|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ก.ล.ต. ฟุ้ง คุมเข้มพอร์ตลงทุนโบรกเกอร์ผ่าน "Proprietary trading" เผยในตลาดมีเพียงไม่กี่ราย ระบุยังไม่พบปัญหา ทั้ง front running และการขัดแย้งทางผลประโยชน์กับลูกค้า ย้ำตรวจสอบเข้มปีละครั้ง ส่วนปริมาณการซื้อขายล่าสุด พุ่ง 10% ของการซื้อขายรวมของตลาด
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ทำการตรวจสอบ ระบบการการซื้อขายหลักทรัพย์ของโบรกเกอร์อย่างใกล้ชิด ในทุกด้านรวมทั้งธุรกรรม Proprietary Trading พร้อมทั้งดู watch list ซึ่งสามารถตรวจดู ปริมาณการซื้อขายและการส่งคำสั่งซื้อขาย ของบริษัทหลักทรัพย์ทั้ง 39 แห่ง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีโบรกเกอร์เพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ได้ทำธุรกรรมดังกล่าว
ทั้งนี้ Proprietary trading เป็นการทำธุรกรรมที่ ก.ล.ต. อนุญาตให้ บริษัทหลักทรัพย์ทำได้ เพื่อเป็นเพิ่มรายได้ทางหนึ่งให้กับบริษัทหลักทรัพย์ และเพื่อลดการพึ่งพารายได้หลักจาก ค่านายหน้าในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งจะลดลงในอนาคต เนื่องจากการเปิดการเจรจาต่อรอง ค่าคอมมิสชั่นเสรี ซึ่งจะเริ่ม sliding scale ในปีหน้า และในอีก 2-3 ปี ข้างหน้าก็จะเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์
นายประเวชกล่าวว่า การตรวจสอบดังกล่าว สำนักงานก.ล.ต. ได้ทำอย่างเข้มข้น เพื่อสร้างความมั่นใจในระบบการลงทุน ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ที่มีพอร์ตลงทุนของตัวเอง จะต้องมี Chinese Wall อย่างชัดเจน และต้องปฏิยัติตามกฏ ระเบียบ อย่างเคร่งครัด ไม่สามารถทำ front run ในส่วนของการตรวจสอบก็จะเปรียบเทียบการส่งคำสั่งในการทำรายการให้ลูกค้า มีการแยกบุคคลในการส่งคำสั่งซื้อขายกันอย่างชัดเจน ในส่วนของลูกค้าจะต้องมีการบันทึกเทปคำสั่งซื้อขายทุกครั้ง ทั้งนี้ ก.ล.ต. จะตรวจสอบระบบการซื้อขายและการทำงานของโบรกเกอร์อย่างน้อยปีละครั้ง
ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์สามารถ ประกอบธุรกิจเสริมประเภทอื่น ได้อีกหลายประเภท เช่น การทำธุรกรรมให้กู้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending-SBL), derivative trading , bond trading และธุรกิจการเป็นทีปรึกษาการลงทุน เป็นต้น
“ปัจจุบัน บริษัทหลักทรัพย์ สามารถทำธุรกรรมได้กว้างขึ้น และสามารถมีบทบาททั้งในช่วงภาวะตลาดขาขึ้นและขาลง เท่าที่ผ่านมา ยังไม่พบการทำธุรกรรม proprietary trading อย่งผิดสังเกตุ อย่างไรก็ตาม บางบรำทหลักทรัพย์เลือกที่ไม่ทำธุรกรรมดังกล่าว เนื่องจากไม่ต้องการสร้างความกังวลให้ลูกค้า” นายประเวช กล่าว
นายกัมปนาท โลหะเจริญวานิช ประธานสมาคมบริษทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ปริมาณการซื้อขายด้วยการการทำ proprietary trading ของโบรกเกอร์เฉลี่ยประมาณ 10% ของปริมาณการซื้อขายรวมทั้งตลาด โดยประมาณการซื้อขายดังกล่าวรวมอยู่ในประเภทนักลงทุนสถาบันในประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับจำนวนรายที่ลงทุน
“เท่าที่สังเกตุดู โบรกเกอร์ที่ลงทุนในพอร์ตของตัวเอง มักจะมีการซื้อขายระยะสั้น เข้า-ออกเร็ว แม้ไม่ผิดกฏอะไร แต่บางครั้งทำให้ภาพการลงทุน หรือทิศทางตลาดไม่ชัดเจน ทำให้นักลงทุนประเมินการลงทุนได้ยากขึ้น ในต่างประเทศ proprietary portfolio เป็นที่นิยมมาก และมีสัดส่วนที่สูง แต่ลักษณะการลงทุน จะยาวนานกว่าโบรกเกอร์ไทย” นายกัมปนาท กล่าว
นายประสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้า proprietary portfolio ประมาณ 1,500 ล้านบาท โดยเน้นการลงทุนในหุ้นที่อยู่ในกลุ่ม SET 100 และจะเน้นการลงทุนระยะสั้น เนื่องจากภาวะการลงทุนค่อนข้างผันผวน อย่างไรก็ตาม การลงทุนขึ้นอยู่กับจังหวะ และจะค่อยๆ ทยอย ลงทุนโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนในวงเงินทั้งหมด
นายสมเจตน์ หมู่สิริเลิศ ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์ธนชาติ กล่าวว่า บริษัทไม่มีความสนใจในการลงทุนในลักษณะดังกล่าว เนื่องจากเพื่อป้องกันปัญหา การขัดแย้งทางผลประโยชน์ และเพื่อความโปร่งใส โดยเน้นการกระจายรายได้ไปทำธุรกิจอื่นๆ เช่น การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และการเสนอขายสินค้าใหม่ๆ อย่างครบวงจร โดยเน้นการทำงานอย่างเชื่อมโยง ภายใต้กลุ่มธนาคารธนชาต
|
|
|
|
|