Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์13 กรกฎาคม 2552
กลั่นสูตรบริหารดาวเด่น สร้างคนเก่ง+ดี สไตล์ ปตท.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.




*ค้นหากระบวนการปั้นดาวเด่น 'เก่ง+ดี' PTT
*สำหรับองค์กรทำกำไร แต่ถูกต้านจากสังคมไม่น้อย
*บิ๊ก HR ปตท.เผยบริหารดาวเด่น-เฟ้นทาง HROD
*ปักหมุด เข็มทิศผลิตคนให้สอดคล้องดีมานด์องค์กร

ขึ้นชื่อว่าเป็นองค์กร High Performance Organization: HPO มีผลงานสร้างรายได้ ทำกำไรปีละหลายหมื่นล้าน แน่นอนว่าความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากปราศจากการบริหารจัดการ 'คน' ที่ไม่ธรรมดา โดยเฉพาะกลุ่มคนเก่ง ดาวเด่นองค์กร ที่มักเรียกกันว่า กลุ่มทาเลนต์ (Talent)

กลยุทธ์บริหารทรัพยากรบุคคลที่ยึดแนว Human Resource Organization Development :HROD มีเทคนิคจัดการคนที่มีความรู้ ความสามารถโดดเด่น แบบแมตชิ่ง และการสร้างค่านิยมองค์กรให้กับคนทั้ง 6 จึงทำให้ ปตท.มีเข็มทิศชัดเจน นำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างเป็นระบบ จึงเป็นกรณีศึกษาที่น่าเรียนรู้ และติดตามเป็นอย่างยิ่ง

บริหารดาวเด่น-เฟ้นทาง HROD

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ทรัพยากรบุคคล บริษัท ปตท. ปิติพันธ์ เทพปฏิมากรณ์ บอกว่า ผู้จัดการ 360 รายสัปดาห์ อธิบายว่า การบริหารจัดการพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถโดดเด่น หรือดาวเด่นของ ปตท. แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ทาเลนต์ระดับ Trainee และ Management Trainee โดยกลุ่มแรกเป็นพนักงานทั่วไป ส่วนกลุ่มสองเป็นพนักงานเก่งที่เตรียมไว้สำหรับตำแหน่งระดับบริหาร ที่จะถูกปั้นตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงาน จนถึงตำแหน่งผู้บริหาร เพื่อให้เป็นการสะสมประสบการณ์ทำงาน โดยในระดับสูงขึ้นได้ใส่ภาวะผู้นำ นอกเหนือจากเนื้อหาประจำที่ทำอยู่

'กระบวนการเตรียมคนของ ปตท.เป็นส่วนหนึ่งของแผนกำลังคนโดยองค์รวม ผ่านกระบวนการหลักที่ทำต่อเนื่องมายาวนานและประจำทุกปี เรียกกันว่า กระบวนการ Strategic Thinking Session หรือ SWOT มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ หรือองค์ประกอบทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับองค์กร หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค เพื่อการที่องค์กรกับคนจะก้าวไปข้างหน้าได้'

ขณะเดียวกัน ยังได้ซัปพอร์ตกระบวนการอื่นๆ เข้าไปด้วย เช่น เงิน เทคโนโลยี วิจัยและพัฒนา รวมถึงคน ดังนั้น การบริหารจัดการคนจึงเป็นหนึ่งในกุญแจแห่งความสำเร็จของกระบวนการการวางแผนใหญ่ของ ปตท. โดยพิจารณาควบคู่ไปกับทิศทางขององค์กร

'วิธีการนี้เป็นการแก้ไขปัญหาองค์กรในอดีตก่อนแปรรูป ที่มักพบว่ากองหน้าและกองหลังไม่เชื่อมต่อกัน เพราะเมื่อโอกาสธุรกิจขององค์กรเกิดขึ้น แต่สิ่งที่สนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องคนไม่พร้อมจึงไม่ทันการ ดังนั้น ปตท.จึงเตรียมการเพื่อรองรับอนาคตข้างหน้าไว้ในปริมาณมากเช่นกัน โดยแต่ละปีปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกกันว่า Human Resource Organization Development: HROD'

แมตชิ่งดาวเด่น เทคนิคบริหารคน

ทั้งนี้ เทคนิคการบริหารจัดการดาวเด่นองค์กร กำหนดจากการเอาโปรไฟล์ของคนต้นแบบเป็นตัวตั้ง เมื่อถึงเป้าหมายการพัฒนาที่กำหนด แสดงว่ามีความพร้อม ขณะเดียวกันเมื่อองค์กรมีความต้องการ ก็จะให้บุคคลหรือดาวเด่นดังกล่าวไปทำงานหรือแมตชิ่งกับโปรไฟล์บุคคลที่สอดคล้องกัน

'คนเก่งที่อยู่ในกลุ่มนี้เข้า-ออกได้ ดังนั้น เป็นประจำทุกปีจะรีวิวคนที่เข้ามาอยู่ในกลุ่มทาเลนต์ในกระบวนการเหล่านี้ เพราะบางคนตอนเข้ามาทำงานแรกๆ เป็นวิศวกรดาวเด่น แต่หลังจากทำงานไปช่วงเวลาหนึ่ง ค้นคว้า สะสมประสบการณ์พบว่า ตัวเองชอบงานบริหารมากกว่าก็ต้องเปลี่ยนสายอาชีพ โดยการเปลี่ยนไลน์ทำงานนี้ ก็เน้นความสามารถและความต้องการในไลน์ที่ต้องแมตช์กันพอดี'

ปิติพันธ์ บอกว่า โปรไฟล์บุคคล ถือเป็นตัวกำหนดเส้นทางการทำงานในบริษัท สำหรับดาวเด่นอาจต้องพิจารณาจากองค์ประกอบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร โดยโปรไฟล์นี้ ถูกกำหนดมาจากปัจจัย 3 ตัว หนึ่ง-วิสัยทัศน์องค์กรที่ตั้งเป้าหมายเป็น The Thai Premier Multinational Energy Company บริษัทพลังงานไทยข้ามชาติที่ติดทำเนียบอันดับโลก

สอง-Strategic Initiative เป็นการดำเนินธุรกิจต่างๆ ที่องค์กรต้องการทำในอนาคต และสาม-Spirit นำมาผสมผสานผ่านกระบวนการ เพื่อค้นหาจุดร่วมกันในองค์กร ออกมาเป็นคุณลักษณะของบุคลากรที่องค์กรต้องการ หรือ Business Driver หลังจากนั้นจึงค่อยเป็นCompetency

'กลุ่มพนักงานดาวเด่นองค์กร เป็นกลุ่มพนักงานที่ถูกพัฒนาแบบระยะยาว เพื่อดูพัฒนาการและประสบการณ์ทำงาน ปัจจุบันมียอดรวมยังไม่ได้คัดกรองอยู่ประมาณ 600 คน จากหน่วยงานต่างๆ ที่เสนอบุคลากรเข้ามากว่า 3,000 คน' ปิติพันธ์ บอก

SPIRIT กุญแจความสำเร็จ

ทั้งนี้ บนพื้นฐานค่านิยมองค์กร ที่ ปตท.กำหนดไว้มี 6 ค่านิยม ถูกเรียกขานด้วยคำว่า SPIRIT ประกอบด้วย S-Synergy ผนึกกำลังในกลุ่ม P-Performance Excellence การปฏิบัติที่เป็นเลิศ I-Innovation นวัตกรรม R-Responsibility ความรับผิดชอบ I-Integrity & Ethics ซื่อสัตย์และจริยธรรม และ T-Trust & Respect เชื่อมั่น เคารพซึ่งกันและกัน

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลองค์กร ปตท.บอกว่า กลไกค่านิยมทั้ง 6 นี้แต่ละตัวจะมีความหมายแตกต่างกัน การผนึกกำลัง Synergy ระหว่าง ปตท.และบริษัทในกลุ่ม บุคคลในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องมีความเชื่อเหมือนกัน เพราะในอนาคตหากมีบริษัทใหม่เกิดขึ้นหรือมีแผนงานบางอย่าง ต้องร่วมมือกันภายในกลุ่ม

ขณะที่ความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจ ที่เกิดจากการปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ Performance Excellence นั้น ปัจจุบันคน ปตท.เชื่อว่าจะสามารถทำให้เติบโตไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง โดยมีความสามารถในการคิดนวัตกรรมใหม่ เพื่อมาต่อยอดการดำเนินธุรกิจ นั่นคือ Innovation

ทั้ง 3 ค่านิยมดังกล่าว เป็นความเชื่อที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ เป็นมิติของการเป็น 'คนเก่ง' ส่วนอีก 3 ค่านิยมต่อมา คือ ความรับผิดชอบ Responsibility ซื่อสัตย์และยุติธรรม Integrity & Ethics และเชื่อมั่น เคารพซึ่งกันและกัน Trust & Respect เป็นมิติของการเป็น 'คนดี'ทั้งกับองค์กรและสังคม ดังกล่าวนี้ คือ กุญแจสำคัญสำหรับค่านิยมของกลุ่ม ปตท. และค่านิยมนี้ถือเป็นค่านิยมเดียวกับบริษัทแม่ คือ ปตท.นั่นเอง

เฟ้นหาสตาร์ใหม่ เด็กแนวหัวกะทิ

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า อนาคต ปตท.ถูกกำหนดเป้าหมายให้เป็นบริษัทข้ามชาติชั้นนำระดับแถวหน้าของโลก ดังนั้น ความจำเป็นที่ต้องเร่ง 'สร้างคน'ขึ้นมาเพื่อรองรับการเติบโตเหล่านี้ จึงต้องดำเนินการอย่างจริงจัง และมีกระบวนการที่เข้มข้น จึงไม่แปลกที่กระบวนการบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ จึงเริ่มเฟ้นหาเด็กปริญญาตรีจบใหม่ ระดับ 'หัวแถวชั้นกะทิ' เข้ามาเป็นพนักงาน แล้ว สนับสนุนให้ไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศในสาขาหลักที่กำหนด เช่น การบริหารธุรกิจ และกฎหมาย เพื่อดูแล Business Law และ International Law

ทั้งนี้ กระบวนการเฟ้นหา มุ่งคัดเลือกเด็กที่มีผลการเรียนดี ได้รับเกียรตินิยมทั้งหมดและมีทักษะทางภาษาดี โดยเน้นผลคะแนนสอบ TOEIC 800 คะแนนขึ้นไป โดยมีผู้สมัครประมาณ 150 คน นำมาทดสอบในมุมมองสำคัญต่างๆ แล้วคัดเฉพาะกลุ่มที่มีคุณลักษณะดีเด่นตามที่กำหนดประมาณ 20 กว่าคน ต่อมาจึงเข้าสู่กระบวนการสอบสัมภาษณ์ โดยใช้คณะผู้บริหารจากสายอาชีพต่างๆ มาร่วมกันสัมภาษณ์และคัดผู้สมัครที่เหมาะสมได้ประมาณ 6-8 คน ที่จะเข้าไปเป็นกลุ่มทาเลนต์ขององค์กรต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us