|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

ถ้าสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ เป็นเสมือนเสาหลักแห่งเครือเซ็นทารา ชาวเยอรมันเลยวัยแซยิดที่มักยืนเคียงข้างเขาในงานสำคัญของเครือ ก็น่าจะเปรียบได้กับฐานรากของเชนโรงแรมไทยแบรนด์นี้
เกิร์ด เค. สตีบ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โรงแรมและรีสอร์ตในเครือเซ็นทารา อยู่กับสุทธิเกียรติมาจนถึงวันนี้ ก็เกือบ 2 ทศวรรษ ทว่า ระยะเวลาที่ยาวนานคงไม่ได้ทำให้เจ้าสัวแห่งตระกูลจิราธิวัฒน์คนนี้เชื่อมั่นในตัวเขา มากไปกว่าความเป็นมืออาชีพและผลงานที่ผ่านมา
ทั้งชีวิตและสายเลือดของเกิร์ดอยู่กับธุรกิจโรงแรม เพราะพ่อแม่ของเขาก็ทำงานโรงแรม เริ่มงานโรงแรมครั้งแรกเมื่อปี 2507 โดยเคยทำงานอยู่กับเชนโรงแรมยักษ์ใหญ่ของโลก อย่างฮิลตันและแอคคอร์ นานกว่า 25 ปี
ความถนัดของเกิรด์ขณะทำงานให้เครือแอคคอร์ คือการบริหารโรงแรมเปิดใหม่ๆ ทั้งในแอฟริกา, สิงคโปร์, อเมริกา, จีน และยุโรป จนกระทั่งปี 2533 แอคคอร์ ได้ส่งเขามาเป็น GM เพื่อบริหารโรงแรม โซฟิเทล เซ็นทรัล ลาดพร้าว
จากที่เคยคิดว่าจะอยู่แค่ 1-2 ปี แต่แล้วเขาก็ยอมทิ้งเชนใหญ่และโลกกว้าง เพื่อมาเซตอัพเชน "เซ็นทรัล" ซึ่งในเวลานั้นมีเพียงโรงแรมแห่งเดียว ยังไม่มีแม้กระทั่ง Corporate Office
"ตอนที่แอคคอร์ถามว่าสนใจจะมาทำงานที่เมืองไทยไหม ผมก็ตกลงเพราะชอบที่นี่มาก พอคุณสุทธิเกียรติบอกว่าจะขยายธุรกิจ อยากให้ผมมาช่วยบุกเบิก ผม ก็ตกลง เพราะคิดว่าคงสนุกดีที่จะมีอิสระในการบริหารเหมือนเป็นเจ้าของเอง"
สองสิ่งแรกที่เกิร์ดทำก็คือ วางยุทธศาสตร์แบรนด์เซ็นทรัลให้เป็นแบรนด์สำหรับโรงแรม 4 และ 5 ดาว พร้อมกับพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาธุรกิจตามวิสัยทัศน์ของสุทธิเกียรติ
"เมื่อก่อนเซ็นทรัลพัฒนาขึ้นมาจากการใช้โอกาสเป็นกลยุทธ์ คือ เมื่อมีใครมาเสนอขายโรงแรม ดีลดีเซ็นทรัลก็ซื้อ อีกรายมาเสนอก็ซื้อ แต่หากจะพัฒนาแบรนด์ให้เป็นเชน มันต้องมีสิ่งที่เรียกว่าวิสัยทัศน์และการวางแผนกลยุทธ์"
จากโรงแรมแห่งแรกที่ลาดพร้าว วันนี้ เครือเซ็นทารามีโรงแรม 18 แห่ง และกำลังจะเพิ่มขึ้นเป็น 24 แห่งในต้นปีหน้า
ตลอด 19 ปีในการบริหารโรงแรมที่เมืองไทย เกิร์ดเผชิญทั้งวิกฤติโลกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมไทยและวิกฤติภายในเมืองไทยเอง ทั้งปัญหาเศรษฐกิจและปัญหา การเมืองหลายครั้งหลายคราว
"หลังเหตุกาณ์สึนามิ เราสร้างคู่มือจัดการความเสี่ยงสำหรับพนักงาน แต่ละวิกฤติ จัดการต่างกันไป แต่อย่างปิดสนามบินเป็นเรื่องที่ไม่เคยเจอ วิกฤติเศรษฐกิจทั่วทั้งโลกครั้งนี้ก็ไม่ยังเคยเกิดขึ้น และที่ทุกอย่างดูแย่เพราะทุกปัญหามาเกิดพร้อมกัน ก็เป็นสิ่งใหม่ ที่ต้องมานั่งพิจารณา"
หลังจากภาพลักษณ์ประเทศไทยเสียหายไปด้วยหตุการณ์จลาจลช่วงสงกรานต์ ในฐานะนักการโรงแรมมืออาชีพที่คลุกคลีในสังคมไทยมานาน เกิร์ดได้เขียนคำแนะนำในการกระตุ้นนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศและกอบกู้ธุรกิจโรงแรมไทยให้ฟื้นตัว แล้วฝากสุทธิเกียรติส่งไปถึงนายกรัฐมนตรี
ส่วนเขาเองระหว่างนี้ก็ออกพบปะบริษัททัวร์ยักษ์ใหญ่ในต่างประเทศและสื่อมวลชน ต่างชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาทำบ่อยขึ้นมากในช่วง 2-3 ปีนี้
"จริงๆ แค่การเมืองไทยสงบ อยู่เฉยๆ นักท่องเที่ยวก็มาแล้ว ไม่ต้องเสียแรงผลักดันกันมากขนาดนี้" ดูเหมือนเกิร์ดจะเข้าถึงต้นตอของวิกฤติ ธุรกิจโรงแรมไทยที่เรื้อรังในช่วงนี้
ในวันหน้า เมื่อเกษียณจากกลุ่มเซ็นทารา เกิร์ดก็หวังว่าจะได้ใช้บทเรียนจากวิกฤติที่เผชิญมานับครั้งไม่ถ้วนเพื่อให้คำปรึกษาแก่วงการโรงแรม
|
|
 |
|
|