การปฏิวัติเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร เมื่อราวสิบปีก่อนทำให้ผู้คน พากันพูดถึงโลกยุคใหม่
สำนักงานไร้ กระดาษ ที่ไม่มีหนังสือพิมพ์กองโต รกพื้น ไม่มีหนังสือ และนิตยสารอยู่ตามชั้นหนังสือรอบห้อง
แต่เอาเข้าจริง ทุกวันนี้เราก็ยังต้องใช้กระดาษกันอยู่ ด้วยเหตุผลที่ว่ากระดาษนั้น ราคาถูก
ใช้งานได้คล่อง น้ำหนักเบา พับเก็บง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก อีกทั้งการอ่านหนังสือก็ทำได้จากหลายมุมสายตา
สามารถเก็บไว้ได้นาน และ ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่
ปัจจุบัน แม้ว่าคอมพิวเตอร์สามารถอัพเดทข้อมูลล่าสุด และแสดงภาพวิดีโอได้
แต่หลอดแคโทด ก็ยังเป็นอุปกรณ์ ที่ใชัพลังงานสูง เปราะบาง และเคลื่อนย้ายได้ยาก
ยิ่ง กว่านั้น การอ่านจอภาพกลางแสงแดด โดยตรงก็ทำไม่ได้ ส่วนจอภาพแอลซีดีในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว
ที่มีคุณสมบัติอ่านได้ง่ายในแสงแดด มีน้ำหนักเบากว่าเดิม แต่ราคาก็แพงลิ่ว
และยังมีข้อด้อยอีกหลายประการ
ปัญหาข้างต้นนี้ มีผู้คิดหาทางแก้ไขมานานราวสองทศวรรษแล้ว และเป็นที่มาของแนวคิดเรื่อง
"กระดาษอิเล็ก ทรอนิกส์" ซึ่งเป็นดิสเพลย์ ที่มีคุณสมบัติ การสะท้อนเช่นเดียวกับกระดาษ
แต่สามารถอัพเดทข้อมูลได้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ขณะนี้มีบริษัทสี่แห่งกำลังเร่งคิดค้นเทคโนโลยีกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนางานต้นแบบออกมาหลายรูปแบบด้วยกัน
อย่างไรก็ตาม กระดาษอิเล็ก ทรอนิกส์ต้นแบบเหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้ไฟแบบสะท้อนแบบเดียวกับกระดาษจริงเนื่องจากเป็นแบบ ที่สอดคล้องกับลักษณะการมองเห็นของมนุษย์
ดิสเพลย์ รุ่นใหม่ส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดแสงจากด้านหลัง แสง ที่เข้มจึงไปแข่งกับภาพเท่านั้น
แต่ดิสเพลย์แบบ ที่ใช้แสงสะท้อน จะใช้งานได้ดีขึ้นเมื่ออยู่ในบริเวณ ที่มีแสงแดด
นอกจากนั้น กระดาษอิเล็ก ทรอนิกส์ก็ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าอีกหลังจาก ที่ข้อความ และภาพอยู่บนดิสเพลย์แล้ว
แต่ยังต้องเปรียบเทียบขนาดความหนา และน้ำหนักกับกระดาษจริงรวมทั้งคุณสมบัติการพับได้ด้วย
แอพพลิเคชั่นส์สำหรับกระดาษอิเล็กทรอนิกส์เกือบจะไม่มีข้อจำกัดใดๆ เนื่องจากเป็นดิสเพลย์สำหรับอุปกรณ์ขนาดพกพาชนิดต่างๆ
รวมทั้งคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว ที่ทนการกระแทกตกหล่น สามารถใช้เป็นป้าย หรือโปสเตอร์
และหากทำให้มีราคาถูกลง ก็อาจใช้เป็นป้ายโฆษณากลางแจ้ง หรือวอลเปเปอร์แบบตั้งโปรแกรมได้
ยิ่งหาก ทำให้บาง และใช้คล่องตัวขึ้นก็อาจบรรจุ หนังสือไว้ได้ทั้งเล่ม หรือตั้งโปรแกรมเก็บ
หนังสือจากห้องสมุดได้ด้วย
ห มึ ก แ บ บ ดิ จิ ต อ ล
เมื่อเราทอยเหรียญเหรียญหนึ่ง มันจะออกหัวหรือไม่ก็ก้อย พูดให้ง่ายก็คือ
เหรียญมีสภาพหยุดนิ่งได้สองแบบ บริษัท ที่คิดค้นกระดาษ อิเล็กทรอนิกส์ก็กำลังพยายามทดลองผลิตดิสเพลย์ ที่มีคุณสมบัติการคง ที่
หรือสภาพเสถียรสองแบบกล่าวคือ เป็นทั้งแบบสะท้อนกลับ และไม่สะท้อนกลับ ทั้งนี้จะต้องใส่พลังงานให้ดิสเพลย์อยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่งเสียก่อน
หากลองนึกหน้ากระดาษ ที่ทำจากเหรียญเล็กจิ๋วนับล้าน ที่มีสีขาวด้านหนึ่ง และสีดำอีกด้านหนึ่ง
ด้าน ที่จัดเรียง กันเป็นตัวอักษรเป็นด้านสีดำ ส่วน ที่เหลือ เป็นสีขาว หากหน้าเหรียญเปิดเป็นสีขาว
ข้อความจะหายไป หลักการดังกล่าวนี้เป็นหลักการของกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีคุณสมบัติคงสภาพได้สองแบบ และถูกควบคุมโดยพลังกระแสไฟฟ้า
อีอิงค์ คอร์ปอเรชัน (E Ink Corporation) เป็นบริษัทแห่งหนึ่ง ที่แยกกิจการมาจาก
"มีเดีย แล็บ" (Me-dia Lab) ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ (MIT) ชื่อบริษัทมาจากหมึกชนิด
electrophoretic ink ซึ่งทำมาจาก แคปซูลหมึกขนาดเล็ก ที่สลับกระแสไฟฟ้าได้
แต่ละแคปซูลมีขนาดราว 100 ไมครอน (หนาราวๆ เส้นผมของมนุษย์) จะเป็นสีน้ำเงินเข้มเมื่อมองจาก
ด้านบน แต่เนื่องจากแคปซูลบรรจุรงค-วัตถุสีขาว ที่เป็นอนุภาค ที่มีประจุบวก
จึงเคลื่อนสู่ด้านบนแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อมีชาร์จไฟขั้วลบ ผลก็คือ ได้ดิสเพลย์
แผ่นบาง ที่มีความยืดหยุ่น ที่มีการคอน-ทราสต์แสง ที่ใช้ได้แบบเดียวกับกระดาษ
ผลิตภัณฑ์แรกของบริษัทก็คือ ดิสเพลย์บอร์ดแบบแข็ง ที่เรียกว่า "อิมมีเดีย"
(Immedia) โดยที่หมึกจะเคลือบ อยู่บนชั้นของวงจร ที่ควบคุมด้วยดิสเพลย์ซอฟต์แวร์แบบมาตรฐาน
ด้านหลังมีฟองน้ำกั้นอยู่ทำให้ตัวอักษร ที่ปรากฏมีความหนาเพียงราว 5 มิลลิเมตร
แต่เนื่องจากตัวอักษรมีขนาดใหญ่ขนาดรีโซลูชั่น ที่ใช้จึงต่ำมากเพียง 2-3 dpi
(dotd per ink) แต่ทางอีอิงค์ก็อ้างว่าสามารถผลิตดิสเพลย์ ที่มีขนาดรีโซลูชั่นได้ถึง
200 dpi (อาจเปรียบเทียบกับขนาดรีโซลูชั่นของมอนิเตอร์ทั่วไป ที่ราว 70 dpi
และขนาดรีโซลูชั่นของเลเซอร์พรินเตอร์ ที่ 600 dpi) อย่างไรก็ตาม ดิสเพลย์
"อิมมีเดีย" ก็มีหน้าตาคล้ายกระดาษจริง เนื่องจากมีขนาด 44 X 15 นิ้ว มีระดับแสงคอนทราสต์ในเวลา
กลางวันสูง และมีมุมมอง ที่กว้าง มีดิสเพลย์ทั้งแบบขาวดำ และสี่สี ที่สำคัญก็คือ
ราคาถูก
ดิสเพลย์ของอีอิงค์เริ่มมีการทดลองตลาดในสหรัฐฯ แล้วในห้างเจ.ซี. เพนนีย์
(J.C.Penny) ร้านเวชภัณฑ์เอค เคิร์ด (Eckerd Drugstores) รวมทั้งในรูปแบบหนังสือพิมพ์ชื่อ
Arizona Republic ซึ่งทดลองใช้ดิสเพลย์หนังสือ พิมพ์ ที่ใช้ได้ทั่วเมืองฟีนิกซ์
มลรัฐอะริโซนา โดยหนังสือพิมพ์ดังกล่าวติดตั้งเพจเจอร์แบบติดต่อได้สองทาง และควบคุมโดยอินเทอร์เน็ต
นอกจากนั้น อีอิงค์ยังกำลังพัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อด้วยรังสีอินฟราเรด เพื่อให้สามารถอัพเดทดิสเพลย์โดยใช้พีดีเอ
(per-sonal digital assistant) เช่น Palm Pilot ด้วย ทั้งนี้ยังมีทางเลือกเทคโน
โลยีโดยใช้ "บลูทูธ" (Bluetooth) อีกทางหนึ่งด้วย
จิม ลูลิอาโน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของอีอิงค์คาดว่าการทดลองทางเลือกต่างๆ
จะนำไปสู่การ ปฏิวัติด้านการค้าปลีกครั้งใหญ่ อีอิงค์เชื่อว่าดิสเพลย์ของ
"อิมมีเดีย" จะเปลี่ยนวิธีการที่ผู้ค้าปลีกสื่อสารกับลูกค้าด้วย โดยร้านค้าปลีกจะสามารถจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น
รวมทั้งเพิ่มช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้น อีอิงค์คาดหมายด้วยว่าตลาดโฆษณาสินค้า
ณ จุดขายในสหรัฐฯ มีมูลค่าถึง 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี แต่มีเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้น ที่ถูก
ใช้ เพื่อการโฆษณาจริง ดิสเพลย์ของ "อิมมีเดีย" ไม่ต้องออกแบบพิมพ์ ส่งเมลหรือแขวนใหม่เมื่อเปลี่ยนข้อ
ความโฆษณา ผู้ใช้ "อิมมีเดีย" เพียง แต่รีโปรแกรมข้อมูลใหม่ตามต้อง การในแต่ละวันเท่านั้น
ร้านค้าย่อยประเภทคอนวีเนียนสโตร์จึงควรใช้ดิสเพลย์ดังกล่าว เพื่อเตือนความจำลูกค้า
ที่ลืมซื้อนม ซีเรียลหรือน้ำผลไม้ในช่วงเช้า และลืมซื้อดอกไม้หรือช็อกโกแลตในช่วงเย็น
ขณะนี้มีการเช่าดิสเพลย์ของอิมมีเดียในอัตรา 60-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนหรือซื้อได้ในราคาราว
1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ปี 2001 อีอิงค์มีแผนที่จะปรับปรุงคุณภาพอิมมีเดียให้สามารถใช้ได้กับหน้าร้านค้า
รวมทั้งป้ายโฆษณากลางแจ้ง และบิลบอร์ดต่างๆ ด้วย ยิ่งกว่านั้น อีอิงค์ยังเข้าไปจับตลาดหนังสืออิเล็ก
ทรอนิกส์ด้วย โดยมีราคาคุยว่าเป็น หนังสือ ที่แสดงข้อมูลง่ายๆ เหมือนกับการพลิกหน้ากระดาษทีเดียว
หลัง จากนั้น ก็จะเป็นการจัดทำหนังสือ พิมพ์อิเล็กทรอนิกส์แบบถาวร กล่าว คือ
มีการอัพเดทข้อมูลตัวเองทุกวันโดยผ่านการสื่อสัญญาณแบบไร้สาย
อย่างไรก็ตาม ดิสเพลย์ของอิมมีเดียอาจจะยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับการคิดค้นกระดาษอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 1999 "ลูเซ่นต์เทคโนโลยี" (Lucent Technologies) ได้ขายไลเซนส์เทคโนโลยีพลาสติกทราน
ซิสเตอร์ (plastic transistor) ที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยเบลล์ แล็บให้ กับอีอิงค์
เพื่อแลกกับการมีหุ้นจำนวนหนึ่งในบริษัท การใช้แผ่นกริด พลาสติก ทรานซิสเตอร์บนหมึก
อิเล็กโทรโฟเรติกเป็นการสร้างสนาม แม่เหล็ก เพื่อใช้สร้างตัวอักษร และภาพในดิสเพลย์
ตัวพลาสสติกดังกล่าวทำจากวัสดุ ที่เรียกว่า "F-15" ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของอินทรีย์สาร ซึ่งมีคุณสมบัติดีเยี่ยมในการเป็นสื่อให้กับอิเล็กตรอน
อีกทั้งมีความยืดหยุ่น และโปร่งใส และสามารถพิมพ์ลงบนพื้นผิวหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นผ้าหรือกระดาษ
ทั้งหมดนี้ทำให้มีแนวโน้มว่าต่อไปเราจะสามารถเก็บหนังสือนับร้อยหรือพันเล่มไว้ในกระดาษอิเล็ก
ทรอนิกส์เพียงแผ่นเดียว แต่เป็นกระดาษ ที่มีไมโครโปรเซสเซอร์ ชิปความจำ และ
แบตเตอรี่ขนาดจิ๋วทำงานอยู่ภายในแผ่น กระดาษ ผู้เชี่ยวชาญยังคาดด้วยว่าหนังสือดิจิตอลดังกล่าวจะพัฒนาได้สำเร็จในอีกห้าปีข้างหน้านี้เท่านั้น
ค ว า ม เ ป็ น ม า
การผลิตกระดาษอิเล็กทรอนิกส์นั้น สามารถย้อนกลับไปได้กว่า 20 ปีมาแล้ว
โดยเริ่มจากนิค เชอไรดอน แห่งศูนย์วิจัยปาโล อัลโตของซีร็อกซ์ในแคลิ ฟอร์เนีย
หรือ PARC งานคิดค้นวิจัยดังกล่าวเรียกว่า "ไจริคอน" (Gyricon) แนวความคิดในตอนแรกคือ
การนำแผ่น เม็ดสีขาวดำนับล้านอัดประจุไฟฟ้าแล้วประกบคู่กันให้เป็นแผ่นโปร่งใส
โดยที่เม็ดสีดังกล่าวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 50-100 ไมครอน แผ่นเม็ดสี ที่ประกอบแล้วทั้งแผ่นมีความหนาไม่เกินกระดาษธรรมดา
5 แผ่น พื้นผิวด้าน หนึ่งเป็นสีดำ อีกด้านหนึ่งเป็นสีขาว แต่ ละด้านมีประจุไฟฟ้าขั้วตรงข้ามกันอยู่
เม็ดสีทั้ง 20 ล้านเม็ดเรียงกันอยู่ในช่องว่าง ที่มีน้ำมันเป็นสารหล่อเลี้ยง
เมื่อมีการ ชาร์จไฟฟ้าไป ที่พื้นผิวกระดาษ เม็ดสีจะหมุนแล้วเคลื่อนขึ้นไปยังพื้นผิวด้านบนสุดเพราะมีความหนาแน่นเท่ากับน้ำมัน
ผลจากการเคลื่อนที่ของเม็ดสีทำให้เกิดดิสเพลย์ ที่มีสัดส่วนแสงตรงข้ามหรือคอนทราสต์ระดับต่ำในสัดส่วนหกต่อหนึ่ง
PARC ยังผลิตแผ่นยางยาว ที่สามารถตัดตามขนาด ทั้งนี้ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์แบบเม็ดสี
50 ไมครอน ที่ใช้กันอยู่ ปัจจุบันมีความเข้มหมึก 200 dpi หากใช้แบบเม็ดสี
30 ไมครอน ความ เข้มหมึกจะเพิ่มเป็น 300 dpi นอกจากนั้น กระดาษไจริคอนยังให้สีเทาหลายเฉดสีด้วย
อย่างไรก็ตาม งานส่วน ที่ยากที่สุดก็คือ การพิมพ์ข้อความ และภาพลง บนกระดาษอิเล็กทรอนิกส์
ดังกล่าว ในช่วงแรกมีการคิด ที่จะป้อนข้อมูลเข้ากระดาษไจริคอนด้วยการป้อนกระดาษไจริคอนเข้าอุปกรณ์หน้าตาคล้ายพรินเตอร์
ซึ่งจะแปลงรูปแบบประจุไฟฟ้าเข้าไปไว้ใน กระดาษ แต่แนวความคิดนี้กลายเป็น
การมีเครื่องถ่ายเอกสาร ที่ใช้กระดาษซ้ำได้เท่านั้น จึงมีอันล้มเลิกไป
จากนั้น ซีร็อกซ์ก็คิดหาวิธีป้อนข้อมูลเข้ากระดาษไจริคอนด้วย "ไม้วิเศษ"
หรือเครื่องมือ ที่เป็นอุปกรณ์เก็บความจำ และสื่อสารด้วย ซึ่งก็คือ การแปลงรูปแบบประจุ ที่ต้องการรวมทั้งข้อความ และภาพด้วย
ผลก็คือ ไจริคอนจะเป็นได้ทั้งพรินเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร และสแกนเนอร์ ที่พกพาไปไหนมาไหนได้
ทั้งหมดนี้คือ คุณสมบัติ ที่ดูน่า สนใจไม่น้อย แม้ว่าอาจจะมีผู้คนจำนวน ไม่มากนัก ที่จะนั่งอ่านหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
ขณะที่ชุลมุนกับการเดินทางไปทำงานก็ตาม
หากไจริคอนจะประสบความ สำเร็จในตลาดได้จะต้องหาวิธี ที่จะสั่งพิมพ์งานลงกระดาษโดยตรงด้วย
ซึ่งเป็น แบบเดียวกับ ที่ อี-อิงค์ (E-Ink) กำลังทำ แต่การแปลงภาพเป็นข้อมูลลงในกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาอีกพอสมควร
และอุปสรรคดังกล่าวก็ทำให้ซีร็อกซ์ไม่ได้บุ่มบ่ามในการพัฒนาไจริคอนมากนัก
ในเดือนมิถุนายน 1999 ซีร็อกซ์ประกาศว่า 3M กำลังพัฒนากระดาษอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน
แม้ว่า บริษัททั้งสองต่างไม่ได้บอกเป็นนัยแม้แต่น้อยว่าจะผลิตจำหน่ายในตลาดทั่วไปได้เมื่อไร
และในงานแสดงงานวิจัยด้านดิสเพลย์นานาชาติประจำปี ซีร็อกซ์ก็ไม่ได้นำไจริคอนมาแสดงด้วย
ทำให้เกิดข้อสงสัยกันว่าแนวความคิดดังกล่าวล้มเหลวใช่หรือไม่
เทคโนโลยีดิสเพลย์ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดขณะนี้คือ ดิสเพลย์ ผลึก เหลวหรือแอลซีดี
ซึ่งใช้อยู่ในนาฬิกา ดิจิตอล เครื่องคิดเลขโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์จอแบน
รวมทั้งเตาไมโครเวฟ ดิสเพลย์แบบแอลซีดีเป็นเทคโนโลยี ที่จะยังใช้ต่อไปอีกนานแม้ว่าจะมีการคิด
ค้นหมึกดิจิตอล และกระดาษอิเล็กทรอ นิกส์แล้วก็ตาม ยิ่งกว่านั้น บริษัท เคนต์
ดิสเพลย์ (Kent Display) และฮิวเลตต์-แพคการ์ดก็กำลังคิดพัฒนาดิสเพลย์แอลซีดีให้มีสภาพเสถียรได้สองด้าน
(bi-stable) และเป็นกระดาษ อิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนด้วย
นอกจากนั้น ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ยังกำลังคิดค้นวิธีใช้วัสดุประกอบดิสเพลย์แอลซีดีแบบ ที่ยืดหยุ่นกว่าเดิมเล็กน้อย
โดยทำจากโมเลกุล ที่มีสภาพเสถียรได้เมื่อมีการจัดเรียงโมเลกุลสองรูปแบบด้วยกัน
จึงไม่จำเป็นต้องใช้พลัง งานในดิสเพลย์ "เคนต์ ดิสเพลย์" กำลัง พัฒนาผลึกเหลวแบบ
Cholesteric ซึ่ง เป็นวัสดุจากโมเลกุลของโคเลสเตอรอล โมเลกุลดังกล่าวจะเคลื่อนไหวตามลักษณะทางเคมี
ดังนั้น จึงมีสภาพเสถียร ได้สองลักษณะคือ มีการสะท้อน หรือไม่ สะท้อนแสง ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทาง ที่กระแส
ไฟฟ้าวิ่งไปบนพื้นผิว
เคนต์ยังคิดทำดิสเพลย์ดังกล่าวถึงสามรุ่นด้วยกันโดยให้สะท้อนเป็นแสงสีแดง
สีน้ำเงินหรือสีเหลือง ซึ่งเป็นแม่สี และเมื่อประกบแผ่นทั้งสามสีเข้าด้วยกันจึงได้เป็นดิสเพลย์ ที่มีสีถึง
4,000 สี มีสัดส่วนการคอนทราสต์ต่างๆ กันเช่น เดียวกับหมึกกระดาษ และใช้ได้ดีขึ้นใน
แสงแดด รวมทั้งแสดงภาพวิดีโอได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ระบบสายไฟ ที่ซับซ้อนแต่อย่างใด
ทำให้มีราคาถูก
อย่างไรก็ตาม เคนต์ไม่ได้หยุดยั้งเพียงเท่านี้ บริษัทได้ผลิตต้นแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับฮันนีเวลล์ และโครงการวิจัยขั้นสูงด้านการทหารของเพนตากอนด้วย
โดยการเพิ่มชั้นประกบชั้น ที่สี่ ซึ่งสะท้อนแสงอินฟราเรด เพื่อให้สามารถอ่านได้ในที่แสงไฟน้อยด้วย
คุณสมบัติดังกล่าวยังเป็นประโยชน์ ด้านการทหารด้วยเพราะแสงอ่อนนี้จะป้องกันการตรวจจับจากฝ่ายข้าศึกในสนามรบได้
แต่โคเลสเตอริกดิสเพลย์จะจัดว่าเป็นกระดาษอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่ยังเป็นคำถามอยู่
เพราะแม้จะมีความหนาเพียง 1.5 มิลลิเมตร แต่ก็ยังต้องอาศัยพื้นผิวพลาสติกแข็ง ซึ่งหมาย
ความว่าไม่อาจพับหรือม้วนได้ แต่มิเซลีก็ออกตัวว่า " ที่เรากำลังพูดถึงกันก็คือ เทคโนโลยี ที่จะนำภาพลงไป ที่ดิสเพลย์โดยไม่ต้องใช้พลังงานต่างหาก"
เทคโนโลยีดิสเพลย์กำลังดีวันดีคืนก็จริง แต่การพัฒนาให้เป็นดิสเพลย์ เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปยังมีข้อจำกัดอยู่
เนื่องจากเทคโนโลยียังไม่ลงตัว ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนรุ่นของดิสเพลย์ต่อไปเรื่อยๆ
ทว่าข้อดีก็คือ ต่อไปเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ใช้ดิสเพลย์แบบใหม่จะใช้พลังงานน้อยกว่าเดิมราวหนึ่งในร้อย
ซึ่งหมายความว่าแบต เตอรี่จะมีขนาดเล็กลงมากหรือไม่ก็ใช้งานได้นานกว่าจะต้องชาร์จใหม่
เคนต์อาจจะเป็นรายแรก ที่จำหน่ายดิสเพลย์รุ่นใหม่ได้ แต่อีอิงค์ก็มีผลิตภัณฑ์ ที่มีแนวโน้มจะทำตลาดได้เช่นกัน และมุ่งไปในทาง ที่จะเป็นโลกดิจิตอลสำหรับหนังสือ
นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ด้วย ทว่า ในแง่ราคาแล้ว ไจริคอนของซีร็อกซ์อาจจะชนะคู่แข่ง
ส่วนในแง่สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์นั้น โคเลสเตอริกดิส เพลย์ของเคนต์ยังไม่เปิดตัว
ขณะที่ของอีอิงค์ประมาณราคาไว้ ที่หน้าละ 10 ดอลลาร์สหรัฐ และของซีร็อกซ์อยู่
ที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อตารางเมตร
อย่างไรก็ตาม ตลาดอิเล็ก ทรอนิกส์ดิสเพลย์ ซึ่งมีมูลค่า 30 พันล้านดอลลาร์ยังเปิดกว้างสำหรับการมีแอพพลิเคชั่นส์มากๆ
อยู่ ที่แน่นอนก็คือ ราคา ดิสเพลย์จะ ลดลงอย่างมาก และเป็นดิสเพลย์ ที่ใช้พลังงานน้อยมาก ซึ่งทำให้รูปแบบเครื่องมือเครื่องใช้ปรับเปลี่ยนตามไปด้วย
ต่อไปหนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ วอลเปเปอร์ หรือแม้แต่เสื้อยืด ก็จะไม่ใช่วัตถุ ที่มีข้อความจำกัด
แต่จะมีคุณสมบัติอินเตอร์ แอคทีฟ และยังปรับเปลี่ยนรูปได้อาจจะเกือบทุกชั่วโมงด้วยซ้ำ
นับว่าเป็นการเข้าสู่โลกไร้กระดาษ ที่แท้จริง