|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“ปัญหาเศรษฐกิจโลกกับไข้หวัด 2009 ก็ยังไม่เท่าไร แต่ 2-3 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เราโดนกระทบมากที่สุดคือวิกฤติทางการเมือง” อดีตนายกสมาคมโรงแรมไทยกล่าวด้วยน้ำเสียงเบื่อหน่าย
รายได้เกือบ 3.8 พันล้านบาท กำไรกว่า 2 ร้อยล้านบาท กับจำนวนโรงแรมในประเทศไทย 19 แห่ง และในต่างประเทศ อีกกว่า 10 แห่ง ไม่นับรวมอีก 10 กว่าแห่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววัน ...ตัวเลขเหล่านี้เหมือนไม่ได้สะท้อนถึงผลกระทบจากวิกฤติซ้ำซ้อนที่มีต่อเครือดุสิตมากนัก
"ดุสิตก็เหมือนโรงแรมในประเทศไทยทุกแห่ง คงจะดีกว่านี้เยอะแต่เรามาถูกกระทบด้วยปัญหาการเมือง จริงๆ เศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการท่องเที่ยว ควรจะดีกว่านี้ แต่การเมืองไทยทำทุกอย่าง พัง" ชนินทร์ โทณวณิก รีบบอก
หลังเหตุการณ์จลาจลที่พัทยาและกรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน เขาต้องใช้เวลาร่วม 2 สัปดาห์ ในการติดต่อกับพาร์ตเนอร์ที่เซ็นสัญญากับเขาแล้วและที่กำลังเจรจากันอยู่จนแทบจะไม่ได้ทำอย่าง อื่นเลย ทั้งนี้เพื่อยืนยันว่าเครือดุสิตไม่มีปัญหาและทุกอย่างจบแล้ว
"ถ้าบริษัทดุสิตฯ ตั้งอยู่ในสิงคโปร์หรือฮ่องกง ผมไม่เดือดร้อนเลย"
จากประสบการณ์ในวงการธุรกิจโรงแรมร่วม 30 ปี ชนินทร์สังเกตว่า แต่ก่อนทุก 5-6 ปี ประเทศไทยจะมีปัญหาการเมืองสักครั้ง แต่ช่วงหลังๆ เขาเห็นว่าปัญหานี้มักกลับมาทุก 3-6 เดือน และแย่กว่านั้นคือ ทุกครั้งที่เหตุการณ์จบ ก็ไม่ได้หมายความว่าจบจริง จึงยากจะคาดเดาได้ ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า
ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติหนีไปเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเวียดนามและอินโดนีเซีย แทนที่จะมาเสี่ยงกับวิกฤติการเมืองบ้านเรา เชนโรงแรมไทยก็จำเป็นกระจายความเสี่ยงด้วยการออกไปหารายได้ในต่างประเทศให้มากขึ้น แทนที่จะพึ่งพารายได้จากในประเทศ ที่มีการเมืองไม่สงบแทบทุกไตรมาสเช่นนี้
นอกจากความวุ่นวายทางการเมืองซึ่งอยู่เหนือการควบคุมและเกินเยียวยา ดูเหมือนว่า อุตสาหกรรมโรงแรมไทยยังมีวิกฤติภายในที่น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน
"ธุรกิจโรงแรมมีขนาดใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย แต่ถ้าโรงแรมดีๆ เชนฝรั่งเข้ามาคุมหมด ผู้ประกอบการและผู้บริหารก็เป็นต่างชาติหมด นั่นหมายถึงอุตสาหกรรมที่สร้างเม็ดเงินสูงถึง 8-10% ของ GDP กลับต้องพึ่งต่างประเทศ ไม่ใช่แค่คนในวงการโรงแรมที่แย่ แต่ประเทศชาติเสียหายแน่นอน" ชนินทร์ห่วงใย
เพื่อสานต่อความฝันของท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ผู้ก่อตั้งโรงแรมดุสิต ที่อยากเห็นโรงแรมไทยสู้โรงแรมต่างประเทศได้ และผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมนี้อยู่ดีด้วยกันทุกคน สิ่งที่ชนินทร์พยายามทำก็คือเปิดประตูรับเจ้าของโรงแรมคนไทยมาดูและเรียนรู้งานจากดุสิต
วันนี้ ชนินทร์ยังเป็นห่วงว่าภาคตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยวของคนไทยกำลังจะถูกบริษัท ยักษ์ใหญ่จากต่างชาติเข้ามาครอบงำตลาด เหมือนกับเกิดขึ้นแล้วในธุรกิจโรงแรมไทย
อีกส่วนปัญหานี้คงไม่ได้อยู่ที่พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเพราะแก้ได้ไม่ยาก แต่ที่แก้ยากกว่าคือพฤติกรรมของคนไทยด้วยกันเองที่ไม่ยอมเปิดใจให้แบรนด์ไทยด้วยกัน รวมทั้งเจ้าของโรงแรมคนไทยที่ยังเชื่อว่าเชนต่างชาติดีกว่า
ขณะที่ชนินทร์เองก็ดูเหมือนเขาจะไม่อยากรับบริหารโรงแรมในเมืองไทยสักเท่าไร นอกจากเป็นเพราะการเมือง อีกปัญหาก็คือรีเทิร์นที่ไม่คุ้มค่า
"เมืองไทยเป็นประเทศที่ดีมากและสวยมาก แต่นโยบายของหลายรัฐบาลที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวราคาถูก ค่าห้องที่กรุงเทพฯ วันนี้ ถูกกว่าเกือบทุกแห่งในเอเชีย ถูกกว่าเวียดนามเท่าตัว พอค่าห้องถูก เจ้าของและผู้บริหารโรงแรม ก็เหนื่อย แต่ค่าบริหารได้น้อย สู้ไปรับงานข้างนอกได้มากกว่าเป็น 5 เท่า 10 เท่า"
สำหรับเชนดุสิต อีก 2 ปีข้างหน้า โรงแรมในต่างประเทศส่วนใหญ่จะเปิดดำเนินงานได้ เมื่อนั้นพอร์ตรายได้ของเครือก็จะมีรายได้จากต่างประเทศเข้ามาบาลานซ์ ขณะเดียวกันความเสี่ยง คนไทยก็จะได้ประจักษ์เสียทีว่าเชนโรงแรมไทยก็ดีพอและเป็นที่ยอม รับในตลาดต่างประเทศ และเขาก็หวังว่า เมื่อวันนั้นมาถึงคนไทยจะเชื่อมั่นในแบรนด์โรงแรมไทยมากขึ้น
แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ก็ได้แต่ภาวนาว่าคงจะไม่มีวิกฤติการเมืองร้ายแรงอะไรเข้ามา ทำให้อดีตนายกสมาคมโรงแรมไทยผู้นี้สิ้นหวังกับการเมืองไทยและหมดกำลังใจในการผลักดันอุตสาหกรรมโรงแรมไทยไปเสียก่อน
|
|
|
|
|