|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค มิได้ส่งผลให้ตลาดเครื่องดื่มนานาชนิดเติบโตอย่างต่อเนื่องเท่านั้น หากในทางกลับกันสำหรับผู้ประกอบการด้านบรรจุภัณฑ์ นี่คือโอกาสทางธุรกิจที่เติบโตควบคู่ไปด้วย
จากข้อมูลของเต็ดตรา แพค ระบุว่าในปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา เต็ดตรา แพค ผลิตกล่องเครื่องดื่มจำนวนกว่า 141,000 ล้านกล่อง เพื่อป้อนให้กับบริษัท ชั้นนำด้านอาหารและเครื่องดื่มทั่วโลก โดยกว่า 70,600 ล้านลิตร เป็นเครื่องดื่มประเภทนม น้ำผลไม้ ผลไม้ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ สู่ผู้บริโภค โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น 3% จากปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มต่างๆ จากกล่องเครื่องดื่มที่ผลิตโดยเต็ดตรา แพค ในปี พ.ศ.2550
"สถิติบ่งชี้ว่าผู้บริโภคจะใช้เวลาประมาณ 1.6 วินาทีในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ยี่ห้อหนึ่ง หรืออาจจะหันไปสนใจยี่ห้ออื่นแทน หรือแม้แต่เปลี่ยนใจไปซื้ออย่างอื่นแทน ซึ่งหมายความว่ากว่า 70-80% เป็นการตัดสินใจซื้อที่เกิดขึ้นภายในร้านค้าหรือซูเปอร์ มาร์เก็ต" กลอยตา ณ ถลาง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เต็ดตรา แพค (ประเทศไทย) จำกัดระบุ
กรณีดังกล่าวทำให้การออกแบบกล่องเครื่องดื่มจำเป็นต้องพัฒนาให้ทำหน้าที่ได้มากกว่าการ "บรรจุ" เพื่อปกป้องคุณค่าอาหารและเครื่องดื่มที่อยู่ภายใน แต่ต้องสามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
"เพศ อายุ ไลฟ์สไตล์ รวมถึงกำลังซื้อของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้กล่องเครื่องดื่มมีบทบาทในการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง ของแบรนด์อย่างชัดเจน และจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ นอกเหนือจากการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในมิติดั้งเดิม"
นอกจากนี้ประเด็นเรื่องภาวะโลกร้อน ทำให้ผู้บริโภคหันมาให้ความใส่ใจกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวด ล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศในแถบสหภาพยุโรป ที่ได้ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทั้งในส่วนของผู้ผลิต ทั้งการส่งเสริมการผลิตและบริโภค อย่างยั่งยืน
โดยในขณะนี้ทั้งในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เอเชีย รวมถึงประเทศไทย ริเริ่มให้มีการติดฉลากคาร์บอน (Carbon Label) ควบคู่กับฉลากคุณค่าทางโภชนาการ (Nutrition Facts) บนกล่องเครื่องดื่ม เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำจากกระบวนการผลิต
ซึ่งหมายถึงการให้ข้อมูลบนกล่องจะทวีความสำคัญยิ่งขึ้นอีก
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือนอกเหนือจากราคาที่ผู้บริโภคต้องจ่ายให้กับผลิตภัณฑ์ในกล่องแล้ว ในแต่ละครั้งที่มีการเลือกซื้อสินค้าแต่ละชนิด เราจ่ายค่ากล่องเพื่อภาพลักษณ์ขององค์กรผู้ผลิต และภาพลักษณ์ในการบริโภคของเราไปเท่าใด
|
|
|
|
|