|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผลกระทบจากวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกาแม้ไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อประเทศไทย แต่แรงสั่นสะเทือนทำให้ผู้ประกอบการเริ่มขาดสภาพคล่องการเงินไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจเอสเอ็มอี
ปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่าตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2552 มีธุรกิจเอสเอ็มอีเกิดใหม่จำนวน 1 หมื่นราย แต่มีธุรกิจที่หยุดดำเนินกิจการไป 5 พันรายหรือครึ่งหนึ่งที่เริ่มต้น
ส่วนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เริ่มต้นทำธุรกิจและยังคงทำต่อไปจนถึง 1 ปีจะเหลือเพียงร้อยละ 25 หรือเหลือรอดเพียงกว่า 1 พันรายเท่านั้น
สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจไม่สามารถเดินหน้าไปได้เนื่องจากปัจจัยหลัก 4 ข้อ คือ 1. ขาดประสบการณ์ 2. ขาดความรู้ 3. ทำ ตามกระแสนิยม 4. เข้าแหล่งธุรกิจเงินทุนยาก
โดยเฉพาะเงื่อนไขการเข้าถึงแหล่งเงินที่ธนาคารทุกแห่งกำหนดไว้ว่าต้องมีประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงทำให้ผู้ที่เริ่มต้นทำธุรกิจขาดโอกาสอย่างมาก
จากจำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 2.4 ล้านรายทั่วประเทศ ที่ยื่นขอเงินกู้กับธนาคารจะมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่ผ่านเงื่อนไข
ธนาคารกสิกรไทยจึงปลดล็อกเงื่อนไขบางส่วนด้วยการยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ประกอบการที่ต้องมีประสบการณ์ทำธุรกิจอย่างน้อย 3 ปี หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน พร้อมกับเปิดตัวโครงการ K-SME Start-up Solutions ให้กับกลุ่มธุรกิจเริ่มต้นมีประสบการณ์ทำงาน 1-3 ปี
ธนาคารเปิดให้บริการสินเชื่อใหม่ 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 บริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจคล่องตัว เป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจ ธนาคารจะให้สินเชื่อในรูปแบบของวงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) แบบใช้บุคคลค้ำประกัน ลูกค้าขอสินเชื่อได้ทั้งในนาม ของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
ผู้กู้ต้องมียอดขายมากกว่า 5 แสนบาทต่อปี หรือประมาณ 5 หมื่นบาทต่อเดือนและธนาคารจะให้กู้วงเงินไม่เกิน 3 แสนบาท คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดที่เอ็มอาร์อาร์บวก 9% ต่อปี
รูปแบบที่ 2 บริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจไม่สะดุด สินเชื่อในรูปแบบของวงเงินกู้ (Loan) วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) หรือวงเงินหนังสือค้ำประกัน (L/I) สามารถกู้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ส่วนผู้กู้ต้องมียอดขายไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาทและธนาคาร ให้กู้วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์บวก 2% ต่อปี แต่มีเงื่อนไขให้ใช้สถานที่ประกอบการหรือบ้านพักอาศัยเป็น หลักทรัพย์ค้ำประกัน
นโยบายปล่อยสินเชื่อเงินกู้ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอีที่เริ่มต้นมีประสบการณ์ 1-3 ปี ธนาคารอ้างว่าเป็นรายแรกที่ดำเนินการเรื่องนี้และคาดหวังไว้ว่าจะมีเข้าร่วมโครงการ 12,000 ราย
แต่เงื่อนไขที่เปิดให้ธุรกิจที่มีประสบการณ์ 1-3 ปีขอสินเชื่อ ได้ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นเดียวกัน จึงทำให้ธนาคารกำหนดเงื่อนไขว่าผู้กู้จะต้องมีบัญชีในธนาคารและมีการเดินบัญชีของกิจการไม่น้อยกว่า 6 เดือน และลูกค้าต้องมีประวัติการเงินที่ดีไม่เคยมีประวัติปรับโครงสร้างหนี้มาก่อน
แม้ว่าธนาคารจะปลดล็อกเงื่อนไขเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ต่ำกว่า 3 ปีก็ตามแต่เงื่อนไขเรื่องรายได้ที่ต้องมีมากกว่า 5 แสนบาทต่อปี หรือต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันจะสร้างความคล่องตัวให้กับผู้เริ่มต้นทำธุรกิจหรือไม่
และธุรกิจที่นำมาโชว์ในวันเปิดตัวโครงการ เช่น ร้านกาแฟ ร้านขนมปัง ร้านดอกไม้ และร้านบริการสัตว์เลี้ยงเป็นธุรกิจที่ทำตามกระแสนิยมหรือเปล่า
|
|
|
|
|