Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2552
Kibo part 3: 2J/A (STS-127) Assembly Mission             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





ในที่สุด "All Green" วินาทีแห่งการรอคอยอันยาวนานก็มาถึง เมื่อหลอดไฟของอุปกรณ์ทุกจุดภายใน Kibo เปลี่ยนเป็นสีเขียวพร้อมส่งสัญญาณกลับมายัง Tsukuba Space Center (TKSC) ในประเทศญี่ปุ่น

ส่วนประกอบ สุดท้ายของ Kibo อันได้แก่ Exposed Facility (EF) และ Experiment Logistic Module Exposed Section (ELM-ES) ได้รับการลำเลียงไปกับกระสวยอวกาศ Endeavour ซึ่งออกเดินทางจากฐานปล่อยที่ Kennedy Space Center (KSC) เมื่อเวลา 20.17 น.ของวันที่ 13 มิถุนายน 2009 (ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น)

เมื่อเข้าสู่วงโคจรเป็นเวลา 3 วันจึงจะ docking สู่สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) นักบินอวกาศ Koichi Wakata ซึ่งรออยู่ใน ISS จะเป็นผู้ควบคุมการทำงานของแขนหุ่นยนต์จากภายใน Kibo เพื่อประกอบ EF, ELM-ES เข้ากับ Pressured Module (PM)* ซึ่งใช้เวลาราว 8 ชั่วโมง (ดูภาพประกอบภาพที่ 3)

อักษรย่อ 2J/A ครั้งนี้แสดงถึง Assembly Mission ครั้งที่ 2 ในส่วนรับผิดชอบร่วมกันระหว่างญี่ปุ่น (J) และอเมริกา (A)

Kibo ที่ประกอบเสร็จสมบูรณ์จะเป็น Single Module สำหรับงานวิจัยสหสาขาในขั้นสูงที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดใน ISS ซึ่งจะมีความยาว 20.5 เมตร กว้าง 8.9 เมตร และสูง 8.6 เมตร เมื่อรวมอุปกรณ์การทดลองที่ติดตั้งภายในทั้งหมดแล้วจะมีน้ำหนักประมาณ 30 ตันซึ่งเท่ากับ 1 ใน 10 ส่วนของน้ำหนัก ISS ที่โคจรเหนือพื้นโลก 400 กิโลเมตร

นักบินอวกาศ Koichi Wakata เกิดเมื่อปี 1963 ที่จังหวัด Saitama ซึ่งอยู่ติดกับ Tokyo ทางทิศเหนือ สำเร็จปริญญาตรีสาขา Aeronautical Engineering ปริญญาโทสาขา Applied Mechanics ปริญญาเอกสาขา Aerospace Engineering จาก Kyushu University เคยทำงานที่ Japan Airlines (JAL) ตำแหน่ง Structural Engineer ประจำ Narita Base และ Systems Engineering ประจำสำนักงาน JAL

Dr.Wakata มีทักษะความชำนาญด้านปฏิบัติการบนยานอวกาศโดยใช้แขนหุ่นยนต์ซึ่งเคยเดินทางสู่อวกาศแล้ว 2 ครั้งเมื่อปี 1996 ในฐานะ the first Japanese Mission Specialist ในเที่ยวบิน STS-72 และในปี 2000 ในฐานะ the first Japanese astronaut ที่ร่วมโครงการ ISS assembly ในเที่ยวบิน STS-92

การเดินทางสู่อวกาศครั้งที่ 3 นี้มีวัตถุประสงค์ พิเศษอีกประการหนึ่งนอกเหนือไปจากหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการประกอบชิ้นส่วนสุดท้ายของ Kibo ซึ่งว่าด้วยปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในการดำเนินชีวิตอยู่ในอวกาศเป็นระยะเวลานาน

ในฐานะคนญี่ปุ่นคนแรกที่อยู่ในอวกาศนานถึง 3 เดือนครึ่งนั้น Dr.Wakata ร่วมโดยสารไปกับกระสวยอวกาศ Discovery ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2009 ในเที่ยวบิน STS-119 และประจำการอยู่บน ISS ในตำแหน่ง Flight Engineer Expedition ที่ 18, 19, 20 ซึ่งมีหน้าที่ดูแลระบบการทำงานของแขนหุ่นยนต์ ทั้ง 4 ชนิดที่ติดตั้งอยู่ใน ISS, ทำการทดลองบางโครงการภายใน Kibo ในขณะเดียวกันยังมีบทบาทเป็นโมเดลทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่อาจใช้เป็น ต้นแบบของการดำรงชีวิตในอวกาศในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น มีการตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เกิดจากการใช้ชีวิตอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักในระยะยาว, การกำหนดแบบแผนการอยู่อาศัยในอวกาศ เป็นต้น

ชิ้นส่วน Exposed Facility เป็นส่วนประกอบ ที่ต่อยื่นออกไปจาก Pressured Module ซึ่งจะใช้สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ทำการทดลองภายนอกสถานีอวกาศนานาชาติซึ่งควบคุมการทำงานด้วยแขนหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นโดย JAXA อาศัยแหล่งพลังงานจาก PM เพื่อรับส่งข้อมูลการทดลองรวมถึงการควบคุมอุณหภูมิของ EF

ส่วน Experiment Logistic Module Exposed Section เป็นส่วนที่ต่ออยู่บริเวณปลายของ EF ทำหน้าที่เก็บรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือทั้งหมดสำหรับใช้ในการทดลองที่อยู่ภายนอกยานอวกาศซึ่งสามารถถอดแยกจาก EF หลังเสร็จสิ้นภารกิจเพื่อลำเลียงติดไปกับกระสวยอวกาศที่เดินทางกลับสู่พื้นโลก

พื้นที่บน EF ซึ่งติดตั้งอุปกรณ์การทดลองได้ 10 ตำแหน่งเหมาะสำหรับงานวิจัยที่ต้องกระทำในสภาวะแวดล้อมของอวกาศ เช่นการทดลองภายใต้ภาวะไร้แรงโน้มถ่วงหรือการทดลองที่ทำภายใต้รังสีในอวกาศซึ่งไม่สามารถทำการทดลองนั้นได้บนโลก

อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการออกแบบให้ติดตั้ง, ประกอบหรือถอดแยกส่วนได้อย่างง่ายดายด้วยระบบแขนหุ่นยนต์ซึ่งมีความแตกต่างกับการทดลองที่กระทำบนดาวเทียมอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังสามารถดำเนินการทดลองพร้อมๆ กันได้หลายการทดลองในเวลาเดียวกัน

นอกจาก EF และ ELM-ES แล้ว STS-127 ยังลำเลียงอุปกรณ์สังเกตการณ์ 2 ชนิดคือ MAXI กับ SEDA-AP ขึ้นไปติดตั้งยัง Kibo อีกด้วย

MAXI ติดตั้งกล้อง 2 ชนิดใช้สังเกตรังสีเอ็กซ์จากวัตถุบนฟากฟ้าซึ่งมีอยู่มากกว่า 1,000 ชิ้นและส่งสัญญาณกลับสู่พื้นโลกทุกๆ 90 นาทีเพื่อรายงานข้อมูลทั้ง 360 องศาที่ตรวจจับได้ในขณะโคจรไปรอบโลกพร้อม กับ ISS หากตรวจพบรังสีเอ็กซ์จากดาวเคราะห์ดวงใหม่ หรือรังสีแกมมาจะรายงานข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งนักวิจัยด้านอวกาศสามารถรับข้อมูลดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์ในงานวิจัยได้โดยตรง

ศักยภาพของ MAXI ในการเฝ้าสังเกตการณ์วัตถุบนฟากฟ้านี้มีสูงกว่าเครื่องมือที่เคยใช้ในอดีตราว 10 เท่าตัว ซึ่งคาดหวังความเป็นไปได้ในการตรวจปรากฏการณ์รังสีเอ็กซ์ที่เกิดจากการรวมตัวของดาวเคราะห์น้อยหรือรังสีเอ็กซ์จากหลุมดำที่อาจช่วยไขปริศนาไปสู่การค้นพบใหม่ๆ ได้

SEDA-AP เป็นอุปกรณ์ตรวจจับรังสีอวกาศหรืออนุภาคพลังงานสูงที่สามารถสร้างความเสียหายแก่ดาวเทียมหรืออันตรายต่อนักบินอวกาศ ซึ่งใช้เวลาเก็บข้อมูล 3 ปีเพื่อประเมินผลสำหรับการวางแผนการอยู่อาศัยบนอวกาศอย่างปลอดภัย

โครงการสถานีอวกาศนานาชาติเริ่มขึ้นในปี 1984 ในช่วงระหว่างสงครามเย็นจนกระทั่งมีการเซ็นสัญญาเข้าร่วมโครงการของกลุ่มประเทศพันธมิตรอีก 13 ประเทศอันได้แก่ แคนาดา กลุ่มประเทศในยุโรป 11 ประเทศ (ประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์) และญี่ปุ่นในปี 1988

ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตแล้วประเทศรัสเซียซึ่งเป็นสมาชิกสุดท้ายได้เข้าร่วมโครงการ ISS เป็นประเทศที่ 15 เมื่อปี 1994 และเริ่มขนส่งชิ้นส่วน แรกในปี 1998

ในขณะนั้นคาดว่าจะสามารถสร้าง Kibo ให้เสร็จตามแผนได้ในปี 2002 หากแต่การขาดแคลนงบประมาณของ NASA หรือโศกนาฏกรรมการระเบิดของกระสวยอวกาศ Columbia ในปี 2003 ส่งผลให้การสร้าง Kibo ล่าช้าไป 7 ปี

กระนั้นก็ตาม การลำเลียงชิ้นส่วนแรกของ Kibo ขึ้นสู่ ISS เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2008 ภายใต้ mission ของนักบินอวกาศ Takao Doi ตามด้วย mission ที่สองในเดือนมิถุนายน 2008 ของนักบินอวกาศ Akihiko Hoshide และส่วนสุดท้ายในปี 2009 ภายใต้ mission อันเนิ่นนานของนักบินอวกาศ Koichi Wakata เป็นผลให้ Kibo สำเร็จลุล่วงไปแล้วก็ตาม นับแต่นี้การเดินทาง ครั้งใหม่ที่นำไปสู่ก้าวใหม่แห่งการอยู่อาศัยในอวกาศของ มนุษยชาติได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นรูปธรรม

* อ่านเพิ่มเติม : คอลัมน์ Japan Walker นิตยสารผู้จัดการฉบับเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2551   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us