Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2530
หุ้นกองทุนกรุงไทย เบื้องหลังเค้าหน้าตักธนชาติ ใคร ? ต้องการอะไร ?             
โดย สมใจ วิริยะบัณฑิตกุล
 


   
search resources

กองทุนกรุงไทย
Stock Exchange




กองทุนกรุงไทยถือกำเนิดเพื่อกู้วิกฤติแห่งศรัทธาของตลาดหลักทรัพย์ ปี 2522 ไม่ให้ตลาดล่มสลาย เวลาผ่านไป 8 ปี ตลาดหลักทรัพย์กลับบูมขึ้นอีกครั้ง กองทุนหมดหน้าที่ จึงจัดการผ่องถ่าย แล้วโบรคเกอร์อย่างธนชาติก็รับไปท่ามกลางปริศนา ?

670…

646…

เลข 3 ตัวทั้งสองชุดนี้ มิใช่เลขท้าย 3 ตัวของหวยงวดต่อไป !!

แต่เป็นตัวเลขแสดงมูลค่าที่บริษัทนายหน้าเสนอเข้าประมูล "หุ้นกองทุนกรุงไทย" ในยกแรก

ณ ห้องประชุมชั้น 5 ของธนาคารกรุงไทย วันนั้นถูกกำหนดให้เป็นสนามแข่งขันชิงความเป็นเจ้าของหุ้นเกือบ 5 ล้านหุ้น

เวลา 9.30 น. ของวันที่ 19 มิถุนายน กรรมการเปิดซองประมูล ภุชงค์ เพ่งศรี อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะรองประธานกรรมการแบงก์กรุงไทย มาโนช กาญจนฉายา ผู้ช่วยผู้ว่าการแบงก์ชาติ และเธียรชัย ศรีวิจิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์กรุงไทย เดินทางมาถึง การประมูลเริ่มขึ้น

นาทีระทึกใจเมื่อกรรมการเปิดซองประมูล ประเสริฐ ธีรนาคนาท หัวหน้าส่วนอำนวยสินเชื่อ 4 ของกรุงไทย ซึ่งรับผิดชอบเป็นผู้ดูแลกองทุนนี้ เป็นผู้เขียนตัวเลขบนกระดาน

670,312,305 บาท โดบร่วมเสริมกิจ สินเอเชีย ธนไทย พัฒนสิน

กลุ่มบริษัททิสโก้ ไทยค้า และนวธนกิจ ซึ่งเดิมทำท่าว่าจะเข้าร่วมด้วย ปรากฏว่าไม่ได้ส่งตัวแทนมา

ถ้าดูจากตัวเลข จะเห็นว่ากลุ่มแรกซึ่งเสนอราคาสูงกว่า ก็น่าจะตีปีกได้เพราะราคาท่เสนอได้ต่ำกว่าราคาตลาดวันที่ 19 ราว 10%

แต่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาแล้ว เห็นว่าต่ำกว่าราคากลางที่กำหนด (ใช้สูตรจากกระทรวงการคลัง) ก็เลยประกาศ "ยกเลิกการประมูล" !!

ท่ามกลางความรู้สึกเซ็งของบรรดาโบรคเกอร์ที่เตรียมตัวมาด้วยความเหน็ดเหนื่อย หลังจากนั้นหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับวิพากษ์วิจารณ์เชิงตำหนิติเตียนว่า การตัดสินใจของกรรมการเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด เพราะราคาที่ประมูลก็จัดอยู่ในเกณฑ์ที่สูงพอสมควร ต่ำกว่าราคาตลาดไม่มาก ถ้าประมูลอีกอาจจะไม่ได้ราคาเท่านี้ !?

ดังนั้น อีกสองสัปดาห์ วันที่ 6 กรกฎาคม 2530 พบกันใหม่ตามกติกาของทางราชการ

ใครจะประมูลได้และราคาจะแย่ลงอย่างที่วิจารณ์กันหรือไม่ ??

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2518 ด้วยมูลค่ารวมของการซื้อขายหลักทรัพย์ 1,522 ล้านบาท และเติบโตอย่างรวดเร็ว ปี 2520 มูลค่าสูงกว่าปี 2519 ถึง 18.5 เท่า

ปี 2521 นับเป็นปีที่ตลาดหุ้นเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด มีมูลค่าตลอดปี 2521 สูงถึง 57,272.40 ล้านบาท ระดับราคาหลักทรัพย์ก็พุ่งตัวสูงขึ้นอย่างฉับพลันจากดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2521 ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดของปีนั้นเท่ากับ 180.79 จุด เพิ่มเป็น 266.2 ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2521

การเพิ่มขึ้นของภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงนี้เอง มีการอธิบายปรากฏการณ์ว่า เป็นผลพวงมาจากความไม่เข้าใจเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ความไม่พร้อมของระบบกลไกควบคุมของทางการ และมีการเก็งกำไรจากการค้าหลักทรัพย์ด้วยการให้สินเชื่ออย่างมหาศาล กระทั่งระดับราคาหุ้นสูงเกินความเป็นจริง

22 สิงหาคม 2522 บริษัทราชาเงินทุนซึ่งเป็นบริษัทนายหน้ารายใหญ่ ซึ่งเป็นตัวนำ (LEADER) อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ล้ม ขณะนั้นราชาเงินทุนเกิดขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง เช็คหลายใบที่สั่งจ่ายโดยราชาเงินทุนไม่สามารถขึ้นเงินได้

ระดับราคาของหุ้นราชาเงินทุนตกอย่างฮวบฮาบ ! ทำให้หุ้นทุกตัวตกหมด เกิดเป็นวิกฤตการณ์ตลาดหลักทรัพย์ มีแต่คนต้องการขาย ไม่มีคนต้องการซื้อ ตลาดหลักทรัพย์เกิดวิกฤตการณ์อย่างหนัก

เพื่อช่วยแก้วิกฤติแห่งศรัทธา แก้ปัญหาขาดความเชื่อมั่นและเสถียรภาพในราคาหลักทรัพย์ โดยการเข้าไปเพิ่มดีมานด์

"กองทุนกรุงไทย" เป็นหนึ่งในมาตรการของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย โดยให้ธนาคารกรุงไทยเป็นผู้จัดการกองทุนทุกอย่างอยู่ในชื่อของกรุงไทย เป็นผู้ออกหน้าในการทำนิติกรรม โดยธนาคารชาติให้เงินกู้ 3,000 ล้าน

บทบาทของกองทุนกรุงไทย คือ การเข้าไปซื้อหุ้นในตลาดได้ทุกหุ้น ยกเว้นหุ้นของธนาคารพาณิชย์ เพราะ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ ห้ามถือหุ้นต่างธนาคาร

รับซื้อในหุ้นสองประเภท คือ หุ้นที่ถือโดยลูกค้าของบริษัทที่วางประกันการกู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือเรียกว่าเล่นหุ้นแบบมาร์จิน ตัวอย่าง คือ มีเงินไปฝากไว้ที่บริษัทเงินทุน 30 บาท บริษัทจะให้เล่นหุ้นได้ในวงเงิน 100 บาท ซึ่งขณะนั้นมีคนเล่นหุ้นในกรณีนี้เป็นจำนวนมาก อีกประเภทคือหุ้นที่อยู่ในมือของบริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์

โดยที่ลักษณะการขายเป็นแบบขายฝาก

"ทางการมีกำหนดให้สามารถซื้อคืนได้ภายใน 3 ปี ในราคาทุนบวกดอกเบี้ย 9 เปอร์เซ็นต์ต่อปี พอราคาหุ้นดีขึ้นก็มีมาซื้อคืน ตอนหลังก็ยืดเวลาให้อีกปี ก็เหลืออยู่พันกว่าล้าน" เธียรชัย ศรีวิจิตร เล่ากับ "ผู้จัดการ"

จนถึงวันประมูลมีหุ้นเหลืออยู่ทั้งหมด 9,949,830 หุ้น เป็นหุ้น 56 ตัว (เดิมมี 57 แต่เนื่องจากหุ้นกองทุนสินภิญโญ 1 ครบอายุการลงทุน คือ 10 ปี ทางบริษัทจึงไถ่ถอนไปตามกำหนด)

ในจำนวนหลักทรัพย์ 56 ตัวมีหลักทรัพย์ที่อยู่ในเกณฑ์ดี คือ ความสามารถในการทำกำไรดี และราคาตลาดสูงกว่าต้นทุนซื้อมากจำนวน 41 หลักทรัพย์ หุ้นที่ผลประกอบการแย่ลงมี 6 บริษัท ส่วนอีก 8 บริษัทถูกสั่งให้ออกจากตลาดเนื่องจากผลประกอบการแย่ลงมาก ๆ มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินมีราคาตลาดเท่ากับศูนย์

การขายครั้งนี้เป็นแบบเหมาคละกันไปทั้งส่วนดีและไม่ดี ประมูลครั้งแรกแบ่งครึ่ง คือ นำ 4,974,915 หุ้นมาประมูลก่อน

"ที่เราเลือกใช้วิธีประมูล เพราะถ้าเข้าตลาดตูมเดียวอาจจะทำให้ตลาดปั่นป่วนได้เพราะอยู่ ๆ ก็มีซัพพลายเป็นพันล้าน ทีแรกเราให้ประมูลครึ่งหนึ่ง เพราะปริมาณซื้อขายแต่ละวันประมาณ 400-500 ล้านบาท ตอนหลังมันสูงมากถึง 500-900 ล้าน เพราะมีนักลงทุนต่างประเทศเข้ามามาก เราคิดว่า เขารวมกลุ่มกันได้ เราเลยคิดว่าประมูลไปทีเดียวทั้งล็อทเลยก็น่าจะได้" เธียรชัยอธิบายเหตุผล

ยิ่งใกล้วันที่ 6 กรกฎาคม 2530 บริษัทนายหน้าวิ่งหาลูกค้ากันอย่างเหน็ดเหนื่อย เพราะคราวนี้วงเงินพันกว่าล้านสำหรับกลุ่มภัทรธนกิจ มีการเตรียมการอย่างคึกคักด้วยหมายมั่นจะเป็นผู้ประมูลได้

"เราเปิดซองประมูลสำหรับลูกค้าในกลุ่ม 30-40 ราย เราเปิดซองไปเรื่อยตั้งแต่ 5 โมงเย็นถึง 5 ทุ่ม ลูกค้าที่เข้าประมูลส่วนใหญ่เสนอประมูลบางหลักทรัพย์ที่ตนสนใจ ถ้าราคาที่ประมูลต่ำกว่าราคาตลาดเกิน 10% เราจะตัดออก นอกนั้นเราก็เอาราคามาเปรียบเทียบกันดูว่าใครสูงกว่า" วิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการภัทรธนกิจ เล่าวิธีคิดราคาเสนอประมูลกับ "ผู้จัดการ"

ส่วนธนชาตินั้น สามารถหาลูกค้าจากต่างประเทศได้เพียงรายเดียว แต่ตัวธนชาติ ซึ่งมีหุ้นของตัวเอง 5.3% ในกองทุนด้วยได้ร่วมเป็นหนึ่งในผู้ประมูลในกลุ่มของภัทรธนกิจ

การประมูลครั้งที่สอง ณ ที่เก่าเวลาเดิม

1,665 ล้านบาท เสนอโดย ธนชาติ

1,521.5 ล้านบาท เสนอโดย กลุ่มภัทรธนกิจ

1,472 ล้านบาท เสนอโดย กลุ่มร่วมเสริมกิจ

คราวนี้ไม่มีการยกเลิก เป็นอันว่าธนชาติประมูลได้ไป ด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดประมาณ 5%

การประมูลครั้งที่สองนี้นับว่า ถูกจังหวะมากเพราะอยู่ในช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์กำลังบูมมาก ดัชนีตลาดหลักทรัพย์กำลังเพิ่มสูงขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่มูลค่าประมูลครั้งนี้สูงกว่า เมื่อเทียบกับสองเท่าของคราวที่แล้วถึง 315 ล้าน

ต้นทุนของกองทุนกรุงไทยคิดจากต้นทุนเฉลี่ย 1,181,588,340.00 บาท ราคาประมูล 1,655 ล้านบาท กำไรขั้นต้นได้ประมาณ 437 ล้านาท

แบงก์ชาติได้เงินต้นคืน บวกดอกเบี้ย 6%

กรุงไทยได้ค่า MANAGEMENT FEE 1% ในช่วง 4 ปีแรก ส่วน 4 ปีหลังได้ค่า CUSTODION COST (รับฝากใบหุ้น) 0.1% ของราคาทุน ใบหุ้นทั้งหมดใช้ตู้เอกสารทั้งหมด 7 ใบ

หักค่าใช้จ่ายทั้งหมดมีเงินเหลือเข้าคลังอีก 400 กว่าล้าน ซึ่งนาน ๆ ทีที่มาตรการการแก้ปัญหาของรัฐจะประสบความสำเร็จ แถมยังมีเงินเหลือเข้าพกเข้าห่ออีก

งานนี้หากธนชาติคิดค่านายหน้าตามอัตราซื้อขายปกติ คือ 0.5% จะได้ค่านายหน้าคิดเป็นเงิน 8,275,000 บาท เป็นเงินมากโขอยู่สำหรับการซื้อขายเพียงครั้งเดียว และถ้าเจ้าของต้องการสั่งขายต่อไปก็คงต้องใช้บริการของธนชาติอีก ส่วนใบหุ้นนั้นฝากไว้ที่ไทยพาณิชย์ แหล่งข่าวในไทยพาณิชย์บอก "ผู้จัดการ" ว่า CUSTODION COST สูงกว่า 0.1% แน่เพียงแต่ไม่อยากเปิดเผยว่าใสเท่าไหร่

ก็ดูน่าจะแฮปปี้กันทุกฝ่าย แต่ผู้บริหารบางกิจการอาจจะหนาวร้อน ๆ เพราะหุ้นบางตัว เจ้าของใหม่ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์เข้าไปร่วมบริหารได้ เช่น ที่เอเชียไฟเบอร์ถืออยู่ 423,000 จาก 1,500,000 หุ้น คิดเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งมีสัดส่วน 28.26% มาบุญคอรงมีหุ้นอยู่ 605,150 จาก 7,335,000 คิดเป็นอันดับ 3 มีสัดส่วน 8.3% ซึ่งเท่าเพิ่มสัดส่วนให้กับฝ่ายเจ้าหนี้ซึ่งนำโดยธนชาติ ซึ่งกำลังเป็นกรณีพิพาทอยู่ในขณะนี้ หุ้นอื่น ๆ ความสำคัญก็ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนการถือครอง

ส่วนหุ้นที่อยู่นอกตลาดซึ่งถือว่ามีมูลค่าเป็นศูนย์ เช่น รามาทาวเวอร์ เฟิสท์ทรัสต์ ซึ่งถือหุ้นอยู่มากพอสมควรทีเดียว จะจัดการอย่างไรก็คงอยู่ที่เจ้าของที่แท้จริงว่าเป็นกลุ่มใด

ถึงตอนนี้ก็ยังเป็นปริศนาอยู่ว่าใครคือผู้ซื้อตัวจริง ?!

หลังจากประมูลได้มีผู้ใหญ่กระทรวงการคลังคนหนึ่ง ให้ข่าวในเชิงว่าที่ธนชาติแจ้งนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ประมูลทั้งหมดแท้จริงแล้วต่างชาติประมูลไปเพียง 25%

บันเทิง ตันติวิท ผู้จัดการใหญ่ของธนชาติ ซึ่งปกติไม่ค่อยยอมให้สัมภาษณ์คราวนี้ถึงกับจัดแถลงข่าวโต้ผู้ใหญ่คลังว่า บริษัทประมูลให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นนักลงทุนต่างชาติเพียงรายเดียว ซึ่งข้อมูลรายละเอียดการประมูลครั้งนั้นรายงานให้กับแบงก์ชาติทราบแล้ว

"เรื่องข่าวที่ผิดพลาดทั้งที่ความจริงผู้ให้ข่าอยู่ในฐานะที่ตรวจสอบได้นั้นก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อบริษัท นอกจากนั้นก็อาจจะสร้างความเสียหาย รวมทั้งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแก่ผู้ลงทุน" บันเทิงกล่าว

สำหรับใครที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงยังไม่เป็นที่แน่ชัด เพราะทางธนชาติปิดปากเงียบถือว่าเป็นผลประโยชน์ของลูกค้า

มีการคาดกันว่า อาจจะเป็นกลุ่ม ที.ซี.ซี. โมนินี่ ขณะที่แหล่งข่าวในตลาดหลักทรัพย์บอกว่า เท่าที่โอนไปแล้วบางส่วนอยู่ในชื่อ SKANDINAVISKA ENSKILDA BANKEN ประเทศสวีเดน

ที่ค่อนข้างแน่นอนก็คือ เงินก้อนนี้ส่งเข้ามาทางธนาคารอินโดสุเอซ "ลูกค้าติดต่อจากธนาคารอินโดสุเอซที่ฮ่องกง ให้ทางเราเป็นผู้จ่าย" ศักดิ์ ปัญจพงษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารอินโดสุเอซ เปิดเผย "ผู้จัดการ"

ก็ยังคงปริศนาต่อไปว่า ใครคือเจ้าของที่แท้จริง เราคงจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวหลังจากมีการโอนหุ้น (ซึ่งเสียเวลาค่อนข้างมาก เพราะหลายบริษัทเป็นนายทะเบียนของตัวเอง) ว่านักลงทุนกลุ่มนี้เป็นนักเก็งกำไรหรือนักลงทุนระยะยาว ?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us