มแรก"
วัตมอร์อธิบาย
สิ่งที่การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จะช่วยได้ ก็คือ ในแง่การระดมทุนจากหนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับคาดหมายผลประกอบการจากเงินกู้ดังกล่าว
แต่วิธีนี้ก็จะยังทำให้เศรษฐกิจไม่พลิกฟื้นหากเงินกู้ดังกล่าวมีผลประกอบการดีกว่า ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือ ที่ได้คาดการณ์ไว้
"วิธีนี้จึงไม่ได้เป็นการระดมทุนในเงื่อนไขของกำไร ที่จะได้คืนมาจากเงินกู้ยืม"
ประเด็น ที่สอง คือ การผลักดันทางเศรษฐกิจของไทย ซึ่งกำลังจะเข้า ที่เข้าทางอยู่ขณะนี้
โดยมีปริมาณการบริโภคเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะทำให้มีสินทรัพย์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
แต่ภาคธนาคารจะไฟแนนซ์ได้ยากหากมีข้อจำกัดด้านเงินทุนเช่น ที่เป็นอยู่
"การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์จะทำให้มีการไฟแนนซ์โดยไม่ปรากฏในงบดุลบัญชี เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการการเติบโตของสิน
ทรัพย์" วัตมอร์บอก
อย่างไรก็ตาม ถ้ามองตลาดอื่น ที่มีการควบคุมดูแลดี การแปลงสิน ทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ถูกผลักดันจากธนาคาร และสถาบันการเงินประเภทอื่น
ซึ่งล้วนแต่เป็นสถาบัน ที่มีสินทรัพย์ รวมสูงสุด เป็นกลุ่ม ที่มีความต้องการ
(demand) เงินทุนสูงที่สุด เพื่อ ที่จะปล่อยกู้หรือออกสินทรัพย์รูปแบบใหม่
เมื่อเรามองเห็นการบริโภค ที่เพิ่มขึ้น และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในประเทศไทย
หมายความว่าสถาบันการเงินเหล่านั้น จะสามารถระดมทุนสนองตอบดีมานด์ดังกล่าวได้
"เราจะเห็นว่ามีการใช้การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์มากขึ้นในการบริหารความเสี่ยง และการบริหารงบดุล
เช่น บริษัท และสถาบัน ที่ระดมทุนแบบไม่ปรากฏในงบดุลบัญชีมากขึ้นเพราะต้องการต้นทุนการระดมทุน ที่ถูกลง
ซึ่งเป็นแรงผลักดันอันดับแรกในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ" วัตมอร์กล่าว
ดังนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผลกำไรของผลิตภัณฑ์ จะเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงในตลาดด้วย