Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์6 กรกฎาคม 2552
ข้าวถุงย้ายแนวรบ ฟัดเดือดในช่องทางดั้งเดิม             
 


   
search resources

Agriculture
Food and Beverage
ข้าวศรไทยใหม่, บจก.




* สมรภูมิข้าวถุงย้ายแนวรบ หลังถูกโมเดิร์นเทรดโขกสับจนทนไม่ไหว
* ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เนื้อหอม หลายค่ายรุมตอม เหตุผู้บริโภคชอบมากกว่า ทั้งราคาถูก ทั้งได้ของถูกใจ
* จับตาข้าวออร์แกนิค เซกเมนต์ใหม่ ที่กำลังโตขึ้นทุกวัน
* NURIZ เตรียมชิงตลาดข้าวอินทรีย์ด้วยสินค้า 3 รูปแบบ ชูคุณภาพ และราคาที่โดนใจกว่า

การแข่งขันในสมรภูมิข้าวถุง หากคิดเฉพาะในช่องทางการค้าปลีกสมัยใหม่ คาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาทในแต่ละปี ชักไม่สนุกเสียแล้ว เมื่อผู้เล่นทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ที่แห่เข้าไปช่วงชิงยอดขายเริ่มออกอาการหน้าดำหน้าแดง อันเนื่องมาจากมาร์จิ้นที่นับวันจะยิ่งสาละวันเตี้ยลง เตี้ยลง จนแทบไม่เหลืออะไร ขณะเดียวกันยังเจอสินค้าเฮาส์แบรนด์ของยักษ์ค้าปลีกเข้ามาแข่งสู้ด้านราคาเข้าไปอีก ทำให้ค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง ซี.พี.อินเตอร์เทรด เจ้าของแบรนด์ 'ตราฉัตร' เริ่มเบนเข็มหันไปเล่นในสนามที่เป็นช่องทางการค้าแบบดั้งเดิม หรือTraditional Trade แทน ซึ่งสอดรับกับผู้บริโภคที่เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมไปซื้อข้าวจากยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เพิ่มขึ้นเช่นกัน

เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมามีการประเมินว่าตลาดข้าวถุงมีมูลค่าราว 6,000 ล้านบาท แต่ ณ วันนี้มูลค่าของตลาดกระโดดไปถึงหลักหมื่นล้าน เนื่องจากอัตราการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น กับราคาของข้าวถุงที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันที่รุนแรงอยู่แล้ว ยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นไปอีก เนื่องจากมีแบรนด์เล็กแบรนด์น้อยเกิดขึ้นมากมายในตลาดเพื่อขอเอี่ยวในส่วนแบ่งตรงนี้ เพราะการจะเข้ามาเล่นในตลาดข้าวถุงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอันใด ผู้แล่นแทบทั้งหมดล้วนแต่เป็นผู้ที่อยู่ในวงการข้าว และมีโรงสีเป็นของตนเองแทบทั้งนั้น โดยแบรนด์ที่ติด 1 ใน 5 ผู้นำตลาดในเวลานี้ก็คือ หงส์ทอง มาบุญครอง เกษตร ตราฉัตร และแสนดี

ตามปกติสินค้าข้าวถุง ซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้าประเภท Commodity แทบจะไม่มีความแตกต่างกันเท่าไร กลยุทธ์การตลาดหลักๆ จึงเน้นไปที่จุดขาย หลายปีที่ผ่านมาบรรดายี่ปั๊ว ซาปั๊ว จึงเป็นเจ้าของช่องทางจำหน่ายที่ได้รับการเอาอกเอาใจจากบรรดาผู้ประกอบการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรงสีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กที่หันมาทำตลาดข้าวภายในประเทศมากขึ้น ด้วยการใช้ราคามาเป็นตัวดึงดูด และการทำ Trade Promotion เพื่อให้ร้านค้าผลักดันสินค้าของตนเอง แต่เมื่อช่องทางการค้าปลีกสมัยใหม่เข้ามามีบทบาท ทำให้รูปแบบการทำตลาดของ 'ข้าวถุง' เริ่มเปลี่ยนไป เนื่องจากหลายค่ายหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์มากขึ้น เพื่อตอกย้ำความมแตกต่างของแบรนด์ในใจผู้บริโภค มีทั้งที่นำในเรื่องของ Functional มาเล่น และการใช้ Emotionalมาเป็นตัวสร้างความต่าง ซึ่งประเด็นหลังนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก

ไม่ว่าจะเป็นผู้นำตลาดอย่างมาบุญครองก็มีการขายแบรนด์ ไอเดีย ที่ชัดเจนว่าเป็นข้าวที่แม่เลือก เพื่อที่จะยืนยันถึงคุณภาพว่า คนเป็นแม่แน่นอนย่อมรักลูก และอยากให้ลูกได้รับแต่สิ่งที่ดีๆ ยังเลือกข้าวมาบุญครอง จากเดิมที่เคยพูดถึงความสะอาดทุกถุง และหุงขึ้นหม้อ ขณะที่ข้าวตราเกษตรของค่ายไทยฮา เมื่อปีที่ผ่านมาก็เพิ่งยิงโฆษณาออกมา 3 เรื่อง คือ เคารพข้าว ฟ้าลิขิต และธรรมชาติ เป็นการพูดถึงความผูกพันระหว่างสังคมไทย และข้าว เป็นการตอกย้ำสโกแกนของแบรนด์ที่ว่า ปลูกด้วยรัก คัดด้วยใจ หรือโฆษณาชุดล่าสุดของข้าวตราฉัตร ชุดไปนอก ที่ต้องการบอกว่าข้าวตราฉัตร มาตรฐานแน่นอนทุกถุง เหมือนกันทั่วโลก เรียกว่าได้ใจคนดูไปไม่น้อย

เปลี่ยนสังเวียนจากสมัยใหม่สู่ดั้งเดิม

แต่ไหนแต่ไรมา การแข่งขันในสมรภูมิข้าวถุงเริ่มต้นฟัดกันในช่องทางยี่ปั๊ว ซาปั๊ว มาเก่าก่อน กระทั่งเมื่อโมเดิร์นเทรดข้ามชาติ อย่าง เทสโก้โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟูร์ ยาตราทัพเข้ามาเมืองไทย สมรภูมิข้าวถุงจึงเปลี่ยนสังเวียนจากยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ไปสู่ห้างยักษ์ใหญ่ที่ดูทันสมัยกว่า เพราะเชื่อว่าจะสามารถสร้างภาพลักษณ์ได้ดีกว่า สามารถโกยยอดขายได้เป็นกอบเป็นกำกว่า จากช่องทางจำหน่ายที่กระจายไปทั่วไปประเทศจนถึงปัจจุบันมีจำนวนหลายร้อยสาขา

'การเปิดตัวของแบรนด์เริ่มเยอะขึ้นตั้งแต่โมเดิร์นเทรดเข้ามา ส่งผลให้ข้าวเข้าไปในช่องทางนี้มากขึ้นด้วย เพราะผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมไปซื้อของในห้างมากขึ้น แบรนด์ก็ต้องตามเข้าไปมากขึ้นด้วย เพราะประโยชน์ของโมเดิร์นเทรดมันได้ในแง่ของวอลุ่ม เพราะสมมติขายในเทสโก้โลตัส ขายตู้มเดียวเสร็จ แต่มาร์จิ้นน้อยมาก เพราะผุ้ผลิตเขามีกำลังการผลิตมากเขาก็ไม่สามารถไปกระจายตามยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ซึ่งอาจจะมีเป็นพันๆราย เมื่อเทียบกับการเข้าโมเดิร์นเทรดเพียงแค่เจ้าเดียว' เป็นคำกล่าวของ เบ็ญจพร ตรังคานุกูลกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีไทยใหม่การเกษตร จำกัด

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเมื่อโมเดิร์นเทรดเข้ามาบรรดาผุ้ประกอบการข้าวถุงทั้งหลายจะเลิกคบค้าสมาคมกับยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เพราะถึงอย่างไรช่องทางแบบดั้งเดิมก็ยังมีอิทธิพลในการกระจายสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคสูงกว่า และกว้างขวางกว่า ทั้งเขตตัวเมือง ชานเมือง ไปยันชายแดน ทั้งที่เป็นร้านอาหารทั้งเล็ก และใหญ่ กระทั่งผู้บริโภคในครัวเรือนตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับล่าง เนื่องจากข้าวที่ขายผ่านยี่ปั๊ว ซาปั๊วจะมีหลากหลายราคามากกว่า และราคาถูกกว่า เนื่องจากไม่ต้องเสียเงินกินเปล่า และค่าจีพี จึงสามารถนำเงินส่วนนี้มาลดให้กับยี่ปั๊ว ซาปั๊วได้

อีกทั้งการที่ผู้ประกอบการข้าวค้าขายกับช่องทางค้าแบบดั้งเดิมมานาน ทำให้มีความสัมพันธ์แนบแน่นกว่า และไม่ค่อยมีปัญหาเหมือนกับค้าขายกับโมเดิร์นเทรดอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ เพราะซื้อขายกับยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ไม่ต้องมีการเปิดใบสั่งของ และใช้เวลาเพียง 10-15 วันก็สามารถรับเงินได้ แต่ถ้าเป็นโมเดิร์นเทรด เครดิตเทอมประมาณ 45-60 วัน

ทั้งนี้ หากลองเดินเตร็ดเตร่เข้าไปในร้านแบบดั้งเดิมก็จะพบว่า ข้าวในร้านก็จะมีแบรนด์อยู่หลากหลายแบรนด์ แม้จะไม่เทียบเท่ากับในโมเดิร์นเทรด เพียงแต่ต่างขนาดกัน คือในร้านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว จะเป็นข้าวถุงขนาด 15, 24 และ 49 กิโลกรัม เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน คือ ถ้าเป็น 15 กิโลกรัม สำหรับกลุ่มที่ซื้อไปบริโภคเองที่บ้าน ส่วน 49 กิโลกรัมตอบสนองร้านอาหารหรือผู้ที่ซื้อไปหุงข้าวขาย เป็นต้น

ขณะที่โมเดิร์นเทรดเกือบทั้งหมดจะเป็นขนาด 5 กิโลกรัม ซึ่งข้อดีของการไปซื้อสินค้าที่ไปยี่ปั๊ว ซาปั๊ว คือ จะสามารถซื้อข้าวในลักษณะขายปลีกแบบเป็นกิโลได้ ซึ่งเหมาะกับคนที่ทำงานประเภทหาเช้ากินค่ำ นอกจากนี้การซื้อข้าวในยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ยังสามารถตอบสนองต่อผู้บริโภคบางกลุ่มที่ชอบดูข้าวว่าเมล็ดขาว เมล็ดหัก หรือเมล็ดสวยหรือไม่ ขณะที่ในโมเดิร์นเทรดไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ด้วยทั้งหมดจะบรรจุอยู่ในถุง ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าข้าวในถุงมีคุณภาพดี หรือไม่ดีอย่างไร

แต่ประเด็นสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้อข้าวกับยี่ปั๊ว ซาปั๊วมากขึ้น เป็นเพราะหลายคนมองว่าสินค้าในโมเดิร์นเทรดคุณภาพไม่ดีเหมือนเดิม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการที่เจ้าของสินค้าถูกบรรดาโมเดิร์นเทรดบีบคั้นต่างๆนานา ทั้งต่อรองราคา ทั้งโปรโมชั่น แต่ชนิดที่หนักที่สุดก็คือ ซื้อ 1 แถม 1 ทำให้เจ้าของสินค้าทนไม่ไหวต้องดิ้นหาทางรอด ด้วยการผสมข้าวนำข้าวหอมปทุมไปผสมกับข้าวหอมมะลิเพื่อให้ต้นทุนถูกลง เมื่อผู้บริโภคซื้อไปแล้วรู้สึกว่าไม่เหมือนเดิมจึงเปลี่ยนไปซื้อที่อื่นแทน เช่น โรงสีที่ซื้อจากแกษตรกรโดยตรง หรือร้านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว เป็นต้น

แม้การเข้าไปขายในโมเดิร์นเทรดจะสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ได้ และสามารถสร้างยอดขายที่ดีในระดับหนึ่งก็ตาม แต่จากการพูดคุยกับบรรดาผู้ประกอบการในวงการข้าวที่ค้าขายในโมเดิร์นเทรดกลับพบว่า หากเข้าโมเดิร์นเทรดเพื่อหวังทำกำไรนั้น ให้เลิกคิดได้เลย เพราะมาร์จิ้นข้าวถือว่าต่ำมากประมาณ 3% หากเป็นในภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี หรือห้างต้องแข่งกันเพื่อดึงลูกค้าอย่างเช่นในปัจจุบันจะอยู่แค่ 1% แต่ถ้าได้ 5% ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องเลี้ยงฉลองกันทั้งวงการ สิ่งที่ได้อย่างเดียวก็คือ ภาพลักษณ์เพราะผู้คนจะเห็น และรู้จักในแบรนด์

'ตอนนี้หงษ์ทอง กับตราฉัตร เริ่มกลับเข้าไปเจาะในเทรดดิชั่นแนล เทรด กันหมดแล้ว คือเหมือนกับว่าเข้าไปในโมเดิร์นเทรดแล้วโดนค่าจีพีกินจนไม่เหลืออะไรแล้ว ไหนต้องมาทำโปรโมชั่นอีก ตอนนี้โมเดิร์นเทรด เป็นตลาดที่ไม่น่าสนใจสำหรับข้าว ถามว่าอยากเข้าหรือไม่มีใครอยากเข้าไป แต่ต้องเข้าเพราะจำเป็นสำหรับภาพลักษณ์ของบริษัท ทำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์ แล้วไปกระจายตามเทรดดิชั่นแนล เทรด เป็นลักษณะนี้มากกว่า' แหล่งข่าวผู้คร่ำหวอดในวงการข้าว กล่าวกับ 'ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์'

ลุยหาช่องทางขายใหม่

ปัจจุบันตลาดข้าวสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 เซกเมนต์หลัก คือ ตลาดบนมีสัดส่วนประมาณ 15-20% ผู้เล่นในตลาดนี้มีหงส์ทอง ตราฉัตร มาบุญครอง ตลาดระดับกลาง มีสัดส่วนประมาณ 40-50% และตลาดของสินค้าเฮาส์แบรนด์ ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังโตวันโตคืน มีสัดส่วนประมาณ 20%

จากอัตราการเติบโต และสัดส่วนการครองตลาดของข้าวเฮาส์แบรนด์ที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับมาร์จิ้นของผู้ประกอบการข้าวรายอื่นที่ลดน้อยถอยลงทุกวัน ทำให้หลายรายเริ่มมองหาช่องทางในการขายอื่น ไม่ว่าจะเป็นข้าว 'พนมรุ้ง' ของค่ายชัยทิพย์ ที่หันไปลุยตลาดฟู้ดเซอร์วิส หรือกลุ่มโรงแรม ร้านอาหาร จนวันนี้อาจเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จมากที่สุดในตลาดนี้ โดยเน้นจุดเด่นในเรื่อง 'คุณภาพข้าวสายที่นุ่มอร่อยคงที่' ขณะเดียวกันก็ยังใช้ช่องทางจำหน่ายหลักๆอย่างโมเดิร์นเทรด และยี่ปั๊ว ซาปั๊ว โดยให้ล็อกซ์เล่ย์ เทรดดิ้ง เป็นผุ้กระจายสินค้าให้

สำหรับ ซี.พี. อินเตอร์เทรด เจ้าของแบรนด์ตราฉัตรก็เป็นอีกค่ายหนึ่งที่หันเข้าไปลุยในช่องทางจำหน่ายแบบดั้งเดิมอย่างหนักหน่วง ด้วยการอัด Trade Promotion ให้กับร้านค้าด้วยกลยุทธ์ซื้อ 6 ถุง แถม 1 ถุง และหากข้าวหมดยังสามารถนำถุงใส่ข้าวไปแลกเป็นเงินสดได้อีก ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในวงการค้าส่ง จากเดิมวงการข้าวจะเน้นให้ส่วนลดกับร้านค้าเป็นหลัก นอกจากนี้ยังพยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบรรดาร้านค้าปลีก และค้าส่ง ด้วยการเข้าไปตกแต่งร้านโชห่วยขายข้าวที่มีอยู่กว่า 3 หมื่นแห่งทั่วประเทศให้ทันสมัยเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันตกแต่งไปแล้ว 1 หมื่นแห่ง แถมพ่วงด้วยการมีสัญลักษณ์ของข้าวตราฉัตรด้วย

การกระทำดังกล่าวของซี.พี. แม้ดูเหมือนจะเป็นการสร้าง CRM (Customer Relationship Management) กับกลุ่มผู้ค้า แต่เอาเข้าจริงๆกลุ่มร้านค้าหลายรายกลับกังวลว่าต่อไปร้านของตนจะถูกกลืนกลายเป็นร้านของ ซี.พี. จึงพยายามถ่วงดุลและสร้างอำนาจการต่อรองด้วยการไปหาสินค้าของรายอื่นเข้ามาขายเพิ่มขึ้นด้วย

สร้างเซกแมนต์ใหม่ ภาพลักษณ์ดี แถมมาร์จิ้นเยอะ

หากมองเข้าไปในตลาดข้าวช่วงเวลานี้ จะเห็นว่าหลายค่ายเริ่มพยายามที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าว ด้วยการทำเป็นข้าวกล้อง ข้าวงอก เพื่อเจาะกลุ่มคนที่รักสุขภาพ หรือแม้แต่การทำแพกเกจจิ้งเป็นถุงฟอยด์ ถุงสุญญากาศ หรือถุงพลาสติกเคลือบ metallic สร้างความแตกต่าง และสร้างภาพลักษณ์เป็นสินค้าข้าวระดับพรีเมียม

แต่ข้าวที่กำลังมาแรงในช่วงเวลานี้เห็นจะไม่มีใครเกินข้าวอินทรีย์ ข้าวกล้อง ข้าวงอก ที่หลายค่ายกำลังฮิต และมีแนวโน้มการเติบโตสูง เนื่องจากสามารถทำราคาขายได้ดีกว่า และมีตลาดต่างประเทศคอยอ้าแขนรับเพียบ แม้วันนี้ในเมืองไทยจะเป็นนิช มาร์เก็ต แต่ก็มีผู้เล่นเข้ามาในตลาดมากหน้าหลายตา

สำหรับรายแรกที่กระโดดเข้ามาในตลาดข้าวออร์แกนิค หรือข้าวอินทรีย์ เป็นเจ้าแรกน่าจะได้แก่นครหลวงค้าข้าว เบอร์หนึ่งในบรรดาผุ้ค้าข้าวของเมืองไทย ซึ่งค่ายนี้ได้ลงทุนปลูกข้าวประเภทนี้เองบนพื้นที่กว่า 5 พันไร่ ขณะที่ค่ายอื่นๆจะใช้วิธีคอนแท็กต์ ฟาร์มมิ่ง ซึ่งเหตุที่หลายค่ายลงมาเล่นในข้าวประเภทนี้เนื่องจากต่างประเทศต้องการให้ไทยส่งเสริมการปลูกข้าวประเภทนี้เพื่อนำไปผลิตเป็นอาหารเด็ก ขณะเดียวกันผู้บริโภคในต่างประเทศเองก็ให้ความสนใจกับอาหารประเภทนี้มากเห็นได้จากการมีร้านขายสินค้าออร์แกนิคเปิดกันหลายแห่ง และแต่ละแห่งก็มีผู้เข้าไปซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ราคาสินค้าค่อนข้างสูง

นอกจากค่ายนครหลวงค้าข้าวและก็มีข้าวของค่ายอื่นๆ เช่น ค่ายเจียเม้ง เจ้าของแบรนด์หงษ์ทองก็กระโดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้ด้วยเช่นกัน เพียงแต่วันนี้ยังไม่เด้น และดัง เท่ากับค่ายแรก ส่วนอีกค่านหนึ่งที่กำลังให้ความสนใจในตลาดนี้ก็คือ คือ ค่ายศรีไทยใหม่การเกษตร เจ้าของแบรนด์ 'ล้อบิน' ที่เป็นเจ้าตลาดข้าวเหนียว เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ทำตลาดอยู่ในภาคอิสานมากว่า 50 ปี

'ตอนนี้ที่เป็นหลักคือล้อบิน มีมาร์เก็ตแชร์ประมาณ 1% เนื่องจากผู้เล่นเยอะมาก ไม่มีผู้นำ ขึ้นอยู่กับกำลังผลิตของแต่ละโรงสี ในภาคอิสานมีโรงสีอยุ่ประมาณ 2 หมื่นกว่าโรง ดังนั้นผุ้นำก็จะสลับกันขึ้นลง แต่ถ้าจะเทียบเป็นภาคแล้ว ข้าวเหนียวของภาคอิสานจะเยอะกว่าภาคอื่น' เบ็ญจพร ตรังคานุกูลกิจ กรรมการผู้จัดการ และ รัชนีนันท์ ตรังคานุกูลกิจ รองประธานกรรมการ บริษัท ศรีไทยใหม่การเกษตร จำกัด อธิบาย

หากมองการแข่งขันในตลาดข้าวเหนียวเมื่อเทียบกับข้าวเจ้าจะเห็นว่า ข้าวเหนียวจะไม่ค่อยมีการแข่งขันในช่องทางที่เป็นโมเดิร์นเทรดมากนัก เนื่องจากกลุ่มผุ้บริโภคข้าวเหนียวจะเป็นกลุ่มคนใช้แรงงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อผ่านช่องทางขายแบบดั้งเดิม ทำให้เวลานำข้าวเหนียวไปขายผ่านโมเดิร์นเทรดมักจะขายไม่ค่อยได้ ส่วนมากมักจะเป็นข้าวเหนียวที่ใช้ทำขนม แต่ก็มีปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

นอกจากนี้จากการที่ข้าวเจ้าพื้นที่ในการเพาะปลูกมากกว่าและคนนิยมบริโภคมากกว่าจึงทำให้การแข่งขันในตลาดข้าวเจ้าจึงมากตามไปด้วย ขณะที่พื้นที่ปลูกข้าวเหนียวให้ได้คุณภาพดีจะอยู่ที่ภาคเหนือกับอิสานเท่านั้น

เหตุผลการเข้ามาลุยในตลาดข้าวอินทรีย์ของกลุ่มศรีไทยใหม่การเกษตร เนื่องมาจากมีลูกค้าของบริษัทเดินทางมาเมืองไทยเพื่อเยี่ยมเยียนและดูแหล่งผลิตของบริษัทว่าใช้ปุ๋ยอะไร จากนั้นจึงแนะนำให้บริษัทส่งเสริมทำข้าวอินทรีย์ อีกทั้งในบริเวณนั้นมีเกษตรกรกลุ่มหนึ่งริเริ่มทำข้าวเหนียวอินทรีย์อยู่ก่อนแล้ว จึงเข้าไปส่งเสริมและหาตลาดให้

'2-3 ปีที่แล้วเราเห็นแล้วว่าอนาคตต้องเป็นอย่างนี้หมดแน่ๆ พอเรามองเห็นปั๊บเราก็พยายามวิ่งหาหน่วยงานราชการ ว่ามีที่ไหนที่จะสนับสนุนเราบ้าง ปรากฏว่ามีขึ้นมาแต่โครงการ แต่ไม่มีการดำเนินงาน ไม่มีอะไรเกิดขึ้น มันเหมือนกับเป็นการตั้งท่าสร้างภาพ แต่ไม่มีอะไรตามมา ดังนั้น จึงคิดว่าในเมื่อเรามีลูกค้าอยุ่แล้ว จึงทำของเราเองดีกว่า' 2 พี่น้องผู้บริหาร บริษัทศรีไทยใหม่การเกษตร อธิบาย

เมื่อจะทำข้าวอินทรีย์เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ห่วงใยสุขภาพ จึงต้องออกแบรนด์ใหม่เพื่อขายในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจาก 'ล้อบิน' เป็นแบรนด์สำหรับสินค้าแมสไปแล้ว เพราะตลาดในประเทศไม่ค่อยสนใจเรื่องข้าวอินทรีย์มากนัก แต่จะให้ความสนใจเรื่องราคาถูกเพียงอย่างเดียว

'NURIZ' คือแบรนด์ใหม่ที่เพิ่งสร้างขึ้นเพื่อลุยตลาด ภายใต้การทำตลาดของบริษัท ข้าวศรไทยใหม่ จำกัด มีผลิตภัณฑ์ 3 ประเภท คือ 1.ข้าวกล้องงอกสามกษัตริย์ (ผสมข้าว 3 ชนิด คือ ข้าวกล้องงอกหอมมะลิกาบา, ข้าวหอมมะลิแดง และข้าวหอมนิล) 2.ข้าวกล้องงอกหอมมะลิกาบา 100% และ 3.ข้าวฮางหอมมะลิ 'ที่ออก 3 ประเภทเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า เนื่องจากคุณค่าไม่เหมือนกัน'

ทั้งนี้ ข้าวกล้องงอก หรือข้าวกาบา ได้รับความนิยมอย่างมากมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี โดยเน้นกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเด็ก และผู้สนใจสุขภาพ เนื่องจากข้าวกล้องงอกมีคุณค่าทางโภชนาการสูง

ตอนนี้ 'นูริซ' ยังไม่เริ่มทำการตลาดอย่างจริงจัง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพูดคุยกับห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็น เซ็นทรัล และกลุ่มเดอะมอลล์ วางจำหน่าย 2 ขนาด คือ 450 กรัม และ 800 กรัม โดยข้าว 3 กษัตริย์จะมีราคาแพงที่สุด คือ 160 บาท เนื่องจากในท้องตลาดข้าวหอมนิลจะมีราคาแพงที่สุด สำหรับข้าวกล้องหอมมะลิธรรมดา 140 บาท และข้าวฮางราคา 90 บาท

'ไซส์ขนาด 450 กรัมเราออกมาทั้ง 3 ประเภท โดยสติ๊กเกอร์มันจะเป็นสีน้ำตาล เพราะเราตั้งเป็นโครงการเกื้อหนุนเกษตรกรในท้องถิ่น คือถ้าเกษตรกรผลิตอะไรที่เพิ่มมูลค่าในข้าวได้ ก็ผลิตขึ้นมาให้ได้มาตรฐาน เราจะรับซื้อทำตลาดภายใต้แบรนด์ นูริซ'   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us