คลังเผยผู้ถือหุ้นใหญ่แบงก์ทหารไทย (TMB) ใช้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนต่ำกว่าสิทธิที่มี
369 ล้านหุ้น ส่วนรายย่อยใช้สิทธิเกิน 751 ล้านหุ้น กระทรวงการคลังใช้สิทธิไม่เต็มจำนวน
เพราะลดสัดส่วน เพื่อจัดสรรให้รายย่อยเพิ่ม 540 ล้านหุ้น ส่งผลจัดสรรเพิ่ม ให้รายย่อยคิดเป็น
72% ของที่จองเกินหลังจากนี้ สัดส่วนถือหุ้นคลัง ลดจาก 49.84% เหลือเพียง 40.61%
ทำให้ประหยัดเงินถึง 300 กว่าล้านบาท โดยใช้เงินเพิ่มทุนเพียง 7,800 ล้านบาท พร้อมลดสัดส่วน
เพื่อขาย พันธมิตรถึง 15% โดยในที่สุด จะ เหลือเพียงประมาณ 25% เพื่อดูแล ธนาคารเท่านั้น
ขณะที่ตั้งเป้าลดหนี้ เน่าเหลือ 5% ของพอร์ตสินเชื่อรวม ภายในปีหน้า
นายสมหมาย ภาษี รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธาน คณะกรรมการบริหารธนาคารทหาร
ไทย เปิดเผยวานนี้ (18 ก.ย.) ผลจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งบอร์ดธนาคาร ประชุมวานนี้
สรุปว่าการประกาศขายหุ้นเพิ่มทุนของธนาคาร 22,416 ล้านบาท หรือ 6,404 ล้านหุ้น
ส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ เช่น กระทรวงการคลัง กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ ททบ.5
บริษัท ไทยประกันชีวิต จองซื้อตามสิทธิ 2,853 ล้านหุ้น เป็นเงิน 9,988 ล้านบาท
จองต่ำกว่าสิทธิ ที่ได้รับ 369 ล้านหุ้น เป็นเงิน 1,292 ล้านบาท
รายย่อยจองล้นขาใหญ่สละบางส่วน
ส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อยจอง 2,760 ล้านหุ้น เป็นเงิน 9,663 ล้านบาท จองมากกว่าสิทธิที่ได้
751 ล้านหุ้น เป็นเงิน 2,630 ล้านบาท รายย่อยไม่ใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้
171 ล้านหุ้น เป็นเงิน 598 ล้าน บาท
ส่วนรายใหญ่ที่จองต่ำกว่าสิทธิ โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง เพื่อจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นรายย่อย
ตามที่ใช้สิทธิจองมากกว่าสิทธิที่ได้รับ โดยจัดสรรให้ได้ทั้งสิ้น 540 ล้านหุ้น
เป็นเงิน 1,980 ล้านบาทเท่านั้น ไม่สามารถจัดสรร ได้ครบจำนวนที่จองเกินทั้ง 751
ล้านหุ้น ซึ่งการจัดสรรเพิ่มให้รายย่อย คิดเป็น 72% ของที่จองเกิน
สำหรับนักลงทุนสถาบันที่ร่วมมือกับคลัง ที่จะรับซื้อแทนกรณีผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่ใช้สิทธิจอง
ได้แก่ กองทุนลดาวัลย์ เสนอวงเงินรับซื้อแทน 1,500 ล้านบาท กองทุนไทยพาณิชย์ เสนอ
วงเงิน 350 ล้านบาท บริษัท ไทยประกันชีวิต วงเงิน 700 ล้านบาท และกองทุนต่างประเทศที่มอร์แกน
สแตนเลย์ จากแดนมะกัน เป็นผู้หา เพื่อช่วยเหลือ 5 กองทุน เสนอวงเงินที่จะรับซื้อแทน
60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,400 ล้านบาท) วงเงินรวมที่นักลงทุนสถาบันเสนอ ประมาณ
4,950 ล้านบาท
กระทรวงการคลังจัดสรรหุ้นให้นักลงทุนสถาบันดังกล่าวได้เพียง 2,116 ล้านบาท การขายหุ้นส่วนนี้
จะขายแบบเฉพาะเจาะจง (Private placement-PP) โดยกองทุนสถาบันต่างประเทศ 5 แห่ง
จัดสรรได้เพียง 30 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1,200 ล้านบาท) คิดเป็นสัดส่วนผู้ถือหุ้นประมาณ
5.4%
การเพิ่มทุนครั้งนี้ จะทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่เปลี่ยนแปลง ดังนี้ กระทรวงการคลัง
จากเดิมถือ 49.84% ลดเหลือ 40.61% กองทัพบกจาก 7.52% เหลือ 6.04% บริษัท ไทยประกันชีวิตเพิ่มเป็น
3.96% จากเดิมถือ 2.99% นายพานทองแท้ ชินวัตร เพิ่มเป็น 3.84% จากเดิมถือ 3.75%
กองทัพอากาศเพิ่มเป็น 1.74% จากเดิม 0.94% ส่วนรายย่อย สัดส่วนเพิ่มเป็น 36.27%
จากเดิมถือ 30.3%
"สัดส่วนกระทรวงการคลังที่เหลือเพียง 40.61% นั้น ถือว่าเป็นสัดส่วนน่าพึงพอใจมาก
การลดสัดส่วนลง ทำให้ประหยัดเงินได้ถึง 300 กว่าล้านบาท โดยใช้เงินเพิ่มทุนเพียง
7,800 ล้านบาทเท่านั้น สัดส่วนดังกล่าวต่อไปหากมีพันธมิตรเข้ามาร่วมทุน กระทรวงการคลังพร้อม
ที่จะลดสัดส่วนลง เพื่อขายให้พันธมิตรถึง 15% โดยจะเหลือสัดส่วนประมาณ 25% เพื่อการดูแลธนาคารเท่านั้น"
นายสมหมายกล่าว
ธนาคารทหารไทยยังทำหนังสือถึงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อขออนุมัติไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิและไถ่ถอน
Super CAPS ก่อนกำหนด เนื่องจากเงินกองทุนเพียงพอแล้ว ธปท. อนุมัติแล้ว 17 ก.ย.
เงินที่ไถ่ถอน แยกเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ 6,000 บาท และไถ่ถอน Super CAPS 13,840
ล้นบาท ซึ่งทำให้ประหยัดดอกเบี้ย 2,200 ล้านบาท
ทางด้านนายสุภัค ศิวะรักษ์ รองผู้จัดการใหญ่และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่
ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า หลังเพิ่มทุน ฐานะธนาคารจะแข็งแกร่งขึ้น เงินกองทุนต่อสินทรัพย์
เสี่ยงจะอยู่ที่ 10% แบ่งเป็น เงินกองทุนขั้นที่ 1 8% ขั้นที่ 22% ซึ่งนับรวมการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิก่อนกำหนดแล้ว
หวังลดหนี้เน่าเหลือ 5% ปี 47
นอกจากนี้ ธนาคารมีแผนจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จากปัจจุบัน
13 ของสินเชื่อรวม หรือประมาณ 4.2 หมื่นล้านบาท ให้เหลือ 11% ของสินเชื่อรวม ภายในสิ้นปีนี้
และเหลือ 5% ภายในสิ้นปี 2547 เอ็นพีแอลธนาคาร สิ้น มิ.ย. ทั้งสิ้น 6.9 หมื่นล้านบาท
ขาย ให้บริษัทบริหารสินทรัพย์พญาไท 2.7 หมื่นล้านบาท ภายในสิ้นเดือนนี้ ธนาคารจะลดเอ็นพีแอล
ให้ได้ 5,000 ล้านบาท เป้าหมายจะลดลงอีก 5,000 ล้านบาทภายใน ธ.ค. นี้