|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ณ วันที่ ผู้จัดการ 360 ํ ได้เดินทางไปชมความคืบหน้าการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติของ สปป.ลาว ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่ สปป.ลาวเป็นเจ้าภาพ เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานั้น การก่อสร้างสนามกีฬาแห่งนี้จัดได้ว่าคืบหน้าไปแล้วถึง 99%
เนื้องานก่อสร้าง ณ ขณะนั้น เรียกว่าเสร็จสมบูรณ์เกือบทุกส่วน อยู่ในช่วงของการทดลองใช้งานสนามกีฬา เพื่อหาข้อบกพร่อง เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการเก็บรายละเอียดและการปรับแต่งภูมิทัศน์ในบริเวณพื้นที่โดยรอบเท่านั้น
"เรามีความพร้อมแล้วสำหรับการจัดการแข่งขัน ซึ่งยังเหลือ เวลาอีกถึง 5 เดือน" ดร.เพ็ด พอนใจ นักวิชาการ กระทรวงโยธา ธิการและขนส่ง สปป.ลาว วิศวกรภาคสนามที่ควบคุมการก่อสร้าง สนามกีฬาแห่งนี้แสดงความมั่นใจ
ดร.เพ็ด พอนใจ ถือเป็นข้าราชการหนุ่มของ สปป.ลาวที่น่าจับตา เขาเรียนจบปริญญาตรี โท และเอก ทางด้านวิศวกรรม ศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยในกรุงเซี่ยงไฮ้ สป.จีน โดยได้ทุนเรียนทั้งจากรัฐบาล สปป.ลาว (ปริญญาตรี) และทุนของรัฐบาล สป.จีน (ปริญญาโท และเอก) เขาใช้ชีวิตอยู่ใน สป.จีนอยู่ถึง 11 ปีเต็ม
เขาเรียนจบ กลับเข้ามารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการ กระทรวงโยธาธิการฯ เมื่อปลายปี พ.ศ.2547 แต่ทำงานในกระทรวง ได้เพียง 2 ปี ก็ถูกส่งให้มารับงานใหญ่ในการควบคุมการก่อสร้าง สนามกีฬา ที่ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของชาวลาวทั้งประเทศแห่งนี้ให้แล้วเสร็จตามกำหนด
สนามกีฬาแห่งนี้สร้างบนเนื้อที่ 125 ไร่ บนถนนสาย 13 ใต้ ห่างออกไปจากตัวเมืองเวียงจันทน์เล็กน้อย
เนื่องจากสถานที่เดิมที่จะใช้ก่อสร้างเป็นสนามกีฬา เคยเป็นป่าสงวน ดังนั้นในการออกแบบก่อสร้าง จึงได้นำแนวคิดการจัดสร้างให้เป็นสวนกีฬามาใช้ แทนการสร้างให้เป็นสปอร์ตคอมเพล็กซ์เหมือนกับสนามกีฬาในประเทศอื่นๆ
ความหมายของสวนกีฬาคือ ในการก่อสร้างจะต้องพยายาม รักษาภูมิทัศน์เดิมๆ ที่เคยเป็นสวนป่าเอาไว้ให้มากที่สุด และหากพื้นที่ใดที่ต้องมีการตัดต้นไม้เพื่อใช้ในการก่อสร้าง หลังจากสร้างเสร็จแล้ว จะต้องมีการปลูกต้นไม้เติมเข้าไปให้คล้ายสภาพเดิมให้มากที่สุด
เหตุผลที่ต้องมีแนวคิดในการออกแบบเช่นนี้ เพราะ สปป. ลาว ได้ศึกษาถึงการก่อสร้างสนามกีฬาเพื่อใช้รองรับการแข่งขันกีฬาขนาดใหญ่ในหลายๆ ประเทศมาแล้ว พบปัญหาที่เหมือนกันประการหนึ่งว่า หลังการแข่งขันเสร็จ ประเทศเจ้าภาพมักจะมีปัญหาในการบำรุงรักษาสนามกีฬา เพราะการใช้งานมีน้อยลงจนสนามกีฬาหลายแห่งถูกปล่อยให้ทรุดโทรมลง
การนำแนวคิดสวนกีฬามาใช้ก็เพื่อให้พื้นที่แห่งนี้ยังคงใช้งานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดย สปป.ลาว จะเปิดให้พื้นที่แห่งนี้เป็นสวนสาธารณะ สวนสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาใช้บริการ
ส่วนของสนามแข่งขันกีฬาที่สร้างเอาไว้ก็จะให้สมาคมกีฬาต่างๆ เข้ามาใช้เป็นที่ทำการและฝึกซ้อม เพื่อให้สนามกีฬาได้มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง
งบประมาณในการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งนี้สูงถึง 80 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ
การก่อสร้างได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล สป.จีน โดยใช้บริษัทสถาปนิกจากมลฑลหยุนหนัน เป็นผู้ออกแบบ และให้บริษัทวิศวกรรมก่อสร้างหยุนหนัน เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง
วัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่รวมถึงแรงงาน ถูกนำเข้ามาจากประเทศจีน
ในปี พ.ศ.2551 บริเวณการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งนี้เคยมีคนงานทำงานอยู่ถึง 3,500 คน ส่วนใหญ่เป็นคนจีน ทำงานตลอด ทั้งวัน เพื่อให้การก่อสร้างเสร็จตามกำหนดเวลา และได้คุณภาพตามที่ได้วางแผนเอาไว้
การก่อสร้างสนามกีฬาแห่งนี้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 28 ตุลาคม 2550 ตามแผนการ จะมีการสร้างเมนสเตเดี้ยม 1 แห่ง ที่ใช้เป็นสถานที่จัดพิธีเปิด-ปิดการแข่งขัน ใช้เป็นสถานที่แข่งขันฟุตบอล และกรีฑา มีความจุของผู้ชม 2 หมื่นที่นั่ง
มีการสร้างสนามเทนนิส ขนาด 7 คอร์ตการแข่งขัน
มีการสร้างสระว่ายน้ำ ขนาดความจุของผู้ชม 3 พันที่นั่ง
มีการสร้างอินดอร์สเตเดี้ยม 2 หลัง สำหรับการแข่งขันกีฬา ในร่ม ขนาดความจุ หลังละ 3 พันที่นั่ง
รวมทั้งการก่อสร้างอาคารที่ทำการ สนามฝึกซ้อมขนาดเท่า สนามแข่งขันจริง
ตามแผนที่กำหนดไว้ การก่อสร้างทั้งหมดจะต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 19 เดือน ซึ่งถือเป็นโจทย์ที่ท้าทายทั้งผู้รับเหมาก่อสร้าง และวิศวกรผู้ควบคุมงานอย่าง ดร.เพ็ด พอนใจเป็นอย่าง มาก
"โครงการก่อสร้างใหญ่ขนาดนี้ เราได้ไปศึกษาจากที่อื่นๆ มา เขาใช้เวลาประมาณ 36 เดือน หรืออย่างสนามกีฬาที่โคราช ที่เป็นเจ้าภาพซีเกมส์ครั้งที่ 24 เขาก็ใช้เวลาถึง 27 เดือน แต่ของเราถูกกำหนดให้ใช้เวลาเพียง 19 เดือนเท่านั้น"
ดังนั้นการก่อสร้าง ควบคุมกำหนดเวลา และคุณภาพของงาน จึงต้องมีการวางแผนและการติดตามแผนกันอย่างละเอียด รัดกุม
อย่างไรก็ตาม ในการก่อสร้างก็ยังต้องพบกับอุปสรรค
ในปี 2551 เป็นปีที่สภาพอากาศของ สปป.ลาว มีฝนตก หนักอย่างมาก ทำให้การก่อสร้างเป็นไปอย่างล่าช้า ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ก็ส่งผลต่อราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
ช่วงนั้นทั้ง ดร.เพ็ด และทีมวิศวกรที่ควบคุมงานก่อสร้างต้องทำงานอย่างหนักถึงหามรุ่งหามค่ำ เพื่อให้การก่อสร้างแต่ละขั้นตอน เสร็จตามกำหนดการที่ได้วางแผนไว้ รวมถึงควบคุมงบประมาณและคุณภาพของงานให้ได้ตามแผน
"เราทำงานกันถึงสว่างแทบทุกวัน" เขาเล่า
พอย่างเข้าปลายปี 2551 หลังฝนหยุดตก ราคาน้ำมันเริ่มลดลง ราคาวัสดุก่อสร้างลดลง มีการประชุมประเมินผลการก่อสร้าง พบว่าเป็นไปตามกำหนดการ และแผนงานที่วางไว้ทุกอย่าง
ถือเป็นความภาคภูมิใจที่สามารถเอาชนะความท้าทาย และ อุปสรรคต่างๆ เพื่อให้การก่อสร้างสนามกีฬาแล้วเสร็จ พร้อมใช้งานรองรับการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่ สปป.ลาว เพิ่งได้เป็นเจ้าภาพครั้งแรก
|
|
|
|
|