Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2530
ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ เสือปืนไว             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (กองสลาก)

   
search resources

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (กองสลาก)
โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์
Financing




ถ้าไม่นับเรื่องโรคเอดส์แล้ว เรื่องที่จัดว่าเป็น "ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์" คงจะเรื่อง "ล็อคเลข"

ท่ามกลางข่าวเรื่องล็อคเลขที่อื้อฉาว มีคน ๆ หนึ่ง ซึ่งโดดเด่นเป็นพิเศษ

ไม่ใช่เชิดไชย นวะมะรัตน์ อดีตผู้อำนวยการกองสลากผู้ปฏิเสธตลอดมาว่า "ไม่มีการล็อคเลข"

ไม่ใช่ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลัง สังกัดพรรคชาติไทยคนที่ไปแถลงข่าวเปิดโปงการล็อคเลข ตัดหน้า รมต.พรรคประชาธิปัตย์ไปเส้นยาแดงผ่าแปด

ไม่ใช่สินชัย โพธิ์รัง ประธานสหภาพพนักงานสลากกินแบ่ง ฯ ที่นั่งเบนซ์

แต่เป็นโกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ซึ่งไม่น่าจะเป็นคนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้ "ผมไม่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการนี้เลย ล็อตเตอรี่ก็ไม้เคยซื้อ หวยก็ไม่เคยเล่นกับเขา" โกศลออกตัว

โกศลได้ปริญญาตรีและปริญญาเอกทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจาก IMPERIAL COLLEGE OF SCIENCE AND TECHNOLOGY เก่งขนาดไม่ต้องเรียนปริญญาโทเพราะได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งปริญญาตรี

โกศลเป็นอธิการบดีมาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2529 นี้ เป็นคนที่น่าจับตาอยู่ไม่น้อย

เขาเคยเข้าไปร่วมกับสภาวิจัยและสามเหล่าทัพ ร่วมกันทำระบบนำวิถีเห่าฟ้า เห่าไฟ จรวดเมดอินไทยแลนด์

ประดิษฐ์เครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกร่วมกับ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม เมื่อปี 2526 เขาได้รับรางวัลนักวิจัยและนักประดิษฐ์ดีเด่น จากสภาวิจัยและไอบีเอ็มจากการประดิษฐ์เครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกร่วมกับดอกเตอร์คนเดิม

"ลาดกระบังสนใจโครงการสร้างขวัญและกำลังใจโดยมองไปข้างหน้า" เขาเล่าให้ฟังวันที่ 16 ตุลา วันที่ประดิษฐกรรมชิ้นล่าสุดที่ฮือฮาที่สุดปฏิบัติงาน

วงล้อออกล็อตเตอรี่แบบใหม่ ที่เรียกว่า "ซีทรู" เข้าทดสอบแทนของเก่าที่ถูกล็อค และเป็นที่พอใจทุกฝ่าย

"เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่าวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม นักข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งมาถามผมว่าถ้าให้ออกแบบวงล้อใหม่จะเอาไหม ทำให้ซับซ้อน ทันสมัยไปเลย ผมบอกไม่ได้ ถ้าผมจะทำผมต้องทำให้มันง่ายที่สุด เพราะปัญหามันอยู่ที่ศรัทธา ผมจะสร้างให้ง่ายที่สุดโจ่งแจ้งที่สุด" โกศลเท้าถึงความเป็นมาของกระบวนการออกวงล้อใหม่ให้ฟัง

หลังจากนั้นข่าว 9 ก็มาสัมภาษณ์ อย่างที่ในหนังสือพิมพ์ลง แล้วสมหมาย โชติรักษ์ รองผู้อำนวยการกองสลากโทร.มาแล้วโกศลก็ไปพบกับเมธี ภมรนานนท์ที่กองสลาก

เมธีให้ทำเลย โกศลขอเวลา 2 อาทิตย์กับการทำ 15 วงล้อแต่กองสลากต้องการให้เสร็จภายใน 2 อาทิตย์

และโกศลให้อาจารย์ภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 10 ท่านทุ่มเทกันทำวงล้อตัวอย่างใหม่เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง

แล้ววันที่ 13 ตุลาคม วงล้อแบบใหม่ทั้ง 15 วงล้อเสร็จสามารถส่งมอบภายในวันที่ 14 วันที่ 15 ก็สามารถทดลองออกวงล้อได้

วงล้อใหม่ซึ่งก็ไม่ได้แตกต่างกับวงล้อเก่าเท่าใดนัก จะมีแตกต่างก็เพียงเป็นพลาสติกโปร่งใสเท่านั้น แต่ก็ยังมีส่วนที่เป็นโลหะอยู่ "ผมว่ามันก็ยังล็อคกันได้อยู่นั่นแหละ ภายใน 3 เดือนนี้ โดยใช้ใยแสงซึ่งเป็นเทคนิคอย่างหนึ่ง" โกศล พูดถึงวงล้อใหม่

โครงการที่โกศลให้ความเห็นคือ "ผมอยากให้มีการวิจัยตลาดว่าชาวบ้านชอบวงล้อแบบใด ให้เปลี่ยนวงล้อไปเรื่อย ๆ ถ้ามันล็อคได้ได้อีกก็ให้มันรู้ไป"

วงล้อตัวหนึ่งใช้เงินเกือบหมื่นบาท 15 วงก็ประมาณ 150,000 บาท โกศลกล่าวว่าเทคโนลาดกระบังทดลองจ่ายไปก่อน

โกศลนั้นนับว่าไวมากกับการเข้ามาช่วยกองสลากไว้ในครั้งนี้ และก็นับว่าเขาเสี่ยงมากกับการที่สถาบันการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่าเป็น "การพนันโดยรัฐบาล" ซึ่ง "ผมก็รู้ว่าจะต้องถูกโจมตีเรื่องนี้แต่ว่าเราต้องเข้ามาช่วยเพราะไม่ทำคนอื่นก็ทำ แล้วอาจจะเกิดปัญหาได้อีก"

เรียกว่างานนี้โกศลเสียสละ โดยไม่ได้หวังผล เพียงแต่ "ถ้าทางกองสลากเห็นว่าความรู้ทางเทคโนโลยีมีความจำเป็นและสามารถช่วยเหลือได้ในยามยาก รายได้อันมหาศาลของกองสลากก็น่าที่มาอุดหนุน เจียดเป็นกองทุนให้สถาบันศึกษาทางด้านการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบ้าง" โกศลตอบท้ายอย่างเสือปืนไว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us