|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ขณะที่สัญญาสัมปทานบริหารช่อง 3 ต่ออีก 10 ปี (2553-2563) ของ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการฯที่แต่งตั้งโดย บอร์ดบมจ.อสมท “ASTVผู้จัดการรายวัน” ขอนำเสนอ ผลสอบสัญญาเดิมที่ไม่เป็นธรรม ให้สาธารณชนได้รับรู้
อัตราผลตอบแทนที่ อสมท ได้รับภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3
การแก้ไขวิธีการจ่ายค่าตอบแทนจากอัตราร้อยละ 6.5 ของรายได้ ไปเป็นจำนวนตายตัว ทำให้ค่าตอบแทนที่ อสมท ได้รับมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก เพื่อให้ทราบถึงอัตราผลตอบแทนที่ อสมท ได้รับจริง ภายหลังการแก้ไขวิธีการจ่ายค่าตอบแทน โดยการคำนวณอัตราผลตอบแทนต่อรายได้ในระหว่างปี 2533 ถึง 2548 ปรากฎว่าหลังจากการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ครั้งที่ 3 อสมท ได้รับค่าตอบแทนในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.41 จากรายได้ ( เมื่อคำนวณจากรายได้ของบีอีซีเพียงบริษัทเดียว ) และร้อยละ 1.44 จากรายได้ทั้งสิ้น ( เมื่อคำนวณจากรายได้ที่แสดงในงบการเงินของบีอีซีบวกกับ รายได้ค่าโฆษณาที่แสดงในงบการเงินของ รังสิโรตม์ และนิวเวิลด์ ) เมื่อเทียบกับอัตราผลตอบแทนจากรายได้ที่เคยได้รับจำนวนร้อยละ 6.5 จะเห็นว่า อสมท ได้รับอัตราผลตอบแทนลดลงเป็นจำนวนร้อยละ 4.09 เมื่อเทียบกับรายได้ของบีอีซี และร้อยละ 5.06 เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งสินของ บีอีซี รังสิโรตม์ และ นิวเวิลด์ )
การเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนที่คู่สัญญาได้รับ
ผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำธุรกิจสามารถวัดได้ในหลายลักษณะ เช่น ผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของกำไร ( ผลตอบแทนจากการลงทุน ) ผลตอบแทนที่อยู่ในรูปของเงินสด ( เงินปันผลรับหรือค่าตอบแทนรับ ) ฯลฯ ในฐานะผู้ร่วมดำเนินกิจการ อสมท และบีอีซี ( โดยกลุ่มมาลีนนท์ ) ควรได้รับผลตอบแทนที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจร่วมกัน ซึ่งรายละเอียดต่อจากนี้แสดงให้เห็นถึงอัตราผลตอบแทนที่ อสมท และบีอีซีได้รับในหลายลักษณะเพื่อประโยชน์ของการเปรียบเทียบ โดยคำนวณจากผลตอแทนที่เกิดขึ้นภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3 ( ปี 2533 ถึง 2548 )
ผลตอบแทน/อัตราผลตอบแทน ปี 2533 – 2548
โดยผลตอบแทนที่เป็นเงินสด ( ตอบแทน/เงินปันผล ) อสมท ได้ 609 ล้านบาท ส่วนกลุ่มมาลีนนท์คือ บีอีซีทำได้ 5,742 ล้านบาท บีอีซี รังสิโรตม์และนิวเวิลด์ ได้ 11,492 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนที่เป็นเงินสดต่อรายได้ของบีอีซี โดย อสมท เท่ากับ 2.41% บีอีซี เท่ากับ 22.69%
อัตราผลตอบแทนที่เป็นเงินสดต่อรายได้ของบีอีซี รังสิโรตม์ นิวเวิลด์ โดย อสมทได้รับ 1.44% บีอีซี รังสิโรตม์ นิวเวิลด์ ได้รับ 27.26%
ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน บีอีซีได้มากถึง 46.77% ส่วนบีอีซี รังสิโรตม์ นิวเวิลด์ ได้รับ 56.46%
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอัตราผลตอบแทนที่คู่สัญญาควรได้รับ
ข้อมูลที่มีอยู่นั้นตามผลตอบแทนที่ระบุข้างต้น ทำให้เห็นชดเจนว่า ผลตอบแทนที่ อสมท ได้รับในระหว่างปี 2533 – 2548 มีจำนวน ( อัตรา ) น้อยมากเมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่กลุ่มมาลีนนท์ได้รับจากการทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีกับ อสมท ทั้งที่สัญญาร่วมดำเนินกิจการเป็นสัญญาที่คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ควรแบ่งผลประโยชน์ และร่วมรับความเสี่ยงในการทำธุรกิจ หากสัญญาที่ทำขึ้นระหว่าง อสมท กับ บีอีซี เป็นสัญญาร่วมดำเนินกิจการอย่างแท้จริงแล้ว บีอีซีในฐานะผู้ลงทุนควรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่เหมาะสม ในขณะที่ อสมท ในฐานะผู้ให้สัมปทานควรรับค่าตอบแทนที่ผันแปรตามผลประกอบการของผู้ลงทุน
เนื่องจากการกำหนดอัตราผลตอบแทนที่เหมาะสมจะทำให้การแบ่งปันผลประโยชน์ของสัญญาร่วมดำเนินกิจการเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม การสอบสัญญานี้จึงได้ทำการศึกษาอัตราผลตอบแทนที่คู่สัญญาควรได้รับดังนี้
( 1 ) อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่บีอีซีควรได้รับ
( 2 ) อัตราผลตอบแทนจากรายได้ที่ อสมท ควรได้รับ
อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่บีอีซีควรได้รับ
อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Equity ) คือ ผลตอบแทนสุทธิจากค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่ผู้ถือหุ้นควรได้รับจากการลงทุนในบริษัท ในการศึกษานี้ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนคำนวณหากำไรสุทธิสำหรับปี ( กำไรสุทธิ เป็นกำไรที่ได้หักค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นซึ่งรวมถึง ค่าสัมปทาน ดอกเบี้ยจ่าย และวิธีเงินกู้ ) ) หารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นถัวเฉลี่ยในระหว่างปี ( ส่วนของผู้ถือหุ้นถัวเฉลี่ยสำหรับงวดคำนวณโดยใช้ผลรวมของส่วนของผู้ถือหุ้นต้นปีกับปลายปีหารด้วย 2 )
ตามหลักความจริง อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ที่บริษัทได้รับ หากคำนวณหาค่าเฉลี่ยในระยะยาว ควรใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทชั้นนำ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ( หรือที่เรียกว่าอัตราอ้างอิง ( Reference Rate)”) เว้นแต่บริษัทนั้นจะมีปัจจัยบวกที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราอ้างอิงอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น ซึ่งผู้บริหารของบริษัทมีความสามารถในการบริหารจัดการเที่เป็นเลิศ บริษัททำธุรกิจในตลาดผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด หรือบริษัทได้ถ่ายโอนผลประโยชน์ของผู้อื่น เช่น คู่สัญญา มาเป็นของตนเอง ฯลฯ
ตามปรกติอัตราอ้างอิงกำหนดขึ้นจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ได้ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกให้รวมอยู่ในการคำนวณ SET 50 Index (บริษัท SET50 ที่นำมาใช้ในการศึกษาถือเป็นตัวแทนที่เที่ยงธรรม เพราะเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเฉลี่ยต่อวันย้อนหลัง 12 เดือน สูงสุด 50 อันดับแรก และมีมูลค่าซื้อขายสม่ำเสมอ ) (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “บริษัทSET50”) โดยการศึกษาครั้งนี้ได้กำหนดอัตราอ้างอิงจาก บริษัท SET50 หลังจากที่ได้ตัดบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินออกจำนวน 10 บริษัท
( บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินมีลักษณะเป็นธุรกิจเฉพาะและต้องดำเนินงานภายใต้กฎหมายเฉพาะจึงไม่ถือเป็นตัวแทนที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณอัตราผลตอบแทนอ้างอิงสำหรับบริษัททั่วไป เช่น บีอีซี ) และบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากภาครัฐ อีก 6 บริษัท ( บริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐไม่ควรนำมารวมในการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนอ้างอิงด้วยสาเหตุที่ว่า บริษัทที่ได้รับสัมปทานมักมีการดำเนินกิจการในลักษณะผูกขาดหรือได้รับสิทธิพิเศษตามสัญญาไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง การแยกบริษัทที่ได้รับสัมปทานรัฐออกจากการคำนวณจะทำให้ อัตราผลตอบแทนอ้างอิงที่คำนวณได้ถือเป็นตัวแทนที่เที่ยงธรรมของบริษัทชั้นนำทั่วไปที่ประสบความสำเร็จด้วยความสามารถของบริษัทเอง )
ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า “บริษัทSET34” (อ่านต่อวันพรุ่งนี้)
|
|
|
|
|