Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2530
"ลีวายส์" VS. "คาลวินไคลน์" เสือสองตัว อยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้             
 


   
www resources

โฮมเพจ Calvin Klein

   
search resources

พาราวินเซอร์ กรุ๊ป
ธวัชชัย ธันยเฉลิม
Calvin Klein
Garment, Textile and Fashion




เมื่อเอ่ยชื่อของ พาราวินเซอร์ คงมีน้อยคนนักที่จะปฏิเสธว่า ไม่รู้จัก เพราะพาราวินเซอร์เป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการมาเป็นเวลากว่า 30 ปี และส่วนใหญ่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับสินค้าหลากหลายประเภทจากประเทศต่าง ๆ ปัจจุบันนี้ พาราวินเซอร์แบ่งแยกธุรกิจออกเป็น 9 แผนกด้วยกัน คือ

1. แผนกเกษตร มีทั้งปุ๋ย ยาฆ่าแมลง และอื่น ๆ ที่สั่งจากต่างประเทศ

2. แผนกเครื่องแต่งกายเสื้อและกางเกงเจมาร์ และเจบอแนร์

3. แผนกรถยนต์และบริการซ่อมเครื่องยนต์เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์และรถบรรทุกของโตโยต้าและมีบริการซ่อม

4. แผนกสีย้อมผ้า เป็นตัวแทนจำหน่ายสีย้อมผ้าของซูมิโตโม เคมิคัล ประเทศญี่ปุ่น

5. แผนกยา เป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น และอังกฤษ

6. แผนกสีพ่นรถยนต์และสีทาบ้าน เป็นตัวแทนจำหน่ายสีพ่นรถยนต์จากเยอรมัน

7. แผนก KIS เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องล้างอัด ขยายรูป KIS และเครื่องถ่ายเอกสารจากฝรั่งเศส

8. แผนกจักรเย็บผ้า เป็นตัวแทนจำหน่ายจักรเย็บผ้าจากเยอรมันและญี่ปุ่น

9. แผนกเทคนิค เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องเชื่อมโลหะจากสหรัฐฯ เครื่องยกและเครื่องลากจูงจากฝรั่งเศส เครื่องถากหนังจากเยอรมัน เป็นต้น

คาลวิน ไคลน์ เป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้ายีนส์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา เป็นผลงานที่มารจากความคิดสร้างสรรค์ของดีไซน์เนอร์ชื่อดังชาวอเมริกัน เขาคือ คาลวิน ไคลน์ ผู้ซึ่งทำให้แฟชั่นอเมริกันสไตล์เป็นที่นิยมและยอมรับได้ในระดับโลกอย่างแฟชั่นของฝรั่งเศส เขาได้ใช้เวลาในการศึกษาและฝึกฝนงานออกแบบและตัดเย็บด้วยตัวของเขาเอง หลังจากที่สำเร็จจากแฟชั่น อินสติติว ออฟ เทคโนโลยี ในปี 1963 ต่อมาไม่นานเขาก็ตัดสินใจเปิดร้านขึ้น โดยเขาเป็นผู้ออกแบบเอง ธุรกิจที่ไคลน์เลือกทำนี้ ประสบผลสำเร็จจนสามารถขยายกิจการออกไปได้อย่างกว้างขวาง กลายเป็นธุรกิจพันล้านเหรียญ จากการเริ่มต้นด้วยเงินลงทุนเพียงหมื่นเหรียญ ไคลน์เป็นดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างมากในปัจจุบันจากรูปแบบของสินค้าที่เรียกว่า "คาลวิน ไคลน์ สไตล์" คือเป็นแบบที่สวยงามสะอาด ตัดเย็บประณีต ได้สัดส่วน และเรียบ ๆ แต่ดูเท่ห์และคลาสสิค ซึ่งความประณีตนั้น เขาเริ่มตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุ เลือกสี การดีไซน์ และจะใช้ผ้าราคาถูกตัดเย็บและตกแต่งแบบจนเป็นที่ถูกใจก่อนจึงจะลงมือ ตัดผ้าจริง แต่เพราะสินค้าของคาลวิน ไคลน์นั้น มีอยู่มากมายหลายประเภท และการลงทุนในธุรกิจใดก็ตาม ถ้าสามารถหาแหล่งผลิตที่จะช่วยให้ SAVE COST ได้มากที่สุด โดยยังรักษาคุณภาพให้ได้ระดับเดียวกัน ก็นับเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ดังนั้น แหล่งผลิตสินค้าของไคลน์จึงมีอยู่ในหลายประเทศนอกจากอเมริกา และประเทศไทยก็อยู่ในข่ายนี้ด้วย ไคลน์จึงตัดสินใจให้บริษัท แจ็คสัน การ์เมนท์ จำกัด เป็นผู้ผลิตยีนส์ คาลวิน ไคลน์ เพื่อส่งกลับไปยังนิวยอร์ค เพราะเห็นว่า แจ็คสัน นั้นมีความประณีตในการตัดเย็บสินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ซึ่งบริษัทแจ็คสันนี้ ก็เป็นบริษัทในเครือของพาราวินเซอร์ และรับเป็นผู้ผลิตให้คาลวิน ไคลน์ มานานแล้วก่อนที่จะได้เป็นตัวแทนจำหน่าย ซึ่งอาจจะด้วยเหตุนี้เองที่ทางคาลวิน ไคลน์ ตัดสินใจให้พาราวินเซอร์จะเป็นคนที่รู้จักสินค้าของคาลวิน ไคลน์ได้ดีที่สุด เนื่องจากได้มีส่วนเกี่ยวข้องกันมานานพอสมควรแล้ว

ธวัชชัย ธันยเฉลิม รองกรรมการผู้จัดการของพาราวินเซอร์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งพาราวินเซอร์เป็นตัวแทนจำหน่ายในครั้งนี้ ได้มีการเจรจากันมาแล้วในช่วงประมาณปี 2527 - 2528 แต่ทางพาราวินเซอร์ยังไม่พร้อมเพราะมองแล้วว่าตลาดกางเกงยีนส์เมืองไทยในช่วงนั้นค่อนข้างซบเซา แต่ในปัจจุบันยีนส์กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น พาราวินเซอร์จึงอ้าแขนรับคาลวิน ไคลน์ เข้ามาอย่างเต็มอกเต็มใจเป็นที่ยิ่ง เพราะชื่อเสียงของคาลวิน ไคลน์ในเมืองไทยนับว่าโด่งดังในกลุ่มของคนมีระดับ ทั้งนี้ยังไม่นับชื่อเสียงของคาลวิน ไคลน์ ปลอมในเมืองไทยที่วางขายกันเกลื่อนถนนอีกต่างหาก ซึ่งในเรื่องของสินค้าปลอมนั้น ทางคาลวิน ไคลน์เองก็รู้อยู่จึงได้มอบหมายให้สำนักงานกฎหมาย ดำเนิน, สมเกียรติ และบุญมา ซึ่งเป็นตัวแทนทางด้านกฎหมายของคาลวิน ไคลน์ ในเมืองไทยดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ให้มีการจำหน่ายสินค้าปลอมอีกต่อไป ซึ่งก็ได้มีการจับกุมและฟ้องร้องกันไปบ้างแล้ว ก็ต้องดูกันต่อไปว่า จะสามารถกำจัดให้หมดไปได้หรือไม่ ?

ในแผนกเครื่องแต่งกายที่เป็นยีนส์ คาลวิน ไคลน์เพิ่งจะเข้ามาเป็นน้องใหม่ของพาราวินเซอร์ เดิมนั้น พาราวินเซอร์เป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับยีนส์ลีวายส์มาตั้งแต่ปี 2518 แล้ว และยอดขายเท่าที่ผ่านมาก็พอใช้ได้ แต่การที่พาราวินเซอร์รับยีนส์คาลวิน ไคลน์เข้ามา หลายคนก็มองถึงผลกระทบที่จะมีต่อลีวายส์ว่า จะเหมือนเป็นคนอื่นไป เพราะพาราวินเซอร์อาจจะให้ความสำคัญกับคาลวิน ไคลน์ มากกว่าลีวายส์ เนื่องจากมองเห็นว่า คาลวิน ไคลน์จะทำกำไรให้กับบริษัทฯ มากกว่า แต่ทางพาราวินเซอร์ก็ได้ออกมาชี้แจงว่า แม้ว่าบริษัทฯ จะรับเป็นตัวแทนจำหน่ายให้คาลวิน ไคลน์ก็ตาม แต่จะไม่มีผลในแง่ของการแย่งตลาดแต่อย่างใด เพราะสินค้าทั้ง 2 ตัวแม้จะเป็นยีนส์เหมือนกัน แต่การวางตำแหน่งของสินค้านั้นแตกต่างกัน คาลวิน ไคลน์เป็นยีนส์แฟชั่น จะจับตลาดระดับสูง และตั้งราคาไว้แพงกว่าลีวายส์ ซึ่งเป็นยีนส์ะรรมดาและอยู่ในตลาดระดับต่ำกว่า แต่ในขณะที่พาราวินเซอร์กล่าวว่า กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจากับทางลีวายส์เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีนั้น ข่าวอีกกระแสหนึ่งซึ่งเป็นกระแสที่แน่นอนกว่าว่า ลีวายส์ได้แต่งตั้งให้ดีทแฮล์มเป็นตัวแทนจำหน่ายแทนพาราวินเซอร์ไปเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ได้มีสัมพันธ์กับพาราวินเซอร์มานานก็เป็นอันที่จะต้องตัดญาติขาดมิตรกันอย่างเด็ดขาด และเมื่ออยู่กันคนละค่ายแล้วอย่างนี้ เห็นทีจะกลายเป็นการแข่งขันที่น่าจับตามอง เพราะเกมนี้คงเดินไปด้วยความเข้มข้นดุเดือดเป็นแน่แท้ !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us