|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เปิดผลสอบสัญญาทาสช่อง 3 (ตอนที่ 5)
ขณะที่สัญญาสัมปทานบริหารช่อง 3 ต่ออีก 10 ปี (2553-2563) ของ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการฯที่แต่งตั้งโดย บอร์ดบมจ.อสมท “ASTVผู้จัดการรายวัน” ขอนำเสนอ ผลสอบสัญญาเดิมที่ไม่เป็นธรรม ให้สาธารณชนได้รับรู้
ความถูกต้องโปร่งใสในการปฏิบัติตามสัญญาด้านการโอนทรัพย์สินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ อสมท
เงื่อนไขในสัญญาร่วมดำเนินกิจการระหว่าง อสมท กับ บีอีซี ระบุว่า “บรรดาสิ่งก่อสร้างทุกอย่างที่ได้ก่อสร้างขึ้นบนที่ดิน อีกทั้งทรัพย์สินทุกอย่างยกเว้นเงินทุนที่ “บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์” ได้กระทำขึ้นหรือได้จัดหามาสำหรับใช้สอยในการดำเนินงานตามสัญญานี้ทุกๆอย่าง ไม่ว่าได้มาตามสัญญาข้างต้นนี้ หรือได้กระทำขึ้นหรือได้จัดหามาในระหว่างการดำเนินการตามสัญญานี้ก็ดี ให้ตกเป็นทรัพย์สินของ อ.ส.ม.ท. ทั้งสิ้น นับแต่วันที่ได้กระทำขึ้นหรือได้จัดหา”
จากการตรวจสอบทรัพย์สินที่ อสมท รับโอนจากบีอีซี พบทรัพย์สินที่ควรกล่าวถึง 3 รายการ ดังนี้
(1) รายการที่ 1 สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHF ออกอากาศรายการช่อง 3 ณ อาคารใบหยก 2 กรุงเทพมหานคร
(2) รายการที่ 2 สถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHF ช่อง 41 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
(3) รายการที่ 3 อุปกรณ์ดำเนินงานโทรทัศน์ให้เช่าที่ปรากฏในงบการเงินของบีอีซีแอสเซท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548
การตรวจสอบแต่ละรายการพบว่า รายการที่ 1 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 บีอีซีได้มีจดหมายถึงผู้อำนวยการ อสมท เรื่องขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHF ออกอากาศรายการช่อง 3 ณ อาคารใบหยก 2 กรุงเทพมหานคร โดยได้ใช้เสาส่งโทรทัศน์ และระบบสายอากาศโทรทัศน์ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ของไอทีวี ณ อาคารใบหยก เนื่องจากจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสัญญาณจากระบบ VHF Band 1 เป็น UHF
กรณีที่บีอีซีตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHF โดยใช้เสาส่งโทรทัศน์และระบบสายอากาศส่งโทรทัศน์ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ของไอทีวีทำให้บีอีซีไม่สามารถโอนเสาส่งโทรทัศน์และระบบสายอากาศส่งโทรทัศน์ให้เป็นทรัพย์สินของ อสมท ได้เมื่อจัดหา เนื่องจากเสาส่งโทรทัศน์และระบบสายอากาศส่งโทรทัศน์ดังกล่าวไม่ได้เป็นทรัพย์สินของบีอีซี แต่เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี การกระทำดังกล่าวอาจถือเป็นการผิดสัญญาที่ทำไว้กับ อสมท แม้ว่าบีอีซี จะได้ทำหนังสือแจ้งต่อผู้อำนวยการ อสมท แล้วก็ตาม
รายการที่ 2 สืบเนื่องจากการตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHF บีอีซีได้ทำการสรางสถานีวิทยุโทรทัศน์ จากที่ตั้งเดิมคือ เขายายเที่ยง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ไปที่ตำบลบ้านใหม่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา แต่ในการย้ายครั้งนี้ บีอีซี ได้ส่งสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHF บนที่ดินเช่า ดังนั้น ในการโอนสถานีส่งวิทยุโทรทัศน์ระบบ UHFและทรัพย์สินอื่นที่จัดหาให้แก่ อสมท บีอีซีซึ่งไม่สามารถโอนที่ดิน 1 แปลง ( จำนวนเนื้อที่ดิน 749 ส่วนจากเนื้อที่ดินจำนวน 1,208 ส่วนตามโฉนดที่ดินเลขที่ 128086 หน้าสำรวจ 14606 ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ) ที่เป็นที่ตั้งของสถานีส่งให้ อสมท แม้ว่าในหนังสือลงวันที่ 3 สิงหาคม 2548 บีอีซี จะยืนยันว่า บรรดาทรัพย์สินต่างๆ ที่จัดหาเพื่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ระะบบ UHF ช่อง 41 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา บีอีซียินดียกให้เป็นทรัพย์สินของ อสมท ก็ตาม
จากการตรวจสอบเอกสารการเช่าที่ดินของ บีอีซี พบว่า บีอีซี ( โดยประสาร มาลีนนท์ และนางอัมพร มาลีนนท์ ) ได้ทำการเช่าที่ดินจากบริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด (“บีอีซีแอสเซท”) ซึ่งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้อง ( โดยนางรัตนา มาลีนนท์และประชา มาลีนนท์ / ทั้งนี้บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด และบริษัท บีอีซี แอสเซท จำกัด เป็นบริษัทที่ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นอยู่ร้อยละ99.99 และทั้ง 2 บริษัทนี้มีนายประสาร มาลีนนท์ นางอัมพร มาลีนนท์ นางรัตนา มาลีนนท์ นายประชุม มาลีนนท์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน )
โดยสัญญาเช่าระบุว่า บีอีซีแอสเซท จำกัด ( “บีอีซีแอสเซท”) ตกลงให้บีอีซีเช่าที่ดินเป็นระยะเวลา 15 ปีนับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 ถึงวันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยผู้เช่าต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าเป็นรายเดือน (อัตราค่าเช่า ปีที่ 1 – 5 เดือนละ 10,000 บาท ปีที่ 6 - 10 เดือนละ 12,000 บาท ปีที่ 11 - 15 เดือนละ 14,000 บาท หลังจากหมดสัญญา บีอีซีต้องแสดงความประสงค์ในการต่ออายุสัญญาเช่าไม่น้อยกว่า 60 วัน
นอกจากนั้นสัญญาเช่ายังระบุเงื่อนไขในการรื้อถอนว่า ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาเช่าหรือเมื่อผู้เช่าใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดระยะเวลาเช่า ผู้เช่ามีสิทธิแจ้งให้บีอีซีแอสเซททราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 90 วัน ว่าผู้เช่าประสงค์จะให้อาคาร สิ่งปลูกสร้าง และการปรับปรุงใดๆ บนที่ดินเช่า ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของบีอีซีแอสเซท หรือประสงค์จะดำเนินการรื้อถอนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง และการปรับปรุงใดๆ ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่า และส่งมอบที่ดินเช่าโดยไม่มีสิ่งสร้างหรืออาคารเหนือพื้นดินในสภาพที่เรียบร้อย
เงื่อนไขในสัญญาเช่าทำให้เห็นว่า การเช่าที่ดินระหว่างบีอีซีและบีอีซีแอสเซทนั้น ทำขึ้นเพื่อให้สิ้นสุดวันเดียวกับการที่ต่อสัญญาอัติโนมัติตามการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาครั้งที่ 3 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 25 มีนาคม 2563 นั่นหมายความว่า เมื่อสัญญาระหว่าง อสมท กับ บีอีซี สิ้นสุดลง อสมท จะตกอยู่ในฐานะที่ต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ตั้งอยู่บนที่ดินเช่าตามเงื่อนไขในสัญญาเช่า อสมท มีทางเลือกที่จะส่งมอบทรัพย์สินให้เป็นกรรมสิทธิ์ของบีอีซีแอสเซท หรือรื้อถอนทรัพย์สินนั้นออกจากที่ดินด้วยค่าใช้จ่ายของ อสมท เนื่องจาก อสมท เป็นเจ้าของทรัพย์สิน
การจัดหาที่ดินของบีอีซีโดยใช้วิธีเช่าจากบีอีซีแอสเซทแทนการจัดหาโดยวิธีซื้อเสร็จเด็ดขาด ทำให้บีอีซีไม่สามารถโอนที่ดินที่เช่าให้เป็นทรัพย์สินของ อสมท การกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความพยายามของบีอีซีที่จะหลีกเลี่ยงการส่งมอบที่ดินให้ อสมท ตามสัญญา พฤติกรรมดังกล่าวส่อให้เห็นถึงความไม่ถูกต้องโปร่งใส
(โดยเฉพาะเมื่อที่ดินนั้นเป็นทรัพย์สินของบีอีซีแอสเซท ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบีอีซีเวิลด์และบริหารงานโดยกลุ่มมาลีนนท์ผู้รับสัญญาจาก อสมท ) และอาจส่งผลให้ อสมทได้รับความเสียหายในอนาคตจากการที่จะต้องรื้อถอนทรัพย์สินออกที่ดินเช่า หรือจากการที่จะต้องสร้างสถานีส่งโทรทัศน์สีขึ้นใหม่ หรือจากการดำเนินงานที่อาจจะต้องหยุดชะงักลง
รายการที่ 3 จากการสอบทานงบการเงินของบีอีซีแอสเซทพบว่า ในงบดุลสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 บีอีซีแอสเซทแสดงอุปกรณ์ดำเนินงานโทรทัศน์ให้เช่าจำนวน 222 ล้านบาท (ก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ) จึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า ทรัพย์สินดังกล่าวอาจจะเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการโทรทัศน์สีช่อง 3 ซึ่งบีอีซีต้องโอนให้ อสมท เมื่อจัดซื้อหรือจัดหา แต่บีอีซีอาจหลีกเลี่ยงการโอนกรรมสิทธิ์ให้ อสมท โดยการเช่าทรัพย์สินนั้นจากบีอีซีแอสเซท ( เช่นเดียวกับกรณีที่ดินเช่าที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้)
อย่างไรก็ตามคณะทำงานไม่สามารถหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่า อุปกรณ์ดำเนินงานโทรทัศน์ให้เช่าประกอบด้วยรายการใดบ้างรายการใดบ้าง เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลของบีอีซีแอสเซทได้ ( อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้ )
|
|
|
|
|