Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2552
ความบาดหมางระหว่างเจ้าพ่อแฟชั่น แบร์นาร์ด อาร์โนลต์ และฟรองซัวส์ ปิโนลต์             
โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
 


   
search resources

Garment, Textile and Fashion




ชาร์ลส์ เฟรเดริค เวิร์ธ (Charles Frederic Worth) ฌาคส์ ฟาธ (Jacques Fath) เชียปาเรลลี (Schiaparelli) บาเลนเซียกา (Balenciaga) ฌาน ลองแวง (Jeanne Lanvin) คริสติออง ดิออร์ (Christian Dior) อูแบรต์ เดอ จีวองชี (Hubert de Givenchy) อีฟส์ แซงต์-โลรองต์ (Yves Saint-Laurent) เหล่านี้ล้วนแต่เป็นชื่อห้องเสื้อชั้นสูงซึ่งเจ้าของชื่อเป็นผู้ก่อตั้ง เป็นช่างเสื้อและดีไซเนอร์ เป็นผู้จุดประกายแฟชั่นด้วย

ในอดีต โลกแฟชั่นอยู่ในวงการแคบๆ ห้องเสื้อชั้นสูงมีลูกค้ากลุ่มเดียวกัน คือ เศรษฐีผู้มีอันจะกิน มีสาวอเมริกันเป็นหลัก และแม้ถึงยุคการเมืองเรื่องน้ำมัน สาวอาหรับเข้ามามีส่วนแบ่งตลาด หากจำนวนลูกค้าลดลงจนน่าใจหาย ประกอบกับห้องเสื้อต่างๆ หันมาผลิตเสื้อสำเร็จรูปซึ่งมีราคาย่อมเยากว่า เสื้อชั้นสูงที่เคยขายได้กลับขายไม่ออกเพราะราคาสูง ประกอบ กับห้องเสื้อมีค่าใช้จ่ายสำหรับกิจกรรมต่างๆ ซึ่งสหพันธ์เสื้อชั้นสูงเป็นผู้กำหนด ทำให้การเงินขาดความคล่องตัว ห้องเสื้อหลายแห่งซึ่งเจ้าของเป็นผู้บริหารไม่สามารถ ยืนหยัดอยู่ได้ จึงเป็นที่มาของการขายกิจการแก่นักธุรกิจที่มีมือบริหารอาชีพสามารถ พัฒนาตลาด ในฝรั่งเศสมีนักธุรกิจสองคนที่สนใจสินค้าแฟชั่น คนแรกคือ แบร์นาร์ด อาร์โนลต์ (Bernard Arnault) เจ้าของกลุ่ม LVMH และฟรองซัวส์ ปิโนลต์ (Fran‚ois Pinault) เจ้าของกลุ่ม PPR

แบร์นาร์ด อาร์โนลต์ เริ่มธุรกิจสินค้าหรูจากการซื้อกิจการของหลุยส์ วุตตง (Louis Vuitton) เครื่องหนังคุณภาพดีของฝรั่งเศส นำสินค้ามาพัฒนารูปแบบให้โฉบเฉี่ยวขึ้น เพื่อกลุ่มเป้าหมายที่เยาว์วัยกว่าเดิม และเมื่อเห็นว่ากลุ่มเป้าหมายติดเบ็ด ก็ออกกระเป๋ารูปทรงใหม่ๆ บ่อยขึ้น และดูเหมือนว่าผู้บริโภคก็ไม่ย่อท้อ ยังขวน ขวายหาซื้อแบบใหม่ๆ มาเคียงกาย จึงเป็น ที่มาของการตั้งกลุ่ม LVMH แล้วแบร์นาร์ด อาร์โนลต์ก็กวาดซื้อแบรนด์เนมอื่นๆ ที่ประสบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นคริสติออง ดิออร์ (Christian Dior) จีวองชี (Givenchy) เอมิลิโอ ปุชชี (Emilio Pucci) มาร์ก จาคอบส์ (Marc Jacobs) โลเอเว (Loewe) เซลีน (Celine) ดอนนา แครัน (Donna Karan) เคนโซ (Kenzo) เฟนดี (Fendi) นอกจากนั้น LVMH ยังรวมห้างเพชร นาฬิกา ชองปาญ คอนญัก ฯลฯ

การคืนกลับสู่ยุทธจักรแฟชั่นของเครื่องหนังอิตาลียี่ห้อกุชชี (Gucci) รวมทั้งเสื้อสำเร็จรูปโดยมีทอม ฟอร์ด (Tom Ford) เป็นดีไซเนอร์ ทำให้นักธุรกิจมองเห็น ลู่ทางในการทำธุรกิจสินค้าแฟชั่น และเมื่อกลุ่ม Gucci ประสบปัญหา ฟรองซัวส์ ปิโนลต์จึงใคร่ซื้อกิจการของกลุ่ม Gucci จนเป็นที่มาของการบาดหมางกับแบร์นาร์ด อาร์โนลต์ของกลุ่ม LVMH

ความสำเร็จของหลุยส์ วุตตงและ คริสติออง ดิออร์ทำให้แบร์นาร์ด อาร์โนลต์ต้องการสยายปีก เขาซื้อหุ้นของกลุ่ม Gucci ไว้ 34% ในเดือนมกราคม 1999 และต้องการซื้อหุ้นเพิ่มเพื่อที่จะสามารถเข้าบริหารกิจการของ Gucci ทว่า ผู้บริหาร ของกลุ่ม Gucci อันมีโดเมนิโก เด โซเล (Domenico de Sole) และทอม ฟอร์ดไม่ต้องการให้แบร์นาร์ด อาโนลต์เข้าครอบ ครอง Gucci จึงเสนอขายหุ้นให้ฟรองซัวส์ ปิโนลต์ ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้า Printemps แต่เดิมนั้นแบร์นาร์ด อาร์โนลต์และฟรองซัวส์ ปิโนลต์ มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน แม้จะไม่ได้เป็นมิตรสนิท ในฐานะนักธุรกิจก็ยังมีการเชื้อเชิญไปมา ทว่าการซื้อหุ้นของกลุ่ม Gucci ทำให้ทั้งสองไม่มองหน้ากัน เกิดคดีฟ้องร้องจนต้องมีผู้มาไกล่เกลี่ย อาทิ อัลแบรต์ แฟรร์ (Albert Frere) นักธุรกิจชาวเบลเยียมและฌอง-มารี เมสซีเอร์ (Jean-Marie Messier) โดยให้ ฟรองซัวส์ ปิโนลต์ ซื้อหุ้นส่วนน้อยที่แบร์นาร์ด อาร์โนลต์มีอยู่ในกลุ่ม Gucci ถือเป็นการตกลงด้วยดีหากความบาดหมางยังคงอยู่และเกิดการ แข่งขันในธุรกิจสินค้า หรู

ในปีเดียวกันนั้น กลุ่ม PPR ของฟรองซัวส์ ปิโนลต์ซื้อกิจการห้องเสื้ออีฟส์ แซงต์-โลรองต์ (Yves Saint-Laurent) ซึ่งแบร์นาร์ด อาร์โนลต์หมายตาอยู่ นอกจาก นั้นยังซื้อกิจการห้องเสื้อบาเลนเซียกา (Balenciaga) เครื่องหนังยี่ห้อบอตเตกา เวเนตา (Bottega Veneta) รองเท้ายี่ห้อแซร์โจ รอสซี (Sergio Rossi) ห้างเพชรบูเชอรง (Boucheron) ห้องเสื้อสเตลลา แมคคาร์ทนีย์ (Stella Mc-Cartney) ห้องเสื้ออเล็กซานเดอร์ แมคควีน (Alexander McQueen) ส่วนแบร์นาร์ด อาร์โนลต์ซื้อ กิจการเอมิลิโอ ปุชชี (Emilio Pucci) เฟนดี (Fendi) ห้างเพชรโชเมต์ (Chaumet) นาฬิกาแทกฮอยเออร์ (TAGHeuer) และเซนิธ (Zenith)

การทำธุรกิจต้องมีสื่อเป็นเครื่องมือ แบร์นาร์ด อาร์โนลต์เป็นเจ้าของหนังสือ พิมพ์ธุรกิจ La Tribune และต้องการซื้อกิจการของ Les Echos ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ ธุรกิจที่สำคัญที่สุดของฝรั่งเศส บุคคลสำคัญ ทางการเมืองและธุรกิจต่างลงนามในหนังสือ คัดค้าน ในจำนวนนั้นมีฟรองซัวส์-อองรี ปิโนลต์ (Fran?ois-Henri Pinault) บุตรชายของฟรองซัวส์ ปิโนลต์ ซึ่งได้รับแต่งตั้ง เป็นผู้บริหารกลุ่ม PPR นอกจากนั้นยังมีผู้บริหารกิจการที่สังกัดกลุ่ม PPR และกลุ่ม PPR นี่เองที่เป็นเจ้าของนิตยสารการเมืองและเศรษฐกิจ Le Point

ความขัดแย้งขยายขอบเขต เมื่อแบร์นาร์ด อาร์โนลต์ฟ้องแคลร์ เคนท์ (Claire Kent) นักวิเคราะห์การเงินชาวอังกฤษของมอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley) ซึ่งทำรายงานเข้าข้างกลุ่ม Gucci และมอร์แกน สแตนลีย์นี่เองที่สนับสนุนการเงินแก่ฟรองซัวส์ ปิโนลต์ในการซื้อกิจการของกลุ่ม Gucci

นอกจากสินค้าแฟชั่นแล้ว ทั้งสองกลุ่มยังซื้อกิจการอื่นๆ ด้วย กลุ่ม LVMH ของแบร์นาร์ด อาร์โนลต์ซื้อกิจการชองปาญ Moet & Chandon, Dom Perignon และ Veuve Clicquot ไวน์ chateau d'Yquem และ chateau Cheval blanc ส่วนกลุ่ม PPR ของฟรองซัวส์ ปิโนลต์ ซื้อ chateau Latour

นอกจากนั้นฟรองซัวส์ ปิโนลต์ยังเป็นเจ้าของ Christie's บริษัทประมูล แบร์นาร์ด อาร์โนลต์ ซื้อ Tajan และ Philips ซึ่งเป็นบริษัทประมูลใหญ่เป็นอันดับสาม หากขายไปในภายหลัง

เศรษฐีชอบซื้องานศิลป์ ถือเป็นการลงทุนชนิดหนึ่ง ทั้งแบร์นาร์ด อาร์โนลต์และฟรองซัวส์ ปิโนลต์ชอบสะสม งานศิลป์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะร่วมสมัย มีมากจนต้องเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ดังในกรณี ของฟรองซัวส์ ปิโนลต์ ซึ่งหลังจากรอคอยการตัดสินใจของรัฐในการใช้พื้นที่อันเคยเป็นโรงงานผลิตรถยนต์เรอโนลต์ (Renault) ที่บูโลญ-บียองกูรต์ (Boulogne-Billancourt) หากการชักช้า เขาจึงไปซื้อ Palazzo Grassi ที่เมืองเวนิซ (Venise) เป็นที่ตั้งของมูลนิธิ ฟรองซัวส์ ปิโนลต์ (Foundation Fran‚ois Pinault) แสดงงานศิลป์ในครอบครอง

เพียงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น แบร์นาร์ด อาร์โนลต์ ประกาศตั้งมูลนิธิวุตตง (Fondation Vuitton) การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 2010

การต่อสู้ระหว่างนักธุรกิจสองคนนี้ดูเหมือนจะไม่มีที่สิ้นสุด หากเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2009 แบร์นาร์ด อาร์โนลต์และฟรองซัวส์ ปิโนลต์ไปร่วมรับประทานอาหารที่บ้านของอัลแบรต์ แฟรร์

อันที่จริง เมื่อคำนึงมูลค่าธุรกิจทั้งสองถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อโลกธุรกิจฝรั่งเศส ฟรองซัวส์ ปิโนลต์ ซึ่งใกล้ชิดกับอดีตประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัก (Jacques Chirac) มีส่วนช่วยให้การควบกิจการระหว่าง Mittal และ Arcelor บรรลุผลส่วนแบร์นาร์ด อาร์โนลต์นั้นใกล้ชิดกับนิโกลาส์ ซาร์โกซี (Nicoals Sarkozy) ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us